Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การประเมินภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในระยะตั้งครรภ์, นางสาวกนกวรรณ ทองบำรุง…
การประเมินภาวะสุขภาพของมารดาและทารกในระยะตั้งครรภ์
การตั้งครรภ์ปกติ คือ ระยะเวลาประมาณ 280 วัน หรือ 40 สัปดาห์ แบ่งออกเป็น 3 ระยะ
ไตรมาสที่ 2 (second trimester) คือระยะเวลาของการตั้งครรภ์ตั้งแต่เดือนที่ 4 ถึงเดือนที่ 6 (13-28 สัปดาห์)
ไตรมาสที่ 1 (first trimester) คือระยะเวลาของการตั้งครรภ์ ตั้งแต่เดือนที่ 1 ถึงเดือนที่ 3 (1-12 สัปดาห์)
ไตรมาสที่ 3 (third trimester) คือระยะเวลาของการตั้งครรภ์ตั้งแต่เดือนที่ 7 ถึง ครบกำหนดคลอด หรือประมาณ 29-42 สัปดาห์
การฝากครรภ์ (Antenatal care : ANC)
คือ การดูแลหญิงตั้งครรภ์ระหว่างตั้งครรภ์ โดยมีเป้าหมายเพื่อลดอัตราการตายและภาวะแทรกซ้อนของมารดาและทารก การฝากครรภ์จึงมีความสำคัญและจำเป็นต่อการดำเนินชีวิตของสตรี เนื่องจากมีความเกี่ยวข้องกับการกำหนดวันคลอด การประเมิน การส่งเสริมสุขภาพและการเฝ้าติดตามดูแลสุขภาพของสตรีตลอดการตั้งครรภ์ คลอดและหลังคลอด การติดตามประเมินการเจริญเติบโตและพัฒนาการของทารกในครรภ์ ตลอดจนการเตรียมตัวของสตรีและบุคคลในครอบครัวต่อการรับบทบาทใหม่ในการเป็นบิดา มารดา ปู่ย่า ตายาย อย่างเหมาะสม
การประเมินภาวะสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์
การซักประวัติ
การซักประวัติควรได้ประวัติที่สำคัญโดยละเอียดและสมบูรณ์ เพื่อยืนยันการตั้งครรภ์เพื่อการวินิจฉัยปัญหา และวางแผนการดูแลรักษาได้เหมาะสมและถูกต้อง
ประวัติส่วนตัว
การซักประวัติหญิงตั้งครรภ์
ประวัติการตั้งครรภ์ในปัจจุบัน
ประวัติการตั้งครรภ์และการคลอดในอดีต
ประวัติการคุมกำเนิด
ประวัติความเจ็บป่วยในอดีต
ประวัติการดิ้นของทารกในครรภ์ (Quickening)
ประวัติความผิดปกติระหว่างตั้งครรภ์
การตรวจร่างกายและตรวจครรภ์
การตรวจร่างกายทั่วไป
การตรวจร่างกายทั่วไปประกอบด้วย การวัดส่วนสูง ชั่งน้ำหนัก วัดความดันโลหิต และการตรวจร่างกายทุกระบบอย่างละเอียด รวมทั้งการตรวจเต้านม ซึ่งจะทำให้สามารถค้นหาภาวะผิดปกติหรือโรคและ ยืนยันความสมบูรณ์ของมารดา
การตรวจครรภ์
1) แนวของทารก (Lie) คือความสัมพันธ์ระหว่างแกนยาวของลำตัวทารกกับแนวลำตัวมารดา แนวของทารกในครรภ์แบ่งออกเป็น
แนวขวาง (transverse Lie) คือแกนยาวของลำตัวทารกขวางกับแนวยาวของลำตัวมารดา
แนวเฉียง (oblique Lie) คือแกนยาวของลำตัวทารกอยู่เฉียงกับแนวยาวของลำตัวมารดา
แนวยาว (longitudinal Lie) คือแกนยาวของลำตัวทารกขนานกับแนวยาวของลำตัวมารดา
วัตถุประสงค์
คาดคะเนอายุครรภ์
จำนวนทารกในครรภ์
แนว ท่า และส่วนนำของทารก
การคงชีวิตอยู่ของทารกในครรภ์
2) ส่วนนำของทารก (Presentation) คือส่วนของทารกที่อยู่ต่ำหรือล่างสุดของช่องเชิงกราน หรือส่วนของทารกที่คลำได้บริเวณเหนือหัวหน่าวของมารดาจากการตรวจครรภ์ หรือส่วนแรกที่สัมผัสเจอจากการตรวจภายใน
3) ทรงของทารก (Attitude) คือความสัมพันธ์ระหว่างส่วนต่างๆ ของร่างกายทารก ซึ่งได้แก่ ศีรษะ ลำตัวและแขน ขา ของทารก ทรงของทารกในครรภ์มี 2 คือทรงทรงคว่ำ (Flexion)และทรงเงย (Deflexion)
4) ท่าของทารก (Position) หมายถึง ลักษณะของทารกในครรภ์โดยใช้ ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนของทารกบนส่วนนำกับส่วนของเชิงกรานของผู้คลอดที่แบ่งออกเป็น 4 ส่วน (Quadrants) โดยอาศัยเส้นสมมติที่ลากจากจุดนูนสุดบนกระดูกก้นกบไปยังขอบบนของ symphysis pubis ตัดกับเส้นที่ลากขวาง ทำให้ได้ 4 ส่วน คือ ด้านซ้ายหน้า ด้านซ้ายหลัง ด้านขวาหน้า ด้านขวาหลัง
วิธีการตรวจครรภ์
การดู การเคลื่อนไหว แผล ลักษณะของท้องน้อยบริเวณเหนือหัวเหน่าขนาดท้อง ลักษณะ สีของผิวหนังหน้าท้อง รูปร่าง
การคลำ เพื่อเป็นการตรวจลักษณะของทารกในครรภ์ว่าอยู่ในท่าใด ในการคลำมือที่ใช้ควรสะอาดและอบอุ่นเพียงพอ เพราะถ้ามือเย็นจะทำให้กล้ามเนื้อหน้าท้องหดตัว การคลำต้องใช้มือทั้งหมดคลำไม่ใช้ปลายนิ้วจิ้มลงไป คลำในขณะที่มดลูกไม่มีการหดรัดตัว ผู้ตรวจครรภ์จะยืนด้านขวาของหญิงตั้งครรภ์
การฟัง (auscultation) เราสามารถฟังเสียงหัวใจทารกในครรภ์ (fetal heart sound) โดยใช้ stethoscope วางทาบกับผนังหน้าท้องของหญิงตั้งครรภ์ ส่วนมากจะได้ยินเสียงหัวใจทารกเต้นครั้งแรกเมื่ออายุครรภ์ประมาณ 20 สัปดาห์ การฟังเสียงหัวใจทารกเพื่อจะวินิจฉัยการตั้งครรภ์ การตั้งครรภ์แฝด ตรวจดูทารกว่ามีชีวิตอยู่หรือไม่ และวินิจฉัยส่วนนำและท่าของทารกในครรภ์ ปกติจะฟังเสียงหัวใจได้บริเวณที่ทารกโค้งทาบใกล้กับผนังมดลูกมากที่สุด
การประเมินภาวะจิตสังคม
ไตรมาสที่ 1ของการตั้งครรภ์ หญิงตั้งครรภ์จะมีความรู้สึกสองฝักสองฝ่าย (ambivalence) จากการเปลี่ยนแปลงของร่างกายทำให้หญิงตั้งครรภ์ไม่แน่ใจว่าตนเองตั้งครรภ์หรือไม่และมีความตื่นเต้น โดยแสดงความตื่นเต้นกับบทบาทใหม่ตลอดจน ความวิตกกังวลและความกลัวเกี่ยวกับการตั้งครรภ์
ไตรมาสที่ 2 ของการตั้งครรภ์ ระยะนี้หญิงตั้งครรภ์จะเริ่มรู้สึกถึงการดิ้นของทารก ทำให้เริ่มรับรู้ว่าทารกในครรภ์เป็นบุคคลคนหนึ่งที่แตกต่างไปจากหญิงตั้งครรภ์ จึงเริ่มมีการเตรียมรับบทบาทใหม่ของการเป็นมารดา
ไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์ ระยะนี้หญิงตั้งครรภ์จะรู้สึกวิตกกังวลและกลัวเกี่ยวกับการคลอดมากขึ้นอาจเกิดความเครียดหรือมีอารมณ์เปลี่ยนแปลง
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
ขึ้นอยู่กับข้อมูลที่ได้จากการซักประวัติ การตรวจร่างกาย การตรวจครรภ์ และการตรวจภายใน ซึ่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการในหญิงตั้งครรภ์ส่วนใหญ่มักเป็นการหาข้อมูลเพิ่มเติมเพื่อวินิจฉัยแยกโรค หรือเพื่อใช้ติดตามการดำเนินโรค แต่มีการทดสอบบางประการที่กระทำเพราะอุบัติการของภาวะผิดปกตินั้น ๆ เกิดขึ้นบ่อยและ/หรืออาจนำมาซึ่งอันตรายที่รุนแรง
การคาดคะเนอายุครรภ์และกำหนดวันคลอด
การคาดคะเนอายุครรภ์ (gestational age [GA]) และการคาดคะเนกำหนดวันคลอด (estimated date of confinement [EDC] หรือ estimated date of delivery [EDD] หรือ estimated date of birth [EDB]) มีความสำคัญเนื่องเพราะการคิดอายุครรภ์ที่ผิดพลาดจะนำไปสู่การดูแลสุขภาพของสตรีมีครรภ์ที่ไม่เหมาะสม เช่น การตรวจที่เกินความจำเป็นหรือไม่ได้ตรวจอย่างที่ควรจะทำ เป็นต้น นอกจากนั้นอายุครรภ์ยังใช้เป็นเกณฑ์ในการประเมินการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และการตัดสินใจสิ้นสุดการตั้งครรภ์ โดยไม่ปล่อยให้ตั้งครรภ์เกินกำหนด หรือให้สิ้นสุดการคลอดก่อนกำหนด
การวินิจฉัยการตั้งครรภ์ (Diagnosis of pregnancy)
อาการที่น่าจะตั้งครรภ์ (Presumptive signs) เป็นอาการและอาการแสดงเบื้องต้นที่หญิงตั้งครรภ์สามารถสังเกตได้ด้วยตนเอง แต่ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเฉพาะกับภาวการณ์ตั้งครรภ์เท่านั้นเท่านั้น ซึ่งสามารถใช้เป็นแนวทางการวินิจฉัยการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 50 % เช่นขาดประจำเดือน การเปลี่ยนแปลงของเต้านม อาการแพ้ท้อง เป็นต้น
2.อาการที่บ่งชี้ว่าอาจจะตั้งครรภ์ (Probable signs) เป็นอาการสามารถวินิจฉัยการตั้งครรภ์ได้ประมาณ 70% อาการส่วนใหญ่พบได้โดยการตรวจภายใน เช่น การเปลี่ยนแปลงของมดลูก การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก เป็นต้น
อาการที่บ่งชี้ว่าตั้งครรภ์แน่นอน (Positive signs) เป็นอาการที่พบได้แน่นอนในหญิงตั้งครรภ์เท่านั้น พบได้เมื่ออายุครรภ์ 5 เดือนขึ้นไป เช่น เสียงหัวใจเด็ก ส่วนของเด็กการเคลื่อนไหวของเด็ก การถ่ายภาพรังสี เป็นต้น
การคัดกรองและการส่งต่อ
การตั้งครรภ์ที่มีภาวะเสี่ยงสูง คือ การตั้งครรภ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคมของหญิงตั้งครรภ์ ซึ่งมีความผิดปกติและคุกคามต่อภาวะสุขภาพและชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ และทารก รวมทั้งครอบครัว
การประเมินคัดกรองภาวะเสี่ยงและการส่งต่อ ต้องประเมินภาวะเสี่ยงทุกครั้งที่ตรวจครรภ์ เมื่อพบภาวะเสี่ยงในส่วนประวัติส่วนตัว และประวัติการเจ็บป่วย ,GA ก่อน 28 สัปดาห์ นัดตรวจทุก 4 สัปดาห์ ,GA ก่อน 28 สัปดาห์ นัดตรวจทุก 4 สัปดาห์,GA ตั้งแต่ 36 สัปดาห์ขึ้นไป นัดตรวจทุก 1 สัปดาห์,การให้คำแนะนำหญิงตั้งครรภ์เกี่ยวกับอาการสำคัญที่ต้องรีบไปโรงพยาบาล
การนัดตรวจติดตามการดำเนินการตั้งครรภ์ (Follow up)
เนื่องจากการตั้งครรภ์มีการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาจากภาวะครรภ์เสี่ยงต่ำ อาจเปลี่ยนแปลงเป็นภาวะครรภ์เสี่ยงสูงได้ตลอดเวลา และก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงต่ออวัยวะทุกระบบของร่างกาย ดังนั้นการตรวจและดูแลครรภ์ที่สม่ำเสมอ และเหมาะสมจะช่วยให้สามารถพบสิ่งบอกเหตุหรืออาการเริ่มต้นของภาวะแทรกซ้อนบางอย่างได้ ก่อนที่ภาวะนั้นจะกำเริบหรือรุนแรงจนเป็นอันตราย การนัดตรวจติดตามการดำเนินการตั้งครรภ์ (Follow up) มี 2 รูปแบบแบ่งตามระดับภาวะเสี่ยงของหญิงตั้งครรภ์
1.กลุ่มเสี่ยงต่ำ คือ กลุ่มหญิงตั้งครภ์ที่ไม่มีภาวะแทรกซ้อน/ภาวะเจ็บป่วยในการตั้งครรภ์ ทั้งในปัจจุบันและอดีต
2.กลุ่มเสี่ยงสูง คือ กลุ่มที่ภาวะเสี่ยงมีผลกระทบรุนแรงต่อมารดาและทารก ต้องได้รับการดูแบอย่างใกล้ชิดตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด และต้องได้รับการตรวจติดตามจากแพทย์ ตามความรุนแรงของภาวะเสี่ยง
นางสาวกนกวรรณ ทองบำรุง เลขที่1 ห้อง34/1