Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ…
การพยาบาลแบบองค์รวมในทารกแรกเกิดที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ (การบาดเจ็บจากการคลอด)
ปัจจัยเสี่ยง
ทารกที่คลอดท่าก้น
มีขนาดตัวโต
ระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนาน
ได้รับการช่วยคลอดด้วยคีม
เครื่องดูดสุญญากาศ
ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง
เป้าหมายทางการพยาบาล
ระบุความเสี่ยงของทารก
เลือกวิธีการคลอดที่ปลอดภัยต่อทารก
ภายหลังคลอดทารกจะต้องได้รับประเมินการ
บาดเจ็บจากการคลอดทุกราย
เพื่อให้ได้รับการแก้ไขปัญหาอย่างรวดเร็ว
ป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น
1.ก้อนบวมโนที่ศีรษะ
(Caput succedaneum)
เกิดจากการคั่งของของเหลวระหว่างชั้นหนังศีรษะกับชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะก้อนบวมโนนี้จะข้ามรอยต่อ ( suture )ของกระดูกกะโหลกศีรษะ
มีขอบเขตไม่แน่นอน
สาเหตุ
เกิดจากแรงดันที่กดลงบนศีรษะทารกระหว่างการคลอดท่าศีรษะทำให้มีของเหลวซึมออกมานอกหลอดเลือดในชั้นใต้เยื่อหุ้มหนังศีรษะจากการใช้เครื่องสูญญากาศช่วยคลอด (V/ E)
การวินิจฉัย
โดยการคลำศีรษะทารกแรกเกิดพบก้อนบวมในลักษณะนุ่มกดบุ๋ม,พบก้อนบวมในลักษณะนุ่มกดบุ๋มกดไม่เจ็บ,เคลื่อนไหวได้กดไม่เจ็บ,ขอบเขตไม่ชัดเจน,ข้ามแนวรอยต่อของกระดูกกะโหลกศีรษะ,พบทันทีภายหลังคลอด
อาการและอาการแสดง
พบได้บริเวณด้านข้างของศีรษะ
ก้อนบวมโนนี้ทำให้ศีรษะมีความยาว
มากกว่าปกติ
แนวทางการรักษา
สามารถหายได้เองโดยไม่จำเป็นต้องรักษา
ประมาณ 3 วัน ถึง 2 – 3 สัปดาห์ ขึ้นอยู่กับขนาด
ของก้อนบวมในที่เกิดขึ้น
2.ก้อนโนเลือดที่ศีรษะ
(Cephalhematoma )
เป็นการคั่งของเลือดบริเวณใต้เยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะมีขอบเขตชัดเจน
ก้อนในเลือดที่เกิดขึ้นจะเกิดบนกระดูกกะโหลกศีรษะเพียงชั้นเดียวเท่านั้นชั้นเดียวเท่านั้น
สาเหตุ
เกิดจากมารดามีระยะเวลาการคลอดยาวนาน
ศีรษะทารกถูกกดจากช่องคลอด
จากการใช้เครื่องสูญญากาศช่วยคลอด
เป็นผลให้หลอดเลือดฝอยบริเวณเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะทารกฉีกขาด
เลือดจึงซึมออกมานอกหลอดเลือดใต้ชั้นเยื่อหุ้มกระดูกกะโหลกศีรษะ
ภาวะแทรกซ้อน
หากก้อนในเลือดมีขนาดใหญ่
จะเกิดภาวะระดับบิลิรูบินในเลือดสูง(hyperbilirubinemia)
อาจเกิดการติดเชื้อจากการดูดเลือดออกจากก้อนโนเลือด
การวินิจฉัย
จากประวัติพบว่าระยะคลอดมารดาเบ่งคลอดนาน
หรือได้รับการช่วยคลอดด้วยเครื่องสูญญากาศ
จากการตรวจร่างกายพบบริเวณศีรษะทารกแรกเกิดมีก้อนบวมโนบนกระดูกกะโหลกศีรษะ ชั้นใดชั้นหนึ่งมีลักษณะแข็งและคลำขอบได้ชัดเจน
อาการและอาการแสดง
จะปรากฏให้เห็นชัดเจนภายใน 24 ชั่วโมงหลังเกิด
ลักษณะการบวมจะมีขอบเขตชัดเจนบนกระดูกกะโหลก
ศีรษะชิ้นใดชิ้นหนึ่ง
รายที่มีอาการรุนแรงอาจพบอาการแสดงทันทีหลังเกิด
พบก้อนโนเลือดมีสีดำหรือนํ้าเงินคลํ้า
แนวทางการรักษา
ถ้าไม่มีภาวะแทรกซ้อน ก้อนโนเลือดจะค่อย ๆ หายไปได้เอง
อาจใช้เวลาเป็นสัปดาห์ ในรายที่ก้อนเลือดมีขนาดใหญ่อาจรักษาโดยการดูดเลือดออก
3.เลือดออกใต้เยื่อบุนัยน์ตา( Subconjunctival hemorrhage )
การมีจุดเลือดออกที่ตาขาว (sclera)ของทารกแรกเกิด
มักพบบริเวณรอบ ๆ กระจกตา
สาเหตุ
เกิดจากการที่มารดาคลอดยากศีรษะทารกถูกกด
หลอดเลือดที่เยื่อบุนัยน์ตาแตก ทำให้มีเลือดซึมออกมา
การวินิจฉัย
ตรวจพบมีเลือดออกใต้เยื่อบุนัยน์ตาทารก
ภายหลังคลอด
แนวทางการรักษา
สามารถหายไปได้เองโดยไม่ต้องการการรักษา
โดยใช้ระยะเวลา 2 – 3 สัปดาห์
4.เส้นประสาทที่มาเลี้ยงใบหน้า
บาดเจ็บ (Facial nerve palsy )
เส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ได้รับบาดเจ็บจากการถูกกด
ในระหว่างที่ศีรษะผ่านหนทางคลอดหรือถูกกดจากการใช้คีมช่วยคลอด (forceps extraction)
สาเหตุ
เกิดจากการได้รับบาดเจ็บจากการคลอด
โดยเฉพาะในรายที่คลอดยาก
การวินิจฉัย
การซักประวัติได้ประวัติการคลอดว่ามารดามีระยะที่ 2 ของการคลอดยาวนานหรือมารดาคลอดโดยใช้คีมช่วยคลอด
2.การตรวจร่างกาย พบอาการและอาการแสดง
ของเส้นประสาทสมองคู่ที่ 7 ได้รับบาดเจ็บ
อาการและอาการแสดง
กล้ามเนื้อใบหน้าข้างที่เส้นประสาทเป็นอัมพาตจะอ่อนแรงไม่สามารถเคลื่อนไหวหน้าผากข้างที่เป็น
ไม่สามารถปิดตาได้
เมื่อร้องไห้มุมปากจะเบี้ยว ไม่สามารถเคลื่อนไหวปากข้างนั้นได้
กล้ามเนื้อจมูกแบนราบ
ใบหน้าสองข้างของทารกไม่สมมาตรกัน
แนวทางการรักษา
ส่วนใหญ่อาการจะหายไปได้เอง
ควรหยอดนํ้าตาเทียมให้เพื่อป้องกันจอตาถูกทำลาย
5.อัมพาตที่แขน
(Brachial plexus palsy)
เส้นประสาทที่มาเลี้ยงแขนได้รับบาดเจ็บจากการคลอด ทำให้เกิดอัมพาตของแขนส่วนบน ( upper arm ) อาจไม่มีหรือพบร่วมกับอัมพาตของแขนท่อนปลาย( forearm ) คือส่วนข้อมือถึงข้อศอก อัมพาตของมือหรืออัมพาตของทั้งแขน
สาเหตุ
การทำคลอดไหล่ที่รุนแรง
การทำคลอดท่าศีรษะผิดวิธี เช่น ทำคลอดโดย
การเหยียดศีรษะและคอของทารกอย่างรุนแรง
การทำคลอดแขนให้อยู่เหนือศีรษะในรายทารก
ใช้ก้นเป็นส่วนนำ
Erb – Duchenne paralysis
เส้นประสาทคู่ที่ได้รับบาดเจ็บ คือเส้นประสาทคอคู่ที่5 และ 6 (cervical nerve 5 – 6)กล้ามเนื้อที่ได้รับการกระทบกระเทือน คือกล้ามเนื้อต้นแขน (deltoid) biceps และ brachioradialis
Klumpke’ s paralysis
เส้นประสาทคู่ที่ได้รับบาดเจ็บ คือเส้นประสาทคอคู่ที่ 7,8 และ
เส้นประสาทที่มาเลี้ยงทรวงอกคู่ที่ 1 (C7,8 – T1)
Horner’s syndrome
Combined หรือ Total brachial plexus injury
เส้นประสาทคู่ที่ได้รับบาดเจ็บ คือเส้นประสาทคอคู่ที่ 5
เส้นประสาทที่มาเลี้ยงทรวงอกคู่ที่ 1 (C5 – T1)
ถ้าเส้นประสาทคอคู่ที่ 3 และ 4 (C3 – C4) ถูกทำลายร่วมด้วย
ทำให้มีอัมพาตกระบังลม (paralysis of diaphragm)
การวินิจฉัย
การซักประวัติ
ประวัติการคลอดยาก คลอดติดไหล่
การตรวจร่างกาย
moro reflex ทารกจะยกเเขนได้ข้างเดียว
อาการและอาการแสดง
ทารกที่มีภาวะ Erb – Duchenne paralysis
ไม่มีอาการผวา (moro reflex) เมื่อตกใจ ทารกสูญเสีย biceps
และ radial reflex ยังกำมือ(grasp reflex)ได้
Klumpke’s paralysis ทารกอาจมี Horner’s syndrome ถ้า sympathetic fiber ของเส้นประสาทคู่ที่มาเลี้ยงกล้ามเนื้อหน้าอกคู่ที่ 1 ได้รับบาดเจ็บด้วย
Total brachial plexus injury
กล้ามเนื้อทั้งแขนและมือของทารกจะอ่อนแรง
ไม่มีปฏิกิริยาสะท้อนกลับ (reflexs) ทั้งหมด
การรักษา
ให้เริ่มทำ passive movement เมื่อเส้นประสาทยุบบวม
ให้อยู่ในท่าที่เหมาะสมโดยให้ยึดแขนไว้ในท่าหัวไหล่ทำมุม 90องศากับลำตัว หมุนแขนออกด้านนอก แขนส่วนล่างอยู่ในท่าหงายและฝ่ามือหันเข้าหาใบหน้า
6.กระดูกไหปลาร้า
(Fracture clavicle)
กระดูกไหปลาร้าหัก (Fracture clavicle)
ไม่เคลื่อนไหวแขนข้างที่กระดูกไหปลาร้าหัก (ไม่มี moro reflex)
กล้ามเนื้ออก กล้ามเนื้อไหปลาร้าและกล้ามเนื้อกกหู
(sternocleidomastiod muscle) หดเกร็ง
กระดูกแขนหัก (fracture arm)
ได้ยินเสียงกระดูกหักขณะทำคลอด
บริเวณที่มีกระดูกหักมีสีผิวผิดปกติ
กระดูกขาหัก (fracture leg)
กระดูกสะโพกเคลื่อน (hip dislocation)
หัวกระดูกขาหลุดออกจากเบ้ากระดูกสะโพก
เส้นเอ็นถูกยืดออกเป็นผลทำให้หัวกระดูกต้นขา
ถูกดึงรั้งสูงขึ้น
การวินิจฉัยโรค
การตรวจร่างกายโดยการทำให้ทารกผวาตกใจ (moro reflex) จะพบว่าทารกไม่มีเคลื่อนไหวแขนข้างที่หัก
อาการและอาการแสดง
มีอาการบวม เวลาทำ passive exercise ทารกจะร้อง
เนื่องจากเจ็บปวด
ทารกที่มีการเคลื่อนของข้อสะโพกจะพบว่าทารกมีขาบวม
ขายาวไม่เท่ากัน
การรักษา
อยู่นิ่ง อย่างน้อย 2 – 4 สัปดาห์
กระดูกไหปลาร้าหัก โดยให้แขนและไหล่ด้านที่กระดูกไหปลา
ร้าหักอยู่นิ่ง พยายามไม่ให้เคลื่อนไหว
กระดูกต้นแขนเดาะใช้ผ้าตรึงแขนติดลำตัว
ข้อวินิจฉัยการพยาบาล
ภาวะแลกเปลี่ยนแก๊สบกพร่อง เนื่องจากร่างกายได้รับออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากขาดออกซิเจนขณะอยู่ในครรภ์การคลอดลำบาก ได้รับการบาดเจ็บจากการคลอด
ภาวะเสี่ยงต่อการติดเชื้อ เนื่องจากการบาดเจ็บจากการคลอด
ภาวะเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ เนื่องจากเนื้อเยื่อบาดเจ็บเนื่องจาก
การคลอดยาก คลอดฉับพลัน
กิจกรรมการพยาบาล
ทบทวนประวัติการฝากครรภ์และการคลอดก่อนการประเมินร่างกาย
ทารก
สังเกตท่าทางการนอนของทารก ดูความสมดุลของการงอแขนขา
การเคลื่อนไหว
ประเมินสีผิว อาการฟกช้ำ จุดจ้ำเลือด รอยถลอกและแผลฉีกขาด
ประเมิน Moro Reflex ,Barbinski Reflex
และการคดงอของกระดูก
การเคลื่อนไหวร่างกายบกพร่องเนื่องจาก เนื้อเยื่อ และเส้นประสาทบาดเจ็บเนื่องจากการคลอดยาก
ประเมินการเคลื่อนไหวของอวัยวะที่บาดเจ็บ แรงของ
กล้ามเนื้อ ท่าทาง ความเจ็บปวด
จัดท่าให้ถูกต้องตามหลักกายวิภาคโดยใช้ผ้าอ้อมม้วน
วางรองให้ทารกนอนตะแคงข้างที่ไม่มีการบาดเจ็บ
ช่วยทารกออกกำลังกล้ามเนื้อข้างที่มีภาวะ
Erb’s palsy ทุก 2- 4 ชม.
ให้ยาตามแผนการรักษา