Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การบริหารการพยาบาล - Coggle Diagram
การบริหารการพยาบาล
การบริหารการพยาบาลในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ
การวางแผน (Planning)
กําหนดจุดมุ่งหมายขององค์กร โดยต้องทราบนโยบายด้านสุขภาพของประเทศ ของชุมชน องค์กรส่วนท้องถิ่นเสียก่อน
วิเคราะห์สภาพแวดล้อมภายนอกและประเมินศักยภาพขององค์การ โดยประเมินสถานการณ์และภาวะสุขภาพอนามัย
การจัดทําแผนกําหนดทางเลือกและเกณฑ์ปฏิบัติ
ปฏิบัติตามแผน
ประเมินผลและทบทวนแผน
การจัดสรรงบประมาณ (Budget)
-ตรวจสอบงบประมาณที่ได้รับกับงบจัดสรรว่าตรงกันหรือไม่
-จัดทําหรือปรับแผนปฏิบัติงานประจําปี ในงานที่พยาบาลรับผิดชอบ
-เตรียมการเพื่อเบิกเงินงบประมาณล่วงหน้า เพื่อให้ทันกับโครงการ
-จัดทําบัญชีในการควบคุมใช้งบประมาณตามจริง
-ดําเนินการจัดซื้อจัดจ้าง
-รายงานความก้าวหน้าในการใช้งบประมาณตามงวด
-ตระหนักในการใช้งบประมาณให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การจัดองค์กรการพยาบาลในชุมชน
ประกอบด้วยองค์ประกอบหลัก ๔ ประการ
วัตถุประสงค์ขององค์กรหรือจุดมุ่งหมายขององค์กร
โครงสร้างขององค์กรต้องมีการกําหนดโครงสร้างเพื่อให้ทราบว่ามีการแบ่งงานกัน
กระบวนการปฏิบัติงานเป็นการกําหนดระเบียบแบบแผนวิธีปฏิบัติงานในองค์กร
บุคคลต้องมีการกําหนดมอบหมายงานภารกิจในแต่ละบุคคล และกําหนด การประสานงานที่เหมาะสม
การนําหรืออํานวยการ(Directing) เนื่องจากต้องมีการสั่งการ มอบหมายงานต่างๆโดยทั่วไปใช้หลักการ ทฤษฎีภาวะผู้นํา แรงจูงใจหรือการนําการเปลี่ยนแปลง เพื่อให้สามารถนําองค์กรไปสู่ความสําเร็จได้
การควบคุมกํากับงาน (Controlling)และการประเมินผลการปฏิบัติงาน ใช้กระบวนการพื้นฐาน ๔ ขั้นตอน
การกําหนดเป้าหมายในการควบคุมกํากับงาน
การพัฒนามาตรฐานในการปฏิบัติงานโดยการสร้างมาตรฐานก่อนปฏิบัติงาน
การวัดผลงานและเปรียบเทียบผลงานกับมาตรฐาน
การปรับปรุงแก้ไขข้อบกพร่อง
การนิเทศงาน จะมีทั้งลักษณะที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการ ได้แก่
-การรายงานการปฏิบัติงาน (Anecdotal note)
-การตรวจสอบรายการ ( Checklists)
-การประเมินค่า (Rating scales)
-การจัดลําดับ (Raking scales)
-การประเมินโดยเพื่อน (Peer review)
โครงสร้างระบบบริการสุขภาพ
ระบบบริการสุขภาพที่พึงประสงค์ควรเป็นระบบบริการสุขภาพแบบบูรณาการ (Integrated Health Care System) ที่มีหลักการและคุณสมบัติสําคัญคือให้บริการที่ครอบคลุมทั้งคุณภาพเชิงสังคมและเชิงเทคนิคบริการและครอบคลุมบริการที่จําเป็นทั้งหมดไม่มีความซ้ําซ้อนของบทบาทสภานพยาบาลในระดับต่างๆมีความเชื่อมโยงระหว่างสถานพยาบาลแต่ละระดับเป็นการเชื่อมโยงทั้งการส่งต่อผู้ป่วยและข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับผู้ป่วยโครงสร้างระบบ
แบ่งระดับการให้บริการสุขภาพออกเป็น ๓ ระดับ
ระดับปฐมภูมิ (Primary care level)
เป็นบริการที่อยู่ใกล้ชิดประชาชนและชุมชนมากที่สุด
ระดับทุติยภูมิ (Secondary care level) เน้นการบริการรักษาพยาบาลโรคที่ยากซับซ้อนมากขึ้นได้แก่โรงพยาบาลชุมชนในระดับอําเภอโรงพยาบาล
ทั่วไปในระดับจังหวัดและโรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงกลาโหม
ระดับตติยภูมิ (Tertiary care level) และ
ศูนย์การแพทย์เฉพาะทาง (Tertiary Care and Excellent Center) เป็นการบริการที่ใช้เทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงมีความสลับซับซ้อนมาก มีบุคลากรทาง
พยาบาลในชุมชน(Nursing in the community) เป็นการพยาบาลเพื่อตอบสนองความต้องการการดูแลสุขภาพของประชาชนที่อยู่ในชุมชนตั้งแต่ระดับบุคคล ครอบครัว กลุ่มคน จนถึงระดับชุมชน
บทบาทหน้าที่ของผู้บริหารการพยาบาล
บทบาทหน้าที่รับผิดชอบของหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล /
หัวหน้ากลุ่มการพยาบาล
-รับนโยบายจากผู้อํานวยการ
-กําหนดปรัชญา นโยบาย วิสัยทัศน์พันธกิจและเป้าหมายทางการพยาบาล
-เป็นผู้นําในการจัดทําแผนกลยุทธ์แผนงบประมาณแบบมุ่งเน้นผลงาน แผนปฏิบัติการของกลุ่มการพยาบาล
-กําหนดมาตรฐานบริการพยาบาลในภาพรวม
-กําหนดเกณฑ์ในการสรรหา/คัดเลือกบุคลากร
-กําหนดขอบเขตงานหน้าที่ความรับผิดชอบและคุณภาพของบุคลากรทุกระดับ
-ควบคุม กํากับประเมินผลและวิเคราะห์ระบบการพยาบาลของหน่วยงาน
-ประสานงานกับส่วนราชการต่างๆ
-เป็นที่ปรึกษาทางการพยาบาล
-นิเทศงานการพยาบาลทั้งในและนอกโรงพยาบาล
-จัดหา ควบคุมพัสดุครุภัณฑ์เครื่องมือทางการแพทย์และทางการพยาบาลให้เพียงพอ
-จัดหาและจัดสรรอัตรากําลังให้กับหน่วยงานต่างๆ
-ปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่และผู้มาฝึกงานการพยาบาลในโรงพยาบาล
-ควบคุมระบบบริหารงานเกี่ยวกับ
-การบริหารอัตรากําลัง
-การบริหารอุปกรณ์
-การบริหารอาคารสถานที่
-ส่งเสริมและริเริ่มการรักษา ค้นคว้าวิจัยทางการพยาบาล
-จัดสวัสดิการให้กับเจ้าหน้าที่ทางการพยาบาลทุกระดับ
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของพยาบาลเวรตรวจการ
-ปฏิบัติหน้าที่แทนหัวหน้าพยาบาลนอกเวลาราชการ
-ตรวจเยี่ยมเจ้าหน้าที่,ให้คําปรึกษาและช่วยแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับการให้บริการพยาบาลการจัดอัตรากําลังในกรณีฉุกเฉินและอื่น ๆ
-ตรวจเยี่ยมผู้ป่วยร่วมกับหัวหน้าเวร
-บริหารจัดการเรื่องอาคารสถานที่เครื่องมืออุปกรณ์ให้สะอาดเพียงพอและพร้อมใช้
-บริหารจัดการเมื่อเกิดเหตุการณ์พิเศษในหน่วยงาน เช่น อุบัติเหตุหมู่ ไฟไหม้อื่นๆ
-บันทึกเหตุการณ์สําคัญยอดผู้ป่วยและภาระงาน ส่งต่อให้หัวหน้าพยาบาล หัวหน้างาน/หอผู้ป่วย ทุกวันทําการ
-เสนอรายงานเหตุการณ์ผิดปกติหรือเหตุการณ์ที่ไม่สามารถแก้ไขได้ต่อหัวหน้าพยาบาลและผู้อํานวยการ
-ปฏิบัติหน้าที่นอกเวลาราชการ เวรเช้าเวลา ๘.๐๐– ๑๖.๐๐ น. เวรบ่าย ๑๖.๐๐ -๒๔.๐๐น. และเวรดึกเวลา ๒๔.๐๐-๘.๐๐น.
บทบาทหน้าที่ความรับผิดชอบของหัวหน้าหอผู้ป่วย
-รับนโยบายจากกลุ่มการพยาบาล
-กําหนดปรัชญา นโยบาย วิสัยทัศน์และพันธกิจในหน่วยงาน
-เป็นผู้นําในการจัดทําแผนกลยุทธ์แผนปฏิบัติงานในหน่วยงาน
-วางแผนการดําเนินงานต่างๆในหน่วยงาน
-ควบคุม กํากับประเมินผลและวิเคราะห์ระบบการบริการพยาบาลในหน่วยงาน
-เป็นที่ปรึกษาและแก้ไขปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติงาน
-ประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
-วางแผนและจัดสรรอัตรากําลังในหน่วยงาน
-จัดตารางการปฏิบัติงาน
-ส่งเสริมและสร้างขวัญและกําลังใจแก่บุคลากร
-นิเทศบุคลากรทุกระดับในหน่วยงาน
-กําหนดความต้องการใช้พัสดุครุภัณฑ์ประจําปี
-ให้การพยาบาลผู้ป่วยทั่วไปและที่มีปัญหาซับซ้อนครอบคลุมทั้ง ๔ มิติ
-ปรับปรุง /พัฒนาควบคุมคุณภาพและมาตรฐานการพยาบาล
-เป็นที่ปรึกษาแนะนําเกี่ยวกับการพยาบาลและงานในหน้าที่แก่บุคลากรทุกระดับและนักศึกษาที่มาฝึกงาน/อบรม
-สนับสนุนให้บุคลากรมีการพัฒนาศักยภาพด้านการปฏิบัติและทักษะทางการพยาบาล
-ปฐมนิเทศเจ้าหน้าที่ใหม่และผู้ศึกษาดูงานในหน่วยงาน
ทีมการพยาบาล
วัตถุประสงค์ของการทํางานเป็นทีมการพยาบาล
-เพื่อปรับปรุงบริการพยาบาลให้ดียิ่งขึ้น
-ช่วยพัฒนาความรู้และทักษะของสมาชิกทีม
-ช่วยแบ่งเบางานที่ไม่จําเป็นต้องให้พยาบาลรับผิดชอบและแก้ปัญหาจำนวนเจ้าหน้าที่น้อย
-เพื่อฝึกฝนให้เป็นผู้นําที่ดี
ลักษณะเฉพาะของทีมการพยาบาล
-หัวหน้าทีมจะต้องเป็นพยาบาลวิชาชีพ
-การบริหารงานภายในทีม เน้นการบริหารงานแบบมีส่วนร่วม
-แผนงานของทีมเกิดจากความเห็นชอบร่วมกันของสมาชิก
-มีแผนการพยาบาล(nursing care plan) หรือแบบแผนการดูแล(care map)
-มีการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพระหว่างสมาชิกทีมการพยาบาล
องค์ประกอบของทีมการพยาบาล
ผู้นําหรือหัวหน้าทีมการพยาบาล
แผนงาน
สมาชิก
การประสานงาน
การรายงาน
การประเมินผลการพยาบาล
บทบาทหน้าที่ของหัวหน้าเวร หัวหน้าทีม และสมาชิกทีม
หัวหน้าทีม (Nurse Leader)
ร่วมประชุมปรึกษาทางการพยาบาลของผู้ป่วยในทีม
ปฏิบัติตามแผนการพยาบาลที่วางไว้
ประสานงานกับหัวหน้าเวร
ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
ปรึกษาและร่วมแก้ปัญหาทางการพยาบาลกับหัวหน้าเวร
รายงานการทํางานกับหัวหน้าเวร
ดูแลเครื่องมือและจัดเก็บการบํารุงรักษา
บันทึกและรายงานการปฏิบัติการพยาบาล
สมาชิกทีม (Member)
ประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
ให้การพยาบาลเฉพาะโรคได้ทุกระดับปัญหา และทุกระดับความรุนแรงของโรค
ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรคขั้นต้น
การสนับสนุนการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการ
การสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการ
วางแผนและดําเนินการส่งเสริมสุขภาพ
สังเกต บันทึก สรุป รายงานการเปลี่ยนแปลง
หัวหน้าเวร (Nurse In charge)
สามารถวางแผนปฏิบัติการพยาบาลและตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
นําประชุมปรึกษากับทีมงาน กําหนดแผนการพยาบาล
วางแผนและมอบหมายงานให้หัวหน้าทีม
ตัดสินแก้ปัญหาทางการพยาบาลในแต่ละสถานการณ์ และรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ
ประสานงานกับทีมสุขภาพ
กําหนดระบบและกระบวนการดําเนินงานนิเทศและประเมินผลงาน
บริหารบุคคลในสายงานพยาบาล, บริหารทรัพยากรในการดําเนินการพยาบาล
บันทึกและรายงานการปฏิบัติการพยาบาล
ขอบเขตและความรับผิดชอบของผู้บริหารทางการพยาบาลในหน่วยบริการสุขภาพ
ผู้บริหารการพยาบาล (Nurse Administration)
พยาบาลที่ปฏิบัติงานในตําแหน่งผู้บริการ มี
หน้าที่กําหนดนโยบายงานในองค์การพยาบาล ตําแหน่ง “ผู้บริหารการพยาบาล” นิยมใช้ในองค์การพยาบาลรัฐบาล
ผู้จัดการพยาบาล (Nurse Manager)
พยาบาลที่ปฏิบัติงานในตําแหน่งบริหาร มีหน้าที่นํานโยบาย
ขององค์การพยาบาลไปดําเนินการให้บรรลุเป้าหมาย นิยมใช้ในองค์การพยาบาลเอกชน
การบริหารการพยาบาลในหน่วยบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ
ตําแหน่งผู้บริหารการพยาบาล มี ๓ ระดับ ได้แก่
ผู้บริหารระดับสูง (Top level administration) ได้แก่ ผู้อํานวยการพยาบาล หรือหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล หรือหัวหน้ากลุ่มการพยาบาล
ผู้บริหารระดับกลาง (Middle level administration) ได้แก่ ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล (Sub-director of nursing or Associate director of nursing) และหัวหน้าแผนกการพยาบาล (Head department)
ผู้บริหารระดับต้น (First level administration) ได้แก่ ผู้ตรวจการพยาบาล (Supervisor nurse) และหัวหน้าหอผู้ป่วย (Head nurse หรือ Nurse manager)
หัวหน้าหอผู้ป่วยหรือหัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน มี ๗ บทบาทหลัก
ดังนี้
-ผู้บริหาร ต้องกําหนดวิสัยทัศน์นโยบาย ยุทธศาสตร์การบริการส่งเสริมสุขภาพ วางแผนบริการ พัฒนาบุคลากรจัดหาและจัดสรรงบประมาณเพื่อการบริการส่งเสริมสุขภาพควบคุมกํากับและประเมินผลงาน
-ผู้นิเทศ สนับสนุน ชี้แนะ สร้างทัศนคติที่ดีในกิจกรรม ส่งเสริมสุขภาพ การเฝ้าระวังและควบคุมปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ
-ผู้ประสานงาน ดําเนินการประสานงานกับชุมชนและผู้นํา องค์กรท้องถิ่น เพื่อสร้างการมีส่วนร่วมนอกจากนี้ต้องประสานงานกับคณะกรรมการของโรงพยาบาล ชุมชนเครือข่ายและสื่อมวลชน
-การจัดการข้อมูลข่าวสาร กําหนดแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพโดยใช้ผู้ใช้บริการเป็นหลักและสอดคล้องกับวัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น
-การเป็นผู้นําเป็นแบบอย่าง ผู้บริหารควรปรับพฤติกรรมสุขภาพเพื่อเป็นแบบอย่างให้แก่ประชาชน
-การเป็นผู้ริเริ่ม เป็นการนําเอานโยบายไปปฏิบัติทั้งในแง่ของการจัดการและการบริการโดยการกระตุ้นเจ้าหน้าที่ในการจัดบริการ
-การเป็นผู้นําการเปลี่ยนแปลง ผู้บริหารระดับหัวหน้าหอผู้ป่วย/หัวหน้าศูนย์สุขภาพชุมชน ต้องทําให้ผู้ใต้บังคับบัญชาและผู้ร่วมงาน ศรัทธา เชื่อถือ และยอมรับ