Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการบริหาร, ตารา, ภาพ, นางสาวกุลนัฑ วิชัยยา เลขที่ 37 ID 172311047,…
ทฤษฎีการบริหาร
ทฤษฎีการบริการแบบดั้งเดิม
(classical theory)
เกิดขึ้นตั้งแต่สมัยแรกๆ ของการมีทฤษฎีการบริหารเน้นการบริหารที่ตัวงานเป็นสําคัญ :star: คือ ลักษณะการบริหารงานที่มีระเบียบแบบแผน มีกฎเกณฑ์และเหตุผล
ทฤษฎีการบริหารเชิงวิทยาศาสตร์ (scientific management)
แฟรงค์ บังเกอร์ กิลเบรธ (Frank Bunker Gilbreth)
การแบ่งงานออกตามความชํานาญเฉพาะด้านและแบ่งงานเป็นส่วนๆ (division to work) จะทําได้ดียิ่งขึ้น
เฟรดเดอริค วินสโลว์ เทเล่อร์ (Frederick winslow taylor) บิดา แห่งการบริหารงานเชิงวิทยาศาสตร์ :star:
ใช้หลักแบ่งงานกันทําระหว่างผู้บริหารและคนงาน หัวใจสําคัญของหลักการ ดังกล่าว คือ “การกําหนดวิธีการทํางานที่ดีที่สุด” (One Best Way) จากวิธีการเชิงวิทยาศาสตร์ ซึ่ง เรียกกันในปัจจุบันว่า “time and motion study”
ใช้วิธีการทํางานเชิงวิทยาศาสตร์กําหนดวิธีการทํางาน เพื่อทดแทนวิธีที่ทํากัน มาแบบลองผิดลองถูก
มีการวางแผนแทนการที่จะปล่อยให้คนงานเลือกวิธีการเอง
คัดเลือกคนงานที่มีความสามารถ แล้วฝึกอบรมให้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ร่วมกัน
เฮนรี่ แก๊นต์ (Henry L. Gantt)
เทคนิคการจัดตารางสําหรับการควบคุมการปฏิบัติงานมาใช้เพื่อปรับปรุงและยกระดับประสิทธิภาพในการทํางาน
ทฤษฎีการจัดการเชิงบริหาร (administrative management)
มุ่งกําหนดหลักการบริหารไว้ มักเชื่อว่าหากมีการฝึกอบรมก็สามารถทําให้เป็นนักบริหารที่มีความสามารถได้
เฮนรี่ ฟาโยล (Henry Fayol)
(3) การบังคับบัญชาและสั่งการ (commanding)
ได้รับการยกย่องว่าเป็นผู้บุกเบิกแนว ความคิดเกี่ยวกับการจัดการเชิงบริหาร (administrative management) :star:
(4) การประสานงาน (coordinating)
(2) การจัดองค์กร (organizing)
(5) การควบคุม (controlling)
(1) การวางแผน (planning)
ลูเทอร์ กูลิคและลินดอลล์ เออร์วิค (Luther Guick and Lyndal Urwick) เพิ่มจาก(Henry Fayol) 2 ข้อ
(6) การจัดบุคลากร (staffing)
(7) งบประมาณ (budgeting)
อาน และ อัคคาเบย์ (Arant and Huckabay
กําหนดกระบวนการบริหารการ พยาบาลไว้ 4 ขั้นตอน
การจัดองค์การ
การอํานวยการ
การวางแผน
การควบคุม
ทฤษฎีระบบราชการ (bureaucracy)
แมกซ์ วีเบอร์ (Max Weber) เสนอแนวคิดเกี่ยวกับโครงสร้างขององค์การ ซึ่งเน้นการมีเหตุผลเป็นสําคัญ
2 มีการจัดระบบตําแหน่งหน้าที่ตามสายบังคับบัญชาระดับสูงมายังระดับต่ำ (scalar chain)
1 มีการแบ่งงานกันทํา (division of work) ตามความรู้ ความชํานาญ (specialization)
3 มีการกําหนดระเบียบข้อบังคับ กฎเกณฑ์ต่าง ๆ (rule, regulation and procedures) เพื่อควบคุมตัดสินใจ
4 บุคลากรต่างทําหน้าที่ที่กําหนดไว้อย่างเป็นทางการ (impersonal) ไม่เป็นส่วน - ตัว ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบ
5 การจ้างงานใช้หลักคุณสมบัติทางวิชาชีพ (professional qualities) 1.3.6 มีความก้าวหน้าในตําแหน่งหน้าที่ (career aspects) อาชีพมั่นคง
6 มีอํานาจหน้าที่ (legal authority) ตามตําแหน่ง โดยมีระเบียบรองรับ ซึ่งในการบริหารการพยาบาลส่วนใหญ่ยังอยู่ในระบบราชการ
ทฤษฎีการบริหารโดยใช้พฤติกรรมศาสตร์ (behavior theory)
จุดเน้นอยู่ที่ปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ในองค์การที่มีทัศนะต่อผู้ปฏิบัติงานว่าเป็นมนุษย์ไม่ได้ต้องการสิ่งจูงใจที่เป็นเศรษฐทรัพย์เท่านั้น แต่ยังต้องการสิ่งจูงใจด้านสังคมด้
แมคเกรเกอร์ (Douglas Mc Gregor) เจ้าของทฤษฎีเอ็กซ์ และวาย (X and Y - theory)
เอลตัน เมโย (Elton Mayo)
เป็นผู้วางรากฐานทฤษฎีมนุษยสัมพันธ์ พบว่าวิธีจะ เพิ่มประสิทธิภาพในการทํางาน สามารถทําได้โดยต้องทุ่มเทสนใจปัญหาและความต้องการของมนุษย์
วิลเลี่ยม กูซี่ (William G. auchi)
ให้ความสําคัญกับกลุ่มไม่ใช่ตัวบุคคล
2 ผู้ปฏิบัติงานจะขาดความคุ้นเคยกัน เพราะสภาพแวดล้อมของงานที่จัดไว้ ทําให้ เกิดช่องว่างของความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกโดยไม่จําเป็น
3 ผู้ปฏิบัติงานต่างก็มีจิตสํานึกที่ดีในด้านความผูกพันทางใจ ความรัก ความ สามัคคีอยู่แล้ว
1 ผู้ปฏิบัติงานส่วนใหญ่มุ่งแสวงหาความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดระหว่างกัน โดยอยู่ใน กรอบของปรัชญาองค์การที่ระบุไว้
4 ผู้ปฏิบัติงานสามารถไว้วางใจได้ โดยทํางานไม่บกพร่อง ผู้บริหารเพียงแต่เอาใจใส่ ดูแลสวัสดิภาพและความเป็นอยู่ให้ดีเท่านั้น
ทฤษฎีการบริหารที่เกิดขึ้นใหม่ (ernerging theory)
การเสริมสร้างวัฒนธรรมองค์การ (corporate culture) นิยม :red_flag:
ทฤษฎี 7'S :star:
เน้นกลยุทธ์การบริหารที่เน้นความสําคัญของคนอันเป็น ปัจจัยพื้นฐานของการสร้างวัฒนธรรมองค์การ การบริหารคุณภาพทั้งองค์การที่เน้นคุณภาพเน้นหัวใจของทุกเรื่อง และการรื้อปรับระบบมุ่งเน้นให้มีการบริหารตามกระบวนการทํางานใหม่ที่สามารถปฏิบัติได้ ฉับไว มีคุณภาพ :<3:
ปัจจัยที่ 2 Soft Ss คือ ส่วนเนื้อหาแห่งความสําเร็จ
2) บุคลากร (staff)
3) ทักษะ (skills)
1) แบบการบริหาร (style)
4) ค่านิยมร่วม (shared values)
ปัจจัยที่ 1 Hard Ss เป็นอุปกรณ์แห่งความสําเร็จ
โครงสร้าง (Structure) หมายถึง การจัดระเบียบองค์ประกอบขององค์การที่เหมาะสม จะช่วยให้องค์การนั้นประสบผลสําเร็จ ได้แก่ มีการแบ่งงาน รูปแบบง่ายไม่ซับซ้อน มีการกระจายบุคลากรที่เหมาะสมในการให้บริการ
ระบบ (system) หมายถึง วิธีการดําเนินงานขององค์การ ระเบียบวิธีปฏิบัติงาน ได้แก่ ระบบการวางแผน ระบบรายงาน การประเมินผล ระบบที่ดีเป็นระบบที่เน้นการปฏิบัติ
กลยุทธ์ (Strategy) หมายถึง แผนกําหนดวิธีการเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ขององค์การ จะต้องมีแผนพัฒนา มีโครงการไว้อย่างเด่นชัด มีการกําหนดวัตถุประสงค์และวิธีดําเนินการที่นําไปสู่การปฏิบัติได้ทุกหน่วยงาน
การวางแผนองค์การ (corporate planning)
การวางแผนกลยุทธ์ที่สามารถ ปรับตัวด้านแผนงานอย่างมีประสิทธิภาพ แผนกลยุทธ์ (Strategic planning) มีความสําคัญอย่างมาก
เทคนิค SWOT เป็นเครื่องมือที่ใช้ วิเคราะห์หน่วยงาน ซึ่งรายละเอียดอยู่ในการจัดองค์การและการพัฒนาองค์การ
การบริหารคุณภาพทั้งองค์การ (TA.M. = total quality management)
แนวคิดการบริหารที่ยึดคุณภาพเป็นหัวใจของทุกเรื่อง เพื่อให้ผลผลิตมีคุณภาพชนะการแข่งขัน บอกให้ทราบว่าทรัพยากรมนุษย์คือปัจจัยที่อยู่เบื้องหลังของความสําเร็จและการมีคุณภาพได้จริง
การรื้อปรับระบบ (reengineering)
จุดมุ่งหมายให้ผลการทํางานดีขึ้นในหลายๆ ด้าน เช่น ต้นทุน คุณภาพ การบริหาร และความรวดเร็ว
ทฤษฎีการบริหารแบบร่วมสมัย
(contemporary theory)
ทฤษฎีการบริหารตามสถานการณ์ (contingency management)
ตามสถานการณ์เชื่อว่าไม่มีวิธีการทํางานใดที่ดีที่สุดสําหรับทุกสถานการณ์ ผู้บริหารจึงต้องมีทักษะเชิงมโนทัศน์สูง เพื่อวิเคราะห์สถานการณ์เพื่อการตัดสินใจ
การบริหารงานแบบเน้นวัตถุประสงค์ (management by objectives : MBO.) พัฒนาขึ้นโดยปีเตอร์ ดรักเกอร์ (Peter Drucker, 1983)
ฝ่ายบริหารทุกคนและทุกระดับในองค์การต้องเข้าใจในวัตถุประสงค์รวมขององค์การ
การมีส่วนร่วม (participation) เพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกหรือผู้ใต้บังคับบัญชา มีส่วนร่วมในกระบวนการกําหนดวัตถุประสงค์ของหน่วยงาน
การให้มีข้อมูลย้อนกลับ (feedback) จากผลการดําเนินงานเน้นการตรวจสอบ และการรายงานเป็นระยะๆ เพื่อปรับปรุงแก้ไขในการปรับวัตถุประสงค์หรือวิธีการดําเนินงาน
การกําหนดระยะเวลาให้ชัดเจน (time schedule) ทั้งในขั้นตอนการกําหนด วัตถุประสงค์ การเตรียมการ การดําเนินงานและการรายงานผล
ทฤษฎีระบบ (System theory)
องค์ประกอบพื้นฐานของระบบในการบริหารองค์การประกอบด้วย
สิ่งนําเข้า (input) ซึ่งคือ ทรัพยากรต่าง ๆ เช่น คน วัสดุอุปกรณ์ เงิน ข้อมูลข่าวสาร
กระบวนการ (process) เป็นความสามารถทางการบริหารและเทคโนโลยี เช่น การวางแผน การจัดองค์การ การควบคุม
สิ่งนําออก (output) ประกอบด้วย ผลการให้บริการ หรือผลลัพธ์อื่น ๆ ที่องค์การจัดทําขึ้น และองค์ประกอบสุดท้ายคือ
ข้อมูลย้อนกลับ (feedback) เกี่ยวกับผลการให้บริการและสถานะขององค์การที่เกี่ยวพันกับสภาพแวดล้อม
ทฤษฎีการบริหารเชิงปริมาณ (quantitative theory)
เน้นที่ตัวแบบทางคณิตศาสตร์ สถิติ และข้อมูลสารสนเทศ เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจมี 3 แนวคิดที่สําคัญ
ระบบสารสนเทศเพื่อการบริหาร (managerment information system : MIS)
เน้นการออกแบบและการนําเอาระบบข้อมูลสารสนเทศโดยอาศัยเครื่องคอมพิวเตอร์มาใช้เพื่อการบริหาร (Computer based information System : CBISs)
การจัดการปฏิบัติการ (operations management)
เน้นการจัดการ เรื่องการผลิตและการให้บริการให้มีประสิทธิภาพ
การบริหารศาสตร์ (management science)
เพิ่มประสิทธิภาพการตัดสินใจอย่างมีประสิทธิภาพ
นางสาวกุลนัฑ วิชัยยา
เลขที่ 37 ID 172311047