Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร, image, image, image, image, image, image,…
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
ภาวะท้องผูก
ปัญหา
ผู้ที่มีปัญหาท้องผูกมักจะดำเนินวิธีการแก้ไขในรูปแบบที่แตกต่างกันไป เช่น การหาอาหารหรือผลไม้บางชนิดมารับประทาน แล้วทำให้มีการถ่ายอุจจาระออกมา ใช้ยาหรือน้ำสบู่สวนทวาร ทำให้อุจจาระนิ่มหรืออ่อนตัวลง แล้วทำให้ขับถ่ายออกมาโดยง่าย บางท่านนิยมซื้อยาระบายมารับประทานซึ่งยาพวกนี้จะทำให้ลำไส้ขับถ่ายอุจจาระออกมาด้วยกลไกต่าง ๆ กัน
ความหมาย
การถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องใช้เวลาเบ่งนานกว่าปกติ ร่วมกับการมีอุจจาระแข็ง ซึ่งเกิดจากกากอาหารที่ย่อยแล้วเคลื่อนที่มาถึงลำไส้ใหญ่แล้วถูกดูดซึมน้ำและสารบางอย่างกลับเข้าสู่ร่างกาย ทำให้อุจจาระแห้งเป็นก้อนแข็ง อุจจาระที่ค้างอยู่ในลำไส้ยิ่งนาน ร่างกายมีภาวะขาดน้ำ เนื่องจากดื่มน้ำไม่เพียงพอ จะทำให้น้ำถูกดูดซึมกลับเข้าสู่ร่างกายมาก อุจจาระก็จะแข็งมากขึ้น เป็นเหตุให้ถ่ายลำบาก หรือผู้ที่ถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ การที่อุจจาระที่คั่งค้างในลำไส้นาน ทำให้เกิดความไม่สุขสบาย แน่นท้องอึดอัด ภาวะท้องผูกมักพบบ่อยในผู้สูงอายุ
อาการ
ความยากลำบากในการถ่ายอุจจาระ ต้องใช้เวลาในการถ่ายมาก มีการเบ่งถ่ายอุจจาระ ลักษณะอุจจาระแข็งมาก ถ่ายแล้วแต่ยังมีความรู้สึกว่าถ่ายยังไม่หมด หรือถ่ายยังไม่สุด หรือยังปวดท้องอยากถ่าย หรือเบ่งอยู่ตลอดเวลา ถ้าพิจารณาจากความถี่ของการถ่ายอุจจาระจะถือว่า ถ้าถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์
สาเหตุ
อายุ
ไม่ชอบทานอาหารที่มีไฟเบอร์
ดื่มน้ำน้อย
นิสสัยกลั้นอุจจราะ
ไม่ออกกำลังกาย
มีโรคประจำตัว
จิตใจห่อเหี่ยว
ภาวะแทรกซ้อน
1.ท้องผูกอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดความไม่สุขสบายในกระเพาะอาหาร ทวารหนัก
2.อาจทำให้เกิดภาวะลำไส้อุดตัน เกิดโรคริดสีดวงทวารได้
3.มีอาการคลื่นไส้ อาเจียน
4.ทานอาหารได้น้อย
5.อาหารไม่ย่อยเกิน มีอาเจียนในผู้สูงอายุที่ให้อาหารทางสายยา
แนวทางการดูแล
รับประทานอาหารที่มีกากหรือเส้นใยอาหารให้มากขึ้น อาหารที่มีเส้นใยพบมากในผัก เช่น ผักใบเขียวต่างๆ เช่น ผักคะน้า ผักโขม กวางตุ้ง ผักกาดหอม ถั่วฝักยาว กะหล่ำปลี แตงกวา หรือมะเขือเทศสด ผลไม้ทุกชนิด เช่น กล้วย สับปะรด ส้มโอ ฝรั่ง องุ่น มะละกอ สาลี่ แอปเปิ้ล เมล็ดธัญพืช เช่น ถั่วต่างๆ ข้าวกล้อง ลูกเดือย ข้าวโพด เป็นต้น ควรหลีกเลี่ยงอาหารที่ไม่มีกากใย เช่น ครีม เนย เนื้อสัตว์ติดมัน มันทอด และขนมหวานต่างๆ เช่น ทองหยิบ ทองหยอด ฝอยทอง สังขยา ฯลฯ
ดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ 6-8 แก้ว โดยเฉพาะเวลาตื่นนอนตอนเช้า ควรดื่มน้ำ 2-3 แก้ว เพื่อกระตุ้นการทำงานของลำไส้ (ถ้าแพทย์ไม่ได้จำกัดน้ำดื่ม) อาจเพิ่มน้ำผัก น้ำผลไม้ในการช่วยย่อยอาหารด้วย ไม่ควรดื่มชา กาแฟ หรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ ซึ่งจะทำให้อุจจาระแห้ง
ขับถ่ายอุจจาระให้เป็นเวลาทุกวัน และไม่ควรรีบเร่งจนเกินไป ซึ่งตำราโบราณถือว่า เวลา 05.00-07.00 น. เป็นช่วงเวลาที่ลำไส้ใหญ่ทำงานได้ดีที่สุด หรือจัดสถานที่ขับถ่ายให้เหมาะสม
ออกกำลังกายเบาๆ เช่น การเดิน การแกว่งแขน การทำกายบริหารอย่างง่ายๆ จะช่วยให้ระบบการขับถ่ายดีขึ้น
ถ้าปฏิบัติตามข้อ 1-4 ไม่ได้ผล ใช้ยาระบายตามแพทย์สั่ง และใช้เท่าที่จำเป็น ผู้ป่วยส่วนใหญ่ถ้าปฏิบัติตัวดีก็หายเองได้
ผ่อนคลายความเครียดในชีวิตประจำวัน สูดลมหายใจเข้าออกยาวๆ ฟังดนตรีเบาๆ ทำใจให้สบายร่วมกับการออกกำลังกาย เพื่อผ่อนคลายร่างกาย
ภาวะท้องเสีย
ความหมาย
เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติ หรือในบางครั้งถ่ายเป็นมูกปนเลือด มักเกิดจากการติดเชื้อหรือภาวะอาหารเป็นพิษ หลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป โดยอาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ในบางรายอาจอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน
อาการ
จะมีการถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป ถ่ายบ่อยกว่าปกติของแต่ละคน หรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง ในบางรายอาจมีอาการอื่น ๆ ร่วมด้วย เช่น ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว และมีไข้
ปัญหา
“โรคท้องร่วงกับผู้สูงอายุ” โดยเฉพาะในช่วงหน้าร้อนมักพบได้บ่อยถ่ายหนักเกิน 2 ครั้ง เพราะอาจทำให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงและบางรายอาจถึงขั้นชีวิตได้จากการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ หากไม่ได้รับการรักษาอย่างทันท่วงที
ดังนั้น การดูแลสุขลักษณะในการกินอยู่ช่วงอุณหภูมิสูง เป็นเรื่องที่ลูกหลานควรให้ความใส่ใจ เพราะบางครั้งการห้ามไม่ให้คุณตาคุณยายรับประทานอาหารที่ชอบ ก็อาจทำให้ท่านขาดสารอาหารได้ ดังนั้นการบริโภคที่ถูกอนามัยจึงนับเป็นสิ่งที่ช่วยสร้างเสริมสุขภาพให้แข็งแรง และป้องกันอาการท้องเสียได้
สาเหตุ
ลำไส้อักเสบเรื้อรัง คือ การอักเสบภายในลำไส้ใหญ่โดยไม่ทราบสาเหตุ แต่ก็สามารถเกิดได้จากบางโรค เช่น โรคโครห์น (Crohn’s disease) ซึ่งทำให้ลำไส้มีแผลลึก บวมอักเสบคล้ายฝี
ภาวะลำไส้แปรปรวน (Irritable Bowel Syndrome: IBS) เป็นความผิดปกติที่ยังระบุสาเหตุไม่ได้ ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดแน่นท้อง ขับถ่ายผิดปกติ ท้องเสีย หรือท้องผูกบ่อยๆ บางครั้งกลั้นอุจจาระไม่อยู่ อาจมีเมือกใส และเลือดปนออกมากับอุจจาระได้
แพ้อาหาร บางคนอาจขาดเอนไซม์บางตัว ทำให้ไม่สามารถย่อยอาหารบางชนิดได้ เช่น ผู้ที่ขาดเอนไซม์แลคเทส (Lactase) จะไม่สามารถย่อยโปรตีนแลคโทสในนมวัวได้ เมื่อดื่มนมวัวจึงมีอาการท้องเสีย
ติดเชื้อพยาธิ ปรสิตหนอนพยาธิ และโปรโตซัวที่อาศัยอยู่ในลำไส้ เช่น พยาธิตัวตืด เชื้ออะมีบา อาจทำให้เกิดอาการท้องเสียเรื้อรังได้
เป็นผลจากยาบางชนิด การรับประทานยาสมุนไพร หรืออาหารเสริมที่มีฤทธิ์เป็นยาระบาย อาจส่งผลให้เกิดอาการถ่ายท้องบ่อยๆ ได้
มีความเครียด ภาวะเครียด และวิตกกังวลจะทำให้การบีบตัวของลำไส้ผิดปกติ จึงส่งผลให้เกิดอาการปวดแน่นท้อง อาหารไม่ย่อย ท้องผูก หรือท้องเสียเรื้อรังได้
มะเร็งลำไส้ใหญ่ การเกิดมะเร็งที่ลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก มักพบในผู้สูงอายุวัย 65 ปีขึ้นไป ซึ่งทำให้เกิดอาการขับถ่ายผิดปกติ ปวดอุจจาระบ่อยครั้ง อุจจาระขนาดเล็กลง หรือเหลวไม่เป็นก้อน รวมถึงมีเลือดปนออกมาด้วย
ภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ เช่น ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัส HIV มีโอกาสติดเชื้อก่อโรคนานาชนิดได้มากกว่าคนทั่วไป แม้แต่เชื้อฉวยโอกาสอย่างเชื้อรา และโปรโตซัวที่ไม่ก่อโรคในคนปกติ ก็อาจก่อให้เกิดอาการท้องเสียเรื้อรังในผู้มีภูมิคุ้มกันบกพร่องได้
การผ่าตัด อาการท้องเสียอาจเกิดขึ้นหลังจากเข้ารับการผ่าตัดบางชนิด อย่างการผ่าตัดลำไส้ หรือการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกไป
แนวทางการดูแล
ล้างมือให้สะอาดก่อนและหลังรับประทานอาหารหรือสัมผัสกับอาหาร หลังการเข้าห้องน้ำ หรือจับสิ่งสกปรกอื่น ๆ เพื่อป้องกันแพร่กระจายของเชื้อโรค
ในกรณีที่ไม่สามารถล้างมือได้ ควรใช้เจลล้างมือที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ เพื่อช่วยฆ่าเชื้อโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ
เลือกรับประทานอาหารอย่างระมัดระวัง เช่น รับประทานของร้อน อาหารที่สะอาด สดใหม่ หลีกเลี่ยงผักผลไม้สดที่ล้างไม่สะอาด เนื้อสัตว์ดิบ และผลิตภัณฑ์ประเภทนม เป็นต้น
ไม่ควรวางอาหารทิ้งไว้ในอุณหภูมิห้องนาน ๆ ควรเก็บเข้าตู้เย็น เพื่อป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย
ควรทำความสะอาดบริเวณที่มีการเตรียมอาหารให้ถูกสุขลักษณะ รวมถึงการล้างมือให้สะอาด ขณะเตรียมอาหาร
เลือกดื่มน้ำที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ
ผู้ป่วยก็ควรดื่มน้ำมาก ๆ หรือดื่มผงน้ำตาลเกลือแร่โออาร์เอส (ORS) เพื่อชดเชยน้ำและเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป
หมั่นสังเกตอาการผิดปกติ โดยเฉพาะสัญญาณของภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
โรคลำไส้แปรปรวน
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
จัดทำโดย
นางสาวธิติมา สังรวมใจ เลขที่5Bค่ะ