Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ ๖ การบริหารการพยาบาล - Coggle Diagram
บทที่ ๖ การบริหารการพยาบาล
๑. ขอบเขตและความรับผิดชอบ
๑.๑ การบริหารการพยาบาลในหน่วยบริการระดับปฐมภูมิ
๑. การวางแผน (Planning)จะครอบคลุมงานบริการสุขภาพให้ประชาชนทั้งในด้านการรักษาพยาบาล การส่งเสริมสุขภาพ การควบคุมและการป้องกันโรค การฟื้นฟูสภาพ และงานบริหารงานในสำนักงาน
๒. การจัดองค์กรการพยาบาลในชุมชน การจัดองค์กรพยาบาลในชุมชน เป็นกลุ่มคนในด้านการให้บริการสุขภาพแก่ประชาชนในชุมชนมารวมกันไม่ได้มีแต่เพียงพยาบาลเท่านั้น แต่เป็นเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงานเพื่อปฏิบัติงานด้านการพยาบาลชุมชน
๓. การนำหรืออำนวยการ (Directing)การดำเนินการในองค์การจะประสบความสำเร็จหรือไม่ การนำหรือการอำนวยการนับว่ามีบทบาทมาก เนื่องจากต้องมีการสั่งการ มอบหมายงานต่างๆ
๔. การควบคุมกำกับงาน (Controlling)และการประเมินผลการปฏิบัติงาน การควบคุมกำกับงานพยาบาลชุมชน
๑.๒ การบริหารการพยาบาลในหน่วยบริการทุติยภูมิและตติยภูมิ
ตำแหน่งผู้บริหารการพยาบาลมี ๓ ระดับ
๒. ผู้บริหารระดับกลาง ได้แก่ ผู้ช่วยหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล และหัวหน้าแผนกการพยาบาล
๑. ผู้บริหารระดับสูง ได้แก่ ผู้อำนวยการพยาบาล หรือหัวหน้าฝ่ายการพยาบาล
๓. ผู้บริหารระดับต้น ได้แก่ ผู้ตรวจการพยาบาล และหัวหน้าหอผู้ป่วย
บทบาทหน้าที่ของหัวหน้าเวร หัวหน้าทีม และสมาชิกทีม
หัวหน้าเวร (Nurse In charge)
๑. สามารถวางแผนปฏิบัติการพยาบาลและตัดสินใจแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้
๒. นำประชุมปรึกษากับทีมงาน กำหนดแผนการพยาบาล
๓. วางแผนและมอบหมายงานให้หัวหน้าทีม
๔. ตัดสินแก้ปัญหาทางการพยาบาลในแต่ละสถานการณ์ และรับผิดชอบต่อการตัดสินใจ
๕. ประสานงานกับทีมสุขภาพ ได้แก่ แพทย์, นักกายภาพบำบัด, เภสัชกร เป็นต้น
๖. กำหนดระบบและกระบวนการดำเนินงานนิเทศและประเมินผลงาน
๗. บริหารบุคคลในสายงานพยาบาล, บริหารทรัพยากรในการดำเนินการพยาบาล
๘. บันทึกและรายงานการปฏิบัติการพยาบาล
หัวหน้าทีม (Nurse Leader)
๑. ร่วมประชุมปรึกษาทางการพยาบาลของผู้ป่วยในทีม
๒. ปฏิบัติตามแผนการพยาบาลที่วางไว้
๓. ประสานงานกับหัวหน้าเวร
๔. ปฏิบัติงานตามที่ได้รับมอบหมาย
๕. ปรึกษาและร่วมแก้ปัญหาทางการพยาบาลกับหัวหน้าเวร
๖. รายงานการทำงานกับหัวหน้าเวร
๗. ดูแลเครื่องมือและจัดเก็บการบำรุงรักษา
๘. บันทึกและรายงานการปฏิบัติการพยาบาล
สมาชิกทีม (Member)
๑. ประเมินปัญหาและความต้องการของผู้ป่วยอย่างต่อเนื่อง
๒. ให้การพยาบาลเฉพาะโรคได้ทุกระดับปัญหา และทุกระดับความรุนแรงของโรค
๓. ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรคขั้นต้น
๔. การสนับสนุนการดูแลสุขภาพตนเองของผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการ
๕. การสร้างความพึงพอใจแก่ผู้ป่วย/ผู้ใช้บริการ
๖. วางแผนและดำเนินการส่งเสริมสุขภาพ
๗. สังเกต บันทึก สรุป รายงานการเปลี่ยนแปลง
การบริหารหอผู้ป่วย
หลักการจัดหอผู้ป่วย
๑. ความเป็นสัดส่วน (Privacyสะดวกไม่เปิดเผยผู้ป่วย และญาติสามารถเยี่ยมได้ใกล้ชิด
๒. ความปลอดภัย (safety) ต้องป้องกันการเกิดอุบัติเหตุ
๓. การป้องกันและควบคุมการแพร่กระจายเชื้อ (Infection control)
๔. ควบคุมเสียง (noise control) ไม่ให้มีเสียงดังรบกวนการพักผ่อนของผู้ป่วย
การจัดอัตรากำลังทางการพยาบาล (Nursing Staffing)
การวางแผนอัตรากำลัง (Staffing planning)
เป็นการคาดคะเนความต้องการการพยาบาลของหน่วยงานล่วงหน้า
วางแผนเพื่อให้ได้บุคลากรพยาบาลตามที่ต้องการ เป็นการกำหนดวิธีการไว้ล่วงหน้าว่าจะได้คนมาจากไหน อย่างไร โดยพิจารณาถึง อัตราการผลิตพยาบาล จำนวนที่จะผลิตเพิ่ม อาจจะเป็น ๕ ปี หรือ ๑๐ ปี
การวางแผนการใช้บุคลากรทางการพยาบาล เป็นการวางแผนเพื่อจะใช้คนที่มีอยู่แล้วให้ได้ประโยชน์สูงสุด
การแบ่งประเภทผู้ป่วย (Patient Classification Systems)
วิธีจัดประเภทผู้ป่วย
ประเภทที่ ๑ ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองได้ ต้องการดูแลเล็กน้อย (Minimal Care)
ประเภทที่ ๒ ผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพาคนอื่นเพียงบางส่วน ต้องการดูแลระดับปานกลาง (Partial Care)
ประเภทที่ ๓ ผู้ป่วยที่ต้องพึ่งพาคนอื่นโดยสมบูรณ์ ต้องการการดูแลที่ซับซ้อน (Complex Care)
การแบ่งประเภทผู้ป่วยตามวิธีของวาสเลอร์(Warstler)
ผู้ป่วยประเภท ๕ : ผู้ป่วยที่อยู่ในภาวะวิกฤติ เสี่ยงต่อการเสียชีวิต (Intensive care = วิกฤติ)
ผู้ป่วยประเภท ๔ : ผู้ป่วยหนักที่ต้องดูแลต่อเนื่องตลอดเวลา (Modified intensive care= หนัก)
ผู้ป่วยประเภท ๓ : ผู้ป่วยที่ต้องเฝ้าระวังและให้การดูแลเป็นระยะๆ (Intermediate care= กึ่งหนัก)
ผู้ป่วยประเภท ๒ : ผู้ป่วยที่ต้องการการดูแลเพียงเล็กน้อย (Minimal care = เล็กน้อย)
ผู้ป่วยประเภท ๑ : ผู้ป่วยที่ช่วยเหลือตนเองได้ (Self care = พักฟื้น)
ระบบการดูแลผู้ป่วย
๑. ระบบการดูแลเป็นรายบุคคล (case method or total patient care)
๒. ระบบการทำงานเป็นหน้าที่ (functional nursing)
๓.ระบบการพยาบาลเป็นทีม (team nursing)
๔.ระบบการพยาบาลแบบเจ้าของไข้ (primary nursing)
๕.ระบบการจัดการด้านผู้ป่วย (Case Management)