Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.6 โรคติดเชื้อร่วมกับการตั้งครรภ์, นางสาวชื่นนภา มูลนิคม รหัส 602701020 -…
5.6 โรคติดเชื้อร่วมกับการตั้งครรภ์
หูดหงอนไก่ (Condyloma accuminata and pregnancy
)
หูดหงอนไก่เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่เกิดจากเชื้อไวรัส Human papilloma virus (HPV) ชนิดที่ทำให้เกิดหูดหงอนไก่ ที่อวัยวะเพศ ส่วนใหญ่เป็น type 6 และ 11
ผลของโรคหูดหงอนไก่บริเวณอวัยวะเพศต่อการตั้งครรภ์
การติดเชื้อ HPV จากมารดาสู่ทารกยังไม่ทราบวิธีการติดต่อที่ชัดเจนว่าทารกติดเชื้อตั้งแต่ก่อนคลอด ขณะคลอด หรือหลังคลอด โดยมีรายงานทารกหลายรายที่เกิด laryngeal papilloma ทารกที่เป็นโรคนี้อาจมีอาการตั้งแต่แรกเกิดจนถึงขวบปีแรก มีความรุนแรงได้ต่างกันตั้งแต่เสียงแหบจนถึงการอุดกั้นระบบทางเดินหายใจส่วนบน
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ปัจจัยเสี่ยง ประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อ อาการและอาการแสดงของการติดเชื้อ
การตรวจร่างกาย สังเกตเห็นรอยโรค ซึ่งเป็นติ่งเนื้อบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์ภายนอก รอบทวารหนัก ปากช่องคลอด ซึ่งสามารถช่วยประเมินสภาพได้ค่อนข้างแน่ชัด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยทำ pap smear พบการเปลี่ยนแปลงที่เซลล์เป็น koilocytosis (halo cell)
อาการและอาการแสดง
ภายหลังการติดเชื้อ จะสามารถมองเห็นหูดขึ้นรอบ ๆ ทวารหนักและในทวารหนัก ลักษณะเป็นก้อนสีชมพู นุ่ม ผิวขรุขระ มีสะเก็ด มีขนาดที่แตกต่างกัน มักรวมกันเป็นก้อนใหญ่คล้ายดอกกระหล่ำ ตกขาวมีกลิ่นเหม็นและคัน ซึ่งในการตั้งครรภ์จะพบมีการเพิ่มจำนวนอย่างรวดเร็ว เนื่องจากบริเวณนี้ มีเลือดมาเลี้ยงมาก จึงทำให้เชื้อเจริญเร็วมาก
การรักษา
การรักษาด้วยสารเคมี เช่น จี้ด้วย trichloroacetic acid 80-90% สัปดาห์ละครั้ง ในหญิงตั้งครรภ์ห้ามใช้ podophyllin หรือ podofilox เนื่องจากมีรายงานการเกิด early fetal death in utero ได้ ส่วน imiquimod ก็ไม่แนะนำให้ใช้ในหญิงตั้งครรภ์
การจี้ไฟฟ้า แสงเลเซอร์พบว่าได้ผลดี และสามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ แต่พบภาวะแทรกซ้อนคือ แผลฝีเย็บแยกและเกิด fistula ซึ่งเชื่อว่าเกิดจากการที่เชื้อ HPV ทำให้การหายของแผลไม่ดี การรักษาควรทำในระยะแรกของการตั้งครรภ์
การคลอดสามารถให้คลอดทางช่องคลอดได้ ยกเว้นหูดมีขนาดใหญ่ซึ่งทำให้ขัดขวางช่องทางคลอด และอาจทำให้เกิดการฉีกขาดมาก ควรผ่าตัดคลอด เพื่อหลีกเลี่ยงการตกเลือดและการคลอดติดขัด
การพยาบาล
1.ดูแลให้ได้รับการรักษาตามแผนการรักษา เช่น จี้ด้วย trichloroacetic acid หรือ laser surgery
2.แนะนำการรักษาความสะอาดของอวัยวะเพศ หลีกเลี่ยงการอับชื้นบริเวณอวัยวะสืบพันธุ์
3.แนะนำให้สตรีตั้งครรภ์ส่งเสริมสุขภาพตนเองให้แข็งแรง เพื่อให้มีระบบภูมิคุ้มกันที่ดี โดยเน้นการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ การออกกำลังกายที่พอเหมาะ การลดภาวะเครียด และสังเกตอาการและอาการแสดงของการติดเชื้อซ้ำ
โรคเอดส์ (Acquired immune defiency syndrome)
การตรวจพบปฏิกิริยาทางน้ำเหลืองต่อเชื้อ HIV (Human immunodeficiency Virus) เป็นบวก
การวินิจฉัย
การซักประวัติ เช่น ร่วมเพศกับผู้ติดเชื้อ หรือใช้เข็มฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อ รวมทั้งมีอาการทางคลินิกของการติดเชื้อ HIV
การตรวจร่างกาย มีไข้ ต่อมน้ำเหลืองโต น้ำหนักลด เป็นต้น
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
3.1 การตรวจคัดกรองโรคเอดส์คือการทดสอบที่เรียกว่า Enzyme–linked
Immunosorbent assay (ELISA) ซึ่งทำได้ง่ายและมีความไวสูง ต้องทำสองครั้งและได้ผลบวกทั้งสองครั้งจึงจะแปลผลว่าน่าจะติดเชื้อเอดส์ ถ้าสองครั้งให้ผลต่างกันต้องรอ 3 เดือนแล้วตรวจซ้ำ
3.2 การตรวจยืนยันด้วยการตรวจ confirmatory test เช่น Western Blot (WB)
และ Immunofluorescent assay (IFA) ถ้าให้ผลบวกเป็นการแน่นอนว่าผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์
อาการและอาการแสดง
กลุ่มที่ 1 เป็นกลุ่มที่ไม่มีอาการทางคลินิก มีเพียงการตรวจ Elisa ให้ผลบวก
กลุ่มที่ 2 เป็นกลุ่มอาการคล้ายเอดส์ คือ ไข้ ปวดเมื่อยตามตัว อ่อนเพลีย ผื่นตามตัว ปวดศีรษะ เจ็บคอ ผล CD4 ต่ำกว่า 500-200 cm3
กลุ่มที่ 3 เป็นกลุ่มอาการที่มีอาการสัมพันธ์กับเอดส์ คือ มีไข้สูงฉับพลัน ไข้ต่ำ ๆ นานกว่า 2-3 เดือนปวดศีรษะ เจ็บคอ คลื่นไส้อาเจียน ต่อมน้ำเหลืองโตทั่วไป ท้องเดินเรื้อรัง น้ำหนักลด อาจตรวจพบเยื่อหุ้มสมองอักเสบชนิดไร้เชื้อร่วมด้วย
การติดต่อ
1.การมีเพศสัมพันธ์ที่เสี่ยงมากที่สุดคือ การร่วมเพศทางทวารหนัก ในปัจจุบันพบว่าการติดต่อทางเพศสัมพันธ์ ทำให้เอดส์แพร่เชื้อมากที่สุด
2.จากมารดาสู่ทารก (vertical transmission) พบว่าในหญิงตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเอดส์และไม่ได้รับการรักษา ทารกในครรภ์จะมีโอกาสติดเชื้อ 15-25%
3.ทางกระแสเลือด จากการรับเลือดหรือส่วนประกอบของเลือดที่มีเชื้อเอดส์ การใช้เข็มฉีดยาร่วมกันในผู้ติดยาเสพติด (IV drug users)
การรักษา
ยากลุ่ม Nucleoside analogues reverse transcriptase inhibitor เช่น การให้ Azidothymidine (AZT) หรืออีกชื่อหนึ่งคือ zidovudine (ZDU) ยาตัวอื่น ๆ ในกลุ่มนี้ ได้แก่ zalcitabine, didanosine (DDI), stavudine (d4T), lamivudine (3TC) และ abacavir ยาในกลุ่มนี้ไปแย่งจับแทนที่ nucleosides ที่ใช้ในการสังเคราะห์ DNA ไวรัสจึงไม่สามารถทำการสร้าง DNA ได้ ทำให้ไม่สามารถแบ่งตัวได้
ยากลุ่ม Non-nucleoside analogues reverse transcriptase inhibitorได้แก่ nevirapine, delarvirdine และ efavirenz ยากลุ่มนี้จะไปจับกับโมเลกุลของ reverse transcriptase enzyme โดยตรงทำให้เอนไซม์นี้ไม่สามารถทำงานได้
ยากลุ่ม Protease inhibitors ได้แก่ indinavir, ritonavir, saquinavir, nelfinavir และ amprenavir ยากลุ่มนี้เป็น competitive inhibitor ต่อ viral protease enzyme เป็นผลให้ไวรัสไม่สามารถสังเคราะห์โปรตีนในการสร้าง viral particles ได้
การให้ยาต้านไวรัสขณะตั้งครรภ์
กรณีที่ 1 หญิงตั้งครรภ์ไม่เคยได้รับยาต้านไวรัสมาก่อน
สูตรแรก TDF + 3TC + EFV โดยแนะนำให้ยาต่อหลังคลอดทุกราย
สูตรที่ 2 AZT + 3TC + LPV/r หรือ TDF + 3TC + LPV/r ในกรณีที่ดื้อยากลุ่ม NNRTIs
หรือจำเป็นต้องหยุดยาหลังคลอด
กรณี่ 2 หญิงตั้งครรภ์ ได้รับยาต้านไวรัสมาก่อนตั้งครรภ์ ไม่ต้องหยุดยา
ควรใช้สูตรยาที่ทำให้ viral load ลดลง จนวัดไม่ได้จะดีที่สุด
หากพบว่า viral load มากกว่า 1000 copies / ml ทั้งที่กินยาสม่ำเสมอนาน 6 เดือน ให้ส่งปรึกษาผู้เชี่ยวชาญทันที
การให้ยาต้านไวรัสระหว่างเจ็บครรภ์คลอด
ให้เพิ่ม AZT 300 mg ทุก 3 ชม. หรือ AZT 600 mg ครั้งเดียว ไม่ว่าจะใช้ยาสูตรใด
หากคลอดโดยการผ่าตัดให้กินยาก่อนเริ่มผ่าตัดอย่างน้อย 4 ชม.
ในรายที่ viral load น้อยกว่า 50 copies / ml ไม่ต้องให้ยาระหว่างเจ็บครรภ์คลอด
หลีกเลี่ยงการให้ยา Methergine เนื่องจากจะทำให้หญิงที่กินยา LPV/r หรือ EFV อยู่เกิด severe vasoconstriction ได้
การให้ยาต้านไวรัสหลังคลอด
ให้ยาหลังคลอดต่อทุกรายที่สมัครใจ มีความพร้อม สามารถกินยาได้ต่อเนื่องสม่ำเสมอ
โดยเฉพาะกลุ่มต่อไปนี้
CD4 < 500 cells / mm 3
คู่มีผลเลือด ลบ หรือ ไม่ทราบผลเลือดคู่
มีการติดเชื้อร่วม เช่น วัณโรค ไวรัสตับอักเสบ บี ไวรัสตับอักเสบ ซี
การให้ยาต้านไวรัสในทารกแรกเกิด
AZT ขนาด 4 mg/kg/dose ทุก 12 ชม. ให้นานต่อเนื่อง 4 สัปดาห์
การพยาบาล
ระยะการตั้งครรภ์
ให้อยู่ในห้องแยก ใช้ห้องน้ำและส้วมแยกจากผู้อื่น และแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้านเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในครอบครัวและผู้อื่น
งดให้นมบุตร เพราะทารกอาจติดเชื้อจากแม่ทางน้ำนมได้
เน้นให้มาตรวจหลังคลอดตามกำหนด และแนะนำวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ เช่น การทำหมัน
ในทารกหลังคลอด ให้ NPV 2 มก./กก. ทันที และให้ AZT 2 มก./กก./วัน และติดตามตรวจหาการติดเชื้อในทารกหลังคลอด 12-18 เดือน ถ้าไม่พบ HIV-antibody จึงจะถือว่าทารกไม่ติดเชื้อ ถ้ายังตรวจพบ antibody แสดงว่าทารกติดเชื้อแล้ว
ระยะคลอด
หลีกเลี่ยงการทำให้ถุงน้ำแตกหรือรั่วทำคลอดโดยยึดหลัก Universal precaution
ระยะหลังคลอด
ให้อยู่ในห้องแยก ใช้ห้องน้ำและส้วมแยกจากผู้อื่น และแนะนำการปฏิบัติตัวเมื่อกลับบ้านเพื่อป้องกันการแพร่กระจายเชื้อในครอบครัวและผู้อื่น
งดให้นมบุตร เพราะทารกอาจติดเชื้อจากแม่ทางน้ำนมได้
เน้นให้มาตรวจหลังคลอดตามกำหนด และแนะนำวิธีการคุมกำเนิดที่มีประสิทธิภาพ เช่น การทำหมัน
ในทารกหลังคลอด ให้ NPV 2 มก./กก. ทันที และให้ AZT 2 มก./กก./วัน และติดตามตรวจหาการติดเชื้อในทารกหลังคลอด 12-18 เดือน ถ้าไม่พบ HIV-antibody จึงจะถือว่าทารกไม่ติดเชื้อ ถ้ายังตรวจพบ antibody แสดงว่าทารกติดเชื้อแล้ว
การติดเชื้อไวรัสซิกกา (Zika fever)
ไข้ซิกา (Zika fever) เกิดจากเชื้อไวรัสซิกา (Zika virus) อยู่ในตระกูลฟลาวิไวรัสเช่นเดียวกับไวรัสไข้เลือดออก ไวรัสไข้สมองอักเสบ และไวรัสเวสต์ไนล์
ยุงลายเป็นพาหะสำคัญของโรค สามารถแยกเชื้อไวรัสซิกาได้จากลิงและจากคน สามารถติดต่อได้โดย การถูกยุงลายที่มีเชื้อกัด และโรคนี้ยังสามารถติดต่อ จากคนสู่คนได้โดยผ่านทางการมีเพศสัมพันธ์
อาการและอาการแสดง
ไข้ซิกามีระยะฟักตัว 2-7 วัน มีอาการไข้ ปวดศีรษะ ออกผื่นที่ลำตัว และแขนขา ปวดข้อ ปวดในกระบอกตาเยื่อบุตาอักเสบ
โรคไข้ซิกามักมีอาการไม่รุนแรง อาจวินิจฉัยผิดว่าเป็นไข้เลือดออกเนื่องจากมีอาการทั่วไปคล้ายๆกัน หายได้ในเวลาไม่กี่วัน แต่หากมีการติดเชื้อในหญิงขณะตั้งครรภ์ทารกที่คลอดออกมาจะมีศีรษะเล็กผิดปกติ
การตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการ
1.การซักประวัติ อาการ การเดินทาง ลักษณะที่อยู่อาศัย
2.การทดสอบทางห้องปฏิบัติการ
การตรวจหาแอนติบอดี IgM และ IgG ต่อไวรัสซิกา สำหรับการตรวจหา IgM สามารถตรวจพบได้ภายใน 3 วันนับแต่แสดงอาการ การตรวจหาภูมิคุ้มกัน (IgM) ด้วยวิธี ELISA หรือ Immunofluorescence หากพบว่าผลการตรวจเป็นลบแนะนำให้เก็บ Plasma ส่งตรวจซ้ำภายใน 3-4 สัปดาห์
วิธีการตรวจดีเอ็นเอสามารถตรวจได้จากน้ำเหลือง เนื่องจากระยะเวลาที่ตรวจพบไวรัสในกระแสเลือดมีเวลาสั้นๆ
การตรวจหาพันธุกรรมของเชื้อด้วยวิธี Reverse Transcriptase Polymerase Chain Reaction (RT-PCR จะมีประสิทธิภาพหากตรวจหลังจากที่เริ่มแสดงอาการ 1-3 วัน อาจตรวจได้น้ำลายและปัสสาวะ
สำหรับการวินิจฉัยการติดเชื้อของทารกในครรภ์ สามารถตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยใช้สิ่งส่งตรวจ เช่น น้ำคร่ำ เลือดจากสะดือหรือรก
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดของทารกในครรภ์
วัดรอบศีรษะและมีค่าความยาวเส้นรอบวงน้อย กว่า 3 เปอร์เซ็นต์ไทล์ หรือน้อยกว่า -2 Standard Deviations (SDs) ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยของค่าปกติในเพศและ กลุ่มอายุของทารก
ภาวะศีรษะเล็กแต่กำเนิดอาจ เป็นเดี่ยว ๆ หรืออาจจะมีความเกี่ยวข้องกับอาการอื่น ๆ เช่น อาการชัก พัฒนาการล่าช้า ความผิดปกติในการ ดูดหรือการกลืน
การวัดรอบศีรษะในทารกแรกเกิด 2 ครั้ง ครั้ง แรกเมื่อแรกเกิด และครั้งที่ 2 เมื่ออายุ 24 ชั่วโมง
การรักษา
ยังไม่ยารักษาโรคไข้ซิกาโดยตรง
การรักษาคือการให้พักผ่อนอย่างเพียงพอ ดื่มน้ำในปริมาณ 2,000-3,000 ลิตรต่อวัน
การรักษาประคองไปตามอาการ เช่น การให้ยาพาราเซตามอลเพื่อบรรเทาอาการปวด ลดไข้ แต่ห้ามรับประทานยาแอสไพรินหรือยากลุ่มลดการอักเสบ ์ (NSAIDs) เนื่องจากยาบางชนิดเป็นอันตรายสำหรับ โรคนี้อาจทำให้เกิดเลือดออกในอวยัวะภายในได้ง่ายขึ้น
นางสาวชื่นนภา มูลนิคม รหัส 602701020