Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
โรคหัด
(Rubeola หรือ Measles)
ออกหัด, นางสาวซัลวาณีย์ อิดิ้ง
รหัส…
โรคหัด
(Rubeola หรือ Measles)
- โรคหัดเป็นโรคไข้ออกผื่น ที่ได้รับภูมิคุ้มกันโรคจากมารดาผ่านทางรก พบได้บ่อยในเด็กเล็กติดต่อได้ง่าย และยังคงเป็นปัญหาโรคติดเชื้อที่สำคัญของประเทศไทย ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในช่วงเวลาที่อากาศค่อนข้างหนาว คือระหว่างเดือนมกราคมถึงเดือนมีนาคม
- วัยที่เด็กมักจะเป็นโรคหัด คือ 8 เดือน ถึง 5 ปี เด็กอายุน้อยกว่า 6 เดือน มักไม่พบว่าเป็นโรคหัด นอกจากในกรณีที่มารดาไม่เคยเป็นโรคหัดมาก่อน
-
สาเหตุและการติดต่อ
- เชื้อไวรัสจะแพร่กระจายจากผู้ป่วยไปทางอากาศ
- ติดต่อกันโดยสัมผัสน้ำมูก น้ำลาย หรือเสมหะของผู้ป่วย และการหายใจเอาเชื้อที่กระจายอยู่ในอากาศเข้าไป นอกจากนี้อาจพบเชื้อในเลือดและปัสสาวะของผู้ป่วยได้
- เกิดจากการติดเชื้อไวรัสในกลุ่มพารามิกโซไวรัส (paramyxovirus)
- ระยะติดต่อของโรค จะติดต่อได้มากในช่วงระยะ 3-5 วัน ก่อนผื่นขึ้นไปจนถึง 5 วันหลังผื่นขึ้น
การป้องกัน
- ในเด็กที่อายุน้อยกว่า 1 ปี ที่ไปสัมผัสโรคหัด ฉีด gamma globulin ขนาด 0.25 มล./กก. และควรได้รับวัคซีนอีกครั้งเมื่ออายุ 15 เดือน
- ในรายที่ไปสัมผัสโรคหัดในระยะติดต่อ ควรให้วัคซีนโรคหัด เพราะแม้จะไปสัมผัสมาแล้ว 5 วัน วัคซีนก็สามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้ถึง
ร้อยละ 58
- ขณะนี้มีวัคซีนที่ป้องกันโรคหัดได้ดี โดยการ
ให้ครั้งเดียวเมื่ออายุ 9-12 เดือน อาจให้รวม
กับวัคซีนป้องกันโรคหัดเยอรมันและคางทูม
เพื่อเพิ่มระดับภูมิต้านทานให้อยู่ตลอดไป
จึงแนะนำให้ซ้ำอีกครั้ง เมื่ออายุ 4-6 ปี
- ในเด็กโต ที่สัมผัสโรคมานานเกิน 5 วัน
ควรให้ gamma globulin ขนาดเดียวกัน
และฉีดวัคซีนใหม่ 3 เดือนถัดไป
- กลุ่มที่มีความผิดปกติใน cell-mediated immunity จากสาเหตุใดก็ตาม ถ้าไปสัมผัสโรคควรให้ gamma globulin ขนาด 0.5 มล./กก. แต่ขนาดสูงสุดไม่เกิน 15 มล.
ภาวะแทรกซ้อน
โรคปอดอักเสบติดเชื้อ โรคอุจจาระร่วง หูชั้นกลาง
ซึ่งจะพบได้ในเด็กที่มีภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่องหรือเป็นโรคขาดสารอาหาร โดยมักพบในระยะหลังของโรค ซึ่งไข้เริ่มทุเลาลงแล้ว (พญ.เรณุกา จรัสพงศ์พิสุทธิ์,2562)
- หูติดเชื้อ อาการแทรกซ้อนที่พบได้บ่อยคือหูติดเชื้อแบคทีเรีย
- หลอดลมอักเสบ กล่องเสียงอักเสบหรือโรคครูป
- ปอดอักเสบ หากพบในเด็กที่มีภูมิต้านทานต่ำ อาจรุนแรงจนทำให้เสียชีวิตได้
- สมองอักเสบ เป็นอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง มักพบภาวะสมองอักเสบหลังผื่นขึ้นประมาณ 2 ถึง 6 วัน ทำให้เสียชีวิตหรือพิการได้
- ลำไส้อักเสบ ทำให้มีอาการท้องเสีย
การรักษา
อ้างอิง (พญ.เรณุกา จรัสพงศ์พิสุทธิ์,2562)
- เนื่องจากโรคนี้เกิดจากการติดเชื้อไวรัสและส่วนใหญ่อาการมักจะไม่รุนแรง การรักษาและปฏิบัติตัวของผู้ป่วยจึงเน้นการรักษาตามอาการเหมือน โรคไข้หวัด เช่น เช็ดตัวลดไข้
ทานยาลดไข้ หรือยาบรรเทาอาการอื่นๆ เช่น ยาแก้ไอ
นอนพักผ่อนให้เพียงพอ ดื่มน้ำมากๆ สามารถให้การดูแล
อยู่ที่บ้านได้ในเบื้องต้น นอกเหนือจากการรักษาตามอาการแล้ว ปัจจุบันแนะนำให้รักษาด้วยวิตามินเอในผู้ป่วยโรคหัดทุกรายเป็นเวลา 2 วัน แต่หากพบว่าอาการไม่ดีขึ้น คือ มีอาการไอมาก เสมหะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลืองเขียวหรือหายใจเหนื่อยหอบ
ผู้ปกครองควรพามาพบแพทย์เพื่อการรักษาที่เหมาะสมต่อไป
การวินิจฉัย
อ้างอิง (Medthai,2017)
:pencil2: แพทย์สามารถวินิจฉัยโรคหัดได้จากอาการที่แสดง ซึ่งรวมถึงลักษณะของผื่น โดยเฉพาะการพบจุดขาวที่กระพุ้งแก้ม และจากการตรวจทางห้องปฏิบัติการ คือ การตรวจเลือดซีบีซี ซึ่งจะพบภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำ นอกจากนั้นคือการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่จำเพาะต่อโรคหัด ได้แก่
- การตรวจหาสารภูมิต้านทานโรคหัด (Antibody) ชนิดเอ็ม (M) โดยการเจาะตรวจภายในระหว่างวันที่ 4-30 หลังจากมีผื่นขึ้น
- การตรวจหาสารก่อภูมิต้านทานของโรคหัด (Antigen)
ในเสมหะหรือสารคัดหลั่งที่ได้จากการป้ายหลังโพรงจมูก
หรือจากปัสสาวะในระยะที่มีไข้ ซึ่งจะเป็นการตรวจด้วยเทคนิคพิเศษและยุ่งยาก จึงมักตรวจในเฉพาะผู้ป่วยที่ภาวะภูมิคุ้มกันบกพร่อง เพราะผู้ป่วยเหล่านี้มักตรวจหาแอนติบอดี (Antibody) ไม่พบ
- การตรวจหาสารภูมิต้านทานโรคหัด (Antibody)
ชนิดจี (G) โดยการเจาะ 2 ครั้งเทียบกัน ครั้งแรกเจาะวันที่ 7 หลังมีผื่นขึ้น ครั้งที่ 2 เจาะหลังจากครั้งแรกประมาณ 10-14 วัน ซึ่งจะพบว่ามีค่าต่างกันมากกว่า 4 เท่า
-
-
-
-
-
-
-
-
-