Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย ( Roy's Adaptation Theory ) - Coggle Diagram
ทฤษฎีการปรับตัวของรอย
( Roy's Adaptation Theory )
กระบวนทัศน์หลักเกี่ยวกับทฤษฎี
บุคคล
คนหรือมนุษย์ที่เป็นผู้รับบริการ
การปรับตัวของบุคคลกระทำเพื่อรักษาภาวะสมดุลของระบบ
ภาวะสุขภาพ
สภาวะและกระบวนการที่ทำให้บุคคลมีความมั่นคงสมบูรณ์
การที่บุคคลจะมีการปรับตัวได้ดีหรือไม่ดีนั้น
ขึ้นอยู่กับปัจจัย 2 ประการ คือ ระดับความรุนแรงของสิ่งเร้ากับระดับความสามารถในการปรับตัวของบุคคล
สิ่งแวดล้อม
ทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่รอบตัวบุคคลทั้งภายในและภายนอกมีผลกระทบต่อพัฒนาการและพฤติกรรมของบุคคล
รอยได้เรียกสิ่งแวดล้อมว่าเป็นสิ่งเร้า มีทั้งหมด 3 ประเภท คือ สิ่งเร้าตรง สิ่งเร้าร่วม สิ่งเร้าแฝง
การพยาบาล
เป็นการช่วยเหลือที่ให้กับบุคคล กลุ่มบุคคล ครอบครัว ชุมชน
มีเป้าหมายส่งเสริมให้มีการปรับตัวที่เหมาะสมของบุคคลและการจัดการสิ่งแวดล้อม
เพื่อบรรลุซึ่งการมีภาวะสุขภาพและคุณภาพชีวิต
มโนทัศน์หลักในทฤษฎีการปรับตัวของรอย
บุคคลเป็นระบบการปรับตัว ( Human as Adaptive System )
1.สิ่งนำเข้า ( Input )
สิ่งเร้าจากสิ่งแวดล้อมหรือจากตัวบุคคล และระดับการปรับตัวของบุคคล
อาจจะมีระดับยากหรือง่ายขึ้นอยู่กับสิ่งเร้าที่ผ่านเข้ามา
2.กระบวนการ ( Process )
เป็นกลไกที่ภายในตัวบุคคลที่มีการทำงานเป็นระบบและให้ผลลัพท์ออกมา
กลไกการควบคุม ( Regulator Mechanism )
เป็นกลไกการควบคุมที่เกิดขึ้นในระบบตามธรรมชาติ
กลไกการปรับตัวพื้นฐานของบุคคล
กลไกการรับรู้ (Cognator mechanism )
เป็นกลไกที่เกิดจากการเรียนรู้นั่นคือการทำงานของจิตและอารมณ์
4 กระบวนการ ได้แก่ การรับรู้ การเรียนรู้ การตัดสินใจและการแก้ปัญหา
กลไกการควบคุมและกลไกการรับรู้จะทำงานควบคู่กัน
ทำให้บุคคลแสดงพฤติกรรมการปรับตัวทั้งหมดออกมา 4 ด้าน คือ ด้านร่างกาย ด้านอัตมโนทัศน์ ด้านบทบาทหน้าที่ และการพึ่งพาระหว่างกัน
3.สิ่งนำออกหรือผลลัพธ์ ( Output )
ป็นผลของการปรับตัวของบุคคลที่จะสังเกตได้จากพฤติกรรมการปรับตัวทั้ง 4 ด้าน
การปรับตัวที่ดีจะทำให้สามารถบรรลุเป้าหมายของการดำรงชีวิตและพัฒนาการ
พฤติกรรมการปรับตัว ( Adaptive mode )
การปรับตัวด้านร่างกาย ( Physiological Mode )
เป็นวิธีการตอบสนองด้านร่างกายต่อสิ่งเร้าโดยสะท้อนให้เห็นการทำงานระดับเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ
การปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์ ( Self - concept Mode )
เป็นการปรับตัวเพื่อให้ได้มาซึ่งความมั่นคงทางด้านจิตใจ
เกิดจากการเรียนรู้และมีพัฒนาการอย่างต่อเนื่องและสามารถเปลี่ยนแปลงได้ตามบทบาท เวลาและสถานการณ์
อัตมโนทัศน์ด้านร่างกาย ( Physical self )
เป็นความรู้สึกและการรับรู้ของบุคคลที่มีต่อสภาพด้านร่างกายและสมรรถภาพในการทำหน้าที่ของอวัยวะต่างๆของตนเอง
ด้านรับรู้ความรู้สึกด้านร่างกาย ( Body sensation ) เป็นความรู้สึกเกี่ยวกับสภาวะและสมรรถภาพของร่างกาย
ด้านภาพลักษณ์ของตนเอง ( Body image ) เป็นความรู้สึกที่มีต่อขนาดรูปร่าง หน้าตา ท่าทางของตนเอง
อัตมโนทัศน์ส่วนบุคคล ( Personal self )
เป็นความคิด ความเชื่อ ความรู้สึกถึงคุณค่าของตนเอง หรืออุมคติ ความคาดหวังในชีวิต
อัตมโนทัศน์ด้านความมั่นคงในตนเอง ( Self - consistency )
อัตมโนทัศน์ด้านศีลธรรม จรรยา ( Moral ethical self )
อัตมโนทัศน์ด้านความคาดหวัง ( Self – ideal / expectancy)
การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่ ( Role function mode )
การปรับตัวด้านนี้เป็นการตอบสนองด้านสังคมของบุคคลเพื่อให้เกิดความมั่นคงทางสังคม
บทบาทปฐมภูมิ ( Primary role )
เป็นบทบาทที่มีติดตัว เกิดจากพัฒนาการช่วงชีวิต
บทบาทตติยภูมิ ( Tertiary role )
เป็นบทบาทชั่วคราวที่บุคคลมีอิสระที่จะเลือกเพื่อส่งเสริมให้บรรลุซึ่งเป้าหมายบางอย่างของชีวิต
บทบาททุติยภูมิ ( Secondary role)
เป็นบทบาทที่เกิดจากพัฒนาการทางด้านสังคมการเรียนรู้ ขึ้นอยู่กับงานที่ทำ
ถ้าไม่สามารถปรับตัวได้ก็จะเกิดความบกพร่องในการแสดงบทบาทหน้าที่ ได้ใน 4 ลักษณะ
การแสดงบทบาทไม่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริง ( Role distance )
เป็นภาวะที่บุคคลแสดงบทบาททั้งทางด้านกายและใจ แต่ไม่ตรงกับความรู้สึกที่แท้จริง
ความขัดแย้งในบทบาท ( Role conflict )
เป็นภาวะที่บุคคลไม่สามารถแสดง
บทบาทของตนเองได้อย่างเต็มที่ตามที่ควรจะเป็น
ไม่ประสบผลสำเร็จในบทบาทใหม่ที่บุคคลได้รับ ( Ineffective role transition )
เป็นพฤติกรรมที่มีการแสดงถึงความรู้สึกที่ไม่สามารถทำหน้าที่ตามบทบาทของตนเองได้
ความล้มเหลวในการแสดงบทบาท ( Role failure )
เป็นภาวะที่ไม่สามารถ
ปฏิบัติกิจกรรมได้ตามบทบาทหน้าที่ที่ควรจะทำ
การปรับตัวด้านการพึ่งพาระหว่างกัน (Interdependence)
สัมพันธภาพกับบุคคลใกล้ชิด ( Significant others ) เป็นบุคคลมีความสำคัญต่อตนเองมากที่สุด
สัมพันธภาพกับระบบสนับสนุน ( Supportive system ) เป็นบุคคลอื่นๆที่เกี่ยวข้องและพึ่งพาซึ่งกันและกัน
เป็นการตอบสนองความต้องการของบุคคลที่มีความต้องการสร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
สิ่งเร้า ( Stimuli )
สิ่งเร้าตรง (Focal stimuli )
สิ่งเร้าที่บุคคลเผชิญโดยตรงและมีความสำคัญมากที่สุดที่ทำให้บุคคลต้องปรับตัว
สิ่งเร้าร่วม ( Contexual stimuli )
สิ่งเร้าอื่น ๆ ที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม นอกเหนือจากสิ่งเร้าตรงและมีความเกี่ยวข้องกับการปรับตัวของบุคคลนั้น
สิ่งเร้าแฝง ( Residual stimuli )
สิ่งเร้าที่เป็นผลมาจากประสบการณ์ในอดีตซึ่งเกี่ยวกับทัศนคติ อุปนิสัยและบุคลิกภาพเดิม
สิ่งเร้าในกลุ่มนี้บางครั้งตัดสินยาก ว่ามีผลต่อการปรับตัวหรือไม่
ทฤษฎีการปรับตัวของรอยกับกระบวนการพยาบาล
ขั้นตอนที่ 1การประเมินสภาวะ ( Assessment )
ประเมินพฤติกรรมของผู้ป่วย (Assessment of behaviors)
ที่เป็นปฏิกริยาตอบสนองของผู้ป่วยต่อการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมหรือสิ่งเร้า
พฤติกรรมของผู้ป่วยอาจจะได้มาจากการสังเกต การสัมภาษณ์และการตรวจวัดอย่างมีระบบเมื่อได้ข้อมูลครบถ้วน
ประเมินองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการปรับตัว (Assessment of influencing factors)
ตามปกติสิ่งเร้าตรงจะเป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดของการเกิดปัญหาจึงมักมีเพียงสาเหตุเดียว ส่วนสิ่งเร้าร่วมและสิ่งเร้าแฝงมักมีหลายสาเหตุร่วมกัน
ขั้นตอนที่ 2การวินิจฉัยการพยาบาล ( Nursing diagnosis)
เป็นขั้นตอนย่อยที่ 3 ตามแนวคิดของรอย
โดยการระบุปัญหาหรือบ่งบอกปัญหาจากพฤติกรรมที่ประเมินได้ในขั้นตอนที่1และระบุสิ่งเร้าที่เป็นสาเหตุของปัญหา
เมื่อได้ปัญหาและสาเหตุแล้วจะสามารถให้การวินิจฉัยการพยาบาลได้
ทฤษฎีนี้ได้เสนอแนวทางซึ่งใช้เป็นเกณฑ์ในการพิจารณาลำดับความสำคัญของปัญหาไว้ดังนี้
2.ปัญหาซึ่งกระทบกระเทือนการเจริญเติบโตของบุคคล
3.ปัญหาซึ่งกระทบกระเทือนต่อบุคคลหรือกลุ่มชนที่เกิดขึ้นอย่างยืดเยื้อและต่อเนื่อง
1.ปัญหาซึ่งคุกคามชีวิตของบุคคล
4.ปัญหาซึ่งกระทบกระเทือนขีดความสามารถของบุคคลที่จะบรรลุผลสำเร็จ
ขั้นตอนที่ 3การวางแผนการพยาบาล ( Nursing plan )
ตามแนวคิดของรอยขั้นตอนนี้เป็นขั้นตอนที่ 4 คือการกำหนดเป้าหมายการพยาบาล (Goal setting)
พยาบาลจะกำหนดเป้าหมายการพยาบาลหลังจากที่ได้ระบุปัญหาและสาเหตุแล้ว
จุดมุ่งหมายของการพยาบาลคือการปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมไปสู่พฤติกรรมที่เหมาะสม
ส่วนพฤติกรรมที่เหมาะสมแล้วต้องคงไว้หรือส่งเสริมให้ดีขึ้น
ารตั้งเป้าหมายการพยาบาลนั้นอาจจะเป็นเป้าหมายระยะสั้นๆได้
ขั้นตอนที่ 4การปฏิบัติการพยาบาล ( Nursing Intervention )
ขั้นตอนการปฏิบัติการพยาบาลเป็นขั้นตอนที่ 5 ตามแนวคิดของรอย
เน้นจัดการกับสิ่งเร้า หรือสิ่งที่เป็นสาเหตุของการเกิดปัญหาการปรับตัว
โดยทั่วไปมักจะมุ่งปรับสิ่งเร้าตรงก่อนเนื่องจากเป็นสาเหตุสำคัญของการเกิดปัญหา
ขั้นต่อไปจึงพิจารณาปรับสิ่งเร้าร่วมหรือสิ่งเร้าแฝง และส่งเสริมการปรับตัวให้เหมาะสม
ขั้นตอนที่ 5การประเมินผล (Evaluation)
โดยดูว่าการพยาบาลที่ให้บรรลุเป้าหมายที่ต้องการหรือไม่
ถ้าผู้ป่วยยังคงมีปัญหาการปรับตัวอยู่ พยาบาลต้องประเมินตามขั้นตอนที่ 1.1 และ 1.2 ใหม่อีกครั้ง
เพื่อให้ได้ข้อมูลและ สิ่งเร้าเพิ่มเติม จนกระทั่งเป้าหมายการพยาบาลทุกอย่างบรรลุผลตามที่ตั้งไว้
สรุป
ทฤษฏีการปรับตัวของรอย ได้รับการพิสูจน์และยกย่องว่าเป็นทฤษฏีการพยาบาลที่ดีทฤษฎีหนึ่ง และมีการพัฒนาก้าวหน้าอย่างมาก
ช่วยให้เห็นลักษณะของวิชาชีพพยาบาล และทิศทางของการปฏิบัติการพยาบาล
จุดมุ่งหมายและกิจกรรมการพยาบาลที่เหมาะสม และท้ายที่สุดทฤษฎีการปรับตัวของรอย
ยังได้เน้นให้เห็นถึงคุณค่าของผู้ป่วย
ซึ่งเป็นผู้รับบริการที่พยาบาลควรให้ความสำคัญการส่งเสริมศักยภาพของผู้ป่วยนับว่าเป็นบริการจากพยาบาลที่มีคุณประโยชน์ต่อบุคคลในสังคม