Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory), นางสาว เนตรชนก กองจรูญ ห้อง 2A…
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)
โครงสร้างของจิตใจ (Structure of mind)
Ego
เป็นส่วนของจิตใจที่ดำเนินการโดยอาศัยเหตุและผล เพื่อตอบสนองระดับจิตสำนึก มีการพิจารณากลั่นกรองเพื่อตอบสนองความต้องการตามแรงขับของ Id ให้อยู่ในขอบเขตของความเหมาะสม
เรียกกระบวนการคิดในลักษณะนี้ว่าเป็น “กระบวนการคิดแบบทุติยภูมิ”
(Secondary thinking process)
Superego
เป็นส่วนของจิตใจที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับมโนธรรม(Conscience) คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่มีอยู่ในจิตใจของบุคคล เกิดจากการอบรมสั่งสอนของบิดา มารดาหรือผู้เลี้ยงดู
Id
เป็นแรงผลักดันของจิตใจที่ติดตัวทุกคนมาแต่กำเนิด เป็นแรงขับตาม
สัญชาตญาณ เป็นการแสวงหาความสุขโดยยึดความพึงพอใจเป็นหลัก (Pleasure principles)
โดยมี“กระบวนการคิดแบบปฐมภูมิ” (Primarythinking process) ซึ่งไม่ได้กลั่นกรองหรือขัดเกลาให้เหมาะสม เป็นความต้องการเบื้องต้นและกระทำเพื่อสนองความต้องการของตนเองเท่านั้น
สัญชาตญาณ (Instinct)
สัญชาตญาณทางเพศ (Sexual of life instinct: Libido)
ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ แรงขับทางเพศ ซึ่งมีมาตั้งแต่แรกเกิด ในร่างกายมีอวัยวะต่างๆ ที่ไวต่อการสัมผัสซึ่งจะทำให้เกิดความสุข ความพึงพอใจ
ทำหน้าที่
ผลักดันให้มนุษย์แสวงหาความพอใจตามที่ตนเองต้องการ
ได้แก่ บริเวณปาก ทวารหนัก และอวัยวะเพศ
สัญชาตญาณแห่งความก้าวร้าว (Aggressive of instinct: Mortido)
ทำหน้าที่ผลักดันให้มนุษย์แข่งขันกัน ชิงดีชิงเด่นกัน เอาชนะกัน มีลักษณะพลังงานในทางทำลาย
กลไกการป้องกันทางจิต (Defense mechanism)
การถดถอย (Regression)
เช่น เด็กที่แม่มีน้องใหม่กลับมามีพฤติกรรมปัสสาวะรดที่นอน
เป็นการแสดงออกโดยการมีพฤติกรรมกลับไปสู่ในระดับพัฒนาการของจิตใจและอารมณ์ในระดับต้นๆ เกิดขึ้นเมื่อประสบภาวะความไม่มั่นคงทางจิตใจ
การเก็บกด(Repression)
เป็นการเก็บกดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด จากระดับจิตสำนึกไปสู่ระดับจิตไร้สำนึก เพื่อให้ลืมเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สบายใจ
เช่น เคยถูกน้าชายข่มขืนในวัยเด็กแล้วจำไม่ได้ว่าทำไมตนเองจึงเกลียดน้าชาย
การแยกตัว (Isolation)
เช่น เด็กคิดว่าพ่อแม่ไม่รักจึงขังตัวอยู่ในห้องคนเดียว
เป็นการไม่ตอบสนองต่อการกระทำที่นำความคับข้องใจมาให้ จะแยกตัวออกจากสภาพการณ์นั้น
การเก็บกด (ระดับจิตส านึก) (Suppression)
เป็นการลืมบางสิ่ง ผู้ป่วยบอกพยาบาลว่ายังไม่พร้อมที่จะพูดเรื่องการทะเลาะกับสามีบางอย่าง โดยเจตนา แต่เป็นกระบวนการขจัดความรู้สึกดังกล่าวออกไปจากความคิด และเกิดขึ้นโดยผู้กระทำมีความรู้ตัวและตั้งใจ
ผู้ป่วยบอกพยาบาลว่ายังไม่พร้อมที่จะพูดเรื่องการทะเลาะกับสามี
การโทษผู้อื่น (Projection)
เป็นการโยนอารมณ์ความรู้สึกที่รับไม่ได้ของคนเราภายในจิตไร้สำนึกไปยังอีกคนหนึ่งหรือเป็นการโยนความผิดให้ผู้อื่น
เช่น นักเรียนสอบตกบอกว่าครูสอนไม่ดี
การลบล้างความรู้สึกผิด (Undoing)
เป็นการกระทำในสิ่งที่ดีเพื่อลบล้างความรู้สึกผิดที่เกิดจากการกระทำของตนเอง
เช่น ผิดนัดกับเพื่อนจึงพาเพื่อนไปเลี้ยงข้าว
การโทษตัวเอง (Introjection)
เป็นการตำหนิ ล่าวโทษตนเอง
เช่น เพราะตนเองดูแลน้องไม่ดีจึงทำให้น้องถูกรถชน
การอ้างเหตุผล (Rationalization)
แบบองุ่นเปรี้ยว (Sour grape)
เป็นการให้เหตุผลว่าสิ่งที่ตนเองต้องการแล้วไม่ได้นั้นเป็นสิ่งไม่ด
เช่น อยากเรียนแพทย์แต่สอบไม่ติดเลยบอกว่าอาชีพแพทย์
ไม่ดีเรียนแล้วเครียด
แบบมะนาวหวาน (Sweet lemon)
เป็นการหาเหตุผลมาสนับสนุนเมื่อตนเองต้องการสิ่งใดแล้วไม่สามารถหามาได้
เช่น มีบ้านหลังเล็ก บอกว่าดีเพราะดูแลทำความสะอาดง่าย
เป็นการหาเหตุผลที่สังคมยอมรับ มาอธิบายพฤติกรรมต่างๆ ของตนเป็นการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองหรือเป็นการแก้ตัว
การแทนที่ (Displacement)
เป็นการถ่ายเทอารมณ์ที่มีต่อบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นหรือวัตถุสิ่งของอื่น โดยที่บุคคลหรือวัตถุสิ่งของนั้นไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นอารมณ์แต่อย่างใด
เช่น หลังจากถูกมารดาดุรู้สึกโกรธมากจึงหันไปขว้างแจกันของมารดาแตกระจาย
การหาทางทดแทน (Sublimation)
เป็นการปรับเปลี่ยนความรู้สึกหรือแรงผลักดันที่ไม่ดีที่สังคมไม่ยอมรับ ไปเป็นวิธีการที่สังคมยอมรับ ซึ่งเป้นแรงกดดันที่สร้างสรรค์
เช่น คนก้าวร้าวผันตัวเองไปเป็นนักมวย
การปฏิเสธ (Denial)
เป็นการปฏิเสธที่จะยอมรับบางสิ่งบางอย่างซึ่งเป็นความจริงโดยการเพิกเฉย
เช่น ไม่ยอมรับผลการตรวจจากแพทย์ว่าเป็นมะเร็งจึงไปพบแพทย์ที่อื่นเพื่อให้ตรวจรักษาใหม่
การกระท าตรงข้ามกับความรู้สึก (Reaction formation)
เป็นการที่บุคคลมีพฤติกรรมการแสดงออกตรงข้ามกับความคิดความรู้สึกที่แท้จริงของตน
เช่น บอกเพื่อนร่วมงานว่าหัวหน้าเป็นคนดีทั้งที่ในใจเกลียดหัวหน้ามาก
การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกเป็นพฤติกรรม (Conversion)
เป็นการเปลี่ยนความขัดแย้งในจิตใจเกิดเป็นอาการทางกาย
เช่น เดินไม่ได้เพราะขาอ่อนแรงหลังจากถูกบังคับให้แต่งงาน
การเลียนแบบ (Identification)
เช่น เด็กบอกพยาบาลว่า “โตขึ้นจะเป็นพยาบาลเหมือนพี่”
เป็นการรับเอาความคิด ทัศนคติค่านิยม ลักษณะประจำตัวของบุคคลสำคัญในชีวิตหรือบุคคลที่นิยมชมชอบมาเก็บ และจดจำไว้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของตนเอง
การชดเชย (Compensation)
เป็นการกระทำเพื่อลบล้างจุดบกพร่อง
จุดอ่อน หรือปมด้อยของตน โดยการสร้างจุดเด่นทางอื่น
เช่น คนที่เรียนไม่เก่ง แล้วหันไปเอาดีทางด้านดนตรี
ระดับของจิตใจ (Level of mind)
ระดับจิตใต้สำนึก (Subconscious/Preconscious level)
เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ในระดับกึ่งรับรู้ และไม่รับรู้ อยู่ในระดับลึกลงกว่าจิตสำนึกต้องใช้เวลาและเหตุการณ์ช่วย
กระตุ้นให้เกิดการระลึกได้ จิตใจในส่วนนี้จะช่วยขจัดข้อมูลที่ไม่จ าเป็นออกไปจากความรู้สึกของบุคคล และเก็บไว้แต่ส่วนที่มีความหมายต่อตนเอง จิตใจในส่วนนี้ด าเนินการอยู่ตลอดเวลาในชีวิต
ระดับจิตไร้สำนึก (Unconscious level)
เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ในส่วน
ลึกไม่สามารถจะนึกได้ในระดับจิตสำนึกธรรมดา
บุคคลมักจะเก็บประสบการณ์ที่ไม่ดีและเลวร้ายในชีวิตที่ผ่านมาของตนไว้ในจิตไร้ส านึกโดยไม่รู้ตัว และจะแสดงออกในบางโอกาส ซึ่งเจ้าตัวไม่ได้ควบคุมและไม่รู้สึกตัว
ระดับจิตสำนึก (Conscious level)
เป็นระดับของจิตใจที่มนุษย์รู้สึกตัว และตระหนักในตนเอง มีพฤติกรรมและการแสดงออกที่ตนรับรู้ พฤติกรรมที่แสดงออกอยู่ภายใต้การควบคุมด้วยสติปัญญา
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ (Psychosexual development)
ระยะพัฒนาการทางเพศ (Phallic stage) (อายุ 3 ปี 6 เดือน - 6 ปี)
แต่ผู้ใหญ่มักใช้ค่านิยมของตนไปตัดสินพฤติกรรมของเด็กว่าไม่เหมาะสม ซึ่งเป็นการขัดขวางการลดภาวะเครียดของเด็ก ทำให้เด็กเกิดภาวะติดค้าง
เมื่อโตขึ้นเด็กก็อาจจะชอบแสดงออกในเรื่องเพศ ชอบพูดจาสองแง่สองง่าม หรือให้ความสนใจต่อเรื่องเพศมากเป็นพิเศษ
ลิบิโดไปกระตุ้นบริเวณอวัยวะเพศ ทั้งนี้อาจเนื่องมาจากเด็กเริ่มสนใจความแตกต่างระหว่างเพศ จึงทำให้ชอบจับต้องอวัยวะเพศเล่น เป็นการลดภาวะเครียด
ระยะแฝง (Latency stage) (อายุ 6 - 12 ปี)
แต่มิใช่ว่าไม่มีการกระตุ้นของลิบิโดแต่พฤติกรรมทางเพศเป็นไปอย่างสะเปะสะปะไม่อยู่ที่บริเวณใดบริเวณหนึ่งโดยเฉพาะจึงไม่มีภาวะติดค้าง
ขั้นนี้ถือได้ว่าเป็นการพัก
ระยะทวารหนัก (Anal stage) (อายุ 1 ปี 6 เดือน - 3 ปี 6 เดือน)
แต่ถ้าผู้ใหญ่ที่เลี้ยงดูใช้วิธีการเข้มงวดในการฝึกวินัยในการขับถ่าย เด็กจะเกิดภาวะติดค้าง
เมื่อโตขึ้นอาจมีนิสัยเผด็จการหรือไม่มีความพอดีในเรื่องความสะอาดและการใช้จ่าย
ลิบิโดไปกระตุ้นที่ทวารหนัก การกัก และการปล่อยอุจจาระจึงเป็นการลดภาวะเครียดของเด็ก
ระยะวัยเจริญพันธุ์ (Genital stage) (อายุ 12 - 20 ปี)
เนื่องจากสภาพทางสังคมยังไม่เอื้อต่อการให้บุคคลในวัยนี้มีคู่ครองทั้งๆ ที่มีความต้องการทางการสืบพันธุ์สูงมาก
เป็นช่วงวัยรุ่น ลิบิโดจะไปกระตุ้นบริเวณอวัยวะเพศ และเป็นไปอย่างมี “วุฒิภาวะทางเพศ” กล่าวคือ พร้อมต่อการสืบพันธุ์ การลดภาวะเครียดจึงเป็นการบำบัดความใคร่ด้วยตนเอง (Masturbation)
ระยะปาก (Oral stage) (แรกเกิด - 18 เดือน)
ลิบิโดไปกระตุ้นบริเวณปาก การดูดจึงเป็นการลดภาวะเครียดของเด็ก แต่เด็กบางคนอาจเกิดภาวะติดค้างได้
ซึ่งอาจเนื่องจากการหย่านมด้วยวิธีการรุนแรง การมีน้องเร็ว การที่มารดามภารกิจมาก เป็นต้น
เมื่อบุคคลนี้เติบโตขึ้นก็อาจมีพฤติกรรมชอบกินเหล้า สูบบุหรี่ กินจุกจิก จู้จี้ขี้บ่น เป็นต้น
การประยุกต์ใช้ในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
พยาบาลสามารถนำแนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์มาใช้ในการพยาบาล โดยทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ว่ามีความหมาย
มีเป้าประสงค์ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระดับจิตสำนึก จิตใต้สำนึก และจิตไร้สำนึก ซึ่งจะช่วยอธิบายถึงกลไกของพฤติกรรมมนุษย์ความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวจะช่วยให้พยาบาลสามารถแยกแยะสาเหตุของปัญหาทางจิตของผู้ป่วยได
การวิเคราะห์เกี่ยวกับกลไกการป้องกันทางจิตที่ไม่เหมาะสมของผู้ป่วยจิตเวช จะเป็นแนวทางในการช่วยให้ผู้ป่วยได้ใช้กลไกการป้องกันทางจิตที่เหมาะสมต่อไป
นางสาว เนตรชนก กองจรูญ ห้อง 2A เลขที่ 46 รหัส 613601047