Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร - Coggle Diagram
ความผิดปกติของระบบทางเดินอาหาร
ปัญหาท้องผูก(Constipation)ในผู้สูงอายุ
ความหมาย
การไม่ถ่ายอุจจาระต่อเนื่อง3วันขึ้นไป หรือถ่ายอุจจาระแห้ง แข็ง ต้องออกแรงเบ่ง โดยพบว่าความสัมพันธ์กับการบีบตัวของลำไส้ลดลงในผู้สูงอายุ ทำให้รู้สึกไม่สบาย แน่นอึดอัด บริเวณทวารหนัก แต่ไม่สามารถถ่ายอุจจาระได้
การเกิดภาวะท้องผูก
ลำไส้ใหญ่ดูดซึมน้ำออกมากเกินไปหรือกล้ามเนื้อของลำไส้ใหญ่บีบตัวเชื่องช้า
ทำให้ก้อนอุจจาระเคลื่อนผ่านลำไส้ใหญ่อย่างช้าๆส่งผลให้ก้อนอุจจาระแข็งและแห้งยิ่งขึ้น
หน้าที่ลำไส้ใหญ่
สารอาหารจะถูกดูดซึมเข้าสู่กระแสเลือด ผ่านทางลำไสเล็ก ก่อนที่อาหารจะเดินทางเข้าสู่ลำไส้ใหญ่
เมื่ออาหารผ่านมาถึงลำไส้ใหญ่น้ำจะถูกดูดซึมออกจากอาหารจนเหลือแต่กากอาหารที่จะกลายเป็นอุจจาระต่อไป
ลำไส้ใหญ่จะบีบตัวเป็นระยะๆ ตลอดทั้งวันเพื่อผลักดันให้อุจจาระเคลื่อนต่อไปยังไส้ตรงในที่สุด
ขณะนั้นปริมาณน้ำจะถูกดูดซึมไปเกือบหมดทำให้อุจจาระมีลักษณะเป็นก้อนรูปร่างเหมือนไส้กรอกและง่ายต่อการขับถ่ายออกมา
สาเหตุของอาการท้องผูก
พฤติกรรมและแบบแผนการดำเนินชีวิตประจำวัน
นิสัยการกลั้นอุจาระเป็นประจำ
การรับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป
ขาดการออกกำลังกาย
ภาวะเครียด
ยาบางชนิด
ยากลุ่ม Opiates
ยาต้านการซึมเศร้า
ยากันชัก
ยาลดกรดที่มีเหลืออลูมิเนียม
โรคประจำตัว
โรคทางระบบประสาท
โรคลำไส้และทวารหนัก
การเคลื่อนไหวของร่างกายลดลง
อาการและอาการแสดง
เครียด ปวดหัว สับสน
เบื่ออาหาร รับประทานอาหารได้น้อยลง พร่องโภชนาการ
ไม่สดชื่นกระปรี้กระเปร่า
ปวดหลัง
แสบร้อนบริเวณหน้าท้อง
อุจจาระอัดแน่น (Fecal impacation)
อึดอัด แน่นหน้าท้อง ท้องอืด
มีไข้ อาเจียน
กลั้นอุจจาระไม่ได้เกิดแผลเนื้อตาย
มีภาวะซีด
แนวทางการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะท้องผูก
ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญ และปัจจัยที่ทำให้เกิดปัญหาการขับถ่าย
กระตุ้นให้ดื่มน้ำอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอ (>2,000 ml/day)
แนะนำให้รับประทานอาการที่มีกากใยสูง
แนะนำการบดเคี้ยวอาหารอย่างละเอียด
จัดสิ่งแวดล้อมที่เป็นมิตร มีความเป็นส่วนตัว ให้เวลาในการขับถ่าย
แนะนำให้หลีกเลี่ยงการกลั้นอุจาระ
ควรฝึกการขับถ่ายให้เป็นนิสัย
กรณีนอนติดเตียง ควรจัดท่านั่งศีรษะสูงในการขับถ่ายอุจจาระ
กระตุ้นให้มีการเคลื่อนไหวหรือออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ
กรณีที่อุดจาระอัดแน่นให้ทำการล้วง (Evacuation) ด้วยความนุ่มนวล
หากต้องใช้ยาระบาย ควรปฏิบัติตามคำแนะนำอย่างเคร่งครัด
ภาวะแทรกซ้อน
โรคริดสีดวงทวารหรือแผลปริรอบ ๆ ทวารหนัก
จากอุจจาระที่แห้งแข็งครูดหลอดเลือดจนฉีกขาด
ความดันในช่องทรวงอกเพิ่มขึ้น
ผู้ป่วยโรคหัวใจอาจเกิดภาวะกล้ามเนื้อ
หัวใจขาดเลือด
หัวใจเต้นผิดจังหวะ
ความดันในลูกตาสูงขึ้น
เป็นอันตรายต่อผู้ที่เข้ารับการผ่าตัดตาและหู
แรงดันในช่องท้องสูงขึ้น
เป็นสาเหตุของไส้เลื่อน
กล้ามเนื้อในอุ้งเชิงกรานอ่อนแอ
กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
ท้องผูกเรื้อรัง
ลำไส้อุดตัน
ปวดท้องมากอึดอัดแน่น
ท้องคลื่นไส้อาเจียน
ไม่ผายลม
ไม่ถ่ายอุจจาระ
ปัญหาท้องเสียในผู้สูงอายุ
ความหมาย
การถ่ายอุจจาระเหลวหรือเป็นน้ำ อย่างน้อย 3ครั้ง/วัน หรือถ่ายมีมูกหรือปนเลือดอย่างน้อย 1ครั้ง โดยเกิดขึ้นในระยะไม่เกิน 2 สัปดาห์
อาการและอาการแสดง
ถ่ายอุจจาระเหลว
ถ่ายเป็นน้ำมากกว่า 3 ครั้งขึ้นไป
ถ่ายเป็นมูกปนเลือด 1 ครั้งหรือมากกว่านั้นภายใน 24 ชั่วโมง
ปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อ่อนเพลีย รู้สึกครั่นเนื้อครั่นตัว
อาจมีไข้ต่ำหรือสูง
ซึม ไม่มีแรง หน้ามืด
ในกรณีมีภาวะขาดน้ำมากๆอาจเกิดภาวะช็อค
สาเหตุของอาการท้องเสีย
เฉียบพลัน
มีอาการ 1-2วัน หรือไม่เกิน 1สัปดาห์
โรคกระเพาะอาหาร
ลำไส้เล็กอักเสบ
การติดเชื้อแบคทีเรีย
เชื้ออีโคไล
การติดเชื้อไวรัส
โนโรไวรัส
การได้รับเชื้อปรสิต
เชื้อบิดอะมีบา
ความเครียด
การดื่มแอลกอฮอล์ปริมาณมากเกินไป
การแพ้อาหารบางชนิด
เยื่อบุลำไส้เสียหายจากการฉายรังสี
ไส้ติ่งอักเสบ
จากการติดเชื้อ อาจเกิดจากไวรัส บิด อหิวา
สารพิษ จากเชื้อโรค เกิดจากการกินพิษของโรคที่ปนเปื้อนในอาหาร
สารเคมี เช่น ตะกั่ว สารหนู
พืชพิษ เช่น เห็ดพิษ กลอย
เรื้อรัง
ท้องเสียที่เกิดขึ้นติดต่อกันอย่างน้อย 2 สัปดาห์ขึ้นไป
โรคในระบบทางเดินอาหารและโรคลำไส้ผิดปกติ
โรคลำไส้อักเสบ
โรคลำไส้แปรปรวน
อาหาร
นมหรือผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับนม
ขาด Enzyme lactase เพื่อย่อย lactose
การตอบสนองต่อยาบางประเภท
ยาปฏิชีวนะ ยารักษาโรคมะเร็ง
ยาลดกรดที่มีแมกนีเซียม
การผ่าตัด
การผ่าตัดลำไส้
การผ่าตัดนำถุงน้ำดีออก
โรคเรื้อรัง
เบาหวาน
คอพอกเป็นพิษ
เนื้องอก หรือ มะเร็งของลำไส้ หรือ ตับอ่อน
ภาวะแทรกซ้อน
ภาวะขาดน้ำและเกลือแร่
โรคลำไส้แปรปรวน
ภาวะย่อยน้ำตาลแล็กโทสบกพร่อง
กลุ่มอาการเม็ดเลือดแดงแตกยูรีเมีย หากท้องเสียจากการติดเชื้อบางชนิด
การติดเชื้อในทางเดินอาหารจนเกิดการอักเสบ ลุกลามไปยังอวัยวะส่วนอื่น ๆ ในร่างกาย
แนวทางการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะท้องเสีย
หยุดรับประทานอาหาร 2 - 4 ชั่วโมง เพื่อให้ลำไส้หยุดการทำงาน
ดื่มเกลือแร่ผงผสมกับน้ำต้มสุก หรือใช้เกลือป่นผสมกับน้ำต้มสุกเพื่อทดแทนน้ำกับเกลือแร่ที่ร่างกายสูญเสียไป
รับประทานอาหารที่ย่อยง่าย เช่น ข้าวใส่เกลือ ข้าวต้ม หรือโจ๊ก งดอาหารรสจัด และอาหารที่มีกากใยมาก เช่นผัก ผลไม้
รับประทานโยเกิร์ตที่มีโปรไบโอติก (probiotic yogurt) เชื้อแบคทีเรียมีชีวิตที่มีอยู่ในโยเกิร์ตสามารถช่วยบรรเทาอาการท้องเสียบางชนิด
งดดื่มนม เครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือคาเฟอีน จนกว่าจะหายท้องเสีย
หลีกเลี่ยงยารักษาโรคท้องเสีย ยกเว้นแพทย์สั่งเท่านั้น เนื่องจากท้องเสียเป็นการขับสิ่งที่ไม่ดีออกไปจากร่างกาย ดังนั้นทางเดียวที่จะดีขึ้นได้คือต้องยอมถ่ายเหลวให้หมด
รักษาตามอาการ เช่น ให้ยาแก้อาเจียน ยาแก้ปวดท้อง หรือยาลดไข้ เมื่อมีอาการเหล่านั้น ขณะท้องเสีย
อ้างอิง
พบแพทย์. (2559). ท้องเสีย.สืบค้นเมื่อ 31 พ.ค. 63, จากเว็บไซต์:
https://www.pobpad.com/%E0%B8%97%E0%B9%89%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%B5%E0%B8%A2
แพทย์ณหทัย จงประสิทธิ์กุล. (2563). ท้องเสีย. สืบค้นเมื่อ 31 พ.ค. 63, จากเว็บไซต์:
http://www.somdej.or.th/index.php/2016-01-18-07-08-19
กุลเทพ รัตนโกวิท. (2560). ท้องผูกอย่าเข้าใจผิดคิดว่าเป็นเรื่องปกติ. สืบค้นเมื่อ 31 พ.ค. 63, จากเว็บไซต์:
https://www.bangkokhospital.com/th/disease-treatment/constipation
น.ส.นาลิตา พรมบุตร
เลขที่ 22 ห้อง B
รหัสนักศึกษา 613020111126