Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ปัญหาการจัดการศึกษาไทยกับการผลิตครู เพื่อพัฒนาท้องถิ่น, นายนพรัตน์…
ปัญหาการจัดการศึกษาไทยกับการผลิตครู
เพื่อพัฒนาท้องถิ่น
ปัญหาการจัดการศึกษาของประเทศไทย
ปัญหาการจัดการเรียนการสอน
การจัดการเรียนการสอนในชนบทขากดแคลนทั้งครูผู้สอน รวมถึงอุปกรณ์ทางการเรียนการสอน รวมถึงสื่อต่างๆ จึงทำให้คุณภาพการศึกษาของโรงเรียนในชนบทมีความแตกต่างกับโรงเรียนในเมือง
ปัญหานักเรียน
ขาดแคลนอุปกรณ์ทางการเรียน
โรงเรียนขนาดเล็กขาดทั้งอุปกรณ์ เทคโนโลยีเพื่อ
การศึกษา ทำให้ประสิทธิภาพในการเรียนการสอนลดลงข้อมูลจาก : สํานักวิชาการสํานักงานเลขาธิการสภา
ผู้แทนราษฎร
ผล PISA
16 ปีที่ผ่านมา คะแนน PISA ของไทยพบว่าเด็กที่ติดอันดับสูงสุดของไทย 10% ได้คะแนนเฉลี่ยเกือบ 550 คะแนน ในขณะที่เด็กที่อ่อนที่สุดได้คะแนนเฉลี่ย 350 คะแนน เท่ากับว่าเด็กไทยมีช่วงห่างกันเอง 200 คะแนน ซึ่งความต่างนี้ไม่ควรเกิดขึ้นในระบบการศึกษา เพราะถือว่าเป็นการแสดงให้เห็นว่า การศึกษาของประเทศไทยยังพัฒนาได้อย่างไม่ทั่วถึงนักเรียนทุกคนอย่างเท่าเทียมกันข้อมูลจาก : กลุ่มประชาสัมพันธ์ สำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงศึกษาธิการ
ปัญหาหลักสูตร
หลักสูตรการศึกษาที่ผ่านมาไม่เอื้ออำนวยต่อการพัฒนาคุณภาพ
การศึกษา หรือคุณภาพการเรียนรู้ของผู้เรียนนเท่าที่ควรเน้นใหผู้เรียนเรียนรู้แบบเดิมๆ ไม่ส่งเสริมให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเองหรอการเรียนรู้แบบผู้เรียนเป็นสำคัญจึงทําใหคุณภาพของไทยไม่สามารถแข่งขันได้
ปัญหาครู
ครูขาดแคลนในโณงเรียนขนาดเล็ก
การขาดแคลนครูที่มีความเชี่ยวชาญเฉพาะทาง และจำนวนครูไม่ครบชั้นเรียน เนื่องจากสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กำหนดสัดส่วนครู 1 คน ต่อนักเรียน 20 คน ซึ่งสัดส่วนดังกล่าวทำให้เกิดปัญหาในการจัดสรรครูแก่นักเรียนบางแห่งที่มีจำนวนนักเรียนน้อย จึงประสบปัญหาครูไม่ครบชั้นเรียน และครูไม่ครบทุกสาขารายวิชา ข้อมูลจาก : รายงานทีดีอาร์ไอแนวทางแก้ไขปัญหาโรงเรียนขนาดเล็ก, 2558
เนื่องจากความไม่คุ้นชินกับสิ่งแวดล้อมวัฒนธรรมและภาษา ในท้องถิ่นนั้นนั้นส่งผลให้โรงเรียนขนาดเล็กต้องแท็กให้ครูอย่างต่อเนื่อง
ปัญหาชุมชน
หลายชุมชนในประเทศไทยต่างมีอัตลัษณ์ของตนเองแต่ไม่ได้เผยแพร่ออกมาเนื่องจากขาดโอกาส ขาดความรู้รวมถึงไม่มีผู้ที่มีความรูไปให้
คำแนะนำหรือบอกในสิ่งที่ควรทำเพื่อให้อัตลักษณ์เหล่านั้นถูกเผยแพร่ออกไปเพื่อให้เกิดการท่องเที่ยวรวมถึงการสร้างรายได้ภายในชุมชน
การพัฒนาตนเองเพื่อให้บรรลุเป้าหมายหมายของการ
แก้ปัญหาต่างๆในการจัดการศึกษา
ด้านคุณลักษณะ
ทักษะด้านชีวิตและการทำงาน
ศึกษารูปแบบกิจกรรมการเรียนการสอนที่ส่งผลให้ผู้เรียนสามารถเกิดทักษะในการอยู่ร่วมกันในสังคมได้อย่างมีความสุข
ทักษะด้านการเรียนรู้และนวัตกรรม
ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้จิตวิทยาสำหรับผู้เรียนและบริบทเชิงพื้นที่ของชุมชนอยู่เสมอ
ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยี
พัฒนาความสามารถด้านสารสนเทศ สื่อ และเทคโนโลยีของตนเองเสมอ
พัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่มีความคิดและจิตใจที่ต้องการพัฒนาอยู่เสมอ เช่น อยากให้ศิษย์ได้ดี ครอบครัวศิษย์มีความสุข อยากเห็นโรงเรียนมีผลการประเมินระดับชาติเพิ่มขึ้น เป็นต้น
ด้านอัตลักษณ์เชิงพื้นที่และความสัมพันธ์กับชุมชน
พัฒนาตนเองให้เป็นบุคคลที่เป็นมิตร สามารถเข้าถึงได้ง่าย ทุกคนอยากเข้าใกล้ และพูดคุยด้วย
พัฒนาตนเองให้เป็นผู้ที่อยากรู้อยู่ตลอดเวลา โดยเฉพาะปัญหาและอัตลักษณ์ในชุมชน เพราะเมื่อประกอบวิชาชีพครูแล้วนั้น จะทำให้เราสามารถเข้าใจปัญหาและอัตลักษณ์ของชุมชนได้อย่างดี เพื่อให้สามารถเข้าไปช่วยเหลือ แก้ปัญหา รวมถึงส่งเสริมอัตลักษณ์ในชุมชน หรือท้องถิ่นได้อย่างตรงความต้อง หากเป็นครูในอนาคต
นายนพรัตน์ สวยฉลาด ชั้นปีที่ 4 รหัสนักศึกษา 59181550109
สาขาวิชาคอมพิวเตอร์ คณะครุศาสตร์