Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การพยาบาลบุคคลที่มีความบกพร่องของสติปัญญา และภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง -…
การพยาบาลบุคคลที่มีความบกพร่องของสติปัญญา และภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง
โรคพาร์กินสัน (Parkinson's Disaesa)
สาเหตุ
-ร่างกายขาดสารโดปามีนในสมอง พบได้บ่อยในผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง
-เกิดจากการเสื่อมและตายไปของเซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีน จนไม่ สามารถสร้างสารโดปามีนได้เพียงพอ สารโดปามีนนี้มีความสาคัญต่อการควบคุม การเคลื่อนไหวของร่างกาย
อาการของโรคพาร์กินสัน
ผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน มีอาการมากน้อยแตกต่างกันได้ ขึ้นอยู่กับอายุของ ผู้ป่วย ระยะเวลาการเป็นโรค และภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้น โรคพาร์กินสัน ทาให้ผู้ป่วยเกิดอาการทางระบบประสาทที่เด่นชัด 4 ประการ ได้แก่
อาการสั่น(tremor)
กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง (rigidity)
เคลื่อนไหวช้า (brady kinesia)
อาการทรงตัวลาบาก (postural instability)
การรักษา
ขณะนี้ยังไม่มีวิธีการรักษาใด
การรักษาโดยการใช้ยา แบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ
1.1 ยาที่ช่วยชะลออาการ (neuroprotective therapy) จะช่วยชะลอการ ดาเนินไปของโรค เช่น ยา elegiline (Deprenyl) จะใช้บ่อยมักใช้ควบคู่ไปกับ ยา Levodopa จะช่วยป้องกันการทาลายโดปามีนในสมอง
1.2 รักษาตามอาการ ได้แก่
anticholinergic ใช้สาหรับอาการสั่น
Levodopa ช่วยในการทดแทนสารสื่อประสาทที่ลดน้อยลง
การรักษาด้วยการทากายภาพบาบัด
การผ่าตัดสมอง
การวินิจฉัยการพยาบาล
มีระดับการช่วยเหลือตนเองลดลงเนื่องจากการเคลื่อนไหวบกพร่อง
ความสามารถในการสื่อสารบกพร่องเนื่องจากอาการสั่นหรือหดเกร็ง ของกล้ามเนื้อริมฝีปากหรือลิ้น
ได้รับสารอาหารไม่เพียงพอเนื่องจากกล้ามเนื้อที่เกี่ยวกับการเคี้ยว และการกลืนอ่อนแรง สั่นหรือหดเกร็ง
ผู้ป่วยและญาติขาดความรู้เรื่องโรคและการรักษา
ALZHEISMER'S
สาเหตุ
ไม่ทราบแน่ชัด
ปัจจัยเสี่ยง
สาเหตุ
อายุ พบว่า ผู้ป่วยส่วนมากอายุ 65 ปีขึ้นไป แต่ก็มีบ้างบางกรณีที่ผู้ป่วยเริ่มมี อาการตอนอายุ 40 ปีปลายๆ
ประวัติการป่วยภายในครอบครัว
ป่วยด้วยโรคดาวน์ซินโดรมหรือพากินสัน (Down's syndrome/ Parkinson's disease)
พยาธิสรีรวิทยา
การเปลี่ยนแปลงจะพบ สมองเหี่ยวและมีน้าหนักลดลง ร่องสมอง (succus) และventricleกว้างขึ้นการเปลี่ยนแปลงทางด้านสรรีวิทยาจะ พบamyloid plaques ซึ่งเกิดจากการสะสมของโปรตีนชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า beta amyloid neurofibrillary tangles (NFT) กระจายอยู่ทั่วเนื้อสมอง ทาให้เกิดปฏิกิริยาต่อต้านจากระบบภูมิคุ้มกันของสมองเกิดการอักเสบและ ทาลายเซลล์สมอง (neurone) บริเวณ frontal lobeใกล้ๆ กับประสาทสั่งงาน motor ส่งผลกระทบต่อการทาหน้าที่ของเชาวน์ปัญญาและพฤติกรรม และยัง พบว่า acetylcholine ซึ่งเป็นสารสื่อประสาทในสมองที่ทาหน้าที่เป็น ตัวกระตุ้น มีปริมาณลดลง และมีความสัมพันธ์กับความรุนแรงของภาวะสมอง เสื่อมของผู้ป่วย
อาการและอาการแสดง
สมาคมโรคอัลไซเมอร์นานาชาติ (Alzheimer’s Disease International, 1999) ได้แบ่งอาการและอาการแสดงที่พบบ่อย
อาการทางเชาวน์ปัญญา (cognitive aspect) เช่น ความจาเสื่อมลง มีความผิดปกติด้านการใช้ภาษา การคิด การใช้เหตุผล การรับรู้ลดลง หรือมี การตัดสินใจบกพร่อง
2.
พฤติกรรมเปลี่ยนแปลงร่วมกับอาการทางจิต (behavioural and psychological symptom of dementia) ได้แก่ การมีพฤติกรรม เปลี่ยนแปลง เช่น ก้าวร้าว ไม่อยู่นิ่ง เดินละเมอ แสดงออกทางเพศไม่ เหมาะสม กลั้นปัสสาวะไม่ได้ รับประทานจุ ส่งเสียงกรีดร้อง และอาการทาง จิต เช่น บุคลิกภาพเปลี่ยนแปลง ซึมเศร้า เห็นภาพหลอน หูแว่ว และหวาดระแวง
การวินิจฉัยโรค
การซักประวัติจากญาติที่ดูแล
การตรวจร่างกาย
และการตรวจทางห้องปฏิบัติการ เช่น ตรวจเลือด 4. เอ็กซเรย์สมองด้วยคอมพิวเตอร์, คลื่นแม่เหล็ก (MRI)
การรักษา
-โรคนี้ยังไม่มีการรักษาที่แท้จริง
-การรักษาส่วนใหญ่เพื่อบรรเทาอาการที่เกิดขึ้น เช่น การทากายภาพบาบัด การรับประทานอาหารที่เหมาะสม การจัดสิ่งแวดล้อมให้เหมาะสม จะช่วยให้ ผู้ป่วยอาการดีขึ้น และสามารถปฏิบัติตัวได้ดีขึ้น
-การให้ยาสามารถช่วยลดความกังวล จะช่วยให้ผู้ป่วยนอนหลับและสามารถทา กิจกรรมต่างๆ ได้ ปัจจุบันมียา 2 ชนิด ที่ อย. ของสหรัฐอเมริกา อนุญาตให้ใช้ ในโรคนี้คือ
tacrine (Cognex)
donepezil hydrochloride (Aricept)
การวินิจฉัยการพยาบาล
การดูแลตนเองบกพร่องเนื่องจากความจาเสื่อมไม่สามารถแยกได้ถึงความ เหมาะสมกันหรือไม่เหมาะสมในการ แต่งกาย การกิน การเข้าห้องน้า
มีภาวะเสี่ยงต่อการเกิดความรุนแรงต่อตนเองและผู้อื่นเนื่องจากความผิดปกติ ของเชาวน์ปัญญา
สูญเสียทักษะการเข้าสังคมเนื่องจากความผิดปกติของเชาวน์ปัญญา
ผู้ดูแลมีภาวะเครียดเนื่องจากภาระในการดูแลและพฤติกรรมของผู้ป่วย
การพยาบาล
ประเมินความสามารถของผู้ป่วยในการทากิจวัตรประจาวันต่างๆ ถ้าไม่สามารถทา ได้พยาบาลต้องช่วยดูแล
จัดสิ่งแวดล้อมให้ผู้ป่วยได้พักผ่อนนอนหลับอย่างเพียงพอ วางแผนจัดกิจกรรม ตอน กลางวันให้เหมาะสม เพื่อจะได้นอนหลับได้ในตอนกลางคืน
พยาบาลต้องหมั่นตรวจสอบร่างกายผู้ป่วยอยู่เสมอ ควรบันทึกพฤติกรรมตั้งแต่แรก รับ สังเกตการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่เกิดขึ้น เพื่อให้การช่วยเหลือผู้ป่วยต่อไป
การตรวจสอบกิจกรรมของผู้ป่วยอยู่เสมอ จะช่วยให้พยาบาลจัดสิ่งแวดล้อมได้ เหมาะสม เช่น พื้นที่ลื่น ทางเดินไม่สะดวก ถ้าไม่มีข้อห้ามพยาบาลต้องช่วยให้ผู้ป่วย ออกกาลังกาย
ป้องกันการกระตุ้นผู้ป่วยมากเกินไป หลีกเลี่ยงการให้งานที่ก่อความวิตกกังวล
ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะมีอาการซึมเศร้า อ่อนล้า ถอยหนีจากสิ่งแวดล้อม แยกตัว พยาบาล ต้องประเมินเหตุแห่งความซึมเศร้า เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยพูดระบายความรู้สึก
MULTIPLE SCLEROSIS
สาเหตุ
ยังไม่ทราบแน่ชัด พบบ่อยในช่วงอายุ 30-40 ปี แต่เชื่อว่าเกี่ยวข้องกับปัจจัย ดังต่อไปนี้
1.ภูมิคุ้มกันเชื่อว่าอาจเกิดจากการที่ร่างกายสรา้งภูมิคุ้มกันต้านเนื้อเยื่อตนเอง
การอักเสบติดเชื้อจากไวรัสอย่างช้าๆ ซึ่งอาจติดเชื้อมาตั้งแต่วัยหนุ่มสาว
3.กรรมพันธุ์ ในผู้ที่มาจากครอบครัวที่มีประวัตเิป็นมัลติเพิลสเคอโรซิส พบว่า มีโอกาสเป็นโรคนี้มากกว่าคนทั่วไปถึง 12-15 เท่า
สภาพแวดล้อมยังไม่ทราบปัจจัยที่แน่นอน
พยาธิสรีรวิทยา
โรคนี้จะกระจัดกระจายอยู่ใน CNS มีการทาลายของ Myelin nerve axon sheaths และบางครั้ง axon ก็ถูกทาลายด้วย ทาให้การ ส่งกระแสประสาทขาดช่วงเป็นระยะๆ บริเวณที่เกิดการเปลี่ยนแปลง กระจายเป็นหย่อมๆ จะเกิดตาแหน่งไหนไม่แน่นอน ทาให้อาการแสดง ไม่แน่นอนด้วย
อาการและอาการแสดง
1.แขนขาอ่อนแรง เป็นอาการที่พบบ่อยที่สุด กล้ามเนื้อหดเกร็ง (spasticity) ของขา ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการอัมพาตท่อนล่าง รีเฟล็กซ์ไวกว่า ปกติ(hyperreflexia) มี Babinski’s sign ทั้ง 2 ข้าง
2.พูดตะกุกตะกัก(dysarthria)ลูกตากระตุก(nystagmus) อาการสั่น เมื่อตั้งใจ (intention termor)
การรับความรู้สึกผิดปกติรวมถึงอาการชาและอาการเสียวแปลบของ แขนขา ลาตัวหรือใบหน้า อาจมีอาการเหมือนถูกไฟฟ้าช็อต เมื่อผู้ป่วยก้มหน้า เรียกว่า “Lhermitte sign” ซึ่งเกิดจากรอยโรคที่ส่วนหลังของกระดูกไขสันหลัง ระดับคอ
กล้ามเนื้อใบหน้าส่วนครึ่งล่างอ่อนแรง มีการหดเกร็งของกล้ามเนื้อ ใบหน้าซีกใดซีกหนึ่ง ปวดประสาทใบหน้า(trigeminal neuralgia) อาการกลืน ลาบาก พบได้ในผู้ป่วยระยะก้าวหน้าของโรคเนื่องจากมีรอยโรคในซีรีเบลลัม
การเห็นผิดปกติ เห็นภาพซ้อน ภาพมัว หรือสายตาเสื่อมลง อาจเป็นได้ ทั้งข้างเดียวหรือ 2 ข้าง ลานสายตาผิดปกติ
ระบบการขับถ่ายเสียหน้าที่ การขับถ่ายอุจจาระ ปัสสาวะผิดปกติ เช่น การกลั้นปัสสาวะไม่ได้ ปัสสาวะกระปริบกระปรอย
ความผิดปกติทางด้านอารมณ์และจิตใจที่พบบ่อยได้แก่ อาการซึมเศร้า ความจาเสื่อม มีอาการทางจิตประสาท
การวินิจฉัยโรค
1.จากอาการเฉพาะที่ทางคลินิคที่ปรากฎให้ชัดเจน
การเจาะหลังพบ ระดับ grammar globulin ในน้าไขสันหลังมีค่า สูง รวมทั้งโปรตีนและเม็ดเลือด
CT scan จะพบการเปลี่ยนแปลง ฝ่อลีบ หรือเหี่ยว
การตรวจคลื่นสมอง อาจพบความผิดปกติได้
การรักษา
การให้ ACTH(adrenocorticotrophic hormone), Prednisolone, Dexamethasone เพื่อลดภาวะบวมของมัยอิลิน
การรักษาทางยา ส่วนใหญ่แพทย์จะให้ยาลดอาการกล้ามเนื้อกระตุก
ให้ยาลดสภาพของอารมณ์ที่ไมม่ั่นคงเช่นDiazepam
การทากายภาพบาบัด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เดินออกกาลังกายปกติ และการเดินออกกาลังกายในสระน้าเพื่อการบาบัด
การพยาบาล
ส่งเสริมและช่วยเหลือให้ผู้ป่วยมีการเคลื่อนไหว ออกกาลังกายและฝึกการใช้กล้ามเนื้อต่างๆ
ช่วยเอื้ออานวยให้ผู้ป่วยสามารถปรับตัวต่อภาวะเครียดที่เกิดขึ้นจากผลของโรค
ป้องกันปัญหาและภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ปัญหาที่พบบ่อย คือ ปัญหาการปัสสาวะไม่ออก ท้องผูก
ดูแลให้ผู้ป่วยพักผ่อนได้เต็มที่ ตลอดจนช่วยเหลือในด้านความสุขสบายต่างๆ เนื่องจาก ผู้ป่วยจะมีปัญหานอนไม่หลับ
ระมัดระวังอุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นเนื่องจากผู้ป่วยมีปัญหาการมองเห็นภาพซ้อน ตากระตุก พยาบาลควรจัดสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัย ยกไม้กั้นเตียงขึ้นเสมอ
GUILLAIN-BARRE SYNDROME (GBS)
สาเหตุ
สาเหตุของการเกิดยังไม่ทราบแน่นอน เชื่อว่าเกิดจากภูมิต้านทานของ ตนเองที่ร่างกายสร้างขึ้นภายหลัง มีการติดเชื้อโดยเฉพาะเชื้อไวรัส โดยมักพบกลุ่มอาการนี้ภายหลังมีการติดเชื้อในร่างกาย ได้แก่
การติดเชื้อของระบบทางเดินหายใจ
การติดเชื้อของระบบทางเดินอาหาร
คางทูม หัด อีสุกอีใส
ภายหลังการได้รับวัคซีนโรคไข้หวัดใหญ่
พยาธิสรีรวิทยา
การเกิดกลุ่มอาการ กิแลน เบอร์เร่ เชื่อว่าเกิดจากปฏิกิริยาการตอบสนอง ทางภูมิต้านทานที่ร่างกายสร้างขึ้นภายหลังมีการติดเชื้อ โดยเฉพาะการติดเชื้อ ไวรัส จะกระตุ้นปฏิกิริยาตอบสนองทางภูมิคุ้มกันแบบเฉพาะเจาะจงทั้งการสร้าง แอนติบอดี้ และทีลิมโฟไซล์มาทาลายเชื้อโรคที่เป็นสิ่งแปลกปลอม นอกจาก ทาลายเชื้อโรคแล้วยังมีผลทาลายปลอกหรือเยื่อหุ้มมัยอีลิน (myelin sheath) ที่อยู่รอบๆ เส้นประสาท เมื่อเยื่อหุ้มมัยอีลินถูกทาลายจะกระตุ้นให้มีการสะสม ของเม็ดเลือดขาวชนิดต่างๆ รวมทั้งทีลิมโฟไซล์ (T-lymphocyte) และ แมกโคร ฟาจในบริเวณนั้น ทาให้เกิดอาการบวมและอักเสบเฉียบพลันของเส้นประสารท เมื่อเยื่อหุ้มมัยอีลินบางส่วนถูกทาลาย จะทาให้ความสามารถในการส่งผ่าน สัญญาณประสาทบกพร่องหรือไม่สามารถส่งผ่านสัญญาณประสาทไปยัง กล้ามเนื้อที่ใช้ในการเคลื่อนไหวได้ ส่งผลทาให้เกิดอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อ
อาการและอาการแสดง
อาการทางด้านประสาทรับความรู้สึก จะปรากฎหลังจากมีการติดเชื้อ 1-3 สัปดาห์ ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการชาเหน็บ (Tingling) และเจ็บโดยเฉพาะปลายแขนขา หลังจากนั้น 1-4 วัน จะมีอาการปวด และกดเจ็บของกล้ามเนื้อ แล้วจึงมีอาการ อ่อนแรงตามมา
อาการของกล้ามเนื้ออ่อนแรง มักจะเกิดอาการอ่อนแรง ตามหลังอาการชา มักเริ่มด้วยขา อ่อนแรง เดินลาบาก อาการอ่อนแรงจะลุกลามอย่างรวดเร็ว จะเริ่ม จากขา ลุกลามขึ้นมาที่แขนและลาตัว เมื่อมีการลุกลามไปยังกล้ามเนื้อที่ช่วยใน การหายใจ มักจะทาให้เกิดปัญหาการหายใจล้มเหลว
อาการลุกลามของประสาทสมองโดยเฉพาะประสาทสมองคู่ท่ี7 คู่ที่9 พบว่ามีความผิดปกติร้อยละ 75 ของผู้ป่วย ส่วนประสาทสมองคู่ท่ี 10 พบ ร้อยละ 50 ทาให้ผู้ป่วยมีปัญหาในการกลืน พูด หายใจ มีอัมพาตของหน้า
อาการลุกลามของประสาทอัตโนมัติ จะพบมีความผิดปกติ ระบบประสาทซิมพาเททิค ทาให้ความดันโลหิตสูง หัวใจเต้นเร็ว
ผิดปกติ เหงื่อออกมาก ทาหน้าที่น้อยไป ทาให้ความดันโลหิตต่าเมื่อเปลื่ยนท่า
ระบบประสาทพาราซิมพาเททิค ทาหน้าท่ีมากไป ทาให้หัวใจเต้นช้ากว่า ปกติ หน้าแดง ตัวอุ่น ทาหน้าที่น้อยไป ทาให้หัวใจเต้นเร็วกว่าปกติ ระบบ กล้ามเน้ือหูรูดทางานผิดปกติ
การดาเนินโรค แบ่งเป็น 3 ระยะ คือ
1.ระยะเฉียบพลัน(Acute phase) เป็นช่วงที่อาการดาเนินจนถึง
จุดรุนแรง ใช้เวลานานประมาณ 1-3 สัปดาห์ อาการแสดงที่สาคัญ
คือ กล้ามเนื้ออ่อนแรงมาก อาจจะถึงเป็นอัมพาตอย่างสมบูรณ์ และการ หายใจล้มเหลว ต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ
ระยะอาการคงที่ (Static phase) เป็นระยะที่ความเสื่อมคงที่
ร่างกายไม่มีอาการเปลี่ยนแปลงอาการอ่อนแรงของกล้ามเนื้อจะไม่ดีขึ้น
แต่ไม่เลวลง อาการเจ็บปวดและอาการชาจะเริ่มลดลง ใช้เวลาตั้งแต่ 2-3 วัน จนถึง 2-3 สัปดาห์
ระยะฟื้นตัว(Recovery phase)
การวินิจฉัยโรค
การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย จะพบอาการอ่อนแรงอย่างมาก รีเฟล็กซ์จะลดลง อัมพาต
แขนขาทั้งสองข้าง พูดไม่ชัด กลั้นอุจจาระปัสสาวะไม่ได้ และหายใจขัด
การตรวจทางห้องปฏิบัติการและอื่นๆ
3.1 การเจาะหลังพบโปรตีนในน้าไขสันหลังเพิ่มขึ้นความดันน้าไขสัน หลังสูงขึ้น
3.2 การตรวจการนาไฟฟ้าของกล้ามเนื้อ (EMG: Electromyogram) พบความเร็วของการนาสัญญาณประสาทลดลงเหลือน้อยกว่าร้อยละ 60 มีความแรงต่า และอาจมีลักษณะสั่นพลิ้ว
3.3 การตรวจการนาไฟฟ้าของเส้นประสาท (NCV: nerve conduction velocity) การตรวจนี้จะทาควบคู่ไปกับ EMG ซึ่งจะตรวจการนา สัญญาณของเส้นประสาท
การรักษา
การรักษาโดยทั่วไปเน้นการรักษาตามอาการและป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่ อาจจะเกิดขึ้น เช่น ภาวะการหายใจล้มเหลว การติดเชื้อ การรักษาโดยทั่วไป มีดังนี้
การช่วยหายใจในผู้ป่วยที่มีภาวะการหายใจล้มเหลว ผู้ป่วยควรได้รับ การใส่ท่อหลอดลมและเครื่องช่วยหายใจ เมื่อมีค่าความดันของออกซิเจนในเลือด แดง (PaO2 ) น้อยกว่า 60 มม. ปรอท
การให้ยากลุ่มสตีรอยด์ ในแง่ของการต้านขบวนการอักเสบ ช่วยลดการ อ่อนแรงของกล้ามเนื้อได้
การเปลี่ยนถ่ายพลาสม่า (plasmapheresis) ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง การช่วยเหลือในระหว่าง1-2 สัปดาห์แรกที่เป็นโรคจะช่วยให้อาการดีขึ้นโดยดึง แอนติบอดี อิมมูโนกลอบูลิน ไฟบริโนเจน และสารโปรตีนอื่นๆออก และให้ fresh frozen plasma หรือ albumin ทดแทนจะช่วยทาให้อาการดีขึ้น
ปัจจัยที่ทำให้ผลการรักษาโรคไม่ดี
อายุมากกว่า 40 ปี
ประวัติอุจจาระร่วงก่อนป่วย 3. ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ
anti - GM1 สูง
กล้ามเนื้อแขน ขาอ่อนแรง
MYASTENIA GRAVIS
หมายถึง ภาวะผิดปกติที่ตาแหน่งรอยต่อระหว่างเส้นใยประสาท และใยกล้ามเนื้อ( neuromuscular junction) ส่งผลกระทบต่อการส่ง กระแสประสาทในร่างกาย
สาเหตุ
-เกิดจากความผิดปกติของการทางานของกล้ามเนื้อ (โดยที่ กระแสประสาทไม่สามารถส่งทอดไปสั่งการให้กล้ามเนื้อทางานได้) ส่วนสาเหตุของความผิดปกติดังกล่าวยังไม่เป็นที่ทราบกันแน่ชัด
-เชื่อว่ามีความสัมพันธ์กับออโตอิมมูน (autoimmune)หรือ ภูมิต้านทานที่เกิดกับอวัยวะของตัวเอง
-อาจพบร่วมกับคนที่มีต่อมไทมัส (thymus gland) โต
พยาธิสรีรวิทยา
ไมแอสทีเนียเกรวิสเป็นความผิดปกติที่ระบบภูมิคุ้มกันของ ร่างกายที่เกี่ยวข้องกับต่อมไทมัส สร้างแอนติบอดี้มาทาลายตาแหน่ง รับสารสื่อประสาท (acetylcholine receptor: AchR) ตรงรอยต่อ ระหว่างเส้นใยประสาทและกล้ามเนื้อ (neuromuscular junction) ทาให้มีระดับสารสื่อประสาท acetylcholine ลดลง
อาการและอาการแสดง
ที่พบได้บ่อย คืออาการหนังตาตก (ptosis) ซึ่งมักเกิดเพียงข้างเดียว นอกจากนี้อาจมีอาการตาเข มองเห็นภาพไม่ชัด เห็นภาพซ้อน (diplopia)
ถ้าเป็นมากขึ้น อาจมีอาการพูดอ้อแอ้ กลืนลาบาก พูดเสียงขึ้นจมูก หรือ อาจมีอาการอ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ร่วมด้วย
ในรายที่เป็นมาก อาจมีอาการอ่อนแรงของแขนขาบางส่วนจนลุกขึ้นยืน หรือเดินไม่ได้ และถ้าเป็นรุนแรงก็อาจทาให้กล้ามเนื้อช่วยหายใจเป็นอัมพาต หยุดหายใจตายได้
Myasthenia crisis เกิดขึ้นเมื่อกล้ามเนื้ออ่อนแรงอย่างมาก
ทาให้เกิดอาการชาและอัมพาตทั้งแขน ขา ลาตัว หายใจตื้นๆ ปริมาตรอาการเข้าปอด(Tidal volume) และความจุปอดลดลง ผู้ป่วยจะกลืนลาบากนา ไปสู่การหยุดหายใจได้
การวินิจฉัยโรค
การอาศัยประวัติ
ตรวจร่างกาย อาการและอาการแสดง
ทดสอบโดยการฉีดนีโอสติกมีน(Neostigmine) 1.5 มิลลิกรัม เข้าใต้หนัง หรือฉีดเทนซิลอน(Tensilon) 10 มิลลิกรัม เข้าหลอด เลือดดา ซึ่งจะทาให้อาการดีขึ้นถ้าเป็นโรคนี้
นอกจากนี้จะมีการตรวจพิเศษอื่นๆ ได้แก่ CT-scan หรือ MRI
การรักษา
การรักษาที่นิยมใช้ คือ
การให้Anticholinesteraseได้แก่เมสตินอล(Mestinon) หรือ พรอสติกมิน (Prostigmin)
คอร์ติโคสตีรอยด์ เนื่องจากเชื่อว่า มายแอสทีเนียกราวิสเกิดจากความผิดปกติ ทางด้านอิมมูนจึงใช้ให้สเตียรอยด์เพื่อกดการสร้างอิมมนูที่ผิดปกติ
3.รายที่ตรวจพบว่ามีตอ่มไทมสัโตรว่มดว้ยอาจต้องผ่าตัดเอาตอ่มไทมสัออก (thymectomy)ซึ่งอาจจะช่วยให้อาการดขีึ้น
การเปลี่ยนพลาสม่า (plasmapheresis)