Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่5.3.3 - Coggle Diagram
บทที่5.3.3
Hypothyroidism
สาเหตุ
ส่วนใหญ่มักเกิดจากต่อมไทรอยด์เอง โดยมีการทำลายเนื้อต่อมไทรอยด์ ซึ่งอาจจะเกิดจากภูมิคุ้มกันตนเองที่ทำลายต่อมไทรอยด์ เช่น ไทรอยด์อักเสบ ชนิดฮัชชิโมโต (Hashiomoto’s thyroiditis) ทำให้การผลิตไทรอยด์ฮอร์โมนลดลง
การวินิจฉัย
- ประวัติ มีประวัติของโรคต่อมไทรอยด์ที่ได้รับการรักษามาก่อน ประวัติต่อมไทรอยด์ในครอบครัว เคยได้รับการฉายรังสีบริเวณศีรษะ หรือลำคอ ประวัติการใช้ยา lithium หรือได้รับยาที่มีส่วนประกอบของไอโอดีน เช่น Amiodarone
- อาการและอาการแสดง อาการอาจถูกบดบังด้วย อาการ hypermetabolic ของการตั้งครรภ์ อาการเฉพาะคือ น้ำหนักเพิ่ม ออกกำลังกายได้ลดลง ทนความเย็นไม่ได้ เกิดตะคริวบ่อย ความอยากอาหารลดลง ท้องอืด ท้องผูก เสียงแหบ ผมร่วง เล็บเปราะ และหักง่าย ผิวหนังแห้งแตกหยาบ บวมกดไม่บุ๋ม หนังตาบวม อาจจะมีคอพอกหรือไม่ก็ได้
- การตรวจร่างกาย ต่อมไทรอยด์สามารถตรวจพบได้ขนาดใหญ่ขึ้น หรือตรวจไม่พบความผิดปกติ มีชีพจรช้า อุณหภูมิกายต่ำ deep tendon reflex ช้าหรือตรวจพบแผลบริเวณคอในผู้ที่เคยผ่าตัดมาก่อน
- การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดยการเจาะหาระดับ FT4 ซึ่งจะพบว่าต่ำ และระดับของ TSH จะสูง
แนวทางการรักษา
โดยการให้ยา levothyroxine (L-thyroxine) ซึ่งเป็น T4 ขนาด 100-200 g/วัน วันละครั้ง นาน 3 สัปดาห์ แล้วจึงปรับขนาดยาตามระดับ TSH , T4 ยาชนิดนี้สามารถใช้ได้ปลอดภัยในสตรีตั้งครรภ์ และระยะให้นมบุตร เนื่องจากยาไม่ผ่านรกและขับออกทางน้ำนมได้น้อย ยาจะถูกดูดซึมได้ดีในลำไส้ โดยร้อยละ 80 จะถูกดูดซึมได้ในช่วงท้องว่าง
ผล
- ต่อมารดา มีโอกาสจะแท้งบุตร คลอดก่อนกำหนด หรือทารกตายในครรภ์สูงกว่าปกติ ภาวะความดันโลหิตสูงระหว่างตั้งครรภ์ รกลอกตัวก่อนกำหนด การเสียเลือดหลังคลอด
- ต่อทารก เนื่องจาก Thyroixine (T4) มีความจำเป็นในการพัฒนาของสมอง และระบบประสาทของทารก จึงอาจทำให้ทารกมีความบกพร่องในการพัฒนาสมอง นอกจากนี้ทารกที่เกิดจากมารดาที่มีภาวะขาดไอโอดีนอย่างรุนแรง ขณะตั้งครรภ์จะเกิดภาวะคริตินิซึม (Cretinism)
-