Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลทารกแรกเกิด ที่ได้รับบาดเจ็บจากการคลอด (Birth Injuries),…
การพยาบาลทารกแรกเกิด
ที่ได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
(Birth Injuries)
ทารกที่เสี่ยงต่อการได้
รับบาดเจ็บจากการคลอด
ทารกที่คลอดท่าก้น
มีขนาดตัวโต
ระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนาน
ได้รับการช่วยคลอดด้วยคีม
เครื่องดูดสุญญากาศ
ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
ก้อนบวมโนที่ศีรษะ
(Caput succedaneum)
ความหมาย
เกิดจากการคั่งของของเหลวระหว่างชั้นหนังศีรษะกับชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ
ก้อนบวมโนนี้จะข้ามรอยต่อ ( suture )ของกระดูกกะโหลกศีรษะ
มีขอบเขตไม่แน่นอน
สาเหตุ
เกิดจากแรงดันที่กดลงบนศีรษะทารกระหว่างการคลอดท่าศีรษะ
ทำให้มีของเหลวซึมออกมานอกหลอดเลือดในชั้นใต้เยื่อหุ้มหนังศีรษะ
จากการใช้เครื่องสูญญากาศช่วยคลอด (V/ E)
การวินิจฉัย
โดยการคลำ ศีรษะทารกแรกเกิด
พบก้อนบวมในลักษณะนุ่ม กดบุ๋ม
กดไม่เจ็บ เคลื่อนไหวได้
ขอบเขตไม่ชัดเจน
ข้ามแนวรอยต่อของกระดูกกะโหลกศีรษะ
พบทันทีภายหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
พบได้บริเวณด้านข้างของศีรษะ
ก้อนบวมโนนี้ทำให้ศีรษะมีความยาวมากกว่าปกติ
แนวทางการรักษา
สามารถหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องรักษา
จะหายภายในไม่กี่ชั่วโมงหลังคลอด
ประมาณ 3 วัน ถึง 2 – 3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนบวมในที่เกิดขึ้น
ก้อนโนเลือดที่ศีรษะ
(Cephalhematoma)
สาเหตุ
เกิดจากมารดามีระยะเวลาการคลอดยาวนาน
ศีรษะทารกถูกกดจากช่องคลอด
จากการใช้เครื่องสูญญากาศช่วยคลอด
เป็นผลให้หลอดเลือดฝอยบริเวณเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะทารกฉีกขาด
เลือดจึงซึมออกมานอกหลอดเลือดใต้ชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ
ภาวะแทรกซ้อน
หากก้อนในเลือดมีขนาดใหญ่
จะเกิดภาวะระดับบิลิรูบินในเลือดสูง (hyperbilirubinemia)
อาจเกิดการติดเชื้อจากการดูดเลือดออกจากก้อนโนเลือด
ความหมาย
เป็นการคั่งของเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ
มีขอบเขตชัดเจน
ก้อนในเลือดที่เกิดขึ้นจะเกิดบนกระดูกกะโหลกศีรษะเพียงชั้นเดียวเท่านั้น
ไม่ข้ามรอยต่อกระดูกกะโหลกศีรษะ
พบมากบนกระดูก parietal
การวินิจฉัย
จากประวัติพบว่าระยะคลอดมารดาเบ่งคลอดนาน
หรือได้รับการช่วยคลอดด้วยเครื่องสูญญากาศ
จากการตรวจร่างกายพบบริเวณศีรษะทารกแรกเกิดมีก้อนบวมโนบนกระดูกกะโหลกศีรษะ ชั้นใดชั้นหนึ่งมีลักษณะแข็งและคลำขอบได้ชัดเจน
อาการและอาการแสดง
จะปรากฏให้เห็นชัดเจนภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิด
ลักษณะการบวมจะมีขอบเขตชัดเจนบนกระดูกกะโหลกศีรษะชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
รายที่มีอาการรุนแรงอาจพบอาการแสดงทันทีหลังเกิด
พบก้อนโนเลือดมีสีดำหรือนํ้าเงินคลํ้า
แนวทางการรักษา
ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน ก้อนโนเลือดจะค่อย ๆ หายไปได้เอง
อาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์
ในรายที่ก้อนเลือดมีขนาดใหญ่อาจรักษาโดยการดูดเลือดออก
เลือดออกใต้เยื่อบุนัยน์ตา
( Subconjunctival hemorrhage)
ความหมาย
การมีจุดเลือดออกที่ตาขาว (sclera)ของทารกแรกเกิด
มักพบบริเวณรอบ ๆ กระจกตา
สาเหตุ
เกิดจากการที่มารดาคลอดยาก
ศีรษะทารกถูกกด
หลอดเลือดที่เยื่อบุนัยน์ตาแตก ทำให้มีเลือดซึมออกมา
การวินิจฉัย
ตรวจพบมีเลือดออกใต้เยื่อบุนัยน์ตาทารก
ภายหลังคลอด
แนวทางการรักษา
สามารถหายไปได้เองโดยไม่ต้องการการรักษา
โดยใช้ระยะเวลา 2 – 3 สัปดาห์
อัมพาตที่แขน
(Brachial plexus palsy)
ความหมาย
เส้นประสาทที่มาเลี้ยงแขนได้รับบาดเจ็บจากการคลอด ทำให้เกิดอัมพาตของแขนส่วนบน ( upper arm ) อาจไม่มีหรือพบร่วมกับอัมพาตของแขนท่อนปลาย( forearm ) คือส่วนข้อมือถึงข้อศอก อัมพาตของมือหรืออัมพาตของทั้งแขน
อุบัติการณ์
พบได้บ่อยเช่นเดียวกับการเกิดอัมพาตที่หน้า
ส่วนใหญ่พบในทารกที่มีขนาดใหญ่
(macrosomia)
สาเหตุ
การทำคลอดไหล่ที่รุนแรง
การทำคลอดท่าศีรษะผิดวิธี เช่น ทำคลอดโดย
การเหยียดศีรษะและคอของทารกอย่างรุนแรง
การทำคลอดแขนให้อยู่เหนือศีรษะในรายทารก
ใช้ก้นเป็นส่วนนำ
ประเภท
1. Erb – Duchenne paralysis
เส้นประสาทคู่ที่ได้รับบาดเจ็บ คือเส้นประสาทคอคู่ที่
5 และ 6 (cervical nerve 5 – 6) กล้ามเนื้อที่ได้รับการกระทบกระเทือน คือกล้ามเนื้อต้นแขน (deltoid) biceps และbrachioradialis
อาการและอาการแสดง
แขนข้างที่ได้รับบาดเจ็บอ่อนแรงทั้งแขน
ไม่สามารถขยับหรือยกแขนพ้นที่นอน
ต้นแขนอยู่ในท่าชิดลำตัว(adduction)บิดเข้าด้านใน ข้อศอก
เหยียด แขนส่วนล่างอยู่ในท่าคว่ำ ข้อมืองอ
ไม่มีอาการผวา (moro reflex)เมื่อตกใจ ทารกสูญเสีย biceps และ radial reflex
ยังกำมือ(grasp reflex)ได้
2. Klumpke’ s paralysis
เส้นประสาทคู่ที่ได้รับบาดเจ็บ คือเส้นประสาทคอคู่ที่ 7,8 และเส้นประสาทที่มาเลี้ยงทรวงอกคู่ที่ 1 (C7,8 -T1)
ทำให้ทารกมีข้อมืองอ
มือบิดเข้าใน
Horner’s syndrome
• รูม่านตาหด (miosis)
• หนังตาตก (ptosis)
• ตาหวำลึก (enophthalmos)
• ต่อมเหงื่อที่บริเวณใบหน้าทำหน้าที่ได้ไม่ดี
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้อด้านใน (intrinsic muscles) ของมือข้างที่ประสาทได้รับบาดเจ็บอ่อนแรง ทำให้ไม่สามารถกำมือได้แต่ยังมีอาการผวา biceps และ radial
มีปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (reflex) ได้
ทารกอาจมี Horner’s syndrome ถ้าsympathetic fiber ของเส้นประสาทคู่ที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหน้าอกคู่ที่ 1 ได้รับบาดเจ็บด้วย
3. Combined หรือ Total
brachial plexus injury
เส้นประสาทคู่ที่ได้รับบาดเจ็บ คือเส้นประสาทคอคู่ที่ 5 เส้นประสาทที่มาเลี้ยงทรวงอกคู่ที่ 1 (C5 – T1)
ถ้าเส้นประสาทคอคู่ที่ 3 และ 4 (C3 – C4) ถูกทำลายร่วมด้วยทำให้มีอัมพาตกระบังลม (paralysis of diaphragm)
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้อทั้งแขนและมือของทารกจะอ่อนแรง
ไม่มีปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (reflexs) ทั้งหมด
การรักษา
ให้เริ่มทำ passive movement เมื่อเส้นประสาทยุบบวม
โดยทั่วไปจะรอจนกว่าทารกอายุ 7 – 10 วัน
ให้แขนอยู่นิ่ง (partial immobilization)
ให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมโดยให้ยึดแขนไว้ในท่าหัวไหล่ทำมุม 90 องศากับลำตัว หมุนแขนออกด้านนอก แขนส่วนล่างอยู่ในท่าหงายและฝ่ามือหันเข้าหาใบหน้า
ในกรณีที่ทารกมีอัมพาตของแขนส่วนล่างหรือมือต้องดามแขนส่วนนั้นในท่าปกติและให้กำผ้านุ่ม ๆ ไว้
ถ้าเป็นอัมพาตทั้งแขนให้การรักษาเช่นเดียวกัน แต่ควรนวดเบา ๆ และให้ออกกำลังแขนแต่ไม่ควรทำด้วยความรุนแรง
ภาวะแทรกซ้อน
การเกิดกล้ามเนื้อแขนลีบ
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
ประวัติการคลอดของมารดา มีประวัติการคลอดติดไหล่
การตรวจร่างกาย
ทารกไม่สามารถยกแขนข้างที่เป็นได้
เส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้า
บาดเจ็บ (Facial nerve palsy)
สาเหตุ
เกิดจากการได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
โดยเฉพาะในรายที่คลอดยาก
พยาธิสรีรภาพ
จากการที่มารดามีภาวะคลอดยากหรือทารกได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
ทำให้เนื้อเยื่อเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ของใบหน้าทารกถูกทำลาย
เป็นผลให้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและรอบดวงตาทำงานผิดปกติ
ซึ่งในรายที่เส้นประสาทถูกทำลายอย่างรุนแรงจะมีผลให้กล้ามเนื้อบริเวณใบหน้าและตาข้างที่เส้นประสาทถูกทำลายมีอาการอัมพาตเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว
ความหมาย
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ได้รับบาดเจ็บจากการถูกกด
ในระหว่างที่ศีรษะผ่านหนทางคลอดหรือถูกกด
จากการใช้คีมช่วยคลอด (forceps extraction)
ภาวะแทรกซ้อน
ในรายที่มีอาการรุนแรงไม่สามารถปิดตาได้ อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน คือ กระจกตาเป็นแผล( corneal ulcer ) ที่ตาของทารกข้างที่กล้ามเนื้อหน้าเป็นอัมพาต
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ได้ประวัติการคลอดว่า มารดามีระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนานหรือมารดาคลอดโดยใช้คีมช่วยคลอด
การตรวจร่างกาย พบอาการและอาการแสดงของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ได้รับบาดเจ็บ
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้อใบหน้าข้างที่เส้นประสาทเป็นอัมพาตจะอ่อนแรง
เห็นได้ชัดเจนว่าไม่สามารถเคลื่อนไหวหน้าผากข้างที่เป็น
อัมพาตให้ย่นได้
ไม่สามารถปิดตาได้
เมื่อร้องไห้มุมปากจะเบี้ยว ไม่สามารถเคลื่อนไหวปากข้างนั้นได้
กล้ามเนื้อจมูกแบนราบ
ใบหน้าสองข้างของทารกไม่สมมาตรกัน
แนวทางการรักษา
ไม่มีการรักษาเฉพาะ
ส่วนใหญ่อาการจะหายไปได้เองแต่ควรหยอดนํ้าตาเทียมให้เพื่อป้องกันจอตาถูกทำลาย
การพยากรณ์โรค
อาจใช้เวลา 2 – 3 วัน หรือหลายเดือน
แต่ถ้าเส้นประสาทถูกทำลายมากอาจเป็นอัมพาตที่ใบหน้าอย่างถาวร
กระดูกหัก(Fracture)
กระดูกไหปลาร้าหัก
(Fracture clavicle)
ความหมาย
มีอัมพาตเทียม (pseudoparalysis)
ไม่เคลื่อนไหวแขนข้างที่กระดูกไหปลาร้าหัก (ไม่มี moro reflex)
คลำบริเวณที่หักได้ยินเสียงกรอบแกรบ (crepitus) และไม่เรียบ
กล้ามเนื้ออก กล้ามเนื้อไหปลาร้าและกล้ามเนื้อกกหู
(sternocleidomastiod muscle) หดเกร็ง
การหักของกระดูกแขน
(humerus) หรือกระดูกขา
ได้ยินเสียงกระดูกหักขณะทำคลอด
บริเวณที่มีกระดูกหักมีสีผิวผิดปกติ
ข้อสะโพกเคลื่อน (hip dislocation)
หัวกระดูกขาหลุดออกจากเบ้ากระดูกสะโพก
เส้นเอ็นถูกยืดออกเป็นผลทำให้หัวกระดูกต้นขา
ถูกดึงรั้งสูงขึ้น
การวินิจฉัยโรค
การตรวจร่างกาย
โดยการทำให้ทารกผวาตกใจ (moro reflex) จะพบว่าทารกไม่มีเคลื่อนไหวแขนข้างที่หัก
อาการและอาการแสดง
มีอาการบวม เวลาทำ passive exercise ทารกจะร้อง
เนื่องจากเจ็บปวด
กระดูกเดาะ (greenstick fracture) อาจไม่มีอาการใด ๆประมาณ 7 – 10 วันหลังเกิดอาจจะคลำได้กระดูกที่หนาขึ้น (callus formation)
ทารกที่มีการเคลื่อนของข้อสะโพกจะพบว่าทารกมีขาบวมขายาวไม่เท่ากัน มีข้อจำกัดในการเคลื่อนไหวหรือไม่มีการเคลื่อนไหวขาข้างที่มีการเคลื่อนของข้อสะโพก และเมื่อจับให้เคลื่อนไหวหรือหมุนขาทารกจะร้อง
การรักษา
อยู่นิ่งอย่างน้อย 2 – 4 สัปดาห์ - กระดูกไหปลาร้าหัก โดยให้แขนและไหล่ด้านที่กระดูกไหปลาร้าหักอยู่นิ่ง พยายามไม่ให้เคลื่อนไหว
กระดูกต้นแขนเดาะใช้ผ้าตรึงแขนติดลำตัว
กรณีที่หักอย่างสมบูรณ์รักษาโดยใช้ผ้าพันรอบแขนและลำตัวหรือใส่เฝือกอ่อนจากหัวไหล่ถึงสันหมัด
ถ้ากระดูกขาหัก ซึ่งส่วนมากพบว่าหักตรงลำกระดูก
ถ้าหักไม่สมบูรณ์ (incomplete fracture) รักษาโดยการใส่เฝือกขา
ถ้าหักแยกจากกัน (complete fracture) รักษาด้วยวิธีการใช้แรงดึงกระทำบนผิวหนังโดยตรง (skin fracture) โดยการดึงให้ขาเหยียดตรงห้อยขาให้ก้นและสะโพกลอยจากพื้นเตียง (Bryant’ traction)นาน 2 – 3 สัปดาห์
การรักษาข้อสะโพกเคลื่อน
จับให้ทารกนอนในท่างอข้อสะโพกและกางออก (human position)
พยายามให้ทารกอยู่ในท่าดังกล่าวเป็นเวลาอย่างน้อย 1 – 2 เดือนจนพบว่าข้อสะโพกอยู่ในภาวะปกติโดยการถ่ายภาพรังสีหรือการตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound)
นางสาวอมรรัตน์ ฟ้าแลบ ชั้นปีที่ 3 เลขที่ 89