Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่5.4.3 - Coggle Diagram
บทที่5.4.3
การดูแลหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด กลุ่มปกติ
หลีกเลี่ยงการสัมผัสหรืออยู่ใกล้ชิดผู้ที่มีอาการไอ เป็นไข้ หรือผู้ที่เดินทางมาจากประเทศกลุ่มเสี่ยง และในสถานที่ที่มีผู้คนแออัดหรือรวมกลุ่มกันจำนวนมาก
รักษาระยะห่าง ในการอยู่ร่วมกับบุคคลอื่นด้วยการอยู่ห่างกันอย่างน้อย 1-2 เมตร
หลีกเลี่ยงการใช้มือสัมผัสบริเวณดวงตา ปาก และจมูก
รับประทานอาหารที่ปรุงสุกใหม่เสมอ หรือปรุงอาหารให้สุกร้อนทั่วถึง
แยกภาชนะรับประทานอาหารและงดใช้ของส่วนตัวร่วมกับผู้อื่น
ล้างมือบ่อย ๆ ด้วยสบู่และน้ำสะอาดนานอย่างน้อย 20 วินาที ทุกครั้งที่มีการไอจาม สัมผัสสิ่งแปลกปลอม ก่อน รับประทานอาหาร หรือออกจากห้องน้ำ หากไม่มีสบู่ ให้ใช้ 7๐% alcohol gel
ในขณะไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย ถ้ามีอาการไอ จาม ให้ใช้ต้นแขนด้านบนปิดปากทุกครั้ง
มารดาทุกคนที่อยู่ในพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบหรือมีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อ หากมีอาการป่วย เล็กน้อย ควรพักผ่อน อยู่ที่บ้าน ถ้ามีอาการไข้ ไอ เจ็บคอ หายใจเหนื่อย ควรรีบไปพบแพทย์
โรคติดเชื้อโคโรน่า (Covid-19)
เนื่องจากเชื้อเป็นไวรัสชนิดใหม่ยังไม่มีข้อมูลว่าหญิงตั้งครรภ์มีโอกาสติดเชื้อ COVID-19 มากกว่าคนทั่วไปหรือไม่ เพศหญิงมีโอกาสเป็นโรคเท่าๆกับเพศชาย จากการศึกษาในประเทศจีนผู้ป่วยที่มีการติดเชื้อโรคโรคไวรัส Covid 19 พบว่า มีหญิงชาวจีนเพียง 2.8% เท่านั้นที่ติดเชื้อและเสียชีวิตจากโรค ในขณะที่ผู้ชายเสียชีวิต 4.7% และโรคนี้ไม่รุนแรงในกลุ่มผู้หญิงตั้งครรภ์มากกว่ากลุ่มอื่น
การดูแลหญิงตั้งครรภ์ หญิงหลังคลอด ที่เป็นกลุ่มเสี่ยง
แยกตนเองออกจากครอบครัวและสังเกตอาการจนครบ 14 วัน งดการใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น
งดการออกไปในที่ชุมชนสาธารณะโดยไม่จำเป็น และงดการพูดคุย หรืออยู่ใกล้ชิดกับผู้อื่นในระยะใกล้กว่า 2 เมตร
กรณีครบกำหนดนัดฝากครรภ์ ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบว่าตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้าระวัง 14 วัน เพื่อ พิจารณาเลื่อนการฝากครรภ์ และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่
กรณีเจ็บครรภ์คลอดต้องไปโรงพยาบาลทันที และแจ้งเจ้าหน้าที่ให้ทราบว่าตนเองตนเองอยู่ระหว่างการเฝ้า ระวัง 14 วัน
การดูแลทารกแรกเกิด ในกรณีมารดาเป็นผู้ที่สงสัยติดเชื้อหรือติดเชื้อ COVID 19
ยังไม่มีหลักฐานการติดต่อผ่านทางรกหรือผ่านทางน้ำนม
ทารกที่เกิดจากมารดาที่ติดเชื้อ COVID-19 จัดเป็นผู้มีความเสี่ยง จะต้องมีการแยกตัวออกจากทารกอื่น และต้องสังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน
บุคลากรทางแพทย์ควรอธิบายถึงความเสี่ยง ความจำเป็นและประโยชน์ของการแยกมารดา-ลูก และการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาให้มารดาเข้าใจและเป็นผู้ตัดสินใจเอง
แนวทางการปฏิบัติในการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดา เมื่อคำนึงถึงประโยชน์ของการเลี้ยงลูกด้วยนมมารดาและยังไม่มีหลักฐานทางวิชาการในการแพร่เชื้อไวรัส ผ่านทางน้ำนม ดังนั้นทารกจึงสามารถกินนมมารดาได้ โดยปฏิบัติตามแนวทางป้องกันการติดเชื้ออย่างเคร่งครัด