Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลก่อนจำกัดพฤติกรรมด้วยการถูกแยก, กลุ่ม4 - Coggle Diagram
การพยาบาลก่อนจำกัดพฤติกรรมด้วยการถูกแยก
ด้านสังคม
1.สิ่งที่ควรคำนึงเป็นอันดับแรกคือความปลอดภัยของผู้ป่วยและบุคลากรรอบข้างผู้ป่วยที่มีประวัติก่อความรุนแรงก่อนที่จะมาโรงพยาบาลหรือผู้ป่วยที่มีท่าทีบ่งบอกถึงการใช้ความรุนแรงควรมีทีมปฏิบัติงานอยู่รอบๆตัวผู้ป่วย
2.ก่อนจำกัดพฤติกรรมจำเป็นต้องบอกให้ญาติทราบทุกครั้งเพื่อให้ญาติได้เข้าใจถึงกระบวนการรักษา วิธีการดูแลและแนวทางการปฏิบัติตัวกับผู้ป่วย
3.จัดสิ่งแวดล้อมให้เป็นระเบียบ อยู่ในห้องเดี่ยวป้องกันการหลบหนี บรรยากาศภายในเงียบสงบ
4.สร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วยพูดด้วยน้ำเสียงนุ่มนวลลดเสียงกระตุ้นที่อาจทำให้เกิดความรุนแรง พูดคุยเป็นกันเองกับผู้ป่วย ทำให้ผู้ป่วยรู้สึกไว้วางใจ
ด้านจิตวิญญาณ
1.พยาบาลอธิบายวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้ป่วยทราบในเหตุผลที่ต้องทำการแยกห้องให้กับผู้ป่วยด้วยท่าทีที่เข้าใจง่าย
2.เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้พูดความในใจหรือสิ่งที่ตนต้องการก่อนทำการแยกห้อง
3.ให้คำแนะนำแนวทางปฏิบัติตัวให้กับผู้ป่วยด้วยท่าทีที่เข้าใจง่ายไม่ซับซ้อน ด้วยความสุภาพ อ่อนโยน ให้การแสดงถึงความเข้าอกเข้าใจ
ด้านจิตใจ
ควรประเมินทั้งผู้ป่วยและครอบครัวในทุกด้าน ซึ่งอาจมีส่วนช่วยในการบำบัดรักษา เช่น ความต้องการทางกายและจิตใจที่ไม่รับการตอบสนอง การใช้กลไกการเผชิญปัญหาหรือกลไกทางจิต ระดับของพัฒนาการ พื้นฐานอารมณ์ และบุคลิกภาพ และความเข้าใจต่อสาเหตุที่แท้จริงของความเจ็บป่วย
สร้างสัมพันธภาพกับผู้ป่วย เพื่อตอบสนองความต้องการขั้นพื้นฐานการยอมรับและไว้วางใจ ที่เป็นแบบอย่างที่ดีต่อการสร้างสัมพันธภาพกับผู้อื่น เช่น สร้างความสม่ำเสมอ จริงใจ เป็นมิตร เห็นใจ ไม่ตำหนิ เป็นต้น
ยอมรับนับถือผู้ป่วยว่าเป็นบุคคลหนึ่งเหมือนเรา เพราะการเจ็บป่วยเป็นภาวะความยุ่งยากทางกายและจิตใจที่ต้องการความช่วยเหลือ ซึ่งมีความปรารถนาในเรื่องความสุขและการยอมรับนับถือเช่นเดียวกับเรา ควรใช้วาจาสุภาพ นุ่มนวล เหมือนกับคนทั่วไปที่นับถือต่อกัน
ยอมรับและทำความเข้าใจถึงความต้องการของผู้ป่วย เพื่อตอบสนอง โดยสังเกตได้จากพฤติกรรมที่แสดงถึงความต้องการทางอารมณ์ ความวิตกกังวลและความกลัว ซึ่งการใช้เวลากับผู้ป่วยและการพูดคุย จะช่วยให้เรียนรู้ถึงความต้องการและปัญหาของผู้ป่วยได้ดี
ยอมรับสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ความไว้วางใจของผู้ป่วยต่อผู้ดูแลช่วยเหลือ จะต้องตั้งกับสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้ดูแลช่วยเหลือกับผู้ป่วย ควรมีมนุษย์สัมพันธภาพที่ดีกับผู้ป่วย การพูดคุย การแสดงออก ให้ผู้ป่วยเห็นว่าเราสนใจ เข้าใจพร้อมที่จะรับฟังและช่วยเหลือ จะช่วยให้ผู้ป่วยมีความไว้วางใจเร็วขึ้น
ยอมรับในความสำคัญของแรงกดดันที่ก่อให้เกิดพฤติกรรมของผู้ป่วย มีการยอมรับความจริงในพฤติกรรมที่ผู้ป่วยแสดงออกมาไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมเรียกร้อง ก้าวร้าว ไม่ร่วมมือ หรือซึมเศร้า ผู้ป่วยไม่ได้แกล้งทำ แต่ควรเข้าใจว่าเป็นการระบายอารมณ์ของผู้ป่วยในรูปแบบพฤติกรรมต่างๆ ทำให้สามารถตอบสนองความต้องการของผู้ป่วยได้ถูกต้อง และควรให้ผู้ป่วยได้ระบายความทุกข์ และปฏิกิริยาทางอารมณ์ต่างๆ
การจัดสภาพแวดล้อมให้ผู้ป่วยเกิดความมั่นใจและรู้สึกปลอดภัย ทั้งสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ เพราะว่าเมื่อบุคคลเผชิญกับความเจ็บป่วย และต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล สิ่งที่ผู้ป่วยต้องการ คือ ความปลอดภัย มั่นคง การได้รับการยอมรับ และความเป็นอิสระ
ด้านร่างกาย
ประเมินสภาพ การประเมินอาการแสดง และประเมินระดับความรุนแรง โดยภาพที่เห็น คือ
สังเกตสัญญาณเตือนที่ผู้ป่วยแสดงออกมาด้านต่างๆ เช่น อาการกระสับกระส่าย สีหน้าบึ้งตึง เอะอะโวยวาย กิริยาท่าทางหรือคำถามที่ถามไปกระตุ้นความรู้สึกทำให้เกิดความรุนแรง โดยไม่ทราบและรู้สึกตัวว่าทำอะไรลงไป เป็นต้น
สังเกตด้านคำพูด เช่น พูดไม่ประติดประต่อพูด สับสนพูดรัวเร็ว เงียบ น้ำเสียงก้าวร้าว เสียงสูง เป็นต้น
สังเกตด้านเนื้อหาความคิดและประเมินความรุนแรง เช่น มีความคิดและพฤติกรรมอยากทำร้ายตนเองหรือผู้อื่น แสดงออกถึงความไม่พอใจเป็นศัตรูท่าทางคุกคามหรือพูดคนเดียว หัวเราะคนเดียว เป็นต้น
พยาบาลควรให้ความสนใจในการควบคุมสิ่งเร้าที่กระตุ้นให้เกิดความยุ่งยากในการปรับตัว เช่น เสียงดังต่างๆ แสงสว่างไม่พอ การรบกวนเวลาพักผ่อน เพื่อให้ผู้ป่วยรู้สึกปลอดภัย มีความสุขสบาย
ควรให้การพยาบาลด้านร่างกายเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ ที่ทำให้การเผชิญปัญหาการเจ็บป่วยของผู้ป่วยยุ่งยากขึ้น อาการทางกายต่างๆ เช่น นอนไม่หลับ เบื่ออาหาร และความเจ็บปวดต่างๆ ซึ่งการบรรเทาอาการ เหล่านี้ บางครั้งแพทย์อาจพิจารณาใช้ยากับผู้ป่วย พยาบาลจำเป็นต้องมีความรู้เกี่ยวกับยาที่นำมาใช้ เพื่อจะช่วยบรรเทาอาการของผู้ป่วยได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ป้องกันและระมัดระวังอันตรายที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยและผู้ที่อยู่รอบข้างในขณะที่ผู้ป่วยมีอาการ เพื่อความปลอดภัยของตัวผู้ป่วยเองและบุคคลรอบข้าง
ดูแลจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย เก็บอุปกรณ์ที่เสี่ยงต่อการทำร้ายตนเองและผู้อื่นหรือสิ่งที่ทำให้เกิดอุบัติเหตุ รวมถึงห้องแยกจัดให้ผู้ป่วยอยู่ใกล้เคาน์เตอร์พยาบาล
กลุ่ม4
สมาชิกในกลุ่ม
นางสาวสิรินาถ ไชยผง เลขที่ 37
นายธนวัฒน์ คำมุงคุณ เลขที่ 15
นางสาวณัฏฐา ต๊ะมูล เลขที่ 36
นางสาวสุภาพรณ์ รุ่งโรจน์ เลขที่ 38
นางสาวอัจฉรา อุประ เลขที่ 73
นางสาวอินธิอร ธิอามาตย์ เลขที่ 74
นางสาวปิยธิดา พันทะลี เลขที่ 77
นางสาวชุตินันท์ ยาทองไชย เลขที่ 78
นักศึกษาหลักสูตรพยาบาลศาสตร์บัณฑิตชั้นปีที่ 2 รุ่นที่ 26 ห้อง A
นางสาวกนกวรรณ ไร่สงวน เลขที่5