Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
อาหารที่เหมาะสมกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ - Coggle Diagram
อาหารที่เหมาะสมกับผู้ที่มีปัญหาสุขภาพ
ตับ ตับอ่อนผิดปกติ
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วย
อาหารบําบัดโรคตับอักแข็ง
ระยะแรกของการเป็นตับแข็งที่ยังไม่มีผลทางสมอง สามารถไดัรับ ปริมาณโปรตีนหรือเนื้อสัตวไ์ม่แตกต่างจากคนทั่วไปประมาณวันละ 6-12 ช้อนโต๊ะแต่ถ้าเป็นตับแข็งที่มีอาการทางสมองร่วมด้วย จะลดให้มาเหลือประมาณวันละ 2-3 ช้อนโต๊ะ หรือ งดโปรตีนไประยะหนึ่ง เลือกรับประทานอาหารจำพวกคาร์โบไฮเดรตที่มีโปรตีนต่ำ วิตามิน B1, B2, B6 และ B12 รับประทานอาหารปรุงสุกโดยเฉพาะอาหารทะเล ลดไขมัน
อาหารบําบัดโรคมะเร็งตับ
ช่วงแรกของการเกิดโรคควรได้รับ โปรตีนเพิ่มขึ้นเป็น 1.5 กรัมต่อนํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัม รับประทานคาร์โบไฮเดรตประเภทข้าว น้ำหวาน (เพิ่ม ได้ในรายที่ไม่เป็นเบาหวาน) ไม่ควรบริโภคธัญพืช ผักใบเขียวในปริมาณ มากเกินไปเพราะจะเกิดอาการแน่นท้องมากขึ้น
อาหารบําบัดโรคตับอักเสบ
คาร์โบไฮเดรต เป็นสารอาหารที่ให้พลังงาน ผู้ป่วยควรได้รับวันละ 300 – 400 กรัม ในระยะแรกควรให้น้ำตาลเป็นหลัก อาจให้ในรูปของขนมหวาน นํ้าผึ้ง เครื่องดื่ม
โปรตีน เพื่อรักษาเนื้อเยื่อของตับที่ถูกทำลาย ผู้ป่วยควรได้รับโปรตีนวัน ละ 75 – 100 กรัมและควรเป็นโปรตีนที่ได้จากสัตว์เป็นส่วนใหญ่
พลังงาน ควรได้พลังงานสูงกวา่ปกติเพราะผู้ป่วยส่วนใหญ่น้ำหนักจะลด ควรได้พลังงานวันละประมาณ 2500 – 3500 แคลอรี่
ไขมัน อาหารไขมันจะจํากัดมากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระยะเวลาและความรุนแรงของโรคส่วนใหญ่ก็จะรับประทานได้ปกติ คือ ประมาณร้อยละ 25 - 30 ของ พลังงานที่ควรได้ทั้งวัน
โรคอ้วน
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วย
ลดการรับประทานอาหารกลุ่มพลังงานสูง ลดทานขนมหวาน น้ำหวาน ที่ชอบกินจุกจิกระหว่างมื้อ
เลือกทานอาหารที่มีพลังงานต่ำ ไขมันต่ำ หวานน้อย ใยอาหารสูง
ควบคุมพลังงานที่ควรได้รับต่อวัน
เลือกดื่มชา กาแฟที่ใช้น้ำตาลเทียมแทน ใส่นมสดจืดแทนครีมเทียม
เลือกดื่มน้ำอัดลมที่ไม่มีน้ำตาล
เลือกเมนูผ่านการปิ้ง นึ่ง อบ ย่าง ต้ม ตุ๋น แกงไม่ใส่กะทิ มีพลังงานต่ำกว่า
เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ไขมันต่ำ คอลเลสเตอรอลต่ำ
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันทรานซ์
โรคไต
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วย
พลังงานผู้ป่วยโรคไตควรได้รับ 25-40 KCal/IBWหรือ 1.1-1.4 เท่าของBEE ข้อควรระวังคือ พลังงานยังขึ้นกับกิจกรรมต่างๆและจากการล้างไตทางหน้าท้องอาจ ให้พลังงานเพิ่ม 500-1000 KCal/day
ประเภทของอาหารที่ใช้ควบคุมโรคไต
อาหารเพิ่มโปรตีน
อาหารจำกัดโซเดียม
อาหารจำกัดโปรตีน
อาหารเพิ่มโซเดียม
อาหารจำกัดโปตัสเซียม
อาหารจำกัดฟอสเฟต
อาหารที่เพิ่มโปตัสเซียม
โรคเบาหวาน
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วย
รู้จักเลือกกินอาหารที่มีประโยชน์
เลือกคาร์โบไฮเดรตชนิดดีกิน
เลือกกินชนิดไขมันที่ช่วยลดคอเรสเตอรอลที่ไม่ดี(LDL)
กินอาหารที่มีแอนตี้ออกซิเดนซ์
กินอาหารที่มีจุลินทรีย์สุขภาพ
รู้จักเลือก รู้จักลด และงดอาหารที่เสี่ยงต่อสุขภาพ
ลดและงดคาร์โบไฮเดรตชนิดไม่ดี
ลดและงดไขมันที่ได้จากผลิตภัณฑ์สัตว์และไขมันทรานซ์
ลดอาหารหมักดองและอาหารเค็มจัด
เลือกกินเนื้อสัตว์อย่างฉลาด กินเนื้อสัตว์ที่มีไขมันต่ำ และมีแคลเซียม เหล็ก สังกะสี
กินโดยควบคุมปริมาณอาหารจากพลังงานที่ต้องการในแต่ละวัน
เรียนรู้และนับคาร์บกับอาหารแลกเปลี่ยน หมายถึงการนับปริมาณสารอาหารคาร์โบไฮเดรทในอาหารที่กินเข้าไปทำให้มีผลต่อระดับน้ำตาลในกระแสเลือด
โรคเก๊าท์
การปฎิบัติตัว
ในรายที่อ้วนและมีน้ำหนักมากต้องลดน้ำหนักตัวลง
หลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน และยาขับปัสสาวะ เพราะจะทําให้ไตขับกรดยูริกได้น้อยลง
ควรดื่มนํ้ามากๆจะชว่ยขับกรดยูริกออกทางปัสสาวะ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดนิ่วในทางเดินปัสสาวะ
ออกกําลังกาย เช่นว่ายนํ้า ขี่ จักรยาน วิ่งเบาๆอย่างสม่ำเสมอ หลีกเลี่ยงการออกกําลังกายที่มีการกระทบกระเทือนข้อ
งดดื่มเหล้า ไวน์เบียร์ หรือ เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เพราะ แอลกอฮอล์ทําให้มีการขับกรดยูริกออกได้น้อยลง
ปรึกษาแพทย์และมาพบแพทย์ตามนัดสม่ำเสมอ กินยาอย่างต่อเนื่องเพื่อช่วยควบคุมระดับกรดยูริกในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ
ควบคุมหรือจํากัดอาหารประเภทที่มีกรดยูริกสูง ได้แก่ พวกเครื่องในสัตว์เนื้อสัตว์ และ ผักบางชนิด เช่น ชะอมกระถิน สะตอ
โรคหัวใจ
อาหารที่ทําให้ระดับไขมันตัวร้ายในเลือดสูง
อาหารที่มีไขมันทรานส์
พบได้ในอาหารที่มีการใช้น้ำมันที่มีการเติมไฮโดรเจนลงในน้ำมันที่มีกรดไขมันไม่อิ่มตัวสูง ทำให้น้ำมันที่อยู่ในสภาพของเหลวเปลี่ยนเป็นไขมันที่แข็งขึ้น หรือเป็นของกึ่งเหลว เช่น เนยเทียม หรือเนยขาว ได้แก่ ขนมอบต่างๆ เบเกอรี่ คุกกี้ แครกเกอร์ ขนม สําเร็จรูป หรืออาหารทอดใช้ความร้อน ต่อเนื่องนานๆ
อาหารที่มีคอเลสเตอรอล พบได้ในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์เท่านั้น
เครื่องในสัตว์ เช่น ตับ
สัตว์ปีก เช่น ไก่ เป็ด
ไข่แดง เนื้อสัตว์ไขมันสูงและผลิตภัณฑ์ นมที่มีไขมันสูง
สัตว์น้ำประเภทที่มีเปลือก เช่น หอย กุ้ง ปู
อาหารที่มีกรดไขมันอิ่มตัว พบมากในอาหารและนํ้ามันจากพืชบางชนิด
เนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง เช่น เนื้อวัว เนื้อหมูปนมัน เบคอน กุนเชียงและไส้กรอก
ผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว
ผลิตภัณฑ์จําพวกนม เช่น นมครบส่วนหรือนมชนิดที่ยังมีไขมันอยู่ครบ เนยแข็ง เนย ไอศกรีม
นํ้ามันปาล์ม นํ้ามันมะพร้าว
โรคเอดส์
ภาวะโภชนาการของผู้ป่วยโรคเอดส์
อาการท้องเสีย พบได้บ่อยในผู้ติดเชื้อ HIV ทั้งนี้มีสาเหตุจากผลข้างเคียงของการใช้ยาต้านไวรัสเอดส์ หรือยาปฏิชีวนะที่ใช้รักษา ในผู้ป่วยที่มีระดับ CD4 ต่ำ อาการท้องเสียอาจเกิดได้จากการติดเชื้อฉวยโอกาสโดยตรง
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วย
เนื้อสัตว์ ไข่ ถั่ว: ให้ทั้งโปรตีน เกลือแร่ และวิตามิน ทานวันละ 2-3 ส่วนทุกวัน
ผลิตภัณฑ์จากนม : เช่น นมสด โยเกิร์ต เนยแข็ง ซึ่งเป็นแหล่งของวิตามิน เกลือแร่ และ แคลเซียม ควรทานวันละ 3 ส่วน
ผักและผลไม้: ให้วิตามิน เกลือแร่ และกากใยอาหาร ควรรับประทานทุกวัน วันละ 5 ส่วน
ไขมัน: จากนํ้ามันพืชที่ใช้ปรุงอาหาร เนย เนยเทียม รวมถึงไขมันที่อยู่ในเนื้อสัตว์ ซึ่งจะให้พลังงาน กรดไขมันที่จำเป็น วิตามินที่ละลายในไขมัน เช่น วิตามิน A, D, E, K แคลเซียมและฟอสเฟต
อาหารกลุ่มแป้ง: เช่น ข้าว ขนมปัง ธัญพืช เผือก เป็นต้น จะให้พลังงานแก่ร่างกาย รวมถึง เกลือแร่ วิตามินและกากใยอาหาร ผู้ป่วยควรทานอาหารกลุ่มนี้ในทุกมื้ออาหาร โดยทานวันละ 4-6 ส่วน
สุขลักษณะอนามัยด้านอาหารของผู้ป่วย
หลีกเลี่ยงอาหารที่มีราขึ้นแเม้พียงเล็กน้อย รวมถึงอาหารที่เลยวันหมดอายุแล้ว
ล้างผักและผลไม้ให้สะอาดก่อนรับประทาน
อาหารที่สุกแลว้ตั้งทิ้งไว้นาน ควรนํามาอุ่นใหม่ก่อนทาน ไม่ควรทานอาหารที่ไม่ได้แช่เย็นค้างเกิน 1 วัน
เก็บแยกอาหารที่ยังไม่ได้ทำให้สุกกับอาหารที่สุกแล้วออกจากกันเป็นสัดส่วน รวมทั้งดูแลความสะอาด ของภาชนะ และอุปกรณ์ทำอาหาร
หลีกเลี่ยงโยเกิร์ตหรืออาหารเสริมที่ประกอบด้วยเชื้อจุลินทรีย์ที่ยังมีชีวิตอยู่ หรือเครื่องดื่มที่มีส่วนผสมของ Probiotic
อาหารที่ปรุงเสร็จแลว้หากจะเก็บในตู้เย็นเพื่อรับประทานต่อไปก็ไม่ควรจะเก็บ เกิน 2 วัน
หลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากนมที่ยงัไม่ผ่านการฆ่าเชื้อ
ผู้ป่วยที่มีระดับ CD4 ต่ำกว่า 200 cell/mm3 ควรดื่มนํ้าที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้ว
หลีกเลี่ยงการทานอาหารดิบ
ล้างมือให้สะอาดทุกครั้งก่อนทานอาหาร
ผู้ป่วยหลังผ่าตัด
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วย
วิตามินและเกลือแร่จะช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น
น้ำประมาณวันละ 2000 – 3000 มิลลิลิตร
พลังงานประมาณวันละ 2500 – 3000 แคลอรี่
โปรตีนอย่างน้อยวันละ 1.5 กรัมต่อนํ้าหนัก 1 กิโลกรัม
อาหารที่ไม่เหมาะกับผู้ป่วย
ผู้ป่วยหลังผ่าตัดควรหลีกเลี่ยงอาหารสุกๆ ดิบๆ และอาหารประเภทหมัก ดอง เพราะเป็นอาหารที่ส่งผลร้ายต่อร่างกาย และอาจทำให้ติดเชื้อ เกิดอาการแทรกซ้อนได้
โรคความดันโลหิตสูง
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วย
ควบคุมนํ้าหนัก พบว่า คนที่น้ำหนักเกินปกติ จะมีโอกาสเป็นโรคความดันโลหิตสูงมากกว่าคนที่มีน้ำหนักปกติถึง 50%
ลดการบริโภคโซเดียม เกลือ อาหารรสเค็ม เพราะนอกจาจะช่วยลดความ ดันโลหิตได้แล้ว ยังช่วยเพิ่มโพแทสเซียมในเลือดด้วย
หลีกเลี่ยงอาหารสำเร็จรูป
ลดความถี่และปริมาณการกินอาหารที่มีนํ้าจิ้ม
ลดความเค็มในอาหาร
หลีกเลี่ยงอาหารที่ใส่สารกันเสีย ที่มีโซเดียมเป็นส่วนประกอบ
ปรุงอาหารด้วยเครื่องเทศ หรือสมุนไพร เพื่อเพิ่มกลิ่น รสชาติและความอยากอาหาร เมื่อต้องปรุงอาหารอ่อนเค็ม
งดหรือลดอาหารที่มีไขมันมาก
งดบุหรี่ และเครื่องแอลกอฮอล์
ควรออกกําลังกายอย่างสมํ่าเสมอ ให้เหมาะสมกับวัย
โรคมะเร็ง
อาหารที่ควรหลีกเลี่ยง
อาหารที่เพิ่งปรุงรสเสร็จกำลังร้อนจัด
อาหารหรือผลไม้รสเปรี้ยวจัด
อาหารเผ็ด
อาหารที่มีลักษณะแข็งที่จะทำให้เจ็บเวลาเคี้ยว
ลักษณะการกิน
นม เลือกนมวัวไขมันต่ำ
สามารถปรุงรสได้ด้วยน้ำมะนาวหรือผักสมุนไพรจะช่วยชูรสชาติได้ดี
ไข่ ได้ทั้งไข่แดงและไข่ข่าว วันละ 1-2 ฟอง
กินอาหารแช่เย็น จะช่วยบรรเทาให้อาการเจ็บแสบลดลง หรือดื่มน้ำเพิ่มขึ้นก็ช่วยได้เหมือนกัน
กินอาหารที่มีโปรตีนสูง
ถ้ากินได้น้อยน้ำหนักลด ให้กินอาหารทางการแพทย์
กินครั้งละน้อยแต่บ่อยขึ้น เป็นครั้งละ 5-6 มื้อ
พฤติกรรมป้องกันโรคมะเร็ง
ลดอาหารไขมัน
ลดอาหารดองเค็ม อาหารปิ้งย่าง รมควัน และอาหารที่ถนอมด้วยเกลือไนเตรท-ไนไตรท์
ไม่รับประทานอาหารที่มีราขึ้น
ไม่รับประทานอาหารสุก ๆ ดิบ ๆ
หยุดหรือลดการสูบบุหรี่
หยุดการเคี้ยวหมาก ยาสูบ
ลดการดื่มแอลกอฮอล์
โรคระบบทางเดินอาหาร
ข้อควรปฏิบัติสําหรับผู้ป่วย
อาหารที่รับประทานในแต่ละมื้อไม่ควรมีปริมาณมากเกินไป
หลีกเลี่ยงสิ่งระคายเคืองต่อกระเพาะอาหาร เช่น ยาชุด ยาแกป้วดข้อ
งดสูบบุหรี่
ถ้าเครียดพยายามลดความเครียด เช่น ดูหนัง ฟังเพลง
รับประทานอาหารอ่อนที่ย่อยง่าย และควรเคี้ยวอาหารให้ละเอียด
หมั่นออกกำลังกาย
รับประทานยาลดกรด
รับประทานยาสม่ำเสมอถามที่แพทย์สั่ง
รับประทานอาหารให้ตรงเวลา
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วย
อาหารมีรสอ่อน อาจใส่เครื่องปรุ่งต่างๆได้ที่ไม่ทำให้อาการของ โรคกำเริบขึ้น
ช่วยให้ความเป็นกรดในกระเพาะลดลง อาหารจำพวกโปรตีน เช่น ไข่ นม
.อ่อนนุ่ม ไม่มีกากหรือใย ไม่มีเม็ด และเปื่อยนุ่ม
เป็นอาหารที่อยู่ในกระเพาะได้นานพอสมควร เพื่อทำให้ฤทธิ์ของกรดในกระเพาะอาหารลดลง
อาหารไม่เหมาะกับผู้ป่วย
ผัก ผลไม้ดิบ มักทำให้เกิดก๊าซ และมีอาการแน่นท้องอืด และปวดท้องเพิ่มขึ้น
ผักที่มีก๊าซมาก ได้แก่ ผักกระถิน ผักกระเฉด กระเทียมดอกกะหล่ำ กะหล่ำปลี ข้าวโพด ผักคะน้า ชะอม แตงกวา ต้นหอม ถั่วงอก ถั่วต่างๆ ผักดอง พริก หัว ผักกาดขาว สะตอ
เครื่องดื่มจําพวก ชา กาแฟ ซึ่งมีคาเฟอีนและแอลกฮอล์ จะกระตุ้นการหลั่งกรดในกระเพาะได้มากจึง
ผลไม้ที่ก๊าซมาก ได้แก่ แตงโม แตงไทย ทุเรียน ขนุน น้อยหน่า พุทรา ฝรั่ง มะม่วง ดิบ มันแกว แอปเปิ้ล
เครื่องเทศต่างๆ มีรายงานว่า อาหารจําพวกพริก พริกไทย กานพลู ลูก จันทร์ จะกระตุ้นให้มีการหลั่งกรด และความระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะและลําไส้
ไฟไหม้ น้ำร้อนลวก
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วย
โปรตีนวันละ 2-3 กรัม ต่อนํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัมและควรเป็นโปรตีนที่ได้จากเนื้อสัตว์ ไข่ นม
วิตามิน เกลือแร่ ผู้ป่วยถูกความร้อนลวกและสูญเสียวิตามิน เกลือแร่มาก จำเป็นต้องได้อาหารที่มีวิติามินและเกลือแร่ให้พอ
ต้องได้รับพลังงานให้เพียงพอประมาณ 50 – 70 แคลอรี่ต่อนํ้าหนักตัว 1 กิโลกรัม
นํ้า ในระยะ 2-3 วันแรกผู้ป่วยจะสูญเสียน้ำไปมาก จึงควรให้น้ำและเกลือแร่แก่ผู้ป่วยให้เพียงพอด้วย เพื่อรักษาดุลนํ้าในร่างกาย
โรคขาดสารอาหาร
โรคขาดโปรตีนและแคลอรี่
ควาชิออร์กอร์ (kwashiorkor)
มาราสมัส (marasmus)
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วย
วิตามินเอ ดี อี เค ซี บี1 บี2 บี3 บี6 บี12 และโฟเลท
โรคถุงน้ำดีอักเสบ
อาหารที่เหมาะกับผู้ป่วย
ระยะที่ยังไม่มีการผ่าตัด ควรให้สารอาหารที่มีไขมันน้อยและไม่ควรเกินร้อยละ 25 ของพลังงานทั้งหมด ผู้ป่วยควรหลีกเลี่ยงอาหารไขมันมาก และถ้าผู้ป่วย มีน้ำหนักมากกว่าปกติควรจำกัดพลังงานให้น้อยลง เพื่อลดนํ้าหนักลงด้วย
อาหารที่ไม่เหมาะกับผู้ป่วย
อาหารที่มีก๊าซมาก เช่น กระถิน ชะอม ผักกระเฉด ดอกกะหล่ำ ถั่วสด กะหล่ำปลี หัวผักกาด สตอ กระเทียม หอม
ผลไม้ที่มีก๊าซมาก เช่น ทุเรียน ขนุน พุทรา น้อยหน่า มังคุด แตงโม มะม่วงดิบ ฝรั่ง สาลี่
อาหารที่มีไขมันมาก เช่น อาหารทอด แกงกะทิ ขนมใส่กะทิ เนื้อสามชั้น หนังไก่
กินตามโภชนาการและควบคุมปริมาณอาหาร
จานอาหารสุขภาพ
รับประทานถูกส่วน 2:1:1 แบ่งส่วนจานอาหารเป็น 4 ส่วน
ข้าว-แป้ง 1 ส่วน
เนื้อสัตว์ไขมันต่ำ ถั่วเมล็ดแห้ง 1 ส่วน
ผักผลไม้ชนิดต่างๆ 2 ส่วน
ธงโภชนาการ (Nutrition Flag)
แนะนำสัดส่วนปริมาณของอาหารที่ควรบรฺโภคใน 1 วัน
ชั้นที่ 2 ผักวันละ 4-6 ทัพพี ผลไม้วันละ 3-5 ส่วน
ชั้นที่ 3 นมวันละ 1-2 แก้ว เนื้อสัตว์วันละ 6-12 ช้อนกินข้าว
ชั้นที่ 1 ชั้นบนสุด ข้าว แป้ง วันละ 8-12 ทัพพี
ชั้นที่ 4 ชั้นล่างสุด น้ำมัน น้ำตาล เกลือ วันละน้อยๆ