Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคเอดส์ images - Coggle Diagram
โรคเอดส์
การติดต่อ
-
การรับเชื้อทางเลือด
ใช้เข็มฉีดยาร่วมกัน: หรือแม้แต่การใช้กระบอกฉีดยาร่วมกับผู้ติดเชื้อเอชไอวี ซึ่งพบบ่อยในกลุ่มผู้เสพสารเสพติด หรือฉีดยาเข้าเส้น
รับเลือดมาจากการผ่าตัด: หรือเพื่อรักษาโรคเลือดบางชนิด ในอดีตมีการติดเชื้อเอชไอวีจากช่องทางนี้ค่อนข้างมาก เพราะยังไม่มีการตรวจเลือดที่ละเอียดนัก แต่ปัจจุบันได้มีการนำเลือดที่รับบริจาคไปหาตรวจหาเชื้อก่อนทุกครั้ง ทำให้อัตราการติดเชื้อจากการรับเลือดลดลงอย่างมาก
การติดต่อผ่านแม่สู่ลูก
เกิดจากแม่ที่มีเชื้อเอชไอวีอยู่แล้วตั้งครรภ์ โดยเชื้อเอชไอวีจะถ่ายทอดสู่ลูกขณะคลอด แต่ปัจจุบันได้ค้นพบวิธีการป้องกันการแพร่เชื้อจากแม่สู่ลูกได้สำเร็จแล้ว โดยวิธีการรับประทานยาต้านไวรัสในช่วงตั้งครรภ์ จะช่วยลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อของทารกลงได้
ระยะของโรคเอดส์
ระยะไม่ปรากฏอาการ
เรียกอีกอย่างว่า ระยะติดเชื้อไม่ปรากฏอาการ ในระยะนี้ผู้ที่ติดเชื้อนั้นจะไม่ปรากฏอาการผิดปกติใดๆ จึงดูเหมือนคนมีสุขภาพแข็งแรงปกติ แต่อาจมีอาการป่วยเล็กน้อย โดยเฉลี่ยนั้น จากระยะแรกเข้าสู่ระยะที่ 2 จะใช้เวลาประมาณ 7–8 ปี แต่ในบางรายอาจไม่แสดงอาการนานถึง 10 ปี ระยะนี้จึงเป็นระยะที่ผู้ที่ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อให้บุคคลอื่นได้มากที่สุด เพราะว่าผู้ที่ติดเชื้อส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตัวเองติดเชื้อแล้ว
-
-
ความหมาย
โรคเอดส์ คือ อาการของโรคภูมิคุ้มกันบกพร่อง (Acquired Immune Deficiency Syndrome: AIDS) โดยเกิดจากเชื้อไวรัสที่มีชื่อว่า "ฮิวแมนอิมมิวโนเดฟีเชียนซีไวรัส (Human Immunodeficiency Virus: HIV)" หรือเรียกง่ายๆ ว่า "เชื้อไวรัสเอชไอวี (HIV)" เมื่อเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย จะเข้าไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดขาว ซึ่งทำหน้าที่กำจัดสิ่งแปลกปลอมหรือเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกาย เมื่อเซลล์เม็ดเลือดขาวถูกทำลายมากขึ้น จึงทำให้ผู้ป่วยมีภูมิคุ้มกันต่ำลง จนในที่สุด ร่างกายไม่มีสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ ที่เข้าสู่ร่างกายได้ หลังจากนั้น ร่างกายของผู้ป่วยจะสามารถติดเชื้อได้ง่ายขึ้น ส่งผลให้เป็นโรคติดเชื้ออื่นๆ ตามมา เช่น วัณโรค ปอดบวม เชื้อรา โดยส่วนมากผู้ป่วยโรคเอดส์มักเสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนต่างๆ
การป้องกัน
-
-
-
-
สำหรับการป้องกันวัยรุ่นที่รับเชื้อเอชไอวีทางเพศสัมพันธ์ สามารถป้องกันได้โดยการให้ความรู้และสร้างทัศนคติให้วัยรุ่นตระหนักถึงความสำคัญในการใช้ถุงยางอนามัยทุกครั้งในการมีเพศสัมพันธ์ ในกรณีที่มีเพศสัมพันธ์โดยไม่ได้ป้องกัน และคิดว่ามีความเสี่ยงสูงในการติดเชื้อเอชไอวี สามารถปรึกษาแพทย์ เพื่อพิจารณากินยาต้านไวรัสเพื่อป้องกันการติดเชื้อเอชไอวีได้ (หลักการคล้ายกับการใช้ฮอร์โมนยาคุมกำเนิดเพื่อป้องกันการตั้งครรภ์) แบ่งเป็น กินยาต้านไวรัสหลังมีเพศสัมพันธ์โดยไม่ป้องกัน (เพ็พ) โดยกินยาต้านไวรัสโดยเร็วที่สุดภายในเวลาไม่เกิน 3 วันหลังมีความเสี่ยง โดยกินยาต้านไวรัสเป็นเวลา 4 สัปดาห์ หรือ กินยาต้านไวรัสก่อนการสัมผัส (เพร็พ) โดยรับประทานวันละ 1 เม็ดทุกวันในช่วงที่มีพฤติกรรมเสี่ยง
-
-
-
การวินิจฉัยโรค
การตรวจเลือดที่ให้ผลเร็วโดยใช้วิธี enzyme-linked immunosorbent assay (ELISA) วิธีนี้ให้ผลเร็วมีความไวและมีความแม่นยำในการตรวมีความแม่นยำ(sensitivity and specificity of) 99.9%.หากให้ผลบวกต้องยืนยันการวินิจฉัยโดยวิธี Western blot or immunofluorescence assa
การตรวจปัสสาวะและเยื่อเมือกในปาก มีความแม่นยำและจำเพาะ 99.5 %หากให้ผลบวกต้องตรวจยืนยันโดยวิธี Western blot or immunofluorescence assa
การตรวจเลือดด้วยตัวเองวิธีการหยดเลือดไว้บนกระดาษแล้วส่งเข้าห้องปฏิบัติการ สามารถรายผลทางโทรศัพท์ มีจำหน่ายตามร้านขายยาแต่มีข้อที่ต้องระวังคือไม่มีการให้คำแนะนำสำหรับผู้ป่วย ถ้าผลเลือดบวกผู้ป่วยควรจะได้รับคำแนะนำในการปฏิบัติตัวผู้ป่วยบางคนอาจจะตัดสินใจทำร้ายตัวเอง ทั้งที่โรคนี้สามารถควบคุมโรคไม่ให้ลุกลามได้ ถ้าผลเลือดลบควรจะได้รับคำแนะนำในการป้องกันการติดเชื้อ HIV การทดสอบนี้อาจจะให้ผลบวกหลอกในผู้ป่วยบางรายเพราะไม่ได้มีการคักกรองกลุ่มเสี่ยงเข้าตรวจ
การตรวจหาตัวเชื้อ HIV โดยวิธี HIV RNA (viral load assay) จะตรวจกรณีที่มีพฤติกรรมเสี่ยงเช่นถูกเข็มฉีดยาจากผู้ป่วยตำ หรือร่วมเพศกับผู้ที่ติดเชื้อโดยที่ไม่ได้ป้องกัน และตรวจไม่พบภูมิคุ้มกันในเลือด การตรวจนี้จะให้ผลบวกก่อนที่ภูมิจะขึ้น แต่ก็มีข้อผิดพลาดกรณีที่พบเชื้อปริมาณน้อย การตรวจเลือดวิธีนี้จะให้ผลบวก ก่อนที่ภูมิจะขึ้นเราเรียกการติดเชื้อชนิดนี้ว่า Primary HIV infection ซึ่งเป็นช่วงที่สำคัญในการให้ยาต้านไวรัส HIV
-
การรักษา
-
-
-
-
กรณีมารดาตั้งครรภ์ ทารกจะติดเชื้อได้ประมาณ 25% วิธีการป้องกันไม่ให้ ทารกติดเชื้อก่อนคลอดให้ยา AZT ในสตรีตั้งครรภ์
ระหว่างการคลอด หลีกเลี่ยงการคลอดที่ใช้เครื่องมือช่วยคลอดหรือ การกระทำที่อาจจะเกิดแผลในช่องคลอด หรือศีรษะทารก มีผู้ศึกษาพบว่าการผ่าคลอด ช่วยลดอัตราการติดเชื้อในทารกด้วย
-
-
อาการและอาการแสดง
ระยะแรกสุดเลยก็คือ หลังจากติดเชื้อมาใหม่ๆ 2-4 สัปดาห์ ผู้ป่วยบางส่วนที่รับเชื้อมาใหม่ๆจะมีอาการคล้ายไข้หวัดร่วมกับมีผื่นแดงเกือบทั่วตัว มีเจ็บคอ ปวดกล้ามเนื้อ ต่อมน้ำเหลืองโต ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่พบผู้ป่วยระยะนี้ เนื่องจากอาการต่าง ๆ เหล่านี้จะหายไปได้เองประมาณ 2-3 สัปดาห์
-
เป็น Pre-AIDS หรือ ARC (AIDS Related Complex) เป็นไข้เรื้อรัง โดยไม่ทราบสาเหตุ นํ้าหนักลด ต่อมนํ้าเหลืองโต เม็ดเลือดขาวต่ำลง
Classical AIDS คือ พวกที่มี Pre-AIDS และมีการติดเชื้อฉวยโอกาส ถ้าติดเชื้อทางเดินหายใจ จะมีอาการไอ หอบเหนื่อย เจ็บหน้าอก พบเชื้อ Pneumocystis Carinii Pneumonia อาการทางระบบทางเดินอาหารมีท้องเดิน นํ้าหนักลด อาจพบเชื้อ Cryptosporidium หรือไม่ทราบสาเหตุอาการแสดงของระบบหลอดเลือดจะพบมะเร็งของหลอดเลือด (Kaposi Sarcoma) พบจํ้าเลือดตามผิวหนังได้อาการทางระบบประสาทอาจพบเชื้อ Cryptococcal meningitis หรือถ้าไม่พบเชื้ออาจจะเป็น Cerebral Lymphoma ได้
อาการแสดงอื่นๆ ที่สังเกตพบร่วมกับการเป็นเอดส์ เช่น บริเวณอวัยวะเพศจะมีเริมแบบแพร่กระจาย พวกติดยาเสพติดจะมีรอยเข็มฉีดยา ปากคออาจจะพบเชื้อรา เป็นต้น
-