Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ ๖ การบริหารการพยาบาล - Coggle Diagram
บทที่ ๖ การบริหารการพยาบาล
๑.ขอบเขตและความรับผิดชอบของผู้บริหารทางการพยาบาลในหน่วยบริการสุขภาพ
ผู้บริหารการพยาบาล (Nurse Administration)
หมายถึง พยาบาลที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งผู้บริการ มีหน้าที่กำหนดนโยบายงานในองค์การพยาบาล เพื่อให้บุคลากรพยาบาลที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ตำแหน่ง “ผู้บริหารการพยาบาล” นิยมใช้ในองค์การพยาบาลรัฐบาล
ผู้จัดการพยาบาล (Nurse Manager)
หมายถึง พยาบาลที่ปฏิบัติงานในตำแหน่งบริหาร มีหน้าที่นำนโยบายขององค์การพยาบาลไปดำเนินการให้บรรลุเป้าหมาย ตำแหน่ง “ผู้จัดการพยาบาล” นิยมใช้ในองค์การพยาบาลเอกชน
โครงสร้างระบบบริการสุขภาพ
ซึ่งปัจจุบันมีการแบ่งระดับการให้บริการสุขภาพออกเป็น ๓ ระดับ ได้แก่
ระดับปฐมภูมิ (Primary care level)
เป็นบริการที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนและชุมชนมากที่สุด มีการรักษาดูแลในภาวะที่ไม่ซับซ้อนจึงเน้นที่ความครอบคลุมมีการบริการผสมผสานทั้งในด้านการรักษาพยาบาลการส่งเสริมสุขภาพการป้องกันควบคุมโรค
ระดับทุติยภูมิ (Secondary care level)
เป็นบริการที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ในระดับที่สูงขึ้นเน้นการบริการรักษาพยาบาลโรคที่ยากซับซ้อนมากขึ้นได้แก่โรงพยาบาลชุมชนในระดับอำเภอโรงพยาบาลทั่วไปในระดับจังหวัดและโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม
ระดับตติยภูมิ (Tertiary care level)
และศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง (Tertiary Care and Excellent Center) เป็นการบริการที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงมีความสลับซับซ้อนมากมีบุคลากรทางการแพทย์ในสาขาเฉพาะทางสังกัดกระทรวงสาธารณสุขที่เป็นโรงพยาบาลศูนย์สถาบันเฉพาะทางต่างๆหรือหรือสังกัดมหาวิทยาลัยและโรงพยาบาลเฉพาะโรคต่างๆ ที่ต้องมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางโดยเฉพาะ
๑.๑ การบริหารการพยาบาลในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ
การวางแผน (Planning)
การจัดองค์กร (Organizing)
การนำหรือการอำนวยการ (Directing)
การควบคุม (Controlling)
๑.๒ การบริหารการพยาบาลในหน่วยบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ
ตำแหน่งผู้บริหารการพยาบาล
ตำแหน่งผู้บริหารการพยาบาลมี ๓ ระดับ ได้แก่
๑. ผู้บริหารระดับสูง (Top level administration)
ได้แก่ ผู้อำนวยการพยาบาล หรือหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หรือหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล
๒. ผู้บริหารระดับกลาง (Middle level administration)
ได้แก่ ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล (Sub-director of nursing or Associate director of nursing) และหัวหน้าแผนกการพยาบาล (Head department)
๓. ผู้บริหารระดับต้น (First level administration)
ได้แก่ ผู้ตรวจการพยาบาล (Supervisor nurse) และหัวหน้าหอผู้ป่วย (Head nurse หรือ Nurse manager)
บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารการพยาบาล
บทบาทหน้าที่รับผิดชอบของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล / หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล
๑. รับนโยบายจากผู้อำนวยการ
๒. กำหนดปรัชญา นโยบาย วิสัยทัศน์พันธกิจและเป้าหมายทางการพยาบาล
๓. เป็นผู้นำในการจัดทำแผนกลยุทธ์แผนงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน แผนปฏิบัติการของกลุ่มการพยาบาล
๔. กำหนดมาตรฐานบริการพยาบาลในภาพรวม
๕. กำหนดเกณฑ์ในการสรรหา/คัดเลือกบุคลากร
๖. กำหนดขอบเขตงานหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของบุคลากรทุกระดับ
๗. ควบคุม กำกับประเมินผลและวิเคราะห์ระบบการพยาบาลของหน่วยงาน
๘. ประสานงานกับส่วนราชการต่างๆ
๙. เป็นที่ปรึกษาทางการพยาบาล
๑๐. นิเทศงานการพยาบาลทั้งในและนอกโรงพยาบาล
๑๑. จัดหา ควบคุมพัสดุครุภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์และทางการพยาบาลให้เพียงพอ
๑๒. จัดหาและจัดสรรอัตรากำลังให้กับหน่วยงานต่างๆ
๑๓. ปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่และผู้มาฝึกงานการพยาบาลในโรงพยาบาล
๑๔. ควบคุมระบบบริหารงานเกี่ยวกับ
๑๕. ส่งเสริมและริเริ่มการรักษา ค้นคว้าวิจัยทางการพยาบาล
๑๖. จัดสวัสดิการให้กับเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลทุกระดับ
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของ
พยาบาลเวรตรวจการ
ปฏิบัติหน้าที่แทนหัวหน้าพยาบาลนอกเวลา
ราชการ
ตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่ ให้คำปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการพยาบาลการจัดอัตรากำลังในกรณีฉุกเฉินและอื่น ๆ
ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกับหัวหน้าเวร
บริหารจัดการเรื่องอาคารสถานที่เครื่องมืออุปกรณ์
ให้สะอาดเพียงพอและพร้อมใช้
บริหารจัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์พิเศษในหน่วยงาน
เช่น อุบัติเหตุหมู่ ไฟไหม้อื่นๆ
บันทึกเหตุการณ์สำคัญยอดผู้ป่วยและภาระงาน ส่ง
ต่อให้หัวหน้าพยาบาล หัวหน้างาน/หอผู้ป่วย ทุก
วันทำการ
เสนอรายงานเหตุการณ์ผิดปกติหรือเหตุการณ์ที่ไม่
สามารถแก้ไขได้ต่อหัวหน้าพยาบาลและผู้อำนวย
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของ
หัวหน้าหอผู้ป่วย
๑. รับนโยบายจากกลุ่มการพยาบาล
๒. กำหนดปรัชญา นโยบาย วิสัยทัศน์และพันธกิจในหน่วยงาน
๓. เป็นผู้นำในการจัดทำแผนกลยุทธ์แผนปฏิบัติงานในหน่วยงาน
๔. วางแผนการดำเนินงานต่างๆในหน่วยงาน
๕. ควบคุม กำกับประเมินผลและวิเคราะห์ระบบการบริการพยาบาลในหน่วยงาน
๖. เป็นที่ปรึกษาและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน
๗. ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๘. วางแผนและจัดสรรอัตรากำลังในหน่วยงาน
๙. จัดตารางการปฏิบัติงาน
๑๐. ส่งเสริมและสร้างขวัญและกำลังใจแก่บุคลากร
๑๑. นิเทศบุคลากรทุกระดับในหน่วยงาน
๑๒. กำหนดความต้องการใช้พัสดุครุภัณฑ์ประจำปี
๑๓. ให้การพยาบาลผู้ป่วยทั่วไปและที่มีปัญหาซับซ้อนครอบคลุมทั้ง ๔ มิติ
๑๔. ปรับปรุง /พัฒนาควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการพยาบาล
๑๕. เป็นที่ปรึกษาแนะนำเกี่ยวกับการพยาบาลและงานในหน้าที่แก่บุคลากรทุกระดับและนักศึกษาที่มาฝึกงาน/อบรม
๑๖. สนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาศักยภาพด้านการปฏิบัติและทักษะทางการพยาบาล
๑๗. ปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่และผู้ศึกษาดูงานในหน่วยงาน
ทีมการพยาบาล
ทีมการพยาบาล หมายถึง พยาบาลวิชาชีพ/ พยาบาลเทคนิค/ พนักงานช่วยเหลือคนไข้ ที่ขึ้นปฏิบัติงานตามตารางการปฏิบัติงาน (ตารางเวร) ที่จัดไว้แต่ละหอผู้ป่วย
วัตถุประสงค์ของการทำงานเป็นทีมการพยาบาล
๑. เพื่อปรับปรุงบริการพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น
๒. ช่วยพัฒนาความรู้และทักษะของสมาชิกทีม
๓. ช่วยแบ่งเบางานที่ไม่จำเป็นต้องให้พยาบาลรับผิดชอบและแก้ปัญหาจำนวนเจ้าหน้าที่น้อย
๔. เพื่อฝึกฝนให้เป็นผู้นำที่ดี
องค์ประกอบของทีมการพยาบาล
๑. ผู้นำหรือหัวหน้าทีมการพยาบาล :
เป็นผู้รับผิดชอบงานที่ได้รับมอบหมายจากหัวหน้า ทำหน้าที่จัดให้มีการพยาบาลที่มีคุณภาพ และบริหารคนให้มีประสิทธิภาพ
๒. แผนงาน ในทีมต้องมีการวางแผนงานของทีม :
เพื่อนำไปสู่การพยาบาลที่มีคุณภาพ สนองความต้องการของผู้ป่วย
๓. สมาชิก :
เป็นองค์ประกอบสำคัญของทีม สมาชิกในทีมประกอบด้วยบุคลากรหลายระดับทั้งที่เป็นวิชาชีพ และไม่ใช่วิชาชีพเข้ามาทางานร่วมกันอย่างเข้าใจบทบาทของตนเอง
๔. การประสานงาน :
จะเกิดขึ้นภายในทีม ระหว่างทีม และระหว่างวิชาชีพซึ่งจะก่อให้เกิดความร่วมมือ การสื่อสาร นำไปสู่การบริการสุขภาพตามเป้าหมาย
๕. การรายงาน :
ตลอดเวลาที่มีการปฏิบัติงาน ต้องมีการรายงานอยู่เสมอระหว่างสมาชิกกับหัวหน้าทีม
๖. การประเมินผลการพยาบาล :
เพื่อหาข้อแก้ไขและปรับปรุงให้มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น
บทบาทหน้าที่ของหัวหน้าเวร หัวหน้าทีม และสมาชิกทีม
หัวหน้าเวร (Nurse In charge)
สามารถวางแผนปฏิบัติการพยาบาลและตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
นำประชุมปรึกษากับทีมงาน กำหนดแผนการพยาบาล
วางแผนและมอบหมายงานให้หัวหน้าทีม
ตัดสินแก้ปัญหาทางการพยาบาลในแต่ละสถานการณ์ และรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ
ประสานงานกับทีมสุขภาพ ได้แก่ แพทย์, นักกายภาพบำบัด, เภสัชกร เป็นต้น
กำหนดระบบและกระบวนการดำเนินงานนิเทศและประเมินผลงาน
บริหารบุคคลในสายงานพยาบาล, บริหารทรัพยากรในการดำเนินการพยาบาล
หัวหน้าทีม (Nurse Leader)
หัวหน้าทีมการพยาบาล หมายถึง พยาบาลวิชาชีพที่ขึ้นปฏิบัติงานตามตารางการปฏิบัติงานและได้รับมอบหมายจากหัวหน้าหอผู้ป่วยให้ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้าทีมการพยาบาล
๑. ร่วมประชุมปรึกษาทางการพยาบาลของผู้ป่วยในทีม
๒. ปฏิบัติตามแผนการพยาบาลที่วางไว้
๓. ประสานงานกับหัวหน้าเวร
๔. ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๕. ปรึกษาและร่วมแก้ปัญหาทางการพยาบาลกับหัวหน้าเวร
๖. รายงานการทำงานกับหัวหน้าเวร
๗. ดูแลเครื่องมือและจัดเก็บการบำรุงรักษา
๘. บันทึกและรายงานการปฏิบัติการพยาบาล
สมาชิกทีม (Member)
๑. ประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
๒. ให้การพยาบาลเฉพาะโรคได้ทุกระดับปัญหา และทุกระดับความรุนแรงของโรค
๓. ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรคขั้นต้น
๔. การสนับสนุนการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการ
๕. การสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการ
๖. วางแผนและดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ
๗. สังเกต บันทึก สรุป รายงานการเปลี่ยนแปลง
SBAR
S = Situation
สถานการณ์ที่ทำให้
ต้องรายงาน
• ระบุตัวผู้รายงาน หน่วยงาน ชื่อผู้ป่วย ห้อง / เตียง
• ระบุปัญหาสั้นๆ เวลาที่เกิดความรุนแรง
B = Background
ข้อมูลภูมิหลังเกี่ยวกับสถานการณ์
• การวินิจฉัยเมื่อแรกรับ และวันที่รับ
• การรักษาที่ได้รับ การแพ้ยา
• V /S ล่าสุด
• ผล Lab วันเวลาที่ทดสอบ และผลครั้งที่แล้ว
• ข้อมูลทางคลินิคอื่นๆ
A = Assessment
การประเมินสถานการณ์
ของพยาบาล
R = Recommentation
ข้อแนะนำ หรือความต้องการของพยาบาล
การเปลี่ยนแปลงคำสั่งการรักษา
การย้ายผู้ป่วยไปอยู่หน่วยวิกฤติ
ผู้ป่วยควรได้รับการดูแลจากแพทย์โดยด่วน
ฯลฯ
การพัฒนาการสื่อสารส่งมอบข้อมูลโดยประ
ยุกษ์ การใช้ SBAR
S = Situation
เป็นสถานการณ์ของผู้ป่วยที่นำมาใช้ใน
การส่งเวร
เตียง ชื่อ-สกุล อายุ
กรณีรับใหม่ในเวรบอก วัน เวลา
ปัญหาหรืออาการที่ผิดปกติที่พบในเวรนั้น
B = Background
Dx แรกรับ และ Post Dx ( ถ้ามี )
กรณีรับใหม่ในเวร บอกยา และ IV ที่ได้รับ
ผล lab และผลครั้งก่อน กรณีผิดปกติ เพื่อเปรียบเทียบ
v/s ล่าสุด(กรณีผิดปกติ )
A : Assessment
เป็นสถานการณ์ของผู้ป่วยเพื่อให้การช่วยเหลือตามกระบวนการพยาบาล (nursing process)
*การวินิจฉัยทางการพยาบาล(nursing
diagnosis)
*กิจกรรมที่ทำไปแล้วในเวรนั้น
R = Recommendation
*ข้อแนะนำหรือความต้องการของพยาบาล
ที่เป็นผลเนื่องมาจาก ได้ประเมิน
สถานการณ์เปลี่ยนแปลงของผู้ป่วย
ผลลัพธ์
• รูปแบบการส่งเวรชัดเจน
• กระชับ ครอบคลุม
• ผู้ส่ง และผู้รับมีความเข้าใจตรงกัน
• ผู้ป่วยการดูแลต่อเนื่อง ปลอดภัย
• บรรลุเป้าหมายการพยาบาล