Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารหอผู้ป่วย การมอบหมายงาน การนิเทศงานและระบบการดูแลผู้ป่วย - Coggle…
การบริหารหอผู้ป่วย การมอบหมายงาน การนิเทศงานและระบบการดูแลผู้ป่วย
ขอบเขตและความรับผิดชอบของผู้บริหารทางการพยาบาลในหน่วยบริการสุขภาพ
การบริหารการพยาบาลในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ
1. การวางแผน (Planning)
กำหนดจุดมุ่งหมายขององค์กร
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและประเมินศักยภาพขององค์การ
การจัดทำแผนกำหนดทางเลือกและเกณฑ์ปฏิบัติ
ปฏิบัติตามแผน หลังจากได้รับอนุมัติแผนงานหรือโครงการแล้ว
ประเมินผลและทบทวนแผน
การจัดสรรงบประมาณ (Budget)
ตรวจสอบงบประมาณที่ได้รับกับงบจัดสรรว่าตรงกันหรือไม่
จัดทำหรือปรับแผนปฏิบัติงานประจำปี ในงานที่พยาบาลรับผิดชอบ
เตรียมการเพื่อเบิกเงินงบประมาณล่วงหน้า เพื่อให้ทันกับโครงการ
จัดทำบัญชีในการควบคุมใช้งบประมาณตามจริง
ดำเนินการจัดซื้อจัดจ้าง ในรายการที่ได้รับการจัดสรรงบประมาณ
รายงานความก้าวหน้าในการใช้งบประมาณตามงวด
ตระหนักในการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด
2. การจัดองค์กรการพยาบาลในชุมชน
วัตถุประสงค์ขององค์กรหรือจุดมุ่งหมายขององค์การ เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติงานขององค์กร
โครงสร้างขององค์กรต้องมีการกำหนดโครงสร้างเพื่อให้ทราบว่ามีการแบ่งงานกัน
กระบวนการปฏิบัติงานเป็นการกำหนดระเบียบแบบแผนวิธีปฏิบัติงานในองค์กร
บุคคลต้องมีการกำหนดมอบหมายงานภารกิจในแต่ละบุคคล และกำหนดการประสานงานที่เหมาะสม
3. การนำหรืออำนวยการ (Directing)
เนื่องจากต้องมีการสั่งการ มอบหมายงานต่างๆโดยทั่วไปใช้หลักการทฤษฎีภาวะผู้นำ แรงจูงใจหรือการนำการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถนำองค์กรไปสู่ความสำเร็จได้
4. การควบคุมกำกับงาน (Controlling)
การกำหนดเป้าหมายในการควบคุมกำกับงาน
การพัฒนามาตรฐานในการปฏิบัติงานโดยการสร้างมาตรฐานก่อนปฏิบัติงาน
การวัดผลงานและเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐาน
การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
การบริหารการพยาบาลในหน่วยบริการทุติยภูมิและตติยภูม
ตำแหน่งผู้บริหารการพยาบาล
ผู้บริหารระดับสูง (Top level administration) ได้แก่ ผู้อำนวยการพยาบาล หรือหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หรือหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล
ผู้บริหารระดับกลาง (Middle level administration) ได้แก่ ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล (Subdirector of nursing or Associate director of nursing) และหัวหน้าแผนกการพยาบาล (Head department)
ผู้บริหารระดับต้น (First level administration) ได้แก่ ผู้ตรวจการพยาบาล (Supervisor nurse) และหัวหน้าหอผู้ป่วย (Head nurse หรือ Nurse manager)
บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารการพยาบาล
บทบาทหน้าที่รับผิดชอบของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล / หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล
รับนโยบายจากผู้อำนวยการ
กำหนดปรัชญา นโยบาย วิสัยทัศน์พันธกิจและเป้าหมายทางการพยาบาล
เป็นผู้นำในการจัดทำแผนกลยุทธ์แผนงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน
กำหนดมาตรฐานบริการพยาบาลในภาพรวม
กำหนดเกณฑ์ในการสรรหา/คัดเลือกบุคลากร
กำหนดขอบเขตงานหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของบุคลากรทุกระดับ
ควบคุม กำกับประเมินผลและวิเคราะห์ระบบการพยาบาลของหน่วยงาน
ประสานงานกับส่วนราชการต่างๆ
เป็นที่ปรึกษาทางการพยาบาล
นิเทศงานการพยาบาลทั้งในและนอกโรงพยาบาล
จัดหา ควบคุมพัสดุครุภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์และทางการพยาบาลให้เพียงพอ
จัดหาและจัดสรรอัตรากำลังให้กับหน่วยงานต่างๆ
ปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่และผู้มาฝึกงานการพยาบาลในโรงพยาบาล
ควบคุมระบบบริหารงานเกี่ยวกับการบริหารอัตรากำลัง การบริหารอุปกรณ์ การบริหารอาคารสถานที่
ส่งเสริมและริเริ่มการรักษา ค้นคว้าวิจัยทางการพยาบาล
จัดสวัสดิการให้กับเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลทุกระดับ
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของพยาบาลเวรตรวจการ
ปฏิบัติหน้าที่แทนหัวหน้าพยาบาลนอกเวลาราชการ
ตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่,ให้คำปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการพยาบาลการจัดอัตรากำลังในกรณีฉุกเฉินและอื่น ๆ
ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกับหัวหน้าเวร
บริหารจัดการเรื่องอาคารสถานที่เครื่องมืออุปกรณ์ให้สะอาดเพียงพอและพร้อมใช้
บริหารจัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์พิเศษในหน่วยงาน เช่น อุบัติเหตุหมู่ ไฟไหม้อื่นๆ
. บันทึกเหตุการณ์สำคัญยอดผู้ป่วยและภาระงาน ส่งต่อให้หัวหน้าพยาบาล หัวหน้างาน/หอผู้ป่วย ทุกวันทำการ
เสนอรายงานเหตุการณ์ผิดปกติหรือเหตุการณ์ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ต่อหัวหน้าพยาบาลและผู้อำนวยการ
ปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการ
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของหัวหน้าหอผู้ป่วย
รับนโยบายจากกลุ่มการพยาบาล
กำหนดปรัชญา นโยบาย วิสัยทัศน์และพันธกิจในหน่วยงาน
เป็นผู้นำในการจัดทำแผนกลยุทธ์แผนปฏิบัติงานในหน่วยงาน
วางแผนการดำเนินงานต่างๆในหน่วยงาน
ควบคุม กำกับประเมินผลและวิเคราะห์ระบบการบริการพยาบาลในหน่วยงาน
เป็นที่ปรึกษาและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน
ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
วางแผนและจัดสรรอัตรากำลังในหน่วยงาน
จัดตารางการปฏิบัติงาน
ส่งเสริมและสร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากร
นิเทศบุคลากรทุกระดับในหน่วยงาน
กำหนดความต้องการใช้พัสดุครุภัณฑ์ประจำปี
ให้การพยาบาลผู้ป่วยทั่วไปและที่มีปัญหาซับซ้อนครอบคลุมทั้ง 4 มิติ
ปรับปรุง /พัฒนาควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการพยาบาล
เป็นที่ปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการพยาบาลและงานในหน้าที่แก่บุคลากรทุกระดับและนักศึกษาที่มาฝึกงาน/อบรม
สนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาศักยภาพด้านการปฏิบัติและทักษะทางการพยาบาล
ปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่และผู้ศึกษาดูงานในหน่วยงาน
ทีมการพยาบาล
วัตถุประสงค์
เพื่อปรับปรุงบริการพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น
ช่วยพัฒนาความรู้และทักษะของสมาชิกทีม
ช่วยแบ่งเบางานที่ไม่จำเป็นต้องให้พยาบาลรับผิดชอบและแก้ปัญหาจำนวนเจ้าหน้าที่น้อย
เพื่อฝึกฝนให้เป็นผู้นำที่ดี
ลักษณะเฉพาะ
หัวหน้าทีมจะต้องเป็นพยาบาลวิชาชีพ
เน้นการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
แผนงานของทีมเกิดจากความเห็นชอบร่วมกันของสมาชิก
มีแผนการพยาบาล(nursing care plan) หรือแบบแผนการดูแล (care map)
มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างสมาชิกทีมการพยาบาล
องค์ประกอบ
ผู้นำหรือหัวหน้าทีมการพยาบาล : เป็นผู้รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า
แผนงาน ในทีมต้องมีการวางแผนงานของทีม : เพื่อนำไปสู่การพยาบาลที่มีคุณภาพ
สมาชิก : เป็นองค์ประกอบสำคัญของทีม
การประสานงาน : จะเกิดขึ้นภายในทีม ระหว่างทีม และระหว่างวิชาชีพ
การรายงาน : ตลอดเวลาที่มีการปฏิบัติงาน
การประเมินผลการพยาบาล : เพื่อหาข้อแก้ไขและปรับปรุงให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
หัวหน้าเวร (Nurse In charge)
สามารถวางแผนปฏิบัติการพยาบาลและตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
นำประชุมปรึกษากับทีมงาน กำหนดแผนการพยาบาล
วางแผนและมอบหมายงานให้หัวหน้าทีม
ตัดสินแก้ปัญหาทางการพยาบาลในแต่ละสถานการณ์ และรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ
ประสานงานกับทีมสุขภาพ ได้แก่ แพทย์, นักายภาพบำบัด, เภสัชกร เป็นต้น
กำหนดระบบและกระบวนการดำเนินงานนิเทศและประเมินผลงาน
บริหารบุคคลในสายงานพยาบาล, บริหารทรัพยากรในการดำเนินการพยาบาล
บันทึกและรายงานการปฏิบัติการพยาบาล
หัวหน้าทีม (Nurse Leader)
ร่วมประชุมปรึกษาทางการพยาบาลของผู้ป่วยในทีม
ปฏิบัติตามแผนการพยาบาลที่วางไว้
ประสานงานกับหัวหน้าเวร
ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
ปรึกษาและร่วมแก้ปัญหาทางการพยาบาลกับหัวหน้าเวร
รายงานการทำงานกับหัวหน้าเวร
ดูแลเครื่องมือและจัดเก็บการบำรุงรักษา
บันทึกและรายงานการปฏิบัติการพยาบาล
สมาชิกทีม (Member)
ประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ให้การพยาบาลเฉพาะโรคได้ทุกระดับปัญหา และทุกระดับความรุนแรงของโรค
ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรคขั้นต้น
การสนับสนุนการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการ
การสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการ
วางแผนและดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ
สังเกต บันทึก สรุป รายงานการเปลี่ยนแปลง
การบริหารหอผู้ป่วย
อำนาจหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้บริหารงานหอผู้ป่วย
เป็นผู้บริหาร ดำเนินการงานด้านการพยาบาลให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์
วางแผนการปฏิบัติงาน ควบคุม กำกับวินิจฉัยสั่งการและตรวจสอบ
เป็นผู้นิเทศ ส่งเสริมความสามารถและการปฏิบัติการพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น
เป็นผู้ประสานการรักษาพยาบาล
เป็นผู้สนับสนุนประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาล ติดตามประเมินผล
เป็นผู้พัฒนา ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงงาน
เป็นผู้รับผิดชอบทุกอย่างในหน่วยงาน
การจัดหอผู้ป่วย
หลักการ
ความเป็นสัดส่วน (Privacy)
ความปลอดภัย (safety)
การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ (Infection control)
ควบคุมเสียง (noise control)
หลักการจัดระบบงาน
กำหนดวัตถุประสงค์การบริการผู้ป่วย
กำหนดขอบเขตความรับผิดชอบ
กำหนดอัตรากำลังและประเภทของเจ้าหน้าที่แต่ละระดับ
กำหนดหน้าที่รับผิดชอบ และลักษณะงาน
กำหนดการติดต่อสื่อสาร ขั้นตอนการรายงานต่างๆ
จัดทำคู่มือปฏิบัติการพยาบาล
การวางแผนให้การพยาบาล
นโยบายด้านบุคลากร
จัดหาเครื่องมือเครื่องใช้
การบันทึกการรายงาน
การเสริมความรู้ด้านวิชาการ
มีการติดต่อประสานงานกับทีมสุขภาพทุกสาขาที่เกี่ยวข้อง
มีการประเมินผล
การจัดอัตรากำลังทางการพยาบาล (Nursing Staffing)
วัตถุประสงค์
เพื่อกำหนดปริมาณอัตรากำลังให้มีบุคลากรทางการพยาบาลในการดูแลผู้ป่วย
เพื่อจัดให้มีสัดส่วนการผสมผสานการจัดอัตรากำลังบุคลากรทางการพยาบาลแต่ละระดับ/ประเภทอย่างเหมาะสม
เพื่อออกแบบหรือรูปแบบ การจัดตารางเวลาการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการพยาบาลให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมกับองค์การ
กระบวนการ
การวางแผนอัตรากำลัง (Staffing planning)
การจัดตารางการปฏิบัติงาน (Scheduling)
การกระจายอัตรากำลัง (Staffing allocation)
การมอบหมายงาน (Assignment )
การมอบหมายงานเฉพาะหน้าที่ (Functional Method)
การมอบหมายงานเป็นทีม (Tem Method)
การมอบหมายงานเฉพาะรายผู้ป่วย (Case Method)
การมอบหมายงานแบบพยาบาลเจ้าของไข้ (Primary Methods)
การมอบหมายงานแบบผสมผสาน (Multiple Method)
การมอบหมายแบบผู้จัดการกรณีหรือผู้จัดการการดูแลผู้ป่วย (Case management)
จุดประสงค์
เพื่อกำหนดขอบเขตความรับผิดชอบและหน้าที่แต่ละคนเพื่อไม่ให้งานซ้ำซ้อน
เพื่อให้การพยาบาลที่มีประสิทธิภาพตรงเวลาถูกต้องตามหลักวิชาการ
เพื่อเป็นแนวทางในการประเมินผลการปฏิบัติงาน
เพื่อความสะดวกแก่การบริหารงานในหอผู้ป่วย
ระเบียบการมอบหมายงาน
ถ้ามีการเปลี่ยนแปลงการมอบหมายงานต้องแจ้งให้สมาชิกทราบล่วงหน้า
ตรวจสอบการมอบหมายงานทุกวันเพื่อปรับเปลี่ยนกรณีที่มีปัญหา
กำหนดเวลาให้ชัดเจนเช่นเวลาพัก
ต้องชี้แจงการมอบหมายงานให้สมาชิกทราบก่อนปฏิบัติงาน
ระยะเวลาในการมอบหมายงาน
จำนวนวันที่ได้รับมอบหมายในแต่ละครั้ง ควรอยู่ในช่วง 4 – 7 วัน
การนิเทศงานการพยาบาล
ลักษณะการนิเทศการพยาบาล
เน้นพฤติกรรมผู้นิเทศ
การนิเทศแบบอัตตาธิปไตย (traditional autocratic form) การตัดสินใจหรือการสั่งการขึ้นอยู่กับผู้นิเทศคนเดียว
การนิเทศแบบประชาธิปไตย (democratic form) คำนึงถึงจิตใจของผู้นิเทศ เอาใจใส่ต่อความสนใจ ความรู้สึก ความต้องการของมนุษย์
เน้นจุดประสงค์การนิเทศ
การนิเทศที่มุ่งผลผลิต (Production - centered) เน้นผลสำเร็จของงานเป็นหลัก
การนิเทศที่มุ่งตัวบุคคล (person - centered) เน้นความเป็นคนมนุษยสัมพันธ์
วิธีการนิเทศ
การนิเทศใกล้ชิด (close supervision) เหมาะสำหรับการนิเทศบุคลากรที่เพิ่งจบการศึกษาใหม่ ๆ ขาดประสบการณ์
การนิเทศอิสระ (general supervision) ให้อิสระแก่ผู้ปฏิบัติได้ใช้ความคิดความสามารถของตนเองได้อย่างเต็มที่
องค์ประกอบของผู้นิเทศ
ความสามารถด้านเทคนิค
ความสามารถด้านวิชาการ
ความสามารถด้านการสอน แนะนำและให้คำปรึกษา
ความสามารถด้านมนุษย์
ความสามารถด้านบริหารงาน
บทบาทของผู้นิเทศในการปฏิบัติการนิเทศ
เป็นตัวกลางของการติดต่อสื่อสาร
เป็นผู้สร้างแรงจูงใจในการปฏิบัติงาน
เป็นผู้ให้คำแนะนำปรึกษา
เป็นผู้ประสานนโยบาย
เป็นแหล่งความรู้ทางการพยาบาล
หลักการนิเทศ
หลักปรัชญาการนิเทศ การนำหลักวิทยาศาสตร์มาใช้แก้ปัญหา
หลักจิตวิทยาการนิเทศ
ทัศนคติและความรู้สึกของบุคลากรทางการพยาบาลต่อการนิเทศ
พื้นฐานของผู้ถูกนิเทศ
ความต้องการของผู้ถูกนิเทศ
ความต้องการพื้นฐานของมนุษย์
หลักการเป็นผู้นำ
หลักการมนุษยสัมพันธ์
หลักการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพ
กิจกรรมการนิเทศทางการพยาบาล
นิเทศการปฏิบัติการพยาบาล
นิเทศบุคลากรทางการพยาบาล
นิเทศสภาพแวดล้อมทางการบริหาร