Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12 (พ.ศ. 2560 – 2564) - Coggle Diagram
แผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12
(พ.ศ. 2560 – 2564)
หลักการของแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติฉบับที่ 12
การพัฒนาด้านสุขภาพในช่วงแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 11 (2555 - 2559) สถานการณ์ภายในประเทศที่มีผลกระทบจากมหาอุทกภัยช่วงปลายปี2554 ที่ต่อเนื่องมาถึงปี 2555 ในปี 2556 มีเหตุการณ์ประท้วงทางการเมืองของมวลมหาประชาชน จนกระทั่งช่วงเดือนพฤษภาคม 2557 เกิดคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ความกดดันจากภาวะเศรษฐกิจโลก กระแสการเข้าสู่ประชาคมอาเซียน การเปิดการค้าเสรีการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ การก่อการร้ายข้ามชาติ การเปลี่ยนแปลงด้านเทคโนโลยีและอื่นๆ ประกอบกับการพัฒนาด้านสุขภาพที่ผ่านมา ยังคงประสบปัญหาด้านการเงินการคลังสุขภาพ
รัฐบาล (พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา) ได้กำหนดยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560 – 2579) เพื่อเป็นกรอบในการพัฒนาประเทศให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน เป็นกรอบในการพัฒนาประเทศให้มีความต่อเนื่อง เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ “ประเทศมีความมั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน
เป้าประสงค์
เพื่อให้คนไทย ชุมชน ท้องถิ่น ภาคีเครือข่ายภาคประชาชนและภาคประชาสังคมด้านสุขภาพ มีความรอบรู้
ด้านสุขภาพ มีพฤติกรรมสุขภาพที่ดี สามารถช่วยเหลือ ดูแลตนเอง ครอบครัวและชุมชนด้านสุขภาพได้
เพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัย ได้รับการพัฒนาศักยภาพและสร้างเสริมให้มีสุขภาวะที่ดี ได้รับการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค และปัจจัยเสี่ยงด้านสุขภาพ มีการคุ้มครองด้านสุขภาพที่ดี มีสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการมีสุขภาพดี
เพื่อให้ระบบบริการสุขภาพทุกระดับมีการเพิ่มขีดความสามารถ มีคุณภาพ มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ขั้นสูงที่คนไทยสามารถเข้าถึง
บริการได้สะดวก เหมาะสม ทั้งนี้โดยการบูรณาการและการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
เพื่อให้มีระบบการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพที่มีประสิทธิภาพ มีแผนความต้องการอัตราก าลังคน
ด้านสุขภาพที่ชัดเจน มีการผลิตและพัฒนาก าลังคนด้านสุขภาพที่ตอบสนองต่อปัญหาและความต้องการ
ของประเทศ
เพื่อให้มีระบบการอภิบาลด้านสุขภาพมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล โดยมีกลไกทั้งระดับชาติและระดับ
พื้นที่ ที่จะท าให้การด าเนินงานงานด้านสุขภาพมีการบูรณาการ มีการก าหนดเปูาหมายร่วมกัน
ยุทธศาสตร์พัฒนา
ยุทธศาสตร์ที่ 1: เร่งการเสริมสร้างสุขภาพคนไทยเชิงรุก
ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปด้านสุขภาพเพื่อให้คนไทยทุกช่วงวัยมีสุขภาพแข็งแรง เร่งรัดพัฒนาระบบ
การดูแลเด็กให้มีพัฒนาการที่สมวัย
เสริมสร้างความร่วมมือในการดูแลให้เด็กเกิดอย่างมีคุณภาพ เจริญเติบโต เติบโตอย่างมีคุณภาพทุกช่วงวัย
ส่งเสริมให้
บุคคล ชุมชน และประชาชนกลุ่มต่างๆมีความรู้ และทัศนคติที่ถูกต้องด้านสุขภาพ เพื่อให้มีพฤติกรรมสุขภาพที่ถูกต้อง ไม่ก่อให้เกิดโรค ไม่ปุวยและตายด้วยโรคที่ปูองกันได้ มีจิตส านึกและร่วมสร้างสิ่งแวดล้อมที่ดีต่อสุขภาพ
สร้างมาตรการทางสังคมในการควบคุมพฤติกรรมเสี่ยงทางสุขภาพที่ส าคัญ ส่งเสริมการออกก าลัง
กายและการมีสุขภาพที่ดี
ยุทธศาสตร์ที่ 2: สร้างความเป็นธรรม ลดความเหลื่อมล้ำในระบบบริการสุขภาพ
ให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบบริการปฐมภูมิที่มีแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวกระจายครอบคลุมทุก
พื้นที่เพื่อดูแลประชาชนในสัดส่วนที่เหมาะสม
เร่งรัดพัฒนาระบบบริการปฐมภูมิทั้งในเขตเมืองและชนบทพัฒนาความร่วมมือในด้านวิชาการ การวิจัย และการจัดบริการด้านการแพทย์และสาธารณสุขทุกระดับกับมหาวิทยาลัย
พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของการให้บริการด้านการแพทย์และสาธารณสุข
ให้มีความทันสมัยมากขึ้น มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่เหมาะสมและคุ้มค่าในทุกพื้นที่เขตสุขภาพ มีระบบส่ง
ต่อที่รวดเร็วมีประสิทธิภาพ พัฒนาระบบการแพทย์ฉุกเฉินให้ประชาชนสามารถเข้าถึงบริการได้สะดวก
สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกันระหว่างบุคลากรทางการแพทย์และประชาชนในเรื่องกระบวนการรักษา สิทธิประโยชน์ และความคาดหวัง เพื่อผู้ให้บริการสามารถปฏิบัติงานอย่างมีความสุข ผู้รับบริการมีความพึงพอใจ
ยุทธศาสตร์ที่ 3: พัฒนาและสร้างกลไกเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพ
ให้ความสำคัญกับการปฏิรูประบบและกลไกการบริหารจัดการกำลังคนด้านสุขภาพในทุกระดับ
พัฒนาระบบข้อมูลสารสนเทศด้านกำลังคน
การวางแผนกำลังคนด้านสุขภาพ
สนับสนุนการวางแผนผลิตและ
พัฒนากำลังคนให้มีความเป็นเลิศ เชี่ยวชาญในวิชาชีพ มีทักษะการทำงานเป็นทีมสุขภาพ มีคุณธรรมและ
จริยธรรม เคารพศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
เร่งผลิตและพัฒนากำลังคนด้านสุขภาพให้มีปริมาณเพียงพอและมีคุณภาพ มีการกระจายกำลังคนที่เหมาะสมเป็นธรรมและทั่วถึง
การธำรงรักษาและการบริหารจัดการ ตอบสนองต่อ
ความต้องการด้านสุขภาพของประชาชนอย่างแท้จริง
ยุทธศาสตร์ที่ 4: พัฒนาและสร้างความเข้มแข็งในการอภิบาลระบบสุขภาพ
ให้ความสำคัญกับการปฏิรูปกลไกการบริหารจัดการระบบสุขภาพให้เกิดความเป็นเอกภาพ มีธรรมาภิบาล
จัดตั้งกลไกที่มีหน้าที่ในการกำหนดนโยบายและกำกับทิศทางด้านสุขภาพของประเทศ ปรับปรุงระบบ
หลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
สามารถใช้ประโยชน์ได้ สร้างระบบยา เวชภัณฑ์และเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่มีประสิทธิภาพและประสิทธิผล พัฒนาระบบการคุ้มครองผู้บริโภคด้านสุขภาพ
พัฒนาระบบการคุ้มครอผู้บริโภคด้านสุขภาพ สร้างระบบงานให้สามารถสร้างกำลังใจและแรงจูงใจให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขมีความสุขและเห็นคุณค่าของการทำงาน ส่งเสริมให้มีกลไประชารัฐ
แนวทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) สู่การปฏิบัติ
1.ดำเนินการสื่อสาร ประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจ ให้ประชาคมสาธารณสุข องค์กร ภาคี
สุขภาพ ตระหนักและเข้าใจในสาระสำคัญ
2.สร้างความเชื่อมโยงระหว่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) และนโยบายรัฐบาล เข้าสู่แผนการบริหารราชการแผ่นดิน แผนปฏิบัติราชการ แผนคำของบประมาณ และแผนระดับอื่นๆ เช่น แผนการลงทุน แผนพัฒนาระบบข้อมูล แผนการผลิตบุคลากร
3.ผู้บริหารทุกระดับของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ความสำคัญและใช้ยุทธศาสตร์การพัฒนาของแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) เป็น กรอบแนวทางดำเนินงานพัฒนาด้านสุขภาพของหน่วยงาน
4.จัดตั้งคณะกรรมการกำกับทิศทางการขับเคลื่อนแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 12 (พ.ศ.2560 – 2564) เพื่อกำกับการดำเนินงาน ติดตามประเมินผลแผนฯ เป็นระยะและต่อเนื่อง จัดทำระบบการรายงานผลการประเมินให้รวดเร็ว ทันเหตุการณ์ เพื่อเป็นข้อมูลในการพัฒนาปรับปรุงการดำเนินงานให้บรรลุตามเป้าหมายได้อย่างมีประสิทธิภาพ
5.จัดให้มีกลไกในการพัฒนาวิธีหรือกระบวนการยกร่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับต่อไปโดยการศึกษากระบวนการจัดทำยุทธศาสตร์ระดับชาติระยะยาวหรือระยะปานกลาง ในการบริหารของประเทศต่างๆเพื่อน มาเป็นแนวทางการเตรียมการในการยกร่างแผนพัฒนาสุขภาพแห่งชาติ ฉบับที่ 13
จัดทำโดย
นศพต.ศิริวรรณ สวัสดิ์เชิด ชั้นปีที่ 3 เลขที่ 53 E-mail:
lovebow1234@hotmail.com