Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก (external cephalic version : ECV) - Coggle…
การหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก
(external cephalic version : ECV)
ข้อบ่งชี้
อายุครรภ์ตั้งแต่ 37 สัปดาห์ขึ้นไป
ครรภ์เดี่ยวที่ทารกอยู่ในท่าก้น หรือท่าขวาง และไม่มีภาวะแทรกซ้อนระหว่างตั้งครรภ์
ความหมาย
การหมุนเปลี่ยนท่าทารกทางหน้าท้องมารดา โดยหมุนจากท่าผิดปกติ ได้แก่ ท่าก้น หรือท่าขวาง มาเป็นท่าศีรษะ
ข้อห้าม
ครรภ์แฝด
มารดาอ้วนมาก
มีความผิดปกติของมดลูก หรือมีแผลผ่าตัดที่มดลูก
ทารกเท่านั้น ที่ก้นเคลื่อนลงสู่ช่องเชิงกรานแล้ว
คลื่นหัวใจทารกผิดปกติ
ตรวจพบการเสื่อมประสิทธิภาพของการไหลเวียนของเลือดในรก
ทารกตัวโตมากอาจมีการผิดสัดส่วนของศีรษะทารกกับช่องเชิงกราน
ทารกมีความพิการแต่กำเนิดที่ตรวจพบได้ชัดเจน
มารดามีภาวะแทรกซ้อนทางอายุรกรรม ได้แก่ โรคเบาหวาน โรคหัวใจ หรือโรคความดันโลหิตสูง
มารดามีภาวะแทรกซ้อนทางสูติกรรม ได้แก่ รกเกาะต่ำ มีเลือดออกระหว่างตั้งครรภ์ปริมาณน้ำคร่ำผิดปกติมีน้ำเดินก่อนเจ็บครรภ์คลอด หรือสงสัยว่ามีภาวะการเจริญเติบโตช้าในครรภ์
หลักการและวิธีการหมุนเปลี่ยนท่าทารกจากภายนอก
ให้สตรีตั้งครรภ์ถ่ายปัสสาวะออกให้หมด
จัดให้สตรีมีครรภ์นอนหงายราบทำการตรวจโดยใช้เครื่อง
คลื่นเสียงความถี่สูง (ultrasound) เพื่อยืนยันท่าทารก ส่วนนำ ตำแหน่งของส่วนนำ หลังทารก ฟังเสียงหัวใจ ตรวจวัดปริมาณน้ำคร่ำ ตำแหน่งของรก น้ำหนักของทารก และความพิการของทารก ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อการหมุนเปลี่ยนท่า
กรณีไม่มีเครื่องสามารถทำการตรวจหน้าท้องแทนได้
ทำ NST เพื่อประเมินสภาพทารกในครรภ์
ให้ยาระงับการหดรัดตัวของมดลูกโดยอาจพิจารณาเป็นราย ๆ ไป
เนื่องจากยังมีไม่ข้อสรุปที่ชัดเจนเกี่ยวกับประสิทธิผลของยาต่ออัตราความสำเร็จ ในการหมุนเปลี่ยนท่าทารกยาที่นิยมใช้คือ Terbutarine 25 มก. ฉีดเข้าใต้ผิวหนัง ไม่แนะนำให้ใช้ยาชาหรือดมยาสลบ เพราะสตรีมีครรภ์จะไม่รู้สึกเจ็บถ้ามีการออกแรงมากเกินไปในขณะหมุนเปลี่ยนท่า เมื่อเกิดภาวะมดลูกแตกหรือรกลอกตัวก่อนกำหนด
ให้ Rh immunoglobulin (ante-D immune globulin) ในสตรีมีครรภ์รายที่มี Rh negative เสมอเพื่อป้องกันภาวะ Rh isoimmunization
ทำการหมุนเปลี่ยนท่าทารกด้วยความนุ่มนวล โดยทั่วไปมักจะเริ่มด้วยการหมุนไปข้างหน้า (forward roll) มีวิธีการทำดังนี้
6.2 ขณะที่หมุนต้องหยุดพักเป็นระยะ ๆ และในขณะที่หยุดพักต้องใช้มือรั้งไว้ไม่ให้หมุนกลับพร้อมทั้งจังเสียงหัวใจทารกเป็นระยะ ๆ หากอัตราการเต้นของหัวใจทารกต่ำกว่า 120 ครั้ง/นาทีให้เปลี่ยนท่าทารกกลับสู่ท่าเดิมทันทีหรือถ้าสตรีมีอาการเจ็บปวดมากขณะทำการหมุนเปลี่ยนท่าทารกต้องหยุดการหมุนเปลี่ยนท่าทารกทันที
6.3 เมื่อการหมุนเปลี่ยนท่า เสร็จสิ้นให้ติดตามการเต้นของหัวใจทารกต่อไปอย่างน้อย 30 นาทีทำการตรวจ NST เพื่อประเมินภาวะสุขภาพทารกในครรภ์และตรวจโดยใช้เครื่องตรวจคลื่นเสียงความถี่สูงเพื่อยืนยันว่าทารกอยู่ในท่าศีรษะ
6.1 ผู้ทำยืนด้านตรงข้ามกับหลังของทารกใช้มือข้างที่อยู่ด้านเดียวกับศีรษะทารกจับบริเวณศีรษะทารกและใช้มืออีกข้างหนึ่งจับที่บริเวณกันของทารกให้กระชับและค่อยๆยกกันทารกขึ้นจากอุ้งเชิงกรานและผลักออกไปข้างๆส่วนมืออีกข้างหนึ่งกดส่วนศีรษะทารกให้เคลื่อนลงสู่อุ้งเชิงกรานโดยทำไปพร้อมๆ กันทั้งสองมือข้าๆ อย่างนุ่มนวลจนทารกหมุนเปลี่ยนทำมาอยู่ในท่าศีรษะ เมื่อส่วนนำทารกเปลี่ยนเป็นท่าศีรษะแล้วให้กดที่ยอดมดลูกอย่างนุ่มนวลเพื่อให้ศีรษะทารกลงสู่อุ้งเชิงกราน
6.4 ติดตามการหดรัดตัวของมดลูก ภาวะน้ำเดินเลือดออกทางช่องคลอดและการดิ้นของทารกในครรภ์
ภาวะแทรกซ้อน
ได้แก่ มดลูกแตกถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกาหนดรถลอกตัวก่อนกำหนดเลือดทารกรั่วเข้าสู่เลือดมารดาภาวะน้ำคร่ำอุดกั้น เส้นเลือดในปอดภาวะ fetal distress ภาวะ fetal bradycardia ภาวะคลอดก่อนกำหนดและทารกตายในครรภ์
การพยาบาล
การพยาบาลขณะทำ
ประเมินเสียงหัวใจทารกและอาการเจ็บปวดขณะทำการหมุนเปลี่ยนท่าทารก เป็นระยะ ๆ หากอัตราการเต้นของหัวใจทารกต่ำกว่า 120 ครั้ง / นาทีหรือสตรีมีครรภ์ มีอาการเจ็บปวดมากขณะทำการหมุนเปลี่ยนท่าทารก ต้องแจ้งผู้ทำเพื่อหยุดการหมุนเปลี่ยนท่าทารกทันที
ควรอยู่เป็นเพื่อนสตรีมีครรภ์ขณะทำการหมุนเปลี่ยนท่าทารก เพื่อลดความกลัวและความวิตกกังวล
การพยาบาลหลังทำ
ประเมินการเต้นของหัวใจทารกต่อไปอีก อย่างน้อย 30 นาที
ดูให้สตรีมีครรภ์ได้รับการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อยืนยันว่าเป็นท่าศีรษะและการตรวจ AST เพื่อประเมินสุขภาพของทารกในครรภ์หากผลเป็น non-reactive ให้ตรวจ CST ต่อและหาก ผลเป็น Positive ควรพิจารณาให้สิ้นสุดการตั้งครรภ์
ประเมินสัญญาณชีพของมารดาเป็นระยะ ๆ
ดูแลให้สตรีมีครรภ์ได้รับ Rh immunoglobulin (anti-D immune globulin) เพื่อป้องกันภาวะ Rh immunization ในรายที่มีกลุ่มเลือด Rh negative
ประเมินและแนะนำให้สตรีมีครรภ์สังเกตอาการผดปกติที่อาจเกิดขึ้น เช่น ถุงน้ำคร่ำแตก มีเลือดออกทางช่องคลอด มีการหดรัดตัวของมดลูกมากขึ้น หรือทารกดิ้นน้อยลง
แจ้งผลการทำให้สตรีมีครรภ์ทราบอธิบายพร้อมทั้ง แนะนำเรื่องการปฏิบัติตัวแก่สตรีมีครรภ์
การพยาบาลก่อนทำ
อธิบายให้สตรีมีครรภ์ทราบเกี่ยวกับแผนการรักษาขั้นตอนการหมุนเปลี่ยน ท่าทารกและภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นเพื่อความร่วมมือในการรักษาและ ลดความวิตกกังวลโดยขณะที่ทำการหมุนเปลี่ยนท่าทารกหากสตรีมีครรภ์ รู้สึกเจ็บมากจนทนไม่ได้สามารถบอกแพทย์ผู้ทำให้หยุดทำการหมุนเปลี่ยนท่าทารกได้
ควรให้สตรีมีครรภ์งดน้ำและอาหารอย่างน้อย 8 ชั่วโมง ก่อนทำการหมุนเปลี่ยนท่าทารกเพื่อที่จะสามารถทำการ ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้องได้ในกรณีฉุกเฉิน
เตรียมอุปกรณ์สถานที่และดูแลให้สตรีมีครรภ์ถ่ายปัสสาวะ
ออกให้หมดแล้วจัดให้สตรีมีครรภ์อยู่ในท่านอนหงายราบ
ดูแลให้สตรีมีครรภ์ได้รับการตรวจโดยใช้คลื่นเสียงความถี่สูง เพื่อยืนยันท่าทารกและส่วนนำของทารก รวมทั้งการตรวจ NST เพื่อประเมินสุขภาพของทารก
ดูแลให้สารละลายทางหลอดเลือดดำและดูแลให้ได้รับยายับยั้ง
การหดรัดตัวของมดลูกตามแผนการรักษา
ประเมินสัญญาณชีพของสตรีมีครรภ์และประเมินการเต้นของหัวใจ
ทารกก่อนทำการหมุนเปลี่ยนท่าทารกเพื่อเป็น baseline