Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกแรกเกิด ที่มารดาติดสารเสพติดในระยะตั้ง ครรภ์ - Coggle Diagram
การพยาบาลทารกแรกเกิด ที่มารดาติดสารเสพติดในระยะตั้ง
ครรภ์
สารเสพติด (drug addict)
ตัวยาหรือสารบางชนิดที่เมื่อเสพเข้าสู่ร่างกาย
สูบ รับประทาน ฉีด สูดดม
ระบบประสาทสมอง ไขสันหลัง ปลายประสาท และ กล้ามเนื้อ เกิดการคลายตัว
ลดการทํางานของสมอง ความเครียดจะหายไป
เกิดการดื้อยา
ถึงจุดๆ หนึ่ง ซึ่งเมื่อใช้ยาหรือสารเหล่านั้นก็ไม่สบาย หยุด ใช้ก็ไม่สบายเกิดอาการที่เรียกว่า “ถอนยา”
สาเหตุ
จากตัวผู้เสพเอง-อ่อนแอพึ่งพาเบี่ยงเบน ก้าวร้าว /สาเหตุทางจิตใจ/สาเหตุทางกาย
สาเหตุจากตัวยา
สาเหตุจากสิ่งแวดล้อมและสังคม
ประเภท
บุหรี่
แอกอฮอล์หรือสุรา
เฮโรอีน
การพยาบาลทารกแรกเกิดที่มารดาสูบบุหรี่ในระยะตั้งครรภ์
ละอองของเหลว/ทาร์ก่อให้เกิดโรคมะเร็งปอด และถุงลมโป่ง พอง
สารระคายเคืองระคายเคืองในหลอดลม หลอดลมอักเสบเรื้อรัง
สารนิโคตินเข้าสู่สมอง ภายใน 7 นาทีทําให้มีผลต่อระบบประสาท และระบบไหลเวียนโลหิต
ก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ (CO) ขัดขวางการลําเลียงออกซิเจนของ เม็ดเลือดแดง carboxyhemoglobin ทารก:มารดา 1:4
ผลของการสูบบุหรี่ในระยะตั้งครรภ์ ต่อทารกในครรภ์และทารกแรกเกิด
หลอดเลือดหดรัดตัว (vasoconstriction)
ระดับคาร์บอนไดออกไซด์ในเลือดมาก
ขาดออกซิเจนอย่างเรื้อรัง มารดาแท้งหรือทารกตาย
ทารกในครรภ์มีกลุ่มอาการติดบุหรี่ (fetal tobacco syndrome )
ทารกมีการเจริญเติบโตช้า
นํ้าหนักตัวตํ่ากว่าปกติ 150-300 กรัม
เกิดก่อนกําหนด
เกิดภาวะหายใจลําบาก (respiratory distress)
ทารกมีปากแหว่ง เพดานโหว่
ไส้เลื่อน(inguinal hernia)
ตาเหล่ (strabismus)
ระดับ IQ (intelligence quota) ตํ่า
ทารกโตขึ้นจะมีบุคลิกไม่อยู่นิ่ง (hyperactive)
การพยาบาลก่อนทารกเกิด
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล มีภาวะเสี่ยงต่อการขาดออกซิเจนและเกิดก่อนกําหนด
การพยาบาลทารกหลังเกิดทันที
เสี่ยงต่อการเกิดภาวะขาดออกซิเจนแรกเกิดและ ภาวะแทรกซ้อนหลังเกิดเนื่องจากเกิดก่อนกําหนด
มีโอกาสเจริญเติบโตล่าช้ากว่าปกติจากการที่เลือดไปเลี้ยง ส่วนต่างๆ ของร่างกายไม่ดี
มารดารู้สึกผิดและวิตกกังวลต่อการเจ็บป่วยของทารก
การพยาบาลทารกแรกเกิด ที่มารดาดื่มแอลกอฮอล์ในระยะตั้งครรภ์
ทารกแรกเกิดที่มีภาวะ FAS อย่างรุนแรง
มีการเจริญเติบโตช้าในครรภ์
มีการเจริญเติบโตของกล้ามเนื้อและระบบประสาทไม่ดี
ระดับสติปัญญา (IQ) ตํ่า
มีลักษณะผิดปกติของรูปหน้าอย่างชัดเจน ศีรษะเล็ก
เป็นโรคหัวใจแต่กําเนิด
ลักษณะผิดปกติภายนอก
กลุ่มอาการทารกติดสุรา (fetal alcohol syndrome=FAS)
พบได้ในช่วง 6-12 ชั่วโมงแรกหลังคลอด
ระยะ 1-3 วันแรก
ทารกจะมีอาการสั่น นอนหลับได้น้อย ร้องไห้ตลอดเวลา
ท้องอืด มีลักษณะคล้ายหิวนมตลอดเวลา แต่ดูดได้ไม่ดี
แนวทางการรักษา
ให้มารดาเลิกดื่มสุราเมื่อรู้ว่าตั้งครรภ์
ทารกให้ยาที่ใช้รักษาระบบประสาทส่วนกลางให้ทํางานดีขึ้น
ให้ยาระงับหรือป้องกันการชัก คือ Phenobarbital หรือ diazepam
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มีอาการของการขาดแอลกอฮอล์และภาวะแทรกซ้อน ภายหลังเกิด
มีโอกาสเกิดการเจริญเติบโตและพัฒนาการล่าช้า
มารดารู้สึกผิดและวิตกกังวลต่อภาวะสุขภาพทารกหลังเกิด และครอบครัวไม่สามารถปรับตัวได้
การพยาบาลทารกแรกเกิด ที่มารดาเสพสารเสพติดเฮโรอีนในระยะตั้งครรภ์
พบว่าทารกแรกเกิดมีอาการ “ถอนยา” ถึงร้อยละ 90
อัตราตายสูงถึงร้อยละ 90
มีชื่อทางเคมีว่า Diacetyl Morphine Hydrocloride
เฮโรอีนมีฤทธิ์ร้ายแรงกว่า Morphine 3-8 เท่า
ร้ายแรงกว่าฝิ่น 80 เท่า
ถ้าทําให้บริสุทธิ์จะมีฤทธิ์ร้ายแรงกว่าฝิ่น 100 เท่า
ผลจากการเสพเฮโรอีนในระยะตั้งครรภ์ ต่อทารกในครรภ์และทารกแรกเกิด
ทารกมีภาวะออกซิเจนในเลือดตํ่า (hypoxia)
ทารกเกิดก่อนกําหนด เนื่องจากมีการติดเชื้อร่วมกับการเกิด ถุงนํ้าครํ่าแตกก่อนกําหนด
ความพิการแต่กําเนิด อาจเกิดจากการติดเชื้อ
ภาวะตับอักเสบ
ซิฟิลิสแต่กําเนิด
การเจริญเติบโตล่าช้า เกิดภาวะ IUGR , SGA
อาการและอาการแสดง ของทารกแรกเกิดที่มีภาวะถอนยา
ภายใน 24-48 ชั่วโมง
มีอาการทางระบบประสาท
มีการเคลื่อนไหวมากกว่าปกติ
กระสับกระส่าย พักผ่อนไม่ได้ นอนหลับยาก
แขนขาสั่นหรือสั่นทั้งตัว moro reflex ไม่ดี
ร้องเสียงแหลมและร้องกวนผิดปกติ
อาการและอาการแสดง ของทารกแรกเกิดที่มีภาวะถอนยา
กล้ามเนื้อมีอาการเกร็งมากขึ้น
หาวและจามบ่อยครั้ง
อาการหิวตลอดเวลา แต่ดูดได้ไม่ดี
มีเหงื่อออก ตัวเย็น
ปฏิกิริยาตอบสนองต่อสิ่งที่มากระตุ้นไวกว่าปกติ
ชัก/ หมดสติและตาย
อาการทางระบบทางเดินอาหาร เช่นอาเจียน ท้องเสีย ไม่ยอมดูด นม ขย้อนได้ง่าย ดูดนมมากเกินไป กล้ามเนื้อหน้าท้อง มีอาการเกร็ง มีภาวะขาดนํ้า ท้องอืด
การประเมินตามแบบของFinnegan
ให้คะแนนจากลักษณะอาการและอาการแสดงของทารกตั้งแต่แรกเกิด
โดยประเมินทุก 1 ชั่วโมงตลอด 24 ชั่วโมง
อาการดีขึ้น ประเมินทุก 12 ชั่วโมง 6 ชั่วโมงและ4 ชั่วโมง ตามลําดับ
ประเมินได้ 7 คะแนนหรือตํ่ากว่า ห้ามให้ยากล่อมประสาท
ประเมินได้ 8 คะแนนขึ้นไปให้การรักษาโดยให้ยาร่วมกับการรักษา ทั่วๆไป
ประเภทของยาที่ใช้ในการรักษา
ยานอนหลับ เช่น morphine sulfate , methadone
ยากล่อมประสาท เช่น diazepam หรือ valium หรือ Phenobarbital
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
ไม่สุขสบายเนื่องจากมีอาการของการถอนยาเฮโรอีน
เสียสมดุลของนํ้าและอิเล็คโตรไลท์ นํ้าตาลในเลือดตํ่า เนื่องจากดูดนมได้ไม่ดี มีอาการท้องเสียและอาเจียน
สมองขาดออกซิเจน เนื่องจากระบบประสาทถูกกดและ จากภาวะชัก
เกิดแผลถลอกหรือแผลลึกบริเวณจมูก เข่า ข้อศอก ศีรษะ
มีโอกาสเกิดสัมพันธภาพระหว่างมารดา ทารกไม่ดี เนื่องจากทารกมีอาการของการถอนยาเฮโรอีนและต้อง ถูกแยกจากมารดาตั้งแต่แรกเกิด