Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
คางทูม 450px-Mumps_PHIL_130_lores - Coggle Diagram
คางทูม
การักษา
หลีกเลี่ยงอาหารหรือน้ำผลไม้ที่มีรสเปรี้ยว เช่น น้ำส้ม น้ำมะนาว เพราะกรดในน้ำผลไม้จะทำให้ต่อมน้ำลายเกิดการระคายเคือง และทำให้ปวดบวมมากขึ้นได้
รับประทานยาลดไข้จำพวกพาราเซตามอลหรือไอบูโปรเฟน และไม่ควรใช้ยาแอสไพรินกับเด็ก และบุคคลที่มีอายุต่ำกว่า 20 ปี เพราะอาจเกิดกลุ่มอาการไรย์ซินโดรม ซึ่งจะทำให้ตับและสมองบวม อาเจียน อ่อนเพลีย ชัก และหมดสติได้
-
-
-
-
-
สาเหตุ
เกิดจากการติดเชื้อไวรัสคางทูม (Mumps Virus) ซึ่งเป็นไวรัสที่อยู่ในกลุ่ม Paramyxovirus (พารามิกโซไวรัส) เช่นเดียวกับไวรัสหัด โดยเชื้อจะอยู่ในน้ำลายและเสมหะของผู้ป่วย เชื้อจะเข้าสู่ทางร่างกายทางจมูกและปาก แล้วแบ่งตัวในเซลล์เยื่อบุของทางเดินหายใจส่วนต้น หลังจากนั้นเชื้อจะเข้าสู่กระแสเลือดและแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะที่ต่อมน้ำลายข้างหู
ความหมาย
คางทูม (Mumps, Epidemic parotitis) เป็นโรคติดต่อเฉียบพลันทางระบบทางเดินหายใจซึ่งเกิดจากเชื้อไวรัสในกลุ่ม Paramyxovirus และก่อให้เกิดการอักเสบของต่อมน้ำลาย โดยมากมักจะเป็นที่ต่อมน้ำลายข้างหูที่เรียกว่า "ต่อมพาโรติด" (Parotid glands) ซึ่งเป็นต่อมคู่ มีทั้งข้างซ้ายและข้างขวา โดยโรคอาจเกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายเพียงข้างใดข้างหนึ่งหรือเกิดทั้งสองข้างก็ได้ นอกจากนั้นยังอาจเกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายอื่นได้ เช่น ต่อมน้ำลายใต้คาง (Submandibular glands) และต่อมน้ำลายใต้ลิ้น (Sublingual glands) แต่ก็พบได้น้อยกว่าต่อมน้ำลายข้างหูมาก และเมื่อเกิดขึ้นกับต่อมน้ำลายอื่น ๆ แล้วก็มักจะต้องเกิดร่วมกับการอักเสบของต่อมน้ำลายข้างหูด้วย คางทูมเป็นโรคที่พบได้มากในเด็กอายุ 6-10 ปี พบได้ทั้งเพศหญิงและเพศชายใกล้เคียงกัน มักไม่ค่อยพบในเด็กอายุต่ำกว่า 3 ปี และในผู้ใหญ่ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี โรคนี้มีอุบัติการณ์การเกิดสูงในช่วงเดือนมกราคมถึงเดือนเมษายน และในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน และอาจพบการระบาดได้เป็นครั้งคราว ในสมัยก่อนจัดว่าเป็นโรคติดต่อที่พบได้บ่อยในเด็ก แต่ในปัจจุบันมีแนวโน้มลดลงจากการฉีดวัคซีนป้องกันโรคนี้กันมากขึ้น
-
ภาวะแทรกซ้อนจากโรค
ลูกอัณฑะอักเสบ 25% ของผู้ป่วยคางทูมในเพศชาย มักจะมีอาการบวมของลูกอัณฑะเพียงข้างเดียว ทำให้การผลิตสเปิร์มลดลง อาจส่งผลกระทบต่อระบบสืบพันธุ์ แต่มักไม่ถึงกับทำให้เกิดภาวะมีบุตรยากในผู้ป่วย อาการนี้จะเกิดขึ้นหลังเป็นโรคคางทูมตั้งแต่ 4-8 วัน หรือบางรายอาจนานถึง 6 สัปดาห์ สามารถบรรเทาอาการลงได้ด้วยตนเองโดยการประคบร้อนหรือประคบเย็น หรือสวมใส่กางเกงชั้นในที่กระชับ
-
เยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส สามารถเกิดขึ้นจากเชื้อไวรัสคางทูมแพร่กระจายเข้าสู่เยื่อหุ้มสมองซึ่งจะเกิดขึ้นกับผู้ป่วย 1 ใน 7 คน แต่จะไม่รุนแรงเท่าเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย
ตับอ่อนอักเสบ หรือตับอ่อนอักเสบเฉียบพลัน เป็นอาการอักเสบของตับอ่อนระยะสั้น อาการที่พบบ่อยที่สุดคือ เจ็บที่บริเวณหน้าท้อง อาจพบอาการท้องร่วง เบื่ออาหาร หรือมีไข้สูงร่วมด้วย
ไข้สมองอักเสบสามารถเกิดขึ้นได้ 1 ใน 1,000 ของผู้ป่วยคางทูม เป็นอาการแทรกซ้อนที่พัฒนามาจากอาการเยื่อหุ้มสมองอักเสบจากไวรัส
สูญเสียการได้ยิน ในผู้ป่วยคางทูม 1 ใน 20 คนอาจสูญเสียการได้ยินแบบชั่วคราว และ 1 ใน 20,000 อาจสูญเสียการได้ยินแบบถาวร
การติดต่อ
ติดต่อกันได้โดยตรงทางการหายใจ (Droplet spread) และสัมผัสกับน้ำลายของผู้ป่วย เช่น การกินน้ำและอาหารโดยใช้ภาชนะร่วมกันเป็นกับเด็กได้ทุกอายุ ถ้าเป็นในผู้ใหญ่จะมีอาการรุนแรงและมีโรคแทรกซ้อนได้บ่อยกว่าในเด็กหลังจากมีวัคซีนป้องกันในประเทศที่พัฒนาแล้วอุบัติการณ์ของโรคนี้ได้ลดลงมากระยะที่ติดต่อกันได้ง่าย คือจาก 1-2 วัน (หรือถึง 7 วัน)ก่อนมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย ไปจนถึง 5-9 วันหลังจากมีอาการบวมของต่อมน้ำลาย ระยะฟักตัวของโรคคือ 16-18 วัน แต่อาจสั้นเพียง 12 วัน และนานถึง 25 วันหลังสัมผัสโรค
การป้องกัน
-
หลีกเลี่ยงการสัมผัสกับผู้ป่วย วิธีที่ดีที่สุดคือให้วัคซีนป้องกันด้วยการให้วัคซีนป้องกันคางทูมซึ่งมาในรูปแบบของวัคซีนรวมป้องกันโรคหัด คางทูม และหัดเยอรมัน (MMR) ปัจจุบันกระทรวงสาธารณสุขให้วัคซีนรวมป้องกันหัด คางทูม และหัดเยอรมัน 1 ครั้ง ในเด็กนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
-
-