Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
4.1 ความผิดปกติของการตั้งครรภ์ - Coggle Diagram
4.1 ความผิดปกติของการตั้งครรภ์
อาการแพ้ท้องอย่างรุนแรง
(Hyperemesis gravidarum)
สาเหตุ
ระดับของฮอร์โมนที่สร้างจากรก HCG & Estrogen
ผลของ H. Progesterone ทำให้กระเพาะอาหารเคลื่อนไหวช้าลง
ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ
ความไม่สมดุลของระดับฮอร์โมน เช่น ครรภ์แฝด ครรภ์ไข่ปลาอุก
สภาพจิตใจของสตรีตั้งครรภ์ไม่ปกติ
อาการแสดง แบ่งออกได้เป็น 3 ระยะ
อาการรุนแรงปานกลาง
อาเจียนติดต่อกันมากกว่า 5-10 ครั้ง/วัน
อาเจียนติดต่อกันไม่หยุดภายใน 2-4 สัปดาห์
อ่อนเพลีย ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
น้ำหนักตัวลด มีอาการขาดสารอาหาร
มีภาวะเลือดเป็นกรด
อาการรุนแรงมาก
อาเจียนมากกว่า 10 ครั้ง/วัน ไม่สามารถทำกิจวัตรประจำวันได้ นอนอยู่บนเตียงตลอดเวลา
อาเจียนทันทีภายหลังรับประทานอาหาร และอาเจียนติดต่อกันเกิน 4 สัปดาห์
น้ำหนักตัวลดลงมาก
เกิดการขาดสารอาหารอย่างรุนแรง
อาการไม่รุนแรง
อาเจียนน้อยกว่า 5 ครั้ง/วัน สามารถทำงานได้ตามปกติ
ลักษณะอาเจียนไม่มีน้ำหรือเศษอาหาร
น้ำหนักตัวลดลงเล็กน้อย แต่ไม่มีอาการขาดสารอาหาร
มารดาสามารถทำกิจวัตรประจำวันได้
ผลกระทบ
ด้านมารดา
1.ผลกระทบด้านร่างกาย ได้แก่ น้ำหนักตัวลดลง เกิดภาวะขาดสารอาหาร ภาวะขาดน้ำ ร่วมกับความไม่สมดุลของสารน้ำและอิเล็คโทรไลต์ เกิดความไม่สมดุลของภาวะกรด ด่างในร่างกาย อาจเกิด acidosis & alkalosis หากไม่สามารถควบคุมอาการได้ อาจเกิดกลุ่มอาการ Wernicke’s encephalopathy จากการขาดวิตามินบี 1 โดยจะมีอาการ ophthalmoplegia, gait ataxia & confusion
2.ผลกระทบด้านจิตใจ ได้แก่ ความวิตกกังวล ภาวะซึมเศร้า เกิดความรู้สึกสูญเสียการควบคุมตนเอง
ด้านทารก
ได้แก่ การเจริญเติบโตช้าในครรภ์ คลอดก่อนกำหนด
พิการหรือทารกตายในครรภ์
ข้อวินิจฉัย : มีภาวะขาดสารน้ำและเสียสมดุลเกลือแร่เนื่องจากอาเจียนรุนแรงเป็นเวลานาน
การตั้งครรภ์แฝด (Multiple pregnancy)
ชนิดของครรภ์แฝด สำหรับแฝดคู่
1.Monozygotic (Identical) twins แฝดชนิดนี้เป็นแฝดแท้ (True twins) เกิดจากการผสมของไข่ใบเดียว กับเชื้ออสุจิตัวเดียวจนได้ไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว แยกตัวเองเป็น 2 ใบ
Dizygotic (Fraternal) twins แฝดชนิดนี้เป็นแฝดเทียม (False twins) เกิดจากการผสมของไข่ 2 ใบ กับเชื้ออสุจิ 2 ตัว จึงเสมือนหนึ่งเป็นพี่น้องกันเพียงแต่มาอาศัยอยู่ในมดลูกคราวเดียวกันเท่านั้น จึงพบ Diamnion dichorion มีรก 2 อัน ไข่ 2
Superfetation
Superfecundation
ท่าของทารกครรภ์แฝด
ภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น
ด้านมารดา
โลหิตจาง (Anemia)
ภาวะความดันโลหิตสูงขณะตั้งครรภ์
การคลอดก่อนกำหนด
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนดคลอด
รกเกาะต่ำ (Placenta previa)
รกลอกตัวก่อนกำหนด (Abruptio placentae)
Vasa previa
ครรภ์แฝดน้ำ (Hydramnios)
ทารกอยู่ในท่าผิดปกติ
การคลอดยืดเยื้อ (Uterine dysfuction)
การคลอดติดขัด (Obstructed labor)
ด้านทารก
ทารกเสียชีวิตในครรภ์ (Fetal death in utero)
Twin-twin transfusion syndrome (TTTS)
Acardiac twins หรือ TRAP sequence (twin reversed arterial perfusion)
คลอดก่อนกำหนด
ภาวะอันตรายปริกำเนิดเพิ่มขึ้น
การบาดเจ็บจากการคลอด
การคลอดก่อนกำหนดและอื่นๆ
การติดเชื้อ
ข้อวินิจฉัย : มีโอกาสเกิดการแลกเปลี่ยนออกซิเจนไม่เพียงพอ เนื่องจากตั้งครรภ์แฝด พื้นที่ในการแลกเปลี่ยนก๊าซลดลง
ทารกตายในครรภ์ (Dead fetus in utero)
Fetal Death
Intermediate fetal death ตายระหว่าง 20-28 สัปดาห์
Late fetal death ตายตั้งแต่ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
Early fetal death ตายก่อน 20 สัปดาห์
ทารกตายคลอด (Stillbirth) หรือ Death fetus in utero (DFU)
อาการและอาการแสดง
หญิงตั้งครรภ์ให้ประวัติว่าเด็กไม่ดิ้น มีเลือดหรือมีน้ำสีน้ำตาลออกทางช่องคลอด น้ำหนักตัวลดลง เต้านมดัดตึงน้อยลง นุ่มและเล็กลง
ตรวจหน้าท้อง พบระดับมดลูกตํ่ากว่าอายุครรภ์และคลำตัวทารกพบว่าไม่รู้สึกว่า ทารกดิ้นมากระทบมือ ฟัง FHS ไม่ได้ คลำศีรษะทารกจะรู้สึกนุ่มและสามารถบีบให้เล็กลงได้ เนื่องจากกระดูกกะโหลกศีรษะเกยกัน
การวินิจฉัย
การตรวจร่างกาย HF < GA , ฟัง FHS ไม่ได้
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การซักประวัติ
การรักษา
การรักษาระยะเจ็บครรภ์คลอด
พยายามให้คลอดเองทางช่องคลอด ซึ่งเป็นวิธีการคลอดที่มีอันตรายต่อมารดาน้อยที่สุด ในบางกรณีอาจจะได้ผ่าตัดคลอดทางหน้าท้อง หากมารดาอยู่ในภาวะ decompensated DIC ควรให้องค์ประกอบของเลือดทดแทนปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่เสียไป
การรักษาระยะหลังคลอด
ภายหลังทารกตายในครรภ์แล้ว แพทย์อาจให้ยายับยั้งการหลั่งน้ำนม
การรักษาก่อนเจ็บครรภ์คลอด
กระตุ้นให้มีการเจ็บครรภ์คลอด โดยการให้ oxytocin , การให้ prostaglandins
รักษาแบบประคับประคองและคอยให้เจ็บครรภ์คลอด แต่ควรติดตาม platelet count,PT,PTT และ fibrinogen
หัตถการเพื่อยุติการตั้งครรภ์
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล มารดามีโอกาสได้รับอันตรายจากภาวะเลือดไม่แข็งตัวเนื่องจากทารกตายในครรภ์
การเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
สาเหตุ
ถุงน้ำคร่ำแตกก่อนกำหนด
การติดเชื้อของน้ำคร่ำ
ความผิดปกติของทารกหรือรก
เคยมีประวัติคลอดก่อนกำหนด หรือแท้งในระยะหลังของการตั้งครรภ์
มดลูกขยายโตกว่าปกติ มักพบจากการตั้งครรภ์แฝด หรือครรภ์แฝดน้ำ
ทารกเสียชีวิตในครรภ์
เนื้อเยื่อปากมดลูกอ่อนนุ่มผิดปกติ ทำให้ปากมดลูกเกิดการบางตัวและเปิดทั้งๆที่ไม่มีการหดรัดตัวของมดลูก
ความผิดปกติของมดลูก
ความผิดปกติของรก
ห่วงอนามัยค้างอยู่ในโพรงมดลูก
โรคร้ายแรงของมารดา
การชักนำให้เกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เนื่องจากคำนวณอายุครรภ์ผิด
กลไกการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด
กล้ามเนื้อมดลูก (myometrium) จากการกระตุ้นของฮอร์โมน progesterone, estrogen และการยืดขยายของมดลูก
ปากมดลูก (cervix) ในระยะใกล้คลอดส่วนประกอบที่สำคัญของปากมดลูก คือ collagen fibers จะถูกย่อยสลาย สารเดอร์มาแทน (dermatan) และคอนโดรทีน (chondroitin)
ฮอร์โมน progesterone, estrogen, oxytocin และ prostaglandin
อาการและอาการแสดง
ลักษณะของการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนดจะเหมือนกับการเจ็บครรภ์จริง คือมีการหดรัดตัวของมดลูกอย่างสม่ำเสมอ ร่วมกับมีการเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก อาจมีอาการปวดหรือไม่มีอาการปวดร่วมด้วย
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล เสี่ยงต่อการคลอดก่อนกำหนดเนื่องจากมดูกมีการหดรัดตัวก่อนอายุครรภ์ 37 สัปดาห์