Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การส่งเสริม สุขภาพและการป้องกันปัญหาสุขภาพของมารดาและทารกในระยะตั้งครรภ์ปก…
การส่งเสริม สุขภาพและการป้องกันปัญหาสุขภาพของมารดาและทารกในระยะตั้งครรภ์ปกติ
ไตรมาส
ไตรมาสที่3 การเตรียมตัวเพื่อการคลอด การเตรียมตัวให้นมบุตร อาการเจ็บครรภ์คลอด การเตรียมของใช้สำหรับมารดา/บุตร
ไตรมาสที่2 การดูแลผิวหนัง การดูแลเต้านม การแต่งกาย
ไตรมาสที่1 การพักผ่อนและการนอนหลับ การออกกำลังกาย การทำงาน การเดินทาง การดูแลรักษาสุุขภาพของปากและฟัน การรับประทานอาหารและยา การมีเพศสัมพันธ์ การทรงตัวที่ถูกต้อง การบริหารร่างกาย อาการผิดปกติที่ควรมาพบแพทย์ก่อนนัด การมาตรวจตามนัด การฉีดวัคซีน
การดูแลมารดาที่มีภาวะไม่สุขสบายในระยะตั้งครรภ์
อาการคลื่นไส้ อาเจียน
สาเหตุ การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมน จิตใจ
การปฏิบัติตัว
รับประทานอาหารแข็งที่ย่อยง่าย เช่น ขนมปังปิ้งหลีกเลี่ยงอาหารมัน อาหารที่มีกลิ่นเหม็น
ให้ดื่มของอุ่น ๆ วันละ 6 – 8 แก้ว โดยใช้วิธีการจิบ บ่อย ๆ ทันทีที่ตื่นนอน
รับประทานอาหารครั้งละน้อยแต่บ่อยครั้ง
ควรตื่นเช้า ๆ แล้วนอนต่อประมาณ 15 นาที ก่อนที่จะลุกขึ้นปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน
อธิบายให้หญิงตั้งครรภ์เข้าใจว่าเป็นอาการปกติของการตั้งครรภ์
มีน้ำลายมาก
สาเหตุ จากการเพิ่มของระดับฮอร์โมนเอสโตรเจน หรือ เนื่องจากสาเหตุทางจิตใจ
การปฏิบัติตัว แนะนำว่าเป็นอาการปกติและให้ลดอาหารจำพวกแป้งหรืออมลูกอมที่มีรสเปรี้ยว
เหงือกอักเสบ
สาเหตุ
จากการกระตุ้นของฮอร์โมนเอสโตรเจน
ทำให้มีโลหิตมาคั่งมากขึ้น อาจมีเลือดออก ได้ง่าย
การปฏิบัติตัว
ใช้แปรงที่มีขนอ่อนนุ่ม
เพิ่มอาหารโปรตีน ผัก ผลไม้
ดูแลสุขภาพฟัน โดยปรึกษาทันตแพทย์
ร้อนในอก
สาเหตุ ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรน จะไปลดการทำงานและการย่อยของระบบทางเดินอาหาร
การปฏิบัติตัว
รับประทานอาหารในปริมาณไม่มากนักแต่เพิ่มจำนวนมื้อให้มากขึ้น
หลีกเลี่ยงอาหารที่ทำให้ เกิดแก๊ส อาหารรสจัด
ท้องผูก
สาเหตุ
มดลูกขยายใหญ่ขึ้น
การเคลื่อนไหวของลำไส้ลดลง
การปฏิบัติตัว
รับประทานอาหารที่มีกาก เช่น ผัก ผลไม้
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ทำให้การเคลื่อนไหวของลำไส้ดีขึ้น
ดื่มน้ำวันละ 8-10 แก้ว
ฝึกนิสัยในการขับถ่ายให้เป็นเวลา
ริดสีดวงทวาร
ลำไส้เคลื่อนไหวน้อยลง + มดลูกขยายใหญ่ขึ้น
กดเส้นโลหิตดำ
ความดันในเส้นโลหิตสูง
เส้นโลหิตจึงโป่งพองออก
การปฏิบัติตัว
ดื่มน้ำอย่างน้อย 8 แก้วต่อวัน
รับประทานอาหารที่มีกาก เช่น ผัก ผลไม้
ใจสั่น เป็นลม
การปฏิบัติตัว
เปลี่ยนอิริยาบถช้า ๆ
ตรวจความเข้มข้นของเลือด ถ้าพบว่ามีอาการซีด ควรปรึกษาแพทย์
เวลานอนให้นอนตะแคงโดยเฉพาะนอนตะแคงซ้ายหรือกึ่งนั่งกึ่งนอน
สาเหตุ
เปลี่ยนอิริยาบถเร็วเกินไป
น้ำตาลในโลหิตน้อย
มีพยาธิสภาพของโรค
หลอดโลหิตขยาย เกิดจากการไหลเวียนโลหิตไปยังสมองไม่ดี
เส้นเลือดขอด
การปฏิบัติตัว
แนะนำให้นอนตะแคงซ้าย ยกเท้าสูง หรือยกขาขึ้นเวลานั่ง โดยเฉพาะเวลา บ่าย หรือเย็น ประมาณ 5-10 นาที
พันขาด้วยผ้ายืด (elastic bandage) หรือสวมถุงเท้ายืด (elastic stocking) จะทำให้การไหลของเลือดเป็นไปโดยสะดวกมากขึ้น
ระมัดระวังอย่าให้เกิดการบาดเจ็บตรงบริเวณที่มีเส้นเลือดพองขอด
หญิงตั้งครรภ์ไม่ควรยืน หรือเดินเป็นเวลานาน
สาเหตุ มดลูกที่โตไปกดทับเส้นโลหิตดำที่ผ่านจากอุ้ง เชิงกรานมาสู่ช่องท้องทำให้ความดันในเส้นโลหิตสูงขึ้น จึงส่งผลเส้นโลหิตเล็ก ๆ โป่งพอง
หายใจตื้นและลำบาก
สาเหตุ มดลูกมีขนาดโตขึ้น ทำให้กะบังลมขยายตัวได้ไม่เต็มที่
การปฏิบัติตัว
ปรึกษาแพทย์เพื่อค้นหาสาเหตุ
นอนในท่าศีรษะสูง
ตะคริว
สาเหตุ
ขาดความสมดุลของแคลเซียมและฟอสฟอรัส
การปฏิบัติตัว
ปรึกษาแพทย์ เพื่อได้รับยาที่มีแคลเซียม
นวดขา ดัดปลายเท้าให้งอขึ้น
หลีกเลี่ยงการใช้กำลังขาที่มากเกินไป
รับประทานนมให้มากขึ้นและอาหารที่มีคุณค่า
ปวดหลัง ปวดถ่วงและปวดที่บริเวณข้อต่อต่าง ๆ
สาเหตุ
การขยายของเส้นเอ็นที่ยึดข้อต่อของกระดูกเชิงกราน > เตรียมคลอด
มดลูกใหญ่ > น้ำหนักถ่วงมาข้างหน้า > จุดศูนย์ถ่วงเลื่อน > แอ่นหลัง
การปฏิบัติตัว
หลีกเลี่ยงการทำงานหนัก
การนั่งพับเข่า ยืน เดิน และนั่งในท่าที่เหมาะสม
การบริหารกล้ามเนื้อหลัง ทำท่า Pelvic tilting
ให้ผู้ใกล้ชิด ช่วยนวดบริเวณหลัง
ปรึกษาแพทย์ ถ้าปวดมาก
ใส่รองเท้าส้นเตี้ย
ปัสสาวะบ่อย
สาเหตุ มดลูกมีขนาดโตขึ้น > กดกระเพาะปัสสาวะ > ความจุของกระเพาะปัสสาวะน้อยลง
การปฏิบัติตัว
การปฏิบัติตัวอย่ากลั้นปัสสาวะบ่อย ๆ หรือกลั้นไว้นาน ๆ
หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ การดื่ม ชา กาแฟ
ในไตรมาสที่สามของการตั้งครรภ์ควรหลีกเลี่ยงการถ่าย
ปัสสาวะในท่านั่งยอง ๆ
อาการคัน
การปฏิบัติตัว
ตัดเล็บให้สั้น ไม่ควรเกาบริเวณที่คัน
ทาครีมหรือน้ำมันบำรุงผิว
หลีกเลี่ยงการใช้สบู่ที่มีความเป็นกรดหรือด่างสูง
หลีกเลี่ยงการใช้สารที่มีส่วนผสมของแอลกอฮอล์ หรือน้ำมันหอมระเหย
แนะนำการทำความสะอาดร่างกาย
สาเหตุ
การยืดขยายของกล้ามเนื้อ
บวม
สาเหตุ
มีน้ำคั่งอยู่ในเนื้อเยื่อของร่างกาย
การปฏิบัติตัว
ขณะพักให้ยกเท้าให้สูงขึ้นเล็กน้อย
ถ้าบวมเป็นเวลานาน หรือบวมที่หน้า นิ้วมือ หน้าท้อง ควรปรึกษาแพทย์ เพื่อตรวจ
หลีกเลี่ยงการยืนหรือเดินนาน ๆ
นางสาวกนกวรรณ ทองบำรุง เลขที่1 ห้อง34/1