Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ภาวะช็อก แมลงสัตว์กัดต่อยและแผลไฟไหม้ - Coggle Diagram
ภาวะช็อก แมลงสัตว์กัดต่อยและแผลไฟไหม้
(Burns)
แผลไฟไหม้ หมายถึง
ผิวหนัง หรือเนื้อเยื่อที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาจากการถูกเถาไหม้ หรือได้รับความร้อนจากเปลวไฟ กระแสไฟ รังสี สารเคมี
การแบ่งความรุนเเรง
ของแผลไฟไหม้
ขนาดของแผล ซึ่งอาจใช้กฏเลขเก้า (rules of nine) ในผู้ใหญ่ หรือวิธีของ Land and Browder ในเด็ก (อาจประเมินโดยกำหนดพื้นที่ 1 ฝ่ามือของผู้ป่วยเท่ากับ 1 % ของพื้นที่ผิวหนังของผู้ป่วย)
ความลึกของแผลแบ่งระดับดังนี้
Partial thickness bures
ระดับที่ 1 ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) ถูกทำลาย และมีลักษณะของบาดแผล คือ ผิวหนังสีแดงเหมือนโดนแดดเผา แห้ง ซึ่งจะไม่มีบาดแผล
ระดับที่ 2 ตื้น (superficial is 1 2 burns) ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) และชั้นบนของหนังแท้ (superficial part of dermis) ถูกทำลาย และมีลักษณะบาดแผล คือ บาดแผลพองเป็นตุ่มน้ำใส มีอาการปวด ซึ่งแผลลักษณะนี้จะหายประมาณ 10-14 วัน บาดแผลค่อนข้างดีขึ้น
ระดับที่ 2 ลึก (deep 2 burns) ชั้นหนังกำพร้า (epidermis) ชั้นบนและชั้นลึกของผิวหนังแท้ แต่ยังมีบางส่วนเหลืออยู่ (deep part of dermis) มีลักษณะของบาดเเผลล คือ ผิวหนังเป็นสีขาวซีด แต่งยังมีลักษณะนิ่มอยู่ ซึ่งบาดแผลจะหายประมาณ 3-4 สัปดาห์ เมื่อแผลหายจะเป็นแผลเป็นมาก
Full-thickness burns
ระดัยที่ 3 ผิวหนังทุกชั้นถูกทำลายทั้งหมดบางครั้งรวมทั้งเนื้อเยื่อที่อยู่ลึกกว่าด้วย แผลจะมีลักษณะผิวหนังเป็นสีน้ำตาล หรือสีขาวแข็งเหมือนหนัง อาจพบเส้นเลือดอุดตันอยู่ใต้ผิวหนัง ซึ่งแผลจะหายจากการหดรั้ง (wound contraction) หรือการปลูกถ่ายผิวหนัง (skin grafting)
การดูแลเมื่อเกิดแผลไฟไหม้
24 ชั่วโมงแรก
ควรให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำชนิด ringer lactate และระหว่างที่ให้ IV ควรมีปัสสาวะออก 0.5-1 มล./กก./ชม. คนไข้ที่มีบาดแผลไฟไหม้มากกกว่า 40% และมี่ Albumin ในเลือดต่ำ อาจต้องให้ plasma/สารละลาย Albumin ร่วมด้วย ซึ่งมักให้หลังจากให้ IV ไปแล้ว 8-12 ชั่วโมง เพื่อให้มีปัสสาวะออก
24-48 ชั่วโมงหลัง
แนะนำให้ fluid ทดแทนต่อในปริมาณรวมเท่ากับ maintenance ซึ่งชนิดของสารน้ำที่ควรให้คือ low salt เช่น 5% D/W และให้ plasma 0.3-0.5 ml/kg/% burn หรือ Albumin 1 gm/kg/day ร่วมด้วย เพื่อช่วยดึงน้ำกลับเข้ามาใน intravascular space
เลย 48 ชั่วโมงหลัง
แนะนำให้ fluid ทดแทนต่อในปริมาณรวมเท่ากับ maintenance และให้เลือดทดแทน เพื่อรักษาระดับ Hct. ร่วมกับให้ albumin และติด monitor ระหว่างให้ IV และติด EKG ำพร้อมวัดสัญญาณชีพ
ไฟฟ้าช็อต หมายถึง
ผู้ที่ได้รับกระเเสไฟฟ้าโดยตรงและจากการที่กระเเสไฟฟ้าเป็นพลังงานความร้อน
ความรุนแรง
ขึ้นอยู่กับ
ชนิดและกำลังไฟ
ตำแหน่งของร่างกายที่สัมผัสไฟฟ้า
สิ่งแวดล้อม เช่น ร่างกายสัมผัสโลหะ
กำลังอยู่อยู่ในน้ำ เป็นต้น
อาการและอาการแสดง
อาการฉุกเฉิน
1.ไม่รู้สึกตัว ความรู้สึกตัวเปลี่ยน
2.ระบบไหลเวียนโลหิตผิดปกติ หัวใจเต้นผิดปกติ
3.มีบาดแผลไหม้ โดยเฉพาะทางเข้าและออกของกระเเสไฟ
4.มีกระดูกหัก/ข้อเคลื่อน/กระดูกสันหลังหัก
5.เกิดไตวายเฉียบพลัน
การรักษา
1.ประเมินความรู้สึกตัว ABC
2.ถ้ารับบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตหยุดทำงานให้การการช่วยฟื้นคืนชีพ
3.ให้ออกซิเจนถ้าหายใจไม่ดี
4.ให้ความอบอุ่นเเก่ร่างกาย
5.ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ถ้ามีความดันโลหิตต่ำหรือมีภาวะช็อก
6.ให้การดูแลบาดเเผล และประเมิรอาการบาดเจ็บร่วม เช่น กระดูกสันหลังหัก
7.ส่งต่อไปสถานบริการที่มีความพร้อม
อาการที่สามารถดูแลรักษาได้
ผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ไม่มีความผิดปกติต่างๆ
ดังที่กล่าวไว้ในอาการฉุกเฉิน
การรักษา
1.ให้การดูแลบาดเเผล
2.ให้ยาลดอาการปวด
3.พูดคุยปลอบโยน เพื่อคลายความกลัวความวิตกกังวล
4.ติดตาม ประเมินผลการรักษา เช่น
ติดตามอาการเกี่ยวกับหัวใจและอาการระบบจิตประสาท
แมลงสัตว์ กัด ต่อย
คนกัด
หมายถึง
การบาดเจ็บที่เกิดจากการต่อสู้กัน/การทำร้ายร่างกาย บาดแผลคนกัดจะทำให้มีการติดเชื้อได้ง่ายกว่าสัตว์ เพราะปากคนมีเชื้อโรค
อาการและอาการแสดง
อาการฉุกเฉิน
บาดเเผลเหวอะหวะบริเวณใบหน้า/บริเวณใดที่มีขนาดกว้างสกปรกมาก และคิดว่าไม่สามารถจะให้การดูแลรักษาได้เอง
การรักษา
1.ประเมินสัญญาณชีพ ซักถามประวัติเกี่ยวกับการได้รับบาดแผล
เช่น สุขภาพของผู้ที่กัด ระยะเวลาในการกัด ดารรักษาที่ได้รับ
2.ให้การดูแลบาดแผล
3.ให้ยาป้องกันบาดทะยัก (ตามแนวทางมาตรฐาน)
4.ส่งต่อไปสถานบริการที่มีความพร้อม
อาการที่สามารถรักษาได้เอง
มีบาดเเผลเล็กน้อย และไม่ใช่ตำแหน่งที่ทำให้เกิดการเสียโฉม เช่น ใบหน้า
การรักษา
1.ให้การดูแลบาดเเผล ล้างด้วย NSS จำนวนมาก ตัดตกแต่งเนื้อตาย เอาเศษสิ่งสกปรกออก
2.ไม่ควรเย็บทันที ยกเว้นบาดเเผลที่ใบหน้าที่ไม่เหวอะหวะ ช้ำ หรือสกปรกมาก อาจเย็บได้ เพราะต้องการวามสวยงาม ลดรอยแผลเป็น และใบหน้าเป็นตำแหน่งที่มีเลือดมาเลี้ยงมาก จึงมีโอกาสติดเชื้อต่ำ
3.ให้ยาปฏิชีวนะ เพื่อป้องกันการติดเชื้อ เช่น amoxicillin/dicloxacillin
4.ให้ยาป้องกันบาดทะยัก (ตามแนวทางมาตรฐาน)
6.กรณีแผลติดเชื้อรุนเเรง เช่น cellulitis หรือมีไข้พิจารณาส่งต่อ
เม่นทะเลตำ
(Sea urchins)
หมายถึง
การถูกหนามหอยเม่นตำจะมีลักษณะฐานหนามกว้าง ส่วนปลายแหลม ข้างในกลวง พิษจะอยู่ในท่อหนามแหลม
อาการและอาการแสดง
อาการฉุกเฉิน
Systemic reaction จะมีอาการแพ้ต่างๆ โดยเฉพาะ anaphylaxis
การรักษา
1.ประเมินความรู้สึกตัว ABC
2.ถ้ารับบหายใจและระบบไหลเวียนโลหิตหยุดทำงานให้การการช่วยฟื้นคืนชีพ
3.ให้ออกซิเจนถ้าหายใจไม่ดี
4.ให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ ถ้ามีความดันโลหิตต่ำหรือมีภาวะช็อก
5.ให้การรักษาแบบ local reaction
(ที่จะกล่าวในอาการที่สามารถรักษาเองได้)
6.ส่งต่อไปสถานบริการที่มีความพร้อม
อาการที่สามารถรักษาเองได้
Local reaction จะมีอาการปวดเหมือนถูกหนามตำ ต่อมาจะมีอาการชาบริเวณที่ถูกตำ และถ้าหนามหักคา จะปวดมาก โดยเฉพาะเม่นทะเลตำจะมีหนามที่ยาวและเปราะมาก
การรักษา
1.ทุบหนามที่หักคาให้แหลก โดยอาจใช้น้ำส้มสายชู หรือน้ำมะนาวทาที่แผลสลับทุบ เพื่อลดอาการชา
2.ให้ยาเเก้ปวดและยาแก้แพ้
3.ทาด้วยแอมโมเนีย เพื่อลดอาการปวด
รับพิษจากแมงกะพรุน (Jellyfish dermatitis)
หมายถึง
การสัมผัสหนวดแมงกะพรุนแล้วเกิดการอักเสบของผิวหนังที่สัมผัสภายในหนวดมีถุงพิษ หากถุงเเตกจะมีเข็มพิษเเทงเข้าผิวหนัง และซึมเอากระเเสเลือด
อาการและอาการเเสดง
อาการฉุกเฉิน
Fetal reaction มีอาการ anaphylaxis, cardiopulmonary arrest
Local reaction บวมแดงเป็นเเนวเส้นตามรอยสัมผัส เจ็บคัน บางที่มีตุ่มหนองขึ้น ระยะวลาการเกิดตั้งแต่ทันทีที่สัมผัส/หลังสัมผัส 1-4 สัปดาห์
อาการที่สามารถรักษาเองได้
Systemic reaction ปวดศีรษะ คลื่นไส้อาเจียน เหงื่อออก น้ำตาไหล ไข้ กล้ามเนื้อกระตุก ชา แน่นหน้าอก
การรักษา
1.ประเมินความรู้สึกตัว ABC ถ้าระบบหายใจและไหลเวียนหยุดทำงานให้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพ
2.ลดการเคลื่อนไหวบริเวณบาดแผล ห้ามถูแผล
3.Local heat อุ่นน้ำทะเลที่อุณหภูมิ 39 องศา เทราดบริเวณแผล (ห้ามใช้น้ำจืด/แอลกอฮอล์ เพราะความเข้มข้นน้อยกว่าน้ำทะเลทำให้พิษกระจายมากขึ้น)
4.ใช้แป้งโรยบริเวณแผล เพื่อเอาหนวดออก/ใช้ผักบุ้งทะเลโขลกเล้วทาบนแผล
5.รักษาตามอาการ ยาแก้แพ้ ยาเเก้ปวด ให้ยาแก้อักเสบกรณีแผลลึกมากๆ
6.แนะนำเฝ้าระวังอาการ anaphylaxis /systemic infection
7.ส่งต่อไปสถานบริการที่มีความพร้อม
งูกัด (snake bite)
แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ
งูมีพิษ แบ่งตามพิษได้ 3 กลุ่ม
พิษต่อระบบประสาท (neurotoxin) เช่น งูเห่า งูจงอาง งูสามเหลี่ยม งูสมิงคลา
พิษต่อระบบเลือด (hematotoxin) เช่น งูกะปะ งูเเมวเซา งูเขียวหางไหม้
พิษต่อกล้ามเนื้อ (myotoxin) ได้เเก่ งูทะเลบางชนิด เช่น งูคออ่อน งูชายธง
งูไม่มีพิษ
ได้แก่ งูแม่ตะง่าว งูเห่ามัง งูดอกหมากแดง งูทางมะพร้าว งูเหลือม
อาการและอาการแสดง
งูมีพิษ
พิษต่อระบบประสาท
มึนงง เวียนศีรษะ หนังตาตก ลืมตาไม่ขึ้น
ขากรรไกรเเข็ง อ้าปากไม่ขึ้น
หายใจลำบาก
หมดสติ/เสียชีวิต
พิษต่อระบบเลือด
ปวดมาก บวมมาก
มีเลือดออกจากแผล เหงือก
ไรฟัน ริมฝีปาก
มีจ้ำเลือด
ปัสสาวะเป็นเลือด
กระสับกระส่าย ความดัน
ลดต่ำลง ชีพจรเบาเร็ว
แน่นหน้าอก หมดสติ
พิษต่อระบบกล้ามเนื้อ
ปวดเมื่อยตามแขนขา ลำตัว เอี้ยวคอลำบาก
กลอกตาไม่ได้
ไม่สามารถเคลื่อนไหวแขนขาและร่างกายได้
กล้ามเนื้ออักเสบรุนเเรง
ระบบปัสสาวะล้มเเหลว (ปัสสาวะเป็นสีโค้ก)
ระบบหายใจล้มเหลว
การรักษาเบื้องต้น
ประเมินความรู้สึกตัว ABC ถ้าระบบหายใจและ
ไหลเวียนหยุดทำงานให้ทำการช่วยฟื้นคืนชีพ
ตรวจดูบาดแผลและรอยเขี้ยวพิษ
ถ้าพิษพ่นใส่หน้า/นัยน์ตา ให้ล้างด้วยน้ำสะอาดจำนวนมากๆ
ให้การดูแลบาดแผล
งดน้ำงดอาหารไว้ก่อน เต่ถ้าเป็นงูทะเล
ต้องดื่มน้ำมากๆเพื่อขับปัสสาวะและพิษงู
เคลื่อนไหวร่างกายให้น้อย โดยเฉพาะบริเวณที่ถูกกัด
อธิบายให้ผู้ป่วยคลายกังวล เพื่อหลีกเลี่ยงอาการ
หัวใจเต้นเร็ว เป็นการช่วยให้พิษเข้าสู่กระเลือดช้าลง
ไม่ควรใช้ปากดูดแผล/ใช้สมุนไพรทา
ส่งต่อสถานพยาบาลที่มีความพร้อม
งูไม่มีพิษ
อาจมีอาการบวม เลือดออกไม่มาก/ไม่มีอาการอื่นใดที่ชัดเจน
การรักษาเบื้องต้น
ถ้าไม่แน่ใจว่าเป็นงูมีพิษ ให้ทำความสะอาด
บาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ/น้ำสะอาดและสบู่
ให้รักษาตามอาการ เช่น ประคบเย็น ทานยา
เเก้ปวด ยาantibiotic >> นาน 5-10 วัน
แล้ววเเต่ลักษณะของแผลที่เปลี่ยนไป
ให้ยาป้องกันบาดทะยัก (ตามเเนวมาตรฐาน)
สังเกตอาการและนัดตรวจซ้ำ เพื่อติดตามอาการ
:!!: หมายเหตุุ : ถ้าไม่ทราบชนิดงูให้รักษาเหมือนงูมีพิษกัด
ผึ้ง ต่อ แตน ต่อย
หมายถึง
การที่ถูกต่อยแล้วมักทิ้งเหล็กในไว้ ภายในเหล็กในจะมีพิษที่มีฤทธิ์เป็นกรด บริเวณที่ถูกต่อยจะบวมแดง คันและปวด
การรักษาเบื้องต้น
พยายามเอาเหล็กในออกให้หมด โดยใช้วัสดุที่เป็นรู
เช่น กุญแจกดลงไปที่ถูกต่อย เหล็กในจะโผล่แล้วดึงออก
ใช้ผ้าชุบน้ำนาที่มีฤทธิ์ด่างอ่อน เช่น
น้ำแอมโมเนีย น้ำปูนใส เพื่อฆ่าฤทธิ์กรดที่ค้างอยู่ในแผล
อาจประคบน้ำแข็ง เมื่อแผลบวม
ถ้าปวดให้ทานยาเเก้ปวด ถ้าคันให้ทานยาแก้แพ้
แมงป่อง/ตะขาบ
หมายถึง
เมื่อถูกกัด จะมีอาการเจ็บปวดมากกว่าสัตว์ชนิดอื่น เพราะมีพิษมากกว่าสัตว์อื่น
การรักษาเบื้องต้น
ใช้สายรดเหนือบริเวณบาดแผล เพื่อป้องกันพิษแพร่กระจาย
พยายามทำให้เลือดไหลออกมาให้มากที่สุด อาจทำได้หลายวิธี เช่น เอามือบีบ เอาวัสถุที่มีรูตรงกลางมากดเพื่อเอาเลือดออก
ใช้เเอมโมเนียหอม/ทิงเจอร์ไอโอดีน 2.5% ทาให้ทั่วแผล
ถ้ามีอาการบวม อักเสบและปวดมาก ใช้ก้อนน้ำแข็งประคบบริเวณแผล เพื่อบรรทาความเจ็บปวดด้วย
ภาวะช็อค (shock)
shock
หมายถึง
ภาวะที่ร่างกาย/เนื้อเยื่อได้รับเลือดไปเลี้ยงไม่เพียงพอ ทำให้เกิดความไม่สมดุลระหว่างความต้องการและออกซิเจน
สาเหตุ
ความผิดปกติในการทำงานของหัวใจ ประสาท และต่อมไร้ท่อ
มีภาวะเสียเลือด/น้ำอย่างรุนแแรง (Hypovolumic shock)
การติดเชื้อในกระเเสเลือด (sepsis shock)
ได้รับสารพิษ เช่น ถูกสัตว์แมลงกัด ได้รับสารเคมี/ยาบางอย่าง
มีความผิดปกติของเมตาบอลิซึม เช่น น้ำตาลในเลือดต่ำ/สูงผิดปกติ
อาการและอาการแสดง
ระบบไหลเวียนโลหิตล้มเหลว เช่น BP < 90/60 มม.ปรอท Pluse pressure น้อยกว่า/เท่ากับ 20 มม.ปรอท mean arterial pressure < 60 มม.ปรอท
กระสับกระส่าย ชีพจรเบาเร็ว ซีด เหงื่อออก ตัวเย็น กระหายน้ำ อ่อนเพลีย อาเจียน จะเป็นลม ปัสสาวะน้อย/ไม่ออก หายใจเร็วถี่ ไม่สม่ำเสมอ หมดสติ
ถ้าช็อกรุนแรงม่านตาจะไม่ค่อยตอบสนองต่อแสง
การรักษาเบื้องต้น
1.ประเมินความรู้สึกตัว ABC
2.ให้นอนราบยกขาสูงขึ้น 10-20 นิ้ว เพื่อเพิ่มการไหลเวียนของเลือดจากส่วนปลายกลับสู่หัวใจ และเพิ่มเลือดไปเลี้ยงสมอง
3.ให้ออกซิเจนและให้ความอบอุ่นเเก่ร่างกาย
4.ให้สารน้ำทดแทนทางหลอดเลือดดำ เพื่อรักษาชีพจรควรให้สารน้ำที่มีความเข็มข้นใกล้เคียงกับเลือด เช่น NSS Lactated ringer's
5.งดน้ำงดอาหารทางปาก
6.ใส่สายสวนปัสสาวะค้างไว้ เพื่อดูปริมาณปัสสาวะ
7.เเก้สาเหตุของอาการช็อก
8.ส่งต่อไปสถานบริการที่มีความพร้อม
การแพ้อย่างรุนเเรง
หมายถึง
ภาวะที่เกิดขึ้นเฉียบพลัน และเป็นอันตรายต่อชีวิต เกิดจากภูมิคุ้มกันของร่างกายที่มีต่อสิ่งแปลกปลอม ซึ่งเข้าไปกระตุ้นและทำให้เกิดอาการ
สาเหตุ
การแพ้ยาโดยเฉพาะยา antibiotic
พิษจากแมลงสัตว์กัดต่อย
การแพ้อาหาร สารเคมี สารอาหารโปรตีนต่างๆ
การออกกำลังกาย/ความเย็น
อาการและอาการแสดง
ผื่นตันตามร่างกาย หน้าแดงตัวแดง
ไแจาม คัดจมูก น้ำมูกไหล เสียงแหบ
ใจสั่น หายใจไม่อิ่ม อ่อนเพลีย เป็นลม
การรู้สึกตัวเปลี่นแปลง
ช็อก หมดสติ เสียชีวิต
การรักษา
ประเมินความรู้สึกตัว ABC - หากระบบหายใจ
/ไหลเวียนหยุดทำงาน ให้ช่วยฟื้นคืนชีพทันที
ให้ adrenaline 1:1000 ขนาด 0.3-0.5 ml
IM,IV ในเด็กให้ 0.01 ml/kg/dose
ให้ออกซิเจน และสารน้ำทางหลอดเลือดดำ
โดยใช้ isotonic เพื่อรักษาอาการช็อก
ให้ยาแก้แพ้ /ถ้าที่หลอดลมอักเสบให้พ่นยาขยายหลอดลม
ส่งต่อสถานบริการ