Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
5.6 โรคติดเชื้อร่วมกับการตั้งครรภ์, นางสาวชื่นนภา มูลนิคม รหัส 602701020 -…
5.6 โรคติดเชื้อร่วมกับการตั้งครรภ์
ไวรัสตับอักเสบบี (Hepatitis B)
โรคโรคตับอักเสบบี(Hepatitis B) เป็นโรคตับชนิดร้ายแรงที่เกิดจากไวรัสตับอักเสบบี(hepatitis B virus) ซึ่งอยู่ในกลุ่ม hepadnavirus
การวินิจฉัยคัดกรองการติดเชื้อ
HBsAg: บอกถึง การติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
HBeAg: บอกถึง ความสามารถในการแบ่งตัวของไวรัสตับอักเสบบี (Viral replication)
Anti HBc: เป็นภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการตอบสนองของร่างกายต่อไวรัสตับอักเสบบี บอกถึงการ
เคยติดเชื้อไวรัสบี
Anti HBc-IgM: พบในตับอักเสบเฉียบพลัน
Anti HBc-IgG: พบได้ทั้งในตับอักเสบเฉียบพลัน, เรื้อรัง หรือแม้แต่ผู้ที่ตรวจไม่พบเชื้อแล้ว
Anti HBe: จะพบหลังจากตรวจไม่พบ HBeAg ในเลือดแล้ว
Anti HBs: จะพบหลังจากตรวจไม่พบ HBsAg ในเลือดแล้ว หรือ เป็นภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อ
ไวรัสตับอักเสบบี
อาการและอาการแสดง
ระยะฟักตัวของโรคตับอักเสบบีประมาณ 60-150 วัน
มีไข้ อ่อนเพลีย เบื4ออาหาร คลื่นใส้ อาเจียน ปวดท้องปัสสาวะสีเข้ม อุจจาระสีซีด ปวดข้อ
ในรายที4มีอาการรุนแรง มีอาการตัวเหลืองตาเหลือง
ถ้าหญิงตั้งครรภ์เป็นโรคตับอักเสบบีแบบเฉียบพลันในไตรมาสที่ 1 และ 2 จะถ่ายทอดเชื้อไวรัสสู่ทารกได้ร้อยละ 10 แต่ถ้าหญิงตั้งครรภ์มีการติดเชื้อในไตรมาสที่ 3 จะพบความของถ่ายทอดสู่ทารกได้ร้อยละ 75
ผลกระทบการติดเชื้อไวรัสตับอักเสบบี
Øเบาหวานในระหว่างตั้งครรภ์
Øการตกเลือดก่อนคลอด
Øการคลอดก่อนกำหนด
Øทารกน้ำหนักตัวน้อย
แนวทางการรรักษา
ระยะก่อนคลอด
หลีกเลี่ยงการทำสูติ การเจาะนํ้าครํ่า
หากปริมาณไวรัสในเลือดสูงกว่า 200,000 IU/mLTDF 300 mg. วนั ละ 1 ครั:ง GA 28-32 สัปดาห์
ระยะหลังคลอด
ด้านมารดาควรรับประทาน Tenofovir Disoproxil Fumarate (TDF) 300 mg. วันละ 1 ครั้ง จนถึง 4 สัปดาห์หลังคลอด
ติดตามตรวจดูระดับ ALT
ทารกแรกเกิดโดยการใช้หลัก universal precaution
Exclusive breastfeeding หากไม่มีรอยแผล
HBIG (400IU)ทันทีหรือภายใน 12ชั่วโมงหลังคลอด
ภายใน 7 วันและให้ซ้ำภายใ 1 เดือนและ 6 เดือน
บทบาทพยาบาลผดุงครรภ์
Hx.ประวัติ การได้รับวัคซีน บุคคลในครอบครัว
อาการ : ไข้ เหนื่อย อ่อนเพลีย คลื่นใส้อาเจียน ตัวตาเหลือง
ส่งตรวจเลือด
ป้องกันการแพร่กระจาย
Universal Precaution
ติดตามความก้าวหน้า ไม่กระตุ้นคลอด
ทารก : Suction ให้เร็ว หมด ทำความสะอาด
BF
คุมกำเนิด ตรวจสุขภาพประจำปี
ป้องกันการแพร่กระจายเชื้อ
หัดเยอรมัน (Rubella, German measles)
โรคหัดเยอรมันเกิดจากการติดเชื้อไวรัสชื่อรูเบลลาไวรัส (Rubella Virus)การติดเชื้อสามารถเกิดขึ้นโดยการสัมผัสโดยตรงต่อสารคัดหลั่งจาโพรงจมกูและปากของผู้ติดเชื้อ
แพร่เข้ากระแสเลือดในรกเป็นสาเหตุทำให้ติดต่อไปยังทารกในครรภ์
มีระยะฟักตัวประมาณ 14-21 วันหลังสัมผัสโรค ระยะการแพร่กระจายเชื้อคือ 7 วันก่อนผื่นขึ้นจนถึง 7 วันหลังผื่นขึ้น
การวินิจฉัย
การซักประวัติการสัมผัสโรค ตรวจร่างกายว่ามีผื่นขึ้นหรือไม่
ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ : ELISA
การตรวจ IgM และ IgG ซึ่ง specific antibody ต่อเชื้อหัดเยอรมัน การส่งตรวจระดับ IgG ทันทีที่มีผื่นขึ้นหรือภายใน 7-10 วันหลังผื่นขึ้น ควรติดตามการเพิ่มขึ้นของระดับไตเตอร์เป็น 4 เท่าใน 2 สัปดาห์ต่อมา
อาการและอาการแสดง
ระยะก่อนออกผื่น
ไข้ต่ำ ปวดศีรษะ ตาแดง คออักเสบ ปวดกล้ามเนื้อ ก่อนที่จะออกผื่น 1-2 วัน (2 วันหลังมีไข้) จะพบจุดสีขาวเหลืองขนาดเล็กคล้ายเม็ดงาอยู่ที่กระพุ้งแก้มบริเวณใกล้กับฟันกรามล่าง (ถ้าเป็นมากจะพบอยู่เต็มกระพุ้งแก้ม) ซึ่งเรียกว่า Koplik's spot
ระยะออกผื่น
มีผื่นขึ้นหลังมีไข้ 3-4 วัน จะมีผื่นแดงเล็กๆ (erythematous maculopapular) มีตุ่มนูน ผื่นแดงหรือสีชมพูขึ้นที่ใบหน้าก่อนจะลามลงมาตามผิวหนังส่วนอื่น ๆ เช่น แขน ขา และจะค่อย ๆ หายไปภายใน 3 วัน
ภาวะแทรกซ้อน
หูหนวก
หัวใจพิการ
ต้อกระจก
การรักษาพยาบาล
ถ้าพบว่าเป็นโรคหัดเยอรมัน สำหรับหญิงตั้งครรภ์ในระยะ 3 เดือนแรก แพทย์จะแนะนำให้ยุติการตั้งครรภ์
รายที่ไม่ต้องการยุติการตั้งครรภ์ แพทย์อาจพิจารณาฉีด Immunoglobulin ให้แก่ผู้ป่วย ซึ่งวิธีนี้ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อของทารกในครรภ์ได้ แต่สามารถช่วยลดความรุนแรงของโรคที่เกิดกับทารกได้
รักษาแบบประคับประคองคำแนะนำสำหรับผู้ที่ติดเชื้อหัด
-แนะนำพักผ่อนให้เพียงพอ -แนะนำดื่มน้ำให้เพียงพอ จิบบ่อย ๆ -ถ้ามีไข้แนะนำรับประทานยา paracetamal ตามแพทย์สั่ง
ซิฟิลิส (Syphilis)
ซิฟิลิส เกิดจากการติดเชื้อ Treponema pallidum เป็นแบคทีเรียชนิดเกลียว เชื้อเข้าสู่ร่างกายทางรอยฉีกขาดของผนังช่องคลอด และแพร่กระจายผ่านระบบหลอดเลือดและน้ำเหลือง
ส่งผลให้มีการอักเสบของปลายหลอดเลือดเล็ก ๆ ผนังหนาตัวและเกิดการอุดตันของรูหลอดเลือด ผิวหนังขาดเลือด ตายและเกิดแผล สามารถติดเชื้อจากมารดาไปยังทารกได้โดยการแพร่ผ่านรกโดยตรง และขณะคลอดทางช่องคลอดที่มีรอยโรค
การวินิจฉัย
เจาะจงกับเชื้อซิฟิลิสคือ FTA-ABS (Fluorescent Treponemal Antibody Absorption Test)
การส่งตรวจน้ำไขสันหลังเพื่อวินิจฉัย
อาการและอาการแสดง
1.ซิฟิลิสปฐมภูมิ (primary syphilis) หลังจากได้รับเชื้อ 10-90 วัน เป็นระยะที่มีแผลริม
แข็งมีตุ่มแดงที่อวัยวะเพศ ริมฝีปาก เป็นลักษณะขอบนูนไม่เจ็บ ต่อมน้เหลืองโตกดไม่เจ็บ จะเป็นแผล1-5 สัปดาห์จะหายไปเอง
2.ซิฟิลิสทุติยภูมิ (secondary syphilis) อาการสำคัญคือผื่นในช่วง 2-3 สัปดาห์หลังจาก
แผลริมแข็งหายแล้ว ผื่นที่เกิดขึ้นจะมีลักษณะสีแดงน้ำตาลไม่คัน พบทั่วตัวผ่ามือผ่าเท้าอาจมีไข้หรือปวดตามข้อจากการเกิดข้ออักเสบ ต่อน้ำเหลืองโต ผมร่วง
3.ซิฟิลิสระยะแฝง (latent syphilis) หลังจากได้รับเชื้อ 2-30 ปี เป็นช่วงที่ไม่มีอาการ
4.ซิฟิลิสระยะตติยภูมิ (tertiary or late syphilis) หลังจากได้รับเชื้อ 2-30 ปี เชื้อจะ
ทำลายอวัยวะภายในเช่น หัวใจและหลอดเลือดสมอง ตาบอด
ภาวะแทรกซ้อน
เสี4ยงต่อการแท้งหลังอายุครรภ์ 4 เดือน
การคลอดก่อนกำหนด
ทารกในครรภ์โตช้า
ทารกบวมน้ำ
ทารกตาบอด
การรักษา
1.การรักษาระยะต้น ให้ยา Benzathine penicillin G 2.4 mUIM ครั้งเดียว แบ่งฉีดที่สะโพก ข้างละ 1.2 mU อาจลดอาการปวด โดยผสม 1% Lidocaine 0.5-1 ml
2.การรักษาระยะปลาย ให้ยา Benzathine penicillin G 2.4 mUIM สัปดาห์ละครั้ง นาน 3 สัปดาห์ แบ่งฉีดที่สะโพก ข้างละ 1.2 mU อาจลดอาการปวด โดยผสม 1% Lidocaine 0.5-1 ml
การพยาบาล
ระยะตั้งครรภ์
ควรอธิบายให้เห็นความสำคัญของการตรวจคัดกรองซิฟิลิสขณะตั้งครรภ์ โดยการตรวจครั้งแรกเมื่อมาฝากครรภ์ครั้งแรก และตรวจซ้ำอีกครั้งในไตรมาสที่ 3
ดูแลให้ได้รับยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา อธิบายให้เห็นความจำเป็นของการต้องรักษาแต่เนิ่น ๆ การรักษาให้ครบตามแผนการรักษา เพื่อป้องกันเชื้อดื้อยาและลดภาวะแทรกซ้อนต่อทารกในครรภ์ เน้นการมาฝากครรภ์และตรวจตามนัด โดยเฉพาะการติดตามผลภายหลังรักษาเมื่อ 6 และ 12 เดือน
แนะนำการรักษาความสะอาดอวัยวะเพศ และการป้องกันโรคโดยการสวมถุงยางอนามัย
แนะนำให้พาสามีมาตรวจและรักษาด้วย เพื่อป้องกันการติดเชื้อซ้ำ
ให้การปรึกษาและดูแลทางด้านจิตใจ เปิดโอกาสให้ซักถามและระบายความรู้สึก
ระยะคลอด
เน้นการใช้หลัก Universal precaution และป้องกันการติดเชื้อโดยดูดเมือกออกจากปากและ
จมูกโดยเร็วและเจาะเลือดจากสายสะดือทารกเพื่อส่งตรวจการติดเชื้อซิฟิลิส
ระยะหลังคลอด
สามารถให้นมได้ตามปกติ ล้างมือก่อนและหลังสัมผัสทารก
โรคเริมที่อวัยวะเพศ (Genital herpes simplex infection)
การติดเชื้อ Herpes simplex virus (HSV) ทำให้เกิดการติดเชื้อหลายระบบทั่วร่างกาย โดยแบ่งได้เป็นสองกลุ่มใหญ่ คือ HSV type 1 ซึ่งทำให้เกิดเริมที่ปาก (Orolabial herpes infection) และ HSV type 2 ซึ่งทำให้เกิดโรคเริมที่อวัยวะเพศและทวารหนัก (anogenital herpes infection) ทั้งสองกลุ่มที่มีความคล้ายคลึงกันและมีบาง antigens เหมือนๆ กัน
อาการและอาการแสดง
การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดจากการร่วมเพศ โดยจะเกิดเป็นกลุ่ม vesicles ที่ผิวหนังของอวัยวะเพศ
มีอาการปวดแสบปวดร้อนมาก มักมีอาการทาง systemic ร่วมด้วย เช่น ไข้ ปวดเมื่อยตัว ต่อมน้ำเหลืองโต และอ่อนเพลียในรายที่ติดเชื้อครั้งแรก
หลังจากนั้นเชื้อ HSV จะหลบไปอยู่ใน dorsal root ของ sacral ganglia การกลับเป็นซ้ำเกิดได้ตั้งแต่ไม่กี่สัปดาห์จนถึงหลายเดือนหลังการเป็นครั้งแรก
ภาวะแทรกซ้อน
ทารกที่ติดเชื้อในร่างกาย อาจมีตุ่มน้ำใสๆ ตามร่างกาย ตาอักเสบ มีไข้หนาวสั่น ซึม ไม่ดูดนม ตับม้ามโต มีการอักเสบของปาก
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ปัจจัยเสี่ยง ประวัติการสัมผัสผู้ติดเชื้อ อาการและอาการแสดงของการ
ติดเชื้อ เช่น ตุ่มน้ำใส เป็นๆ หายๆ บริเวณเดิม ปวดแสบปวดร้อน ถ่ายปัสสาวะลำบาก
การตรวจร่างกาย สังเกตเห็นตุ่มน้ำใสแตกจะเป็นแผลอักเสบ มีอาการปวดแสบปวด
ร้อนมาก ขอบแผลกดเจ็บและค่อนข้างแข็ง ลักษณะตกขาว
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
-การเพาะเชื้อ (culture) โดยใช้ของเหลวที่ได้จากตุ่มใสที่แตกออกมา หรือการขูดเอาจากก้นแผล จะพบ multinucleated giant cell
-เซลล์วิทยา (cytology) โดยวิธี Tzanck smear ขูดเนื้อเยื่อบริเวณก้นแผล แล้วย้อมสี Wright หรือ Giemsa เพื่อดู multinucleated giant cells
การรักษา
ควรให้ยาปฏิชีวนะและดูแลแผลให้สะอาดในรายที่ติดเชื้อ แผลไม่สะอาด
การให้ยา antiviral drug เช่น acyclovir, valacyclovir และ famciclovir ไม่มีผลต่อ
การตั้งครรภ์ สามารถให้ได้อย่างปลอดภัย อาจให้ยารับประทานขนาดต่ำติดต่อเป็นเวลานานหรือการรักษาแบบกดอาการ (suppressive therapy) เพื่อยืดระยะการกลับเป็นซ้ำแต่ละครั้งให้ยาวขึ้นแต่ไม่สามารถกำจัดไวรัสให้หายขาดได้ ยา antivirus ชนิดครีมทาไม่มีผลในการรักษาเท่ากับยากินหรือยาฉีด
ในสตรีตั้งครรภ์ที่เจ็บครรภ์คลอดโดยที่มี Herpes lesion ควรได้รับการผ่าตัดคลอดทาง
หน้าท้องเพื่อหลีกเลี่ยงไม่ให้ทารกได้รับเชื้อจากการสัมผัสสิ่งคัดหลั่งในช่องคลอด
การพยาบาลสตรีตั้งครรภ์ที่ติดเชื้อเริม
ระยะตั้งครรภ์
ล้างแผลด้วยน้ำเกลือ 0.9% หรือสารละลาย zinc sulphate 0.25-1% วันละ 2-3 ครั้ง แนะนำเกี่ยวกับการนั่งแช่ก้นด้วยน้ำอุ่น (hot sitz bath) วันละ 3-4 ครั้ง รับประทานยาแก้ปวดตามแผนการรักษา
เพิ่มภูมิต้านทานโดยการรับประทานอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ พักผ่อนอย่างเพียงพอ
ออกกำลังกายเป็นประจำ และการตรวจสุขภาพประจำปี โดยเฉพาะการทำ pap smear
ดูแลการให้ยาต้านไวรัสตามแผนการรักษา
หลีกเลี่ยงการมีเพศสัมพันธ์ขณะมีแผล ควรใช้ถุงยางอนามัยเพื่อป้องกันแพระกระจาย
ของเชื้อ
แนะนำการเลี้ยงบุตรด้วยนมมารดา ควรล้างมือให้สะอาดก่อนสัมผัสหรือให้นมบุตร
ลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับการผ่าตัดและการแพร่เชื้อไปยังทารก ต้องประคับประคอง
จิตใจ กระตุ้นให้ระบายความรู้สึก ให้ข้อมูลที่เป็นจริง รวมทั้งโอกาสเสี่ยงของการติดเชื้อไปยังทารก
ระยะคลอด
เน้นการใช้หลัก Universal precaution และหลีกเลี่ยงการทำหัตถการ เช่น
การตรวจภายใน เจาะถุงน้ำ และต้องทำความสะอาดทารกทันทีหลังคลอด
ระยะหลังคลอด
สามารถให้นมได้ตามปกติ ล้างมือก่อนและหลังสัมผัสทารก
นางสาวชื่นนภา มูลนิคม รหัส 602701020