Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
แผลพุพอง - Coggle Diagram
แผลพุพอง
ภาวะแทรกซ้อน
-
ไข้รูมาติก (Rheumatic Fever) เชื้อสามารถกระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย อาจจะส่งผลให้มีการอักเสบของหัวใจได้ด้วยเช่นกัน
การติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicaemia) อุณหภูมิในร่างกายเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้มีไข้ หัวใจเต้นเร็ว หายใจเร็ว มีอาการสั่น หากเข้ารับการรักษาไม่ทัน อาจส่งผลทำให้การทำงานของอวัยวะล้มเหลวและเสียชีวิตได้
โรคสะเก็ดเงินชนิดพุพอง (Guttate Psoriasis) เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้ผิวแห้งแดง คัน และตกสะเก็ดเป็นสีเทาหรือสีเงิน
-
เซลล์เนื้อเยื่ออักเสบ (Cellulitis) มีการติดเชื้อแบคทีเรียที่ชั้นหนังแท้และเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ทำให้เกิดอาการแดง บวม ตึง เจ็บ แสบร้อนที่ผิวหนัง หรืออาเจียนและมีไข้สูงร่วมด้วย
-
การป้องกัน
-
-
-
-
หากเด็กที่เป็นแผลพุพอง ควรแยกให้อยู่แต่ในบ้านจนกว่าจะหาย ไม่ควรให้ไปโรงเรียนหรือเล่นกับเด็กอื่น ๆ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อ
-
การรักษา
การใช้ยาปฏิชีวนะ
ยาปฏิชีวนะแบบครีม
-
-
ทาเป็นประจำ 3-4 ครั้งต่อวัน ต่อเนื่องนาน 1 สัปดาห์ โดยสวมถุงมือหรือล้างมือให้สะอาดหลังทายา เพื่อเป็นการลดการกระจายของเชื้อแบคทีเรีย
ารใช้ยาปฏิชีวนะแบบครีมอาจมีผลข้างเคียงในผู้ป่วยบางราย เช่น ระคายเคือง แดงหรือคัน ในบริเวณที่ทาครีม หลังใช้ยา 7 วัน ถ้าไม่พบอาการที่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์
ยาปฏิชีวนะแบบรับประทาน
นรูปแบบยาน้ำและยาเม็ด ใช้สำหรับผู้ที่มีอาการแผลพุพองรุนแรงและกระจายเป็นบริเวณกว้าง หรือใช้ในผู้ป่วยที่ใช้ยาปฏิชีวนะแบบครีมแล้วอาการไม่ดีขึ้น รับประทาน 2-4 ครั้งต่อวัน ต่อเนื่องนาน 1 สัปดาห์
ควรรับประทานยาให้หมดตามที่แพทย์สั่ง ถึงแม้จะมีอาการดีขึ้นแล้วก็ตาม การใช้ยาปฏิชีวนะแบบรับประทานสามารถทำให้เกิดผลข้างเคียงได้ในผู้ป่วยบางราย เช่น รู้สึกไม่สบาย คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง เป็นต้น หลังใช้ยา 7 วัน ถ้าไม่พบอาการที่ดีขึ้น ควรไปพบแพทย์
การรักษาดูแลที่บ้าน
ทำความสะอาดแผลบริเวณที่มีการติดเชื้อให้สะอาด โดยใช้น้ำสะอาดกับสบู่ที่มีความอ่อนโยน หรือมีคุณสมบัติต่อต้านแบคทีเรีย ไม่ควรขัดที่บริเวณแผลเพราะอาจทำให้เกิดการระคายเคืองได้
แช่ผิวที่ตกสะเก็ดจากแผลพุพองในน้ำสบู่หรือในน้ำสะอาดที่ผสมน้ำส้มสายชู โดยมีสัดส่วนของน้ำส้มสายชู 1 ออนซ์ต่อน้ำสะอาด 1 ลิตร จะช่วยทำให้สะเก็ดของแผลอ่อนตัวและหลุดออกได้ง่าย
หลีกเลี่ยงการสัมผัสผิวหนังบริเวณที่มีแผลพุพอง และไม่ควรเกาเพื่อลดการแพร่กระจาย และล้างมือให้สะอาดทุกครั้งหลังสัมผัสโดนผิวหนังบริเวณที่มีแผลพุพอง
-
ความหมาย
แผลพุพองหรือโรคตุ่มน้ำพอง ถือเป็นโรคติดต่อทางผิวหนังชนิดหนึ่งที่ผิวติดเชื้อแบคทีเรีย โดยผิวหนังจะมีแผลพุพอง มีน้ำอยู่ข้างใน หรือบางครั้งอาจเป็นตุ่มหนอง แตกง่าย เมื่อแตกออกมาแล้วจะมีสะเก็ดสีน้ำตาลหรือเหลือง เกิดขึ้นได้บ่อยบริเวณใบหน้า ปาก มือและเท้า และสามารถลุกลามไปยังส่วนอื่น ๆ ของร่างกายได้ โดยการสัมผัสหรือเกาที่บริเวณแผล และผู้อื่นสามารถติดเชื้อแบคทีเรียแผลพุพองนี้ได้จากการใช้สิ่งของร่วมกับผู้ป่วยที่มีอาการ เช่นใช้ผ้าผืนเดียวกัน ใช้แก้วน้ำ หรืออุปกรณ์และการสัมผัสทางร่างกายอื่น ๆ โรคแผลพุพองนี้สามารถเกิดขึ้นได้กับบุคคลทุกวัน แต่สามารถพบได้บ่อยในทารกและเด็ก
-
โรคแผลพุพองในเด็ก
โรคพุพองนั้นสามารถพบได้ในเด็กอายุ 2-6 ปี โดยตุ่มน้ำมักจะเกิดบริเวณใบหน้า จมูกและปาก ซึ่งเด็กอาจจะติดเชื้อนี้เด็กคนอื่นที่เป็น และเชื้อชนิดนี้สามารถแพร่กระจายจากการสัมผัสทางผิวหนัง น้ำมูก เล่นของเล่นเดียวกัน ใช้ผ้าผื่นเดียวกัน หรือนอนเตียงนอนเดียวกัน หรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เด็กอาจจะได้มีการสัมผัสทางร่างกายกัน อาจจะทำให้เกิดการติดเชื้อได้