Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเตรียมและการช่วยเหลือมารดาและทารก ที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ …
การเตรียมและการช่วยเหลือมารดาและทารก
ที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ
Biophysical Assessment
การตรวจ Biophysical profile (BPP)
ข้อบ่งชี้ในตรวจ
ใช้ในการตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ เบาหวาน ทารกโตช้าในครรภ์ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือครรภ์เกินกำหนด เป็นต้น
บทบาทของพยาบาล
พยาบาลผดุงครรภ์จะต้องมีความรู้ความเข้าใจวิธีการตรวจแก่หญิงตั้งครรภ์ เพื่อเป็นแนวทางในการข้อมูลแก่หญิงตั้งครรภ์ การขอความร่วมมือในการตรวจและผ่อนคลายความวิตกกังวลและความกลัวต่าง ๆ นอกจากนี้ควรมีการติดตามผลการตรวจเพื่อจะช่วยให้สามารถนำมาวางแผนการให้การพยาบาลอย่างเหมาะสมกับปัญหาของหญิงตั้งครรภ์แต่ละราย
การแปลผลการตรวจด้วยวิธีนี้ ทำได้โดยนำคะแนนที่ได้จากค่า Parameters ทั้ง 5 มาคิดคะแนน เรียกว่า Biophysical profile scoring โดยคะแนนเต็ม 10 คะแนน
คะแนน 8 – 10 คะแนน แปลผล ปกติ
คะแนน 4 – 6 คะแนน แปลผล ผิดปกติ ควรเฝ้าติดตามอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
คะแนน 0 - 2 คะแนน แปลผล ผิดปกติ ควรยุติการตั้งครรภ์
การฉายรังสีเอ๊กซเรย์ (Radiography)
บทบาทพยาบาล
ควรอธิบายให้ทราบถึงความจำเป็นและการปฏิบัติตัวระหว่างการตรวจ เมื่อทราบผลการตรวจแล้ว พยาบาลควรเตรียมวางแผนการพยาบาลอย่างเหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์แต่ละราย
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)
ข้อบ่งใช้
วินิจฉัยอายุครรภ์ การกำหนดและยืนยันอายุครรภ์ที่แน่นอน
ติดตามการเจริญเติบโตของทารก จากค่า parameter ต่างๆเป็นระยะเพื่อดูการเจริญเติบโต
การตรวจวินิจฉัยความพิการแต่กำเนิดของทารก โดยเครื่องจะแสดงถึงรูปร่างของทารกในครรภ์ได้อย่างชัดเจนตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 12 สัปดาห์และจะเห็นอวัยวะส่วนใหญ่ตั้งแต่อายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์
การวินิจฉัยครรภ์แฝด
การตรวจวินิจฉัยสาเหตุการมีเลือดออกทางช่องคลอด
การวินิจฉัยเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน
การตรวจตำแหน่งความผิดปกติและภาพของรก บอกตำแหน่งที่รกเกาะ
ใช้ศึกษาหลอดเลือดหลักของทารกเพื่อติดตามการเจริญเติบโต
บทบาทพยาบาลในการช่วยตรวจ Ultrasound
ให้คำปรึกษา
งดน้ำงดอาหารในบางกรณี เช่น ครรภ์นอกมดลูก, รกเกาะต่ำที่ต้องผ่าตัด
ถ้าหญิงตั้งครรภ์อยู่ในไตรมาสที่ 1 ดูแลให้มี bladder full ในรายที่ต้องตรวจทางหน้าท้อง
เตรียมอุปกรณ์และสถานที่ตรวจ
ทำความสะอาดหน้าท้องหลังตรวจ
บันทึกผล
การนับจำนวนการดิ้นของทารกในครรภ์ (Fetal movement count: FMC)
วิธีการนับลูกดิ้นและการบันทึกการเคลื่อนไหวของทารกที่นิยมใช้
2) The Cardiff “Count-to-ten chart” ของ Pearson
3) วิธีของ Liston
1) Daily Fetal Movement Record (DFMR) ของ Sadovaski, Yaffe, Wood และคณะ
Amniotic fluid volume measurement
การประเมินสุขภาพทารกในครรภ์ด้วยปริมาณน้ำคร่ำเป็นอีกวิธีหนึ่งนำมาใช้กัน เพราะสามารถทำได้ง่ายจากการตรวจด้วยอัลตราซาวด์
เกณฑ์การวินิจฉัยน้ำคร่ำน้อยที่นิยมใช้มี 2 แบบ
1 วัดแอ่งลึกที่สุดของน้ำคร่ำ (Single deepest pocket, SDP หรือ maximum vertical pocket, MVP)
2 วัดดัชนีปริมาณน้ำคร่ำ (Amniotic fluid index: AFI)
Biochemical Assessment
การเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจ (Amniocentesis)
การพยาบาล
ขณะเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจ
อยู่กับผู้รับบริการขณะแพทย์ทำหัตถการ
สังเกตอาการผิดปกติที่อาจจะพบได้ เช่น supine hypotension syndrome เนื่องจากนอนหงายเป็นเวลานาน
ภายหลังการเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจ
ภายหลังการตรวจให้ผู้รับบริการนอนหงาย กดแผลหลังจากแพทย์เอาเข็มออกด้วยก๊อซนานประมาณ 1 นาที และปิดแผลด้วยพลาสเตอร์
ดูแลให้ผู้รับบริการพักผ่อนประมาณ 30 นาที –1 ชั่วโมง เพื่อเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นทันที
ฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ทุก 15 นาที จนครบ 1 ชั่วโมง
ถ้าปวดแผลบริเวณที่เจาะสามารถรับประทานยาแก้ปวด
ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดแผลบริเวณที่เจาะ สามารถเปิดแผลได้ในวันถัดไปและอาบน้ำได้ตามปกติ
หลีกเลี่ยงการกระทบกระเทือนหน้าท้อง 1 - 3 วันหลังเจาะ
งดมีเพศสัมพันธ์ภายหลังการเจาะ 7 วัน
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์สังเกตอาการแทรกซ้อน เช่น ถุงน้ำคร่ำแตกรั่ว มีเลือดออกทางช่องคลอด ปวดท้องเป็นพักๆ และมีไข้ หากมีการอาการเหล่านี้ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที
ก่อนการเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจ
ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับปัญหาทางพันธุกรรมที่มีข้อบ่งชี้ตามแนวทางการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรม
ให้ผู้รับบริการตัดสินใจว่าจะรับการตรวจโดยการเจาะน้ำคร่ำหรือไม่
นัดตรวจล่วงหน้า เพื่อหาระยะเวลาที่เหมาะสมในการตรวจคืออายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจและการแก้ปัญหา ในกรณีที่มีความผิดปกติ
ให้ลงนามในใบอนุญาตการยอมรับการตรวจ
ก่อนทำการตรวจ เตรียมผู้รับบริการถ่ายปัสสาวะก่อนตรวจ จัดให้นอนในท่านอนราบบนเตียง คลุมผ้าบริเวณหน้าท้องและทาเจลบริเวณที่หน้าท้องในตำแหน่งที่แพทย์จะใช้คลื่นความถี่สูงหาตำแหน่งของถุงน้ำคร่ำ
ทำความสะอาดหน้าท้องโดยใช้น้ำยาฆ่าเชื้อโรค
ช่วงเวลาในการเจาะน้ำคร่ำ การเจาะน้ำคร่ำสามารถทำได้ 2 ช่วง คือ เมื่ออายุครรภ์ 9-14 สัปดาห์ และช่วงอายุครรภ์ 16 -18 สัปดาห์
การเจาะน้ำคร่ำเพื่อดูความสมบูรณ์ของปอด
Shake Test
วิธีที่ 1 ใช้หลอดทดลองขนาด 13 x 100 มิลลิลิตร 2 หลอด
แปลผล ถ้าเกิดฟองอากาศเกิดขึ้นและคงอยู่นาน 15 นาทีทั้ง 2 หลอด แสดงว่าได้ผลบวก บ่งชี้ว่าทารกมีโอกาสเกิด RDS น้อย แต่ถ้าพบฟองอากาศเฉพาะหลอดที่ 1 แสดงว่า ได้ผลลบ ปอดของทารกยังไม่สมบูรณ์
วิธีที่ 2 จะสามารถให้ผลที่แน่นอนขึ้นโดยใช้หลอดทดลอง 5 หลอด
การแปลผล :
ถ้าพบว่ามีฟองอากาศเกิดขึ้น 3 หลอดแรก แสดงว่า ได้ผลบวก ปอดของทารกเจริญเต็มที่
ถ้าพบว่ามีฟองอากาศเกิดขึ้น 2 หลอดแรก แสดงว่า ได้ผล intermediate ปอดทารกยังเจริญไม่เต็มที่
ถ้าพบว่ามีฟองอากาศเกิดขึ้นเพียงหลอดเดียวหรือไม่พบเลย แสดงว่า การทดสอบได้ผลลบ
จากการดูสีของน้ำคร่ำ มีเลือดปนใสหรือขุ่น มีสีของขี้เทาปนหรือไม่
การตรวจหาค่า L/S ratio (Lecithin Sphingomyelin Ratio)
ค่าปกติของ L/S ratio
ใน 26 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ค่า S > L
อายุครรภ์ 26 – 34 สัปดาห์ ค่า L/S = 1 : 1
อายุครรภ์ 34 – 36 สัปดาห์ ค่า L จะเพิ่มมากขึ้นอย่างรวดเร็วแต่ S จะมีปริมาณลดลงเล็กน้อย ทำให้ ratio สูงขึ้น เปลี่ยนเป็น 2 : 1
การตรวจหาระดับ estriol
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
สตรีที่มีเบาหวานขณะตั้งครรภ์
สตรีที่เป็นความดันโลหิตสูง
อายุครรภ์เกินกำหนด
มีประวัติทางสูติกรรมไม่ดี
การตรวจหา alpha-fetoprotien (maternal serum alpha-fetoprotiemn: MSAFP)
เป็นการตรวจเลือดของมารดาเพื่อประเมินความพิการแต่กำเนิดและความผิดปกติทางโครโมโซมของทารก โดยเฉพาะภาวะ neural tube defect (NTD) alpha-fetoprotien เป็น glycoprotein ที่สร้างโดย yolk sac และตับของทารก
ระดับ MSAFP สูงผิดปกติจะพบได้ในกรณีที่ทารกมี open neural tube defect หรือมีความผิดปกติอื่น ๆ ส่วนระดับ MSAFP ต่ำกว่าปกติ พบว่ามีความสัมพันธ์กับ Down’s syndrome ดังนั้น มารดาที่เคยมีบุตรผิดปกติหรือพิการแต่กำเนิดควรได้รับการตรวจ MSAFP ทุกราย
การเก็บเนื้อรกส่งตรวจ (Chorionic Villi Sampling: CVS)
ข้อบ่งชี้ในการทำ
มารดาตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก
การตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย
การตรวจดูความผิดปกติของฮีโมโกลบินในทารกก่อนคลอด
บทบาทของการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการเก็บเนื้อรก
อธิบายให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ วิธีการทำ และการปฏิบัติตนภายหลังทำ
การตรวจวิธีนี้ แพทย์จะนิยมให้ปัสสาวะเหลืออยู่บ้างในกระเพาะปัสสาวะจึงไม่จำเป็นต้องทำให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์อยู่ในท่านอนขึ้นขาหยั่ง (lithotomy) กรณีจะตรวจโดย transcervical route
สัญญาณชีพ
จัดเตรียมอุปกรณ์ให้สะอาดปราศจากเชื้อ น้ำยาเพาะเลี้ยงเซลล์ (culture media)
ให้กำลังใจและอยู่เป็นเพื่อนหญิงตั้งครรภ์ขณะแพทย์ทำการตรวจ
จัดเตรียมภาชนะใส่พร้อมฉลากที่เขียนชื่อ สกุล HN วัน เวลาที่เจาะและช่วยแพทย์เก็บเนื้อรก โดยเนื้อรกที่เก็บไม่ควรต่ำกว่า 10 – 30 มิลลิกรัม เพื่อเพียงพอสำหรับการตรวจหาโครโมโซม DNA และ Enzyme
ภายหลังตรวจเสร็จ ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์นอนพัก วัดสัญญาณชีพ
แนะนำให้งดทำงานหนักอย่างน้อย 1 วัน และงดการมีเพศสัมพันธ์ ภายใน 1- 2 สัปดาห์
ถ้ามีอาการผิดปกติภายหลังการทำ เช่น ปวดท้องรุนแรง มีเลือดออก ให้รีบมาโรงพยาบาลทันที
การเจาะเลือดจากสายสะดือทารก (Cordocentesis หรือ Fetal blood sampling: FBS)
บทบาทการพยาบาลหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับการเจาะเลือดจากสายสะดือทารก
การประเมินภาวะเลือดออกจากสายสะดือจากการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูง และ fetal monitoring 30 – 60 นาที ภายหลังการตรวจ
การฟังเสียงการเต้นของหัวใจทารก
การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ตรวจสอบการดิ้นของทารก
ประเมินสภาพทารกในครรภ์โดยใช้เครื่อง Electronic monitoring
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ cordocentesis
1) การวินิจฉัยโรคทารกก่อนคลอด
ตรวจดูความผิดปกติของระบบเลือด เช่น ภาวะเลือดออกผิดปกติ โรคธาลัสซีเมีย
มารดาอายุมากที่มาฝากครรภ์ช้า
ความผิดปกติที่พบจากการตรวจด้วยคลื่นความถี่สูงที่สงสัยความผิดปกติทางโครโมโซม
2) การประเมินทารกในครรภ์
ความผิดปกติทางโครโมโซมในทารก
Red cell isoimmunization
ภาวะทารกบวมน้ำ
การติดเชื้อในครรภ์ เช่น โรคหัดเยอรมัน
Immune thrombocytopenic purpura
ครรภ์แฝดน้ำ
ทารกในครรภ์มีภาวะต่อมไทรอยด์ผิดปกติ
Electronic Fetal monitoring
Non Stress test (NST)
การแปลผล
1) Reactive
อัตราการเต้นของหัวใจ 110-160 ครั้ง/นาที
อัตราการเต้นของหัวใจทารกเพิ่มจาก baseline เท่ากับหรือมากกว่า 15 ครั้ง/นาที และคงอยู่นานเท่ากับหรือมากกว่า 15 วินาทีขึ้นไปในแต่ละครั้งของการดิ้น จำนวน 2 ครั้งหรือมากกว่า ภายใน 20 นาที (ถ้าอายุครรภ์น้อยกว่า 32 สัปดาห์ ให้ลดเกณฑ์ลง ให้มีการเพิ่มขึ้นของ FHR อย่างน้อย 10 bpm และนานกว่า 10 วินาที ก็ถือว่า reactive) ขณะที่มี acceleration อาจจะมีหรือไม่มีการดิ้นของทารกในครรภ์ร่วมด้วยก็ได้
2) Non-reactive
การเพิ่มขึ้นของ FHR ไม่เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่มีการเพิ่มขึ้นของ FHR เลยในการตรวจนาน 40 นาที
3) Uninterpretable
คุณภาพการทดสอบไม่สามารถแปลผลได้ ควรทำภายใน 24 ชั่วโมง
4) Suspicious
การเพิ่มองอัตราการเต้นของหัวใจน้อยกว่า 2 ครั้ง หรืออัตราเพิ่มน้อยกว่า 15 ครั้ง/ นาที หรืออยู่สั้นกว่า 15 วินาที เมื่อทารกดิ้น
Contraction stress test (CST) หรือ Oxytocin challenge test (OCT)
การแปลผล
1) Negative
ไม่มี late deceleration
base line variability ปกติ
อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นหลังทารกดิ้นหรือมดลูกหดรัดตัว
2) Positive
มี late deceleration ทุกครั้งในระยะช่วงท้ายของการหดรัดตัวของมดลูก หรือพบ late deceleration มากกว่าครึ่งหนึ่งของการทดสอบที่มีการหดรัดตัวของมดลูก
base line variability มักจะลดลงกว่าปกติ
อัตราการเต้นของหัวใจไม่เพิ่ม เมื่อทารกดิ้นหรือมดลูกหดรัดตัว
3) Suspicious
มี late deceleration เป็นครั้งคราว
base line variability อาจปกติหรือลดลง
ถ้าไม่มีการเพิ่มของอัตราการเต้นของหัวใจเมื่อทารกดิ้น ควรทำซ้ำใน 24 ชั่วโมง
4) Hyperstimulation
มดลูกมีการหดรัดตัวมากกว่าปกติ หรือหดรัดตัวแรงมาก ในกรณีนี้ถ้ามี late deceleration เกิดขึ้นจะแปลผลไม่ได้
5) Unsatisfactory
ไม่สามารถแปลผลเนื่องจากกราฟที่บันทึกไม่สามารถอ่านได้ หรือมีการหดรัดตัวของมดลูกน้อยกว่า 3 ครั้งในเวลา 10 นาที