Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
กฎหมายวิชาชีพการพยาบาล, นางสาวรัตน์ศิการ์ ยิ้มใหญ่ เลขที่ 19 รุ่น 36/2…
กฎหมายวิชาชีพการพยาบาล
4.4การควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพ
จุดประสงค์
การคุ้มครองผู้รับบริการหรือผู้บริโภค
การสงวนวิชาชีพให้กับบุคลากรในวิชาชีพ
การควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพให้บริการอย่างมีมาตรฐาน
มาตรการควบคุมผู้ประกอบวิชาชีพ
ห้ามผู้ไม่มีสิทธิคือไม่มีใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
ให้มีข้อกำหนดจริยธรรมแห่งวิชาชีพ
มีมาตรการลงโทษ ในกรณีทีละเมิดข้อกำหนดวิชาชีพ ระบุสาระของการดำเนินการ
สอบสวน
การตัดสิน
โทษ
ข้อยกเว้น ผู้ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพแต่สามารถประกอบวิชาชีพได้
การกระทำต่อตนเอง
การช่วยเหลือดูแลบุคคลอื่นให้พ้นจากความทุกข์ทรมานในเงื่อนไข
ไม่ได้รับประโยชน์ตอบแทนใดๆ
ไม่ฉีดยาหรือสารใดๆเข้าไปในร่างกาย
ไม่ให้ยาอันตราย
ยาควบคุมพิเศษ
วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท
นักเรียน นักศึกษา ในสถาบันที่สภาฯรับรอง ภายใต้การนิเทศจากผู้ประกอบวิชาชีพ
ผู้ประกอบโรคศิลปะ ที่ทำตามเกณฑ์การประกอบวิชาชีพตนแต่เข้าข่ายการประกอบวิชาชีพการพยาบาล
ผู้เชี่ยวชาญจากต่างประเทศที่ได้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพฯในประเทศของตน
สภาจะออกใบอนุญาตชั่วคราวให้ไม่เกิน 1 ปี
ข้อกำหนดจริยธรรมวิชาชีพ (4หมวด 38ข้อ)
หมวดที่ 1 หลักทั่วไป
หมวดที่ 2 การประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
หมวดที่ 3 การโฆษณาการประกอบวิชาชีพ
หมวดที่ 4 ปกิณกะ
กระบวนการพิจารณาความผิดของผู้ประพฤติผิดจริยธรรม
ผู้เสียหาย กล่าวหา ต่อสภาการพยาบาล
กรรมการสภากล่าวโทษ ต่อสภาการพยาบาล
อายุความการกล่าวหา กล่าวโทษ
สภาฯส่งเรื่องให้อนุกรรมการจริยธรรมพิจารณาเมื่อได้ข้อมูลส่งคณะกรรมการสภาพิจารณาตัดสินว่าคดีมีมูล
สภาฯส่งเรื่องให้คณะอนุกรรมการสอบสวนพิจารณา สอบสวน เมื่อได้ข้อมูลส่งคณะกรรมการสภาพิจารณาตัดสิน
คณะกรรมการสภาตัดสิน
อำนาจหน้าที่ของอนุกรรมการจริยธรรมและอนุกรรมการสอบสวน
อนุกรรมการจริยธรรม
มีหน้าที่
มีหน้าที่ในการเก็บรวบรวมข้อมูล พยานหลักฐานข้อเท็จจริงว่าคดีมีมูลหรือไม่
แล้วนำหลักฐานพร้อมความคิดเห็นส่งให้คณะกรรมการสภาตัดสิน
หากคณะกรรมการสภาตัดสินว่าคดีมีมูลให้อนุกรรมการสอบสวนดำเนินการสอบสวนในรายละเอียด
อนุกรรมการสอบสวนไม่มีหน้าที่ตัดสิน
เมื่อรวบรวมข้อมูลพร้อมกับความคิดเห็นแล้วจะส่งให้กรรมการสภาพิจารณาตัดสินต่อไป
อายุความการกล่าวหา
กล่าวโทษ มีกำหนด 3 ปี นับตั้งแต่วันเกิดเหตุ
และมีกำหนด 1ปี นับแต่วันรู้ตัวผู้กระทำผิด
ประเด็นที่ 1
เกิดเหตุวันที่ 1 มกราคม 2541
รู้ตัวผู้กระทำผิดวันที่ 1 มกราคม 2542
อายุความจะมีอยู่ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2542
ประเด็นที่ 2
เกิดเหตุวันที่ 1 มกราคม 2541
รู้ตัวผู้กระทำผิดวันที่ 10 มกราคม 2541
อายุความจะมีอยู่ถึงวันที่ 9 มกราคม 2542
ประเด็นที่ 3
เกิดเหตุวันที่ 1 มกราคม 2541
อายุความจะมีอยู่ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2543
รู้ตัวผู้กระทำผิดวันที่ 1 พฤศจิกายน 2543
การพิจารณาสอบสวน
กฎหมายให้สิทธิคัดค้านการแต่งตั้งอนุกรรมการได้ โดยบุคคลต่อไปนี้
ผู้รู้เห็นเหตุการณ์
ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย
ผู้มีเหตุโกรธเคืองกับผู้ถูกกล่าวหา
คู่สมรส หรือเป็นญาติเกี่ยวข้องกับบุพการี ผู้สืบสันดาน
หรือพี่น้องร่วมบิดามารดากับผู้ถูกกล่าวหา กล่าวโทษ
การคัดค้านการแต่งตั้งอนุกรรมการสอบสวน
ต้องยื่นต่อคณะกรรมการภายใน 7 วัน
นับตั้งแต่วันทราบคำสั่งของคณะอนุกรรมการสอบสวน
รับทราบเหตุแห่งการคัดค้าน
นั้น (ในประเด็นนี้หากมาทราบภายหลัง7วัน
ควรสามารถคัดค้านการแต่งตั้งได้ คณะกรรมการสภาฯ พิจารณา ถ้าเหมาะสมก็ถอดอนุกรรมการสอบสวนผู้นั้นออกได้)
เมื่อเรื่องขึ้นสู่การพิจารณาคดีของสภาการพยาบาลจะต้องดำเนินคดีไปจนเสร็จสิ้นการยอมความไม่มีผลต่อการพิจารณาคดีของสภาการพยาบาล
การพิจารณาคดีผู้ประกอบวิชาชีพมีสิทธิเพียงนำเอกสารหลักฐานมาชี้แจงและมาให้ปากคำ
ไม่มีสิทธิแต่งตั้งทนายความขึ้นต่อสู้ทางคดีได้
1 more item...
ผลการลงมติของคณะกรรมการสภาฯ
1 more item...
เมื่อผู้ประกอบ วิชาชีพรับทราบคำสั่งลงโทษ
ถ้าเป็นการพักใช้ต้องหยุดประกอบวิชาชีพทันที
การครบกำหนดนับแต่วันรับทราบคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนใบอนุญาต
การเพิกถอนใบอนุญาตต้องส่งคืนใบอนุญาตภายใน 15 วัน ต่อเลขาธิการสภา
สภาการพยาบาลมีสิทธิเพิ่มโทษจากพักใช้เป็นเพิกถอนได้โดยอัตโนมัติ
ภายใต้เงื่อนไขเฉพาะ
ถูกพักใช้ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ
ซึ่งเป็นสถานภาพของผู้ไม่มีสิทธิ
ประกอบวิชาชีพชั่วคราว
แต่ไม่หยุดประกอบวิชาชีพตามกฎหมาย เมื่อถูกศาลสั่งลงโทษจำคุก
เฉพาะโทษจำคุกเท่านั้นที่ทำให้ต้องเพิ่มโทษโดยอัตโนมัติเป็นเพิกถอนใบอนุญาต
มาตรา43(ภายใต้มาตรา27)บุคคลที่ได้รับคำสั่งพักใช้หรือเพิกถอนต้องหยุดประกอบวิชาชีพ
หากเพียงแค่แสดงด้วยวิธีการใดๆให้ผู้อื่นเข้าใจว่าตนเป็นผู้มีสิทธิประกอบวิชาชีพ
โดยที่ยังไม่ได้ประกอบวิชาชีพฯ ถือเป็นการละเมิด
การขอขึ้นทะเบียนใหม่ภายหลังถูกเพิกถอนใบอนุญาต
ระยะเวลาต้องพ้น 2 ปี
นับแต่วันที่สภาการพยาบาลมีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาต(ไม่ใช่วันที่รับทราบคำสั่ง)
ถ้าถูกปฏิเสธครั้งที่ 1
สามารถยื่นขอครั้งที่ 2 ภายหลังครบ 1 ปี
นับแต่วันที่คณะกรรมการสภาฯมีคำสั่งปฏิเสธคำขอครั้งแรก
พนักงานเจ้าหน้าที่
ในการปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นเจ้าพนักงานตามประมวลกฎหมาย
อาญาต้องแสดงบัตรประจำตัวแก่บุคคลที่เกี่ยวข้อง
สถานที่ที่กฎหมายกำหนด
สถานที่ประกอบการที่มีผู้ประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์หรือการพยาบาลและผดุงครรภ์ปฏิบัติงานอยู่
สถานที่มีเหตุผลสมควรเชื่อว่ามีการประกอบวิชาชีพการพยาบาล การผดุงครรภ์หรือการพยาบาลและผดุงครรภ์
สถานที่สอบสวนหรือเชื่อว่าทำการสอนวิชาการพยาบาลการผดุงครรภ์ หรือการพยาบาลและการผดุงครรภ์
บทกำหนดโทษ
โทษทางอาญา
1.ประกอบวิชาชีพโดยไม่มีใบอนุญาต
จำคุกไม่เกิน 2 ปี
ปรับไม่เกิน 2000 บาท
2.บุคคลที่พ้นจากสมาชิกสามัญ(พ้นจากการเป็นสมาชิกสามัญได้จากการตาย ลาออก ขาดคุณสมบัติ)
3.ต้องพ้นจากการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพด้วยและต้องส่งคืนใบอนุญาตต่อเลขาธิการภายใน 15 วัน
ฝ่าฝืนปรับไม่เกิน 1000 บาท (มีเฉพาะโทษปรับอย่างเดียว)
4.การไม่มาให้ถ้อยคำหรือไม่ส่งเอกสาร
ต้องโทษจำคุกไม่เกิน 1 เดือน
ปรับไม่เกิน 1000 บาท
หรือทั้งจำทั้งปรับ
5.ผู้ไม่อำนวยความสะดวกแก่เจ้าพนักงาน
ระวางโทษไม่เกิน 1 เดือน
ปรับไม่เกิน 1000 บาท
จำทั้งปรับโทษทางวิชาชีพ
ว่ากล่าวตักเตือน ภาคทัณฑ์ พักใช้ เพิกถอน
บทเฉพาะกาลเพิ่มเติม(พระราชบัญญัติวิชาชีพฯ พ.ศ.2540)
1.ให้กรรมการทุกประเภทตามพระราชบัญญัติวิชาชีพฯ พ.ศ.2528 ดำรงอยู่จนครบวาระ
2.ใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบโรคศิลปะแผนปัจจุบันในสาขาการพยาบาล
การผดุงครรภ์และสาขาการพยาบาลและการผดุงครรภ์พ.ศ.2528มีอายุต่อไปอีก 5 ปี นับแต่วันที่กฎหมายบังคับใช้
3.ผู้ที่ไม่เข้าเกณฑ์ตามข้อ 2 แต่สำเร็จการศึกษาในหลักสูตรไม่น้อยกว่า 3 ปี
ประกาศนียบัตรเทียบเท่าอนุปริญญาในสาขาการพยาบาล การผดุงครรภ์ หรือการพยาบาล
ก่อนพระราชบัญญัติวิชาชีพฯพ.ศ.2540 บังคับใช้
เมื่อสภาการพยาบาลตรวจสอบหลักสูตรและผ่านการสอบความรู้แล้วมีสิทธิขึ้นทะเบียนและรับใบอนุญาตเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
4.ยกเลิกค่าธรรมเนียมเก่าและใช้อัตราค่าธรรมเนียมใหม่ท้ายพระราชบัญญัตินี้แทน
5.รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขรักษาการณ์ตามพระราชบัญญัตินี้
ปัจจุบัน พ.ศ.2545 เมื่อครบกำนด 5 ปี
มีผลสิ้นสุดลงใบอนุญาตทุกประเภท
หรือใบอนุญาตที่ออกตามพระราชบัญญัติวิชาชีพฯ พ.ศ.2528 มีผลสิ้นสุดลงต้องต่อใบอนุญาต
แต่ในระหว่าง 5 ปีต่อไป (หลัง พ.ศ.2545) ต้องสะสม
หน่วยคะแนนในการเพิ่มพูนความรู้ 50 หน่วยคะแนนเพิ่มด้วย
พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์
เป็นกฎหมายวิชาชีพที่ทำให้เกิดองค์กรวิชาชีพที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล
สภาการพยาบาล เพื่อควบคุมดูแลผู้ประกอบ
วิชาชีพให้ปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐาน
กำหนดความรู้ คุณสมบัติสมาชิกตลอดจนจรรยาบรรณวิชาชีพ
เพื่อเป็นแนวทางในการปฏิบัติพร้อมกำหนดบทลงโทษสำหรับผู้ประพฤติผิดจริยธรรม
กฎหมายวิชาชีพฯ เป็นเกณฑ์สากลข้อหนึ่งของความเป็นวิชาชีพ
เพราะอาศัยหลักเกณฑ์ของกฎหมายควบคุมสมาชิกผู้
ประกอบวิชาชีพให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่วิชาชีพกำหนดรวมทั้งเป็นการสร้างความเชื่อถือ
พระราชบัญญัติ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528
ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์(ฉบับที่2)พ.ศ.2540
เกณฑ์สากลของความเป็นวิชาชีพ
1.อาชีพนั้นมีความจำเป็นต่อสังคม
2.มีศาสตร์เฉพาะสาขาของตน และมีการอบรมในระบบวิชาชีพที่ยาวนานพอสมควร ถึงขั้นอุดมศึกษา
3.สามารถให้บริการแก่ผู้รับบริการได้มาตรฐานและตามบรรทัดฐานของวิชาชีพนั้น
4.มีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ เพื่อปกป้องผู้รับบริการ
5.มีเอกสิทธิ์ในการทำงาน
6.มีองค์กรวิชาชีพ ทำหน้าที่ควบคุมสมาชิกของวิชาชีพ
เพื่อคุ้มครองสมาชิกและผู้รับบริการ
4.5พระราชบัญญัติวิชาชีพการพยาบาล
คือ
กฎหมายวิชาชีพฯ เป็นเกณฑ์สากลข้อหนึ่งของความเป็นวิชาชีพ
มีความจำเป็นต่อทุกวิชาชีพ
เพราะอาศัยหลักเกณฑ์ของกฎหมายควบคุมสมาชิกผู้ประกอบวิชาชีพ
ให้ปฏิบัติตามมาตรฐานที่วิชาชีพกำหนดรวมทั้งเป็นการสร้างความเชื่อถือ ศรัทธาให้เกิดในกลุ่มผู้รับบริการ
พระราชบัญญัติ วิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ พ.ศ.2528
ที่แก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติวิชาชีพการ
พยาบาลและการผดุงครรภ์(ฉบับที่2)พ.ศ.2540
ความสำคัญของกฎหมายวิชาชีพ
เกณฑ์สากลของความเป็นวิชาชีพ
1.อาชีพนั้นมีความจำเป็นต่อสังคม
2.มีศาสตร์เฉพาะสาขาของตน และมีการอบรมในระบบวิชาชีพ
3.สามารถให้บริการแก่ผู้รับบริการได้มาตรฐานและตามบรรทัดฐานของวิชาชีพนั้น
4.มีจรรยาบรรณในการประกอบวิชาชีพ เพื่อปกป้องผู้รับบริการ
5.มีเอกสิทธิ์ในการทำงาน
6.มีองค์กรวิชาชีพ ทำหน้าที่ควบคุมสมาชิกของวิชาชีพ
นิยามศัพท์ที่สำคัญ
การพยาบาล
ความหมาย
เป็นการกระทำต่อมนุษย์เกี่ยวกับการดูแลและการช่วยเหลือ
การฟื้นฟูสภาพ
การป้องกันโรค
การส่งเสริมสุขภาพ
การช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค
การผดุงครรภ์
ความหมาย
การกระทำเกี่ยวกับการดูแลและการช่วยเหลือหญิงมีครรภ์
หญิงหลังคลอด และทารกแรกเกิด
รวมถึงการตรวจ การทำคลอด การส่งเสริมสุขภาพ
โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการผดุงครรภ์
การประกอบวิชาชีพการพยาบาล
1.การสอน การแนะนำ การให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพ
2.การกระทำต่อร่างกายและจิตใจของบุคคล
แก้ไขปัญหาความเจ็บป่วย
การบรรเทาอาการของโรค การลุกลามของโรคและการฟื้นฟู
3.การกระทำตามวิธีที่กำหนดไว้ในการรักษาโรคเบื้องต้นและการให้ภูมิคุ้มกันโรค
4.การช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค
5.โดยอาศัยหลักวิทยาศาสตร์และศิลปะการพยาบาลในการประเมินสภาพ
การวินิจฉัยปัญหา
การวางแผน
การปฏิบัติการ
การประเมินผล
การปฏิบัติหน้าที่การผดุงครรภ์ต่อหญิงมีครรภ์ หญิงหลังคลอดทารกแรกเกิด และครอบครัว
1.การสอน การแนะนำ การให้คำปรึกษาและการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับสุขภาพอนามัย
2.การกระทำต่อร่างกายและจิตใจของหญิงมีครรภ์
หญิงหลังคลอดและทารกแรกเกิด
เพื่อป้องกันความผิดปกติในระยะตั้งครรภ์ ระยะคลอด และระยะหลังคลอด
3.การตรวจ การทำคลอด และการวางแผนครอบครัว
4.การช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค
5.อาศัยหลักวิทยาศาสตร์ และศิลปะการผดุงครรภ์ในการประเมินสภาพการพยาบาล
วินิจฉัยปัญหา
การวางแผนการปฏิบัติการพยาบาล
การประเมินผล
พนักงานเจ้าหน้าที่
ความหมาย
ผู้ซึ่งรัฐมนตรีแต่งตั้งให้ปฏิบัติการตามพระราชบัญญัตินี้
มีอำนาจหน้าที่ดังนี้
1.ให้อำนาจพนักงานเจ้าหน้าที่เข้าไปตรวจสอบใบอนุญาต
ค้นหรือยึดหลักฐานการกระทำที่ผิดกฎหมายในสถานที่นั้นได้
โดยไม่ต้องขอให้ศาลออกหมายค้น
และไม่มีความผิดฐานบุกรุกสถานที่นั้น
2.ในการเข้าตรวจค้น พนักงานเจ้าหน้าที่ต้องแสดงบัตรประจำตัว
พนักงานเจ้าหน้าที่ให้กับบุคคลที่เกี่ยวข้อง เพื่อป้องกันการแอบอ้าง
3.ในการตรวจค้นให้พนักงานเจ้าหน้าที่มีอำนาจตามประมวลกฎหมายอาญา
โดยให้ผู้ที่ไม่ให้ความสะดวกมีความผิด ได้รับโทษตามที่กำหนด
การช่วยเหลือแพทย์กระทำการรักษาโรค
ความหมาย
พ.ร.บ.สถานพยาบาลที่อนุญาตให้เปิดสถานพยาบาล
ตรวจรักษาโรคเบื้องต้นจะผ่านการบังคับใช้ผู้ปฏิบัติการพยาบาลและบุคลากรอื่น
อาศัยการปฏิบัติงานภายใต้กฎหมายที่เป็นระเบียบกระทรวงสาธารณสุขว่าด้วย
การอนุญาตให้บุคคลที่ไม่มีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพเวชกรรมมีสิทธิในการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
กำหนดให้มีสภาการพยาบาล ฐานะของสภากาพยาบาล(มาตรา6)
1.เป็นนิติบุคคล ตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
2.การตั้งขึ้นตามกฎหมายเฉพาะ(พ.ร.บ.)
ทำให้ไม่สามารถถูกฟ้องล้มละลายและไม่สามารถเลิกกิจการเหมือนเช่นนิติบุคคลทั่วไป
นิติบุคคลตามกฎหมายแพ่งและพาณิชย์
1.เป็นบุคคลสมมุติตามกฎหมาย มีสภาพเหมือนบุคคลทั่วไป
ยกเว้น สิทธิที่บุคคลจริงจะมีได้
การจดทะเบียนสมรส
2.นิติบุคคลทำความผิด
ผู้แทนของนิติบุคคลร่วมรับผิดในฐานะตัวการ
นิติบุคคลนี้ถูกฟ้องล้มละลายได้
วัตถุประสงค์ของสภาการพยาบาล (มาตรา7)
อำนาจและหน้าที่ของสภาการพยาบาล (มาตรา8)
รายได้ของสภาการพยาบาล(มาตรา9)
1.งบประมาณแผ่นดิน
2.ค่าจดทะเบียนสมาชิกสามัญ ค่าบำรุง และค่าธรรมเนียมต่างๆ
3.จากการหารายได้ของสภาการพยาบาล
โดยใช้เพื่อวัตถุประสงค์ของสภาการ
พยาบาล เช่น จัดสวัสดิการให้สมาชิก
4.รายได้จากเงินบริจาค รวมทั้งดอกผลของรายได้ต่างๆ
ตราสภาการพยาบาล
การเป็นนิติบุคคลต้องมีตราตามกฎหมายเป็นรูปวงกลม
มีตะเกียงตั้งอยู่บนฐานของดอกบัว
มีคำว่าสภาการพยาบาลเหนือตะเกียงในวงกลม
มีคำว่า พ.ศ.2528 อยู่ที่ฐานของดอกบัว
สมาชิกและสิทธิหน้าที่ตามกฎหมาย(หมวด2มาตรา11-13)
ประเภทของสมาชิก มี 2 ประเภทดังนี้
สมาชิกสามัญ
สมาชิกสามัญมีคุณสมบัติของสมาชิกสามัญ มาตรา 11(1)
สิทธิและหน้าที่ของสมาชิกสามัญ(มาตรา12)
การพ้นจากสภาพสมาชิกสามัญ(มาตรา13) มีดังนี้
ตาย
ลาออก
ขาดคุณสมบัติตามมาตรา 11(1)
การพ้นจากสมาชิกสามัญ
การประกอบวิชาชีพสิ้นสุดลง จะต้องส่งคืนใบ
อนุญาตฯ ต่อเลขาธิการ ภายใน 15 วัน
นับแต่ทราบการขาดสมาชิกภาพ(มาตรา31 วรรค 3)
หากไม่ส่ง มีโทษปรับไม่เกิน 1000 บาท
สมาชิกกิตติมศักดิ์
มีคุณสมบัติของสมาชิกกิตติมศักดิ์ มาตรา 11(2)
1.เป็นผู้ทรงคุณวุฒิที่สภาการพยาบาลเห็นสมควรเชิญให้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์
2.จำนวนอายุ การเป็นผู้ประกอบวิชาชีพกฎหมายไม่ได้กำหนด
โรคต้องห้ามตามข้อบังคับของสภาการพยาบาล
1.โรคจิต โรคประสาท
2.การติดยาเสพติดให้โทษอย่างร้ายแรง ติดสุราเรื้อรัง
3.โรคในระยะปรากฏอาการเป็นที่น่ารังเกียจต่อสังคม
โรคคุดทะราด โรคเอดส์ กามโรค โรคเท้าช้าง
โรคเรื้อนในระยะติดต่อ
การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ
1.สำเร็จในประเทศ คนสัญชาติไทยและมิใช่สัญชาติไทย
สำเร็จการศึกษาพยาบาลตามที่กำหนด
สมัครเป็นสมาชิกสามัญ
สอบขึ้นทะเบียน
2.สำเร็จในต่างประเทศ
คนสัญชาติไทย
สำเร็จการศึกษาพยาบาลตาที่กำหนด
ไม่ต้องสอบใบอนุญาตในประเทศที่ตนจบ
สมัครเป็นสมาชิกสามัญ
สอบขึ้นทะเบียน
คนมิใช่สัญชาติไทย
สำเร็จการศึกษาพยาบาลตามที่กำหนด
ต้องสอบใบอนุญาตในประเทศที่ตนจบ
สมัครเป็นสมาชิกสามัญ
สอบขึ้นทะเบียน
มีภูมิลำเนาอยู่ในประเทศ 6 เดือน นับถึงวันสอบสมัครสอบวันสุดท้าย
เกณฑ์สำหรับผู้ไม่ขึ้นทะเบียนทันทีที่สำเร็จการศึกษา
1.สำเร็จก่อนและหลัง 6 กันยายน 2528
-กรณีปฏิบัติงานโรงพยาบาลขอรัฐ ครบ 2 ปี สมัครเป็นสมาชิกสามัญและขอขึ้นทะเบียนทันทีไม่ต้องขอสอบ
-ปฏิบัติงานในสถานพยาบาลเอกชน ต้องผ่านการฝึกอบรมทางวิชาการตามที่สภาฯกำหนด
2.หลัง 24 ธันวาคม 2540 (สมัครเป็นสมาชิกสามัญและขอสอบขึ้นทะเบียน)
ประเภทของใบอนุญาต
1.ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาล ชั้น 1 และ 2
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการผดุงครรภ์ ชั้น 1 และ 2
ใบอนุญาตประกอบวิชาชีพการพยาบาลและการผดุงครรภ์ ชั้น 1 และ 2
การพ้นจากการเป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ
1.พ้นจากการเป็นสมาชิกสามัญ
2.ถูกเพิกถอนใบอนุญาต
3.ใบอนุญาตหมดอายุ
คณะกรรมการสภาการพยาบาล
1.กรรมการสภาฯ จากการเลือกตั้ง จำนวน 16 คน
กรรมการสภาฯ จากการแต่งตั้ง จำนวน 16 คน
3.กรรมการที่ปรึกษา จำนวนไม่เกิน 1 ใน 4 ของกรรมการ
จำนวนไม่เกิน 8 คน
ที่มาของกรรมการที่ปรึกษาจะต้องได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ก่อน
สรุปประเด็นสำคัญ
คณะกรรมการสภาการพยาบาล
1.นายกสมาคมพยาบาลแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการสภาโดยตำแหน่ง
2.ตัวแทนจากกระทรวงสาธารณสุขมีสัดส่วนมากที่สุด กรรมการสภา
ที่มาจากปลัดกระทรวงสาธารณสุขไม่ต้องประกอบวิชาชีพพยาบาล
3.ถ้านายกสภาฯเลือกเลขาธิการสภาจากสมาชิกสามัญ กรรมการ จะมีจำนวน 33คน
4.การเลือกตั้งนายกสภาฯ เป็นการเลือกตั้งทางอ้อม
5.กรรมการสภาฯ เลือกคณะผู้บริหารฯ
นายกสภา อุปนายกสภา คนที่1และ คนที่ 2
6.นายกสภา เลือก เลขาธิการสภา รองเลขาธิการสภา ประชาสัมพันธ์ เหรัญญิก
7.วาระของกรรมการ 4 ปี ตามวาระที่มาของกรรมการว่าแต่งตั้ง
8.นายกสภาฯถอดถอนเลขาธิการได้
มาตรา 18 คุณสมบัติของกรรมการสภาฯ
1.เป็นผู้ประกอบวิชาชีพฯ
2.ไม่เคยถูกสั่งพักใช้ใบอนุญาตหรือเพิกถอนใบอนุญาต
3.ไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
ความแตกต่างระหว่างคุณสมบัติของกรรมการ
สภาและสมาชิกสามัญ
1.การไม่เคยเป็นบุคคลล้มละลาย
2.ไม่เคยถูกพักใช้ เพิกถอน
กรรมการจะดำรงตำแหน่งมากกว่า 2 วาระ ติดต่อกันไม่ได้
หน้าที่กรรมการบริหารสภาการพยาบาล
นายกสภาฯ
1.ดำเนินกิจการของสภาการพยาบาล
2.เป็นผู้แทนสภาในกิจการต่างๆ
3.เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการเลขาธิการสภา
เลขาธิการสภา
1.ควบคุมรับผิดชอบงานธุรการทั่วไป
2.ควบคุมบังคับบัญชาเจ้าหน้าที่สภาฯ
3.รับผิดชอบในการดูแลทะเบียนต่างๆ
4.ควบคุมทรัพย์สินของสภาฯ
5.เป็นเลขานุการคณะกรรมการ
สภานายกพิเศษ
1.รักษาการตามพระราชบัญญัติ(มาตรา 5)
2.แต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่
3.ออกกฎกระทรวงและกำหนดค่าธรรมเนียมต่างๆ(มาตรา 5)
4.ให้ความเห็นชอบมติของคณะกรรมการในเรื่อง
1.การออกข้อบังคับสภาฯ
2.การกำหนดงบประมาณของสภาฯ
3.การให้สมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพ
4.การวินิจฉัยชี้ขาด ขั้นลงโทษผู้ประกอบวิชาชีพ ขั้นพักใช้ และเพิกถอนใบอนุญาตฯ
การดำเนินกิจการของคณะกรรมการสภาฯ
1.การประชุมของคณะกรรมการสภาการพยาบาล
2.การลงมติ
3.การขอความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษ
4.การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการที่ปรึกษา
5.การเข้าแทนตำแหน่งของกรรมการสภาที่ว่างลงก่อนครบวาระ
1.การประชุมของคณะกรรมการสภาการพยาบาล
จำนวนองค์ประชุม
เรื่องทั่วไป กรรมการอย่างน้อย=16คน (หนึ่งในสอง)
เรื่องสำคัญ ที่ใช้กรรมการเต็มคณะมี 2 กรณี
ที่ใช้กรรมการเต็มคณะมี 2 กรณี
ก.การให้สมาชิกพ้นจากสมาชิกภาพ เพราะขาดคุณสมบัติตามมาตรา11(1) ข้อ ค ง จ
เป็นผู้ประพฤติเสียหาย
การต้องโทษจำคุก
และการเป็นผู้มีจิตฟั่นเฟือน
โรคที่สังคมรังเกียจ
ข.การพิจารณาทบทวนการลงมติ
ในเรื่องที่สภานายกพิเศษยับยั้งมติของสภาการพยาบาล
(จะต้องมีคำสั่งไม่เห็นชอบภายใน15วัน
นับแต่ได้รับทราบมติของสภาฯไม่อย่างนั้นมตินั้น
จะมีผลบังคับใช้โดยอัตโนมัติ)เมื่อมติสภาฯถูกยับยั้ง
คณะกรรมการสภาฯต้องเรียกประชุม
คณะกรรมการเต็มคณะภายใน 30 วัน
นับแต่ที่สภานายกพิเศษมีคำสั่งไม่เห็นชอบ หาก
กรรมการสภายืนยันมติเดิมด้วยเสียง 2/3ของทั้งหมด
ให้มตินั้นมีผลบังคับใช้
2.การลงมติ กรรมการ 1 คน มี 1 เสียง
เรื่องทั่วไป ถือเสียงข้างมาก ถ้าเสียงเท่ากันให้ประธานชี้ขาด
เรื่องสำคัญ คะแนนเห็นชอบ จะต้องมี 2 ใน 3 ของจำนวนกรรมการทั้งคณะ คือ ไม่ต่ำกว่า 22 เสียง
3.การขอความเห็นชอบจากสภานายกพิเศษ
สภานายกพิเศษ เห็นด้วย
อาจมีคำสั่ง เห็นชอบ หรือไม่แทงคำสั่งใดๆใน15วัน ถือว่าเห็นชอบ
สภานายกพิเศษ ไม่เห็นชอบ
แทงคำสั่งไม่เห็นชอบ ต้องภายใน15วัน
3.3การลงมติแย้งสภานายกพิเศษ ต้องทำภายใน30วัน ใช้กรรมการสภาเต็มคณะลงมติด้วยเสียง 2/3
4.การพ้นจากตำแหน่งของกรรมการที่ปรึกษา
-กรรมการที่ปรึกษาจากกรรมการชุดใดพ้นจากตำแหน่งตามวาระกรรมการชุดนั้น
นางสาวรัตน์ศิการ์ ยิ้มใหญ่ เลขที่ 19 รุ่น 36/2 รหัสนักศึกษา 612001099