Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร (ผู้สูงอายุ) - Coggle Diagram
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
(ผู้สูงอายุ)
ภาวะท้องผูก
ปัญหา
คนไข้จะรู้สึกรำคาญ อึดอัดในช่องท้อง ท้องอืด เบื่ออาหาร ปวดท้อง ทำให้รับประทานอาหารน้อยลง และบางรายอุจจาระที่ถ่ายไม่ออกหลายๆวันจะไปอุดตันจนไม่สามารถถ่ายออก จะมีอาการต่างๆข้างต้น บางครั้งถ้าลำไส้อุดตันอาจจะมีอาการท้องเสียตามมาด้วยในบางราย(พบน้อย) อาจจะทำให้มีอาการลำไส้โป่งพองมาก มีโอกาสแตกทะลุนอกจากนั้นอาจจะทำให้มีการสูญเสียเกลือแร่และน้ำ
ความหมาย
ความผิดปกติในการถ่ายอุจจาระ ประกอบด้วยลักษณะสำคัญคือการถ่ายอุจจาระน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์มีอาการปวดท้องหรือปวดบริเวณทวารหนักขณะเบ่งถ่ายใช้เวลาในการขับถ่ายมากกว่าปกติหรือขับถ่ายไม่สำเร็จ รู้สึกถ่ายไม่สุดหรือถ่ายไม่ออกเนื่องจากคล้ายหรือเหมือนมีสิ่งอุ้นกั้นบริเวณทวารหนัก อาจต้องใช้นิ้วมือช่วยในการถ่ายอุจจาระ(Drossman,2006)
อาการ
คลื่นไส้
แสบร้อนบริเวณทรวงอก(heart burn)
ปวดหลัง
ปวดศีรษะ
ท้องอืด
ปวดเบ่งบริเวณก้น
เบื่ออาหาร
สาเหตุ
1.ทางFunction
1.1การเคลื่อนไหวของลำไส้ผิดปกติ
เช่น slow transit time,outlet delay,irritable bowel syndrome เป็นต้น
1.2การรับประทานอาหารไม่เหมาะสมรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยหรือรับประทานอาหารไม่เพียงพอ ทำให้สิ่งที่อยู่ในลำไส้มีปริมาณน้อยไม่เพียงพอที่จะกระตุ้น mysenteric plexus ให้เกิดการบีบตัว การรับประทานอาหารที่มีไขมันและคาร์โบไฮเดรตสูงก็ทำให้เกิดภาวะท้องผูกได้
1.3รับประทานน้ำไม่เพียงพอทำให้การขับเคลื่อนอุจจาระของลำไส้ทำได้ลำบาก การดื่มเครื่องดื่มที่มีCafeine ก็เป็นสาเหตุหนึ่งที่อาจทำให้เกิดภาวะขาดน้ำได้(dehydrate)
1.4 ออกกำลังกายไม่เพียงพอ มีผลทำให้กล้ามเนื้อที่เกี่ยวข้องกับการขับถ่ายไม่แข็งแรงการบีบตัวของลำไส้ลดลง
1.5สุขนิสัยการขับถ่ายที่ไม่เหมาะสมชอบกระทำกิจกรรมอื่นๆร่วมกับการขับถ่ายอุจจาระ เช่น นั่งหลับ สูบบุหรี่ เล่นเกมส์ อ่านหนังสือพิมพ์ หนังสือบันเทิง หรือเมื่อปวดถ่ายก็กลั้นไว้ ละเลยที่จะไปถ่าย
2.ภาวะสุขภาพ
2.1ความผิดปกติบริเวณ anorectal
anal fissures
thrombused hemorrhoids
rectal cancer
2.2โรคระบบทางเดินอาหารที่มีพยาธิสภาพที่ลำไส้ใหญ่
มะเร็งลำไส้ใหญ่ทำให้เกิดการอุดตัน
2.3ความผิดปกติของระบบประสาทและกล้ามเนื้อ
เนื้องอกในสมอง Alzheimer's disease
pakinson's disease
Multiple sclerosis
Spinal cord injury
Hirschsprung's disease
2.4ความผิดปกติของต่อมไร้ท่อและเมตาบอลิซึม
ผู้ป่วยเบาหวานระยะสุดท้ายที่มี Visceral neuropathies
hypothyroidism
hyperparathyroidism
hypokalemia
hypocalcaemia
Uremia
2.5ภาวะทางจิตใจ
anxiety depression เมื่อมีความเครียดทางอารมณ์อาจทำให้การบีบตัวของลำไส้ลดลงเกิดภาวะท้องผูกได้
2.6การตั้งครรภ์
จากการเพิ่มระดับของprogesterone hormone ทำให้smooth muscle คลายตัวและลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง(slow peristalsis)
2.7ยาที่ใช้ในการรักษา
ยาบางตัวมีผลทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง เกิดภาวะท้องผูกได้
ตัวอย่างยา
Antacids ยาลดกรดที่มีส่วนประกอบของอะลูมิเนียม หรือแคลเซียม
Analgesics เช่นCodeine,Morphine ทำให้bowel spasticity และacid secretion ลดลง
ยาแก้ปวดลดไข้ที่มี opiates เป็นส่วนประกอบพบว่าทำให้ลำไส้มีการบีบตัวลดลงDiuretics ยาขับปัสสาวะ ทำให้ร่างกายสูญเสียน้ำและโปแตสเซียมซึ่งเป็นตัวนำ nerve impulseในลำไส้
Cytotoxic drugs ยาเคมีบำบัดพบว่ามีผลทำให้ลำไส้เคลื่อนไหวลดลงเช่น Vincristine เนื่องจากยามีผลต่อระบบประสาทอัตโนมัติ(Auto nervous system)
Abuse of laxatives การใช้ยาถ่ายเกินขนาดหรือเป็นเวลานาน เมื่อหยุดยามีผลให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง
Antihypertensive drugs ยาลดความดันเช่นcalcium channel blockers,clonidine,hydralazine,MAO inhibitors,methyldopa
นอกจากนี้ยังมียาในกลุ่ม Antidepressent,antiparkinsonion drugs,neuroleptics,anticonvulsant,antihistamine,bismuth,cholestyramineเป็นต้น
แนวทางการดูแล
1.การให้ความรู้แก่ผู้ป่วยในการปรับเปลี่ยนแผนการดำเนินชีวิตเพื่อให้การขับถ่ายอุจจาระปกติ
1.1อาหาร
มีบทบาทสำคัญมากในการช่วยส่งเสริมการขับถ่ายปกติ การรับประทานอาหารตรงเวลาเป็นการฝึกRegular bowel patterns รับประทานอาหารที่มีกากใยหรือfiber soluble,insoluble อาหารที่มีกากใยจะช่วยป้องกันไม่ให้อุจจาระแข็งและปห้ง ง่ายต่อการขับเคลื่อนภายในลำไส้
อาหารที่มีกากใยสูง เช่น ถั่ว ข้าว ผลไม้สดและผักสด ถ้าผู้ป่วยเสี่ยงท้องผูกควรจำกัดอาหารพวก ไอศกรีม เนื้อสัตว์ เนยและอาหารกลุ่มProcessed food และควรดื่มน้ำอย่างน้อย 1500 ccหรืออาหารประเภทน้ำก็ได้
1.2การออกกำลังกาย
สำคัญมากที่จะช่วยให้กล้ามเนื้อหน้าท้องและอุ้งเชิงกรานที่ใช้ในการขับถ่ายให้แข็งแรง
1.3Elimination habit
ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการขับถ่ายที่ไม่เหมาะสม หรือละเลย การขับขับถ่าย เมื่อรู้สึกอยากถ่ายควรรีบเข้าห้องน้ำทันที ช่วงเวลาถ่ายอุจจาระที่เหมาะสมที่สุดคือตอนเช้าภายหลังตื่นนอน 2 ชั่วโมงและภายหลังอาหารเช้าซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ที่่ช่วยให้มีการขับถ่ายอุจจาระ
1.4ภาวะเครียด
มีผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในระบบขับถ่าย จึงควรใช้วิธีเผชิญกับปัญหาอย่างเหมาะสม
2.การใยาระบาย(Laxatives)
laxatives increase bulk
ยาระบายที่เพิ่มกากในลำไส้ เช่นmethycellulose การให้ยาแบบนี้อาจมีผลรบกวนการดูดซึมยาบางชนิดในลำไส้และอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดลำไส้อุดตัน
laxatives increase intestinal motility
ยาระบายที่เพิ่มการบีบตัวของลำไส้Bisacodylออกฤทธิ์ภายใน6-8ชม.หลังรับประทานอาหารหรือภายใน15-30นาทีถ้าเหน็บก้น
Anthraquinones
ออกฤทธิ์เพิ่มการบีบตัวของลำไส้โดยลดsegmenting contraction,เพิ่มpropagating contraction
laxatives attract fluid by osmosis
ยาระบายที่เพิ่มการดูดซึมน้ำเข้าในลำไส้ใช้ได้ดีกับผู้ป่วยที่มีภาวะท้องผูกแบบidiopathic constipationเช่นlactulose,sorbitol,magnesium sulphate การใช้ยาในกลุ่มนี้ต้องระวังโดยเฉพาะในผู้ป่วยที่มีการทำงานของไตหรือหัวใจบกพร่องอาจทำให้เกิดความไม่สมดุลของสารน้ำและอิเล็คโทรลัยท์ได้
-polyethylene glycol(PEG)เป็นยาที่มีผลข้างเคียงน้อยกว่ายาตัวอื่นจึงนิยมใช้ในผู้สูงอายุและผู้ป่วยโรคตับที่มีภาวะท้องผูกเพื่อลดอาการhepatic encephalopathy
laxatives soften faeces
ยาระบายที่ทำให้อุจจาระนิ่ม ส่วนใหญ่ยาแบบนี้จะมีส่วนผสมของoilเช่น agaral,docusate sodium,E.L.Pการใช้ยากลุ่มนี้ไปนานๆจะทำให้fat-soluble vitaminsไม่ถูกย่อยและถูกขับออกพร้อมกับcalcium,phosphorusด้วย
ถ้าใช้ในผู้สูงอายุหรือผู้มีปัญหาด้านการกลืนต้องระวังเรื่องการสำลักเพราะอาจทำให้เกิดปอดอักเสบรุนแรงได้
3.การควักอุจจาระ
บางครั้งอุจจาระอัดแน่นการใช้ยาไม่ได้ผล อาจจำเป็นต้องควักอุจจาระออกหรือใช้วิธีสวนอุจจาระช่วย
4.Biofeedback therapy
เป็นการฝึกการขับถ่ายโดยมีเป้าหมายรักษาภาวะเบ่งผิดปกติและเพิ่มความสามารถในการรับความรู้สึกของลำไส้ตรง ผู้ใช้บริการจะได้รับการสอนให้ถ่ายให้ถูกวิธีโดยใช้เครื่องมือช่วย ฝึกให้คลายกล้ามเนื้อบริเวณเชิงกรานระหว่างเบ่งถ่ายและใช้กล้ามเนื้อท้องช่วยในการเคลื่อนที่ของอุจจาระเข้าไปในลำไส้ตรง
5.การผ่าตัด
ในรายที่มีภาวะท้องผูกเรื้อรังรุนแรงและไม่ตอบสนองต่อการรักษาอาจจำเป็นต้องใช้วิธีการผ่าตัดช่วย เช่นการทำSubtotal colectomy with ileorectal anastomosis ในกลุ่มที่มีการเคลื่อนตัวของลำไส้ช้าอย่างรุนแรง การผ่าตัดจะช่วยลดอาการดังกล่าวได้
6.แก้ไขภาวะสุขภาพที่เป็นสาเหตุให้เกิดภาวะท้องผูก
ภาวะแทรกซ้อน
อาการท้องผูกโดยทั่วไปไม่ค่อยก่อให้เกิดภาวะแทรกซ้อนรุนแรง ผู้ป่วยอาจมีอาการเจ็บในขณะขับถ่ายแต่หากเกิดอาการท้องผูกบ่อยมากขึ้นอาจส่งผลให้อุจจาระตกค้างอยู่ภายในลำไส้จนแห้งและแข็งทำให้ถ่ายออกได้ลำบากขึ้นอาจส่งผลให้อุจจาระตกค้างอยู่ภายในลำไส้จนแห้งและแข็งทำให้ถ่ายออกได้ลำบากหรือไปเสียดกับผนังลำไส้และทวารหนักขณะถ่ายจึงอาจทำให้ถ่ายเป็นเลือดในบางรายอาจพัฒนาเป็นแผลแตกรอบๆทวารหนักหรือโรคริดสีดวงทวารขึ้นได้ เนื่องจากต้องใช้แรงเบ่งในการขับอุจจาระ
อ้างอิง
https://he02.tci-thaijo.org/index.php/trcnj/article/view/40094/33092
https://cuir.car.chula.ac.th/bitstream/123456789/45975/1/5477228336.pdf
https://www.si.mahidol.ac.th/sidoctor/e-pl/articledetail.asp?id=363
https://www.pobpad.com/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B8%81
ภาวะท้องเสีย
อ้างอิง
https://www.pobpad.com/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2
https://www.bumrungrad.com/th/health-blog/june-2017/4-tips-healthy-geriatric
ปัญหา
เกิดภาวะขาดน้ำหรือมีอาการท้องเสียมากกว่า 2 วัน
มีอาการปวดอย่างรุนแรงในช่องท้องหรือทวารหนัก
ไข้ขึ้นสูงกว่า 39 องศาเซลเซียส
ถ่ายอุจจาระมีเลือดหรืออุจจาระเป็นสีดำ
ความหมาย
เป็นอาการถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำมากกว่าปกติหรือในบางครั้งถ่ายเป็นมูกปนเลือด มักเกิดจากการติดเชื้อหรือภาวะอาหารเป็นพิษหลังจากการรับประทานอาหารที่ปนเปื้อนเชื้อโรคเข้าไป โดยอาการจะเกิดขึ้นในระยะเวลาเพียงไม่กี่วัน แต่ในบางรายอาจเป็นอาการเรื้อรังเป็นเวลานาน ซึ่งอาจเกิดจากโรคอื่นๆได้
อาการ
อาการของโรคที่พบบ่อยจะมีการถ่ายอุจจาระเหลว ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป ถ่ายบ่อยกว่าปกติของแต่ละคนหรือถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 คร้ง หรือมากกว่านั้นภายใน 24 ชม. ในรายอาจมีอาการอื่นๆร่วมด้วยเช่นปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว และมีไข้
สาเหตุ
ท้องเสียแบบเฉียบพลัน
อาการท้องเสียแบบเฉียบพลันมักเกิดจากโรคกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กอักเสบ เนื่องจากการติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อไวรัส หรือเชื้อปรสิต
การติดเชื้อแบคทีเรีย เชื้อแบคทีเรียที่มักปนเปื้อนในน้ำหรืออาหาร และก่อให้เกิดอาการท้องเสียตามมาได้แก่ เชื้อแคมโพไลแบคเตอร์ เชื้อซาลโมเนลลา เชื้อชิเกลลา และเชื้ออีโคไล
การติดเชื้อไวรัส มีไวรัสหลายชนิดที่ก่อให้เกิดอาการท้องเสีย เช่นโรต้าไวรัส โนโรไวรัส ไซโตเมกาโลไวรัส เฮอร์พีส์ซิมเพล็กซ์ไวรัส ไวรัสตับอักเสบ เป็นต้น
การได้รับเชื้อปรสิต เชื้อปรสิตสามารถเข้าสู่ร่างกายผ่านอาหารและน้ำที่ปนเปื้อน และอาศัยอยู่ในระบบย่อยอาหารของคนเรา เชื้อปรสิตที่มักพบคือ เชื้อไกอาเดีย เชื้อแอนตามีบาฮิสโตลิติกาหรือเชื้อบิดอะมีบา และเชื้อคริปโตสปอริเดียม
ท้องเสียแบบเรื้อรัง
เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไปจะถือเป็นอาการท้องเสียเรื้อรัง
โรคในระบบทางเดินอาหารและโรคลำไส้ผิดปกติ เช่นโรคโครห์น โรคลำไส้อักเสบ โรคเซลิแอคหรือแพ้กลูเตน โรคลำไส้แปรปรวน เป็นต้น
อาหาร บางคนอาจมีปัญหาในการย่อยสารอาหารบางประเภท อย่างการขาดน้ำย่อยสำหรับย่อยน้ำตาลแล็กโทสซึ่งเป็นน้ำตาลที่พบมากในนมหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม เป็นต้น
การตอบสนองต่อยาบางประเภท ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมะเร็งรวมถึงยาลดกรดที่มีแมกนีเซียมสามารถทำให้เกิดอาการท้องเสียได้
การผ่าตัด อาการท้องเสียอาจเกิดขึ้นหลังจากเข้ารับการผ่าตัดบางชนิด อย่างการผ่าตัดลำไส้หรือการผ่าตัดนำถุงน้ำดีออกไป
ภาวะแทรกซ้อน
ผู้ป่วยท้องเสียส่วนใหญ่มักไม่มีภาวะแทรกซ้อนที่รุนแรงตามมา แต่คนบางกลุ่มอย่างหญิงตั้งครรภ์ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเบาหวานหรือผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ อาจเสี่ยงต่อการเกิดภาวะแทรกซ้อน
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
โรคลำไส้แปรปรวน
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
ร่างกายส่วนอื่นตอบสนองต่อการติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบตามไปด้วย
การติดเชื้อลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่นๆในร่างกาย
แนวทางการดูแล
ดูแลความสุขสบาย ช่วยเหลือให้ไปห้องน้ำได้ทัน เพราะส่วนมากจะกลั้นอุจจาระไม่ได้ จัดท่าให้สุขสบายขณะขับถ่าย ควรให้นั่งถ่ายบนโถส้วม ไม่ควรนั่งยอง ๆ ช่วยเหลือทำความสะอาดหลังการขับถ่ายด้วยการชำระด้วยน้ำและซับให้แห้งทุกครั้ง ดูแลผิวหนังบริเวณทวารหนักและฝีเย็บให้สะอาดแห้งอยู่เสมอ ให้นอนพักบนเตียง ให้ยาตามแผนการรักษาของแพทย์ (ถ้ามี)
ป้องกันไม่ให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ เป็นต้น ในระยะแรกอาจงดอาหาร เพื่อไม่กระตุ้นลำไส้ให้เคลื่อนไหวมากทำให้เสียน้ำและเกลือแร่มาก ให้ดื่มสารละลายผงเกลือแร่ น้ำหวานหรือน้ำอัดลมโดยเขย่าฟองให้หมดก่อนแล้วเติมเกลือเล็กน้อย เมื่ออาการดีขึ้นไม่อาเจียนให้อาหารอ่อนย่อยง่ายกากน้อย รสอ่อน ไม่มีไขมัน ดื่มน้ำทดแทนการสูญเสียอย่างน้อยวันละ 2-3 ลิตร ถ้ายังอาเจียนหรือถ่ายเหลวมากควรพบแพทย์เพื่อพิจารณาให้สารน้ำทางหลอดเลือดดำ สังเกตภาวะขาดน้ำและเกลือแร่ เช่น กระหายน้ำมาก ผิวขาดความตึงตัว ใจสั่น ปวดท้อง เป็นตะคริว ซึม สับสน เป็นต้น