Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม (OREM SELF - CARE DEFICIT THEORY) - Coggle…
ทฤษฎีการดูแลตนเองของโอเรม
(OREM SELF - CARE DEFICIT THEORY)
สาระของทฤษฎี
ทฤษฎีการดูแลตนเอง (Theory of self-care)
การดูแลตนเอง (self-care) เป็นกิจกรรมที่เกิดขึ้นโดยความสมัครใจ เป็นการกระทำอย่างจงใจ และเรียนรู้ได้จากการมีปฏิสัมพันธ์และการสื่อสารกับบุคคลอื่นโดยมีเป้าหมายเพื่อความสมบูรณ์ในโครงสร้างและหน้าที่การทำงานของร่างกาย รวมทั้งพัฒนาการของมนุษย์
ทฤษฎีความพร่องในการดูแลตนเอง (Theory of self-care deficit)
บุคคลสามารถได้รับประโยชน์จากการพยาบาลเมื่อมีข้อจำกัดด้านสุขภาพที่ทำให้บุคคลผู้นั้นไม่สามารถดูแลตนเองหรือให้การดูแลบุคคลที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบได้อย่างต่อเนื่อง หรือคุณภาพการดูแลนั้นไม่มีประสิทธิภาพหรือปริมาณไม่เพียงพอที่จะตอบสนองความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด (Therapeutic self-care demand)
ทฤษฎีระบบการพยาบาล (Theory of nursing system)
แนวคิดหลักของทฤษฎีนี้คือการกระทำทั้งหมดที่ประกอบเป็นระบบการพยาบาล (Nursing systems) เกิดขึ้นเพื่อให้บริการแก่กลุ่มบุคคลที่มีข้อจำกัดในการดูแลตนเองโดยใช้ความสามารถทางการพยาบาล (nursing agency) ในการปฏิบัติกิจกรรมภายใต้ความสัมพันธ์และข้อตกลงระหว่างพยาบาลและบุคคลที่มีความเบี่ยงเบนทางสุขภาพเพื่อให้แน่ใจว่าความต้องการการดูแลตนเองได้รับการสนองตอบ
มโนทัศน์หลักของศาสตร์การพยาบาล
สุขภาพ
สุขภาพ เป็นภาวะที่มีความสมบูรณ์ของโครงสร้างการทำหน้าที่ของกายและจิต นอกจากนี้
โอเรม ยังกล่าวถึงความผาสุก (Well being) ซึ่งต่างจากสุขภาพว่า ความผาสุกเป็นการรับรู้ถึงภาวะของตนเอง มีลักษณะของความสุขทางจิตวิญญาณ โดยสามารถคงสภาพความเป็นบุคคลไว้ได้
บุคคล
โอเรม ใช้คำว่า Human being ในความหมายของบุคคล และอธิบายบุคคลว่าเป็นหน่วยเดียวของกายและจิต เป็นองค์รวมที่เป็นระบบเปิดและเป็นพลวัตร มีศักยภาพในการกระทำอย่างจงใจและมีเป้าหมาย มีความสามารถในการเรียนรู้เกี่ยวกับตนเองและสามารถวางแผนระบบระเบียบในการปฏิบัติกิจกรรมเพื่อการดูแลตนเองได้
สิ่งแวดล้อม
สิ่งแวดล้อมอาจมีผกระทบทั้งทางบวกและทางลบต่อชีวิต สุขภาพ ความผาสุก ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน สิ่งแวดล้อมของบุคคลแบ่งออกเป็น 4 ด้านที่มีความสัมพันธ์กัน คือ สิ่งแวดล้อมด้านกายภาพ เคมี ชีวภาพ และสังคม ซึ่งสามารถควบคุมได้
การพยาบาล
เป็นการกระทำที่มีเป้าหมายและจงใจเพื่อช่วยเหลือบุคคลที่ไม่สามารถดูแลตนเองหรือผู้ที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบอันเนื่องมาจากสุขภาพ ไม่ว่าเด็กหรือผู้ใหญ่ให้สามารถดูแลตนเองและบุคคลที่อยู่ภายใต้ความรับผิดชอบได้อย่างเพียงพอและต่อเนื่อง เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิต สุขภาพ การหายจากโรค
การปรับตัว
1)การปรับตัวด้านร่างกาย
(Physiologicalmode)
2) การปรับตัวด้านอัตมโนทัศน์
(Self-concept mode)
2.1) อัตมโนทัศน์ด้านร่างกาย(Physical self) การรับความรู้สึกของร่างกาย(Body sensation)
ภาพลักษณ์(Body image)
2.2) อัตมโนทศัน์ด้านส่วนบุคคล(Personal self)
ความมั่นคงในตนเอง(Self-consistency)
อุดมคติแห่งตน(Self-idea)
ศีลธรรม จรรยา และจิตวิญญาณแห่งตน
(Moral-ethical-spiritual self)
3) การปรับตัวด้านบทบาทหน้าที่
(Rolefunction mode)
3.1)บทบาทปฐมภูมิ (Primary role)
บทบาททุติยภูมิ (Secondary role)
บทบาทตติยภูมิ(Tertiary role)
3.2) ไม่สามารถปรับเปลี่ยนบทบาท การห่างในบทบาท
(Role distance)
ความขัดแย้งในบทบาท (Role conflict)
ความล้มเหลวในบทบาท(Role failure)
4)การปรับตัวด้านการพึ่งพาระหว่างกัน (Interdependent mode)
4.1)บุคคลที่มีความสำคัญ (Significantothers)
4.2) ระบบสนับสนุน (Support systems)
มโนมติหลักของทฤษฎี (Major concept)
ปัจจัยพื้นฐาน
(Basic conditioning factors)
เป็นปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการดูแลตนเอง และความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด ปัจจัยพื้นฐานประกอบด้วย อายุ เพศ ระยะพัฒนาการ ภาวะสุขภาพ สังคมวัฒนธรรม การศึกษา อาชีพ และประสบการณ์ชีวิต ระบบบริการสุขภาพ ระบบครอบครัว แบบแผนการดำเนินชีวิต สิ่งแวดล้อมและแหล่งประโยชน์
ความสามารถทางการพยาบาล
ระบบการพยาบาล (nursing system)
ความสามารถทางการพยาบาล เป็นความสามารถที่ได้จากการศึกษาและประสบการณ์ การปฏิบัติที่ซับซ้อนที่ช่วยให้พยาบาลสามารถวินิจฉัยและให้การพยาบาลแก่บุคคลที่มีความบกพร่องในการดูแลตนเอง
ระบบพยาบาล เป็นระบบของการกระทำที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลาตามความสามารถและความต้องการการดูแลตนเองของผู้ป่วยหรือผู้รับบริการ โอเรมแบ่งระบบการพยาบาลออกเป็น 3 ระบบ
2) ระบบทดแทนบางส่วน
(Partly compensatory nursing system)
3) ระบบสนับสนุนและให้ความรู้
(Educative supportive nursing system)
1) ระบบทดแทนทั้งหมด
(Wholly compensatory nursing system)
ความสามารถในการดูแลบุคคลที่ต้องพึ่งพา (Dependent care agency)
เป็นความสามารถที่จะปฏิบัติการดูแลบุคคลที่ต้องการการพึ่งพาได้แก่ ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีความเจ็บป่วยเรื้อรัง มีความพิการซึ่งต้องการการดูแลที่ซับซ้อน
ความสามารถในการดูแลตนเอง (self-care agency)
ความสามารถในการดูแลตนเองเป็นพฤติกรรมการเรียนรู้อย่างจงใจของบุคคลที่เปลี่ยนแปลงตามระยะพัฒนาการตั้งแต่วัยทารก จนถึงวัยชรา หรือเปลี่ยนแปลงไปตามภาวะสุขภาพและปัจจัยอื่นที่เกี่ยวข้องกับการเรียนรู้ โครงสร้างความสามารถในการดูแลตนเองมี 3 ระดับ
ความสามารถและคุณสมบัติขั้นพื้นฐาน (Foundational capabilities and disposition)
เป็นความสามารถของมนุษย์ขั้นพื้นฐานที่จำเป็นในการรับรู้และเกิดการกระทำ ซึ่งแบ่งออกเป็น ความสามารถที่จะรู้ (Knowing) ความสามารถที่จะกระทำ (Doing) และคุณสมบัติหรือปัจจัยที่มีผลต่อการแสวงหาเป้าหมายของการกระทำ
1.1 ความสามารถและทักษะในการเรียนรู้ ได้แก่ ความจำ
การอ่าน เขียน การใช้เหตุผลอธิบาย
1.2 หน้าที่ของประสาทรับความรู้สึกทั้งการสัมผัส มองเห็น ได้กลิ่นและรับรส
1.3 การรับรู้ในเหตุการณ์ต่างๆ ทั้งภายในและภายนอกตนเอง
1.4 การเห็นคุณค่าในตนเอง
1.5 นิสัยประจำตัว
1.6 ความตั้งใจและสนใจสิ่งต่างๆ
1.7 ความเข้าใจในตนเองตามสภาพที่เป็นจริง
1.8 ความห่วงใยในตนเอง
1.9 การยอมรับในตนเองตามสภาพความเป็นจริง
1.10 การจัดลำดับความสำคัญของการกระทำรู้จักเวลา
ในการกระทำ
1.11 ความสามารถที่จะจัดการเกี่ยวกับตนเอง
2.พลังความสามารถ 10 ประการ (Ten power component ) เป็นคุณลักษณะที่จำเป็นและเฉพาะเจาะจง สำหรับการกระทำอย่างจงใจเป็นตัวกลางเชื่อมการรับรู้และการกระทำ
2.1 ความสนใจและเอาใจใส่ในตนเองในฐานะที่ตนเป็นผู้รับผิดชอบ
2.2 ความสามารถที่จะควบคุมพลังงานทางด้านร่างกายของตนเองให้สามารถปฏิบัติกิจกรรม
2.3 ความสามารถที่จะควบคุมส่วนต่างๆ ของร่างกายเพื่อการเคลื่อนไหวที่จำเป็นเพื่อการดูแลตนเอง
2.4 ความสามารถที่จะใช้เหตุผล
2.5 มีแรงจูงใจที่จะกระทำในการดูแลตนเอง
2.6 มีทักษะในการตัดสินใจเกี่ยวกับการดูแลตนเองและปฏิบัติตามการตัดสินใจ
2.7 มีความสามารถในการเสาะแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการดูแลตนเองจากผู้ที่เหมาะสมและสามารถนำความรู้ไปใช้ได้
2.8 มีทักษะในการใช้กระบวนการทางความคิดและสติปัญญา การรับรู้ การจัดกระทำ
2.9 มีความสามารถในการจัดระบบการดูแลตนเอง
2.10 มีความสามารถที่จะปฏิบัติการดูแลตนเองอย่างต่อเนื่องและสอดแทรกการดูแลตนเองเข้าเป็นส่วนหนึ่งในแบบแผนการดำเนินชีวิต
ความสามารถในการปฏิบัติเพื่อดูแลตนเอง (Capabilities for self – care operations)
3.1 ความสามารถในการคาดคะเน เป็นความสามารถที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับข้อมูลความหมายและความจำเป็นของการกระทำ รู้ปัจจัยภายในภายนอกที่สำคัญ เพื่อประเมินสถานการณ์
3.2 ความสามารถในการปรับเปลี่ยน เป็นความสามารถในการตัดสินใจเกี่ยวกับสิ่งที่ตนสามารถและควรกระทำ เพื่อตอบสนองความต้องการและความจำเป็นในการดูแลตนเอง
3.3 ความสามารถในการลงมือปฏิบัติ เป็นความสามารถในการทำกิจกรรมต่างๆรวมถึงการเตรียมการเพื่อการดูแลตนเอง
ความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด (therapeutic self-care demand)
กิจกรรมการดูแลตนเองทั้งหมดที่จำเป็นต้องกระทำในระยะเวลาหนึ่งเพื่อตอบสนองความต้องการการดูแลตนเองที่จำเป็นเพื่อส่งเสริมสุขภาพ สวัสดิภาพ ตลอดจนความคงทนของโครงสร้างและหน้าที่ของบุคคล การดูแลตนเองที่จำเป็นประกอบด้วย
การดูแลตนเองที่จำเป็นตามระยะพัฒนาการ
(Developmental self-care requisites) เป็นการดูแลตนเองที่เกิดขึ้นจากกระบวนการพัฒนาการของชีวิตมนุษย์ในระยะต่างๆ
การดูแลตนเองที่จำเป็นในภาวะเบี่ยงเบนด้านสุขภาพ (Health deviation self-care requisites) เป็นการดูแลเองเมื่อมีความพิการ หรือความเจ็บป่วย การดูแลตนเองในภาวะนี้มี 6 อย่าง
3.1 แสวงหาและคงไว้ซึ่งความช่วยเหลือจากบุคคลที่เชื่อถือได้ เช่น บุคลากรสุขภาพ
3.2 รับรู้ สนใจ และดูแลผลของพยาธิสภาพรวมทั้งผลที่กระทบต่อพัฒนาการ
3.3 ปฏิบัติตามแผนการรักษา การวินิจฉัย การฟื้นฟูสภาพและการป้องกันโรค
3.4 รับรู้และสนใจที่จะคอยปรับและป้องกันความไม่สุขสบายจากผลข้างเคียงของการรักษา
3.5 ดัดแปลงอัตมโนทัศน์และภาพลักษณ์ในการที่จะยอมรับภาวะสุขภาพของตนเอง
3.6 เรียนรู้ที่จะมีชีวิตอยู่กับผลของพยาธิสภาพ หรือผลของการวินิจฉัย
การดูแลตนเองที่จำเป็นโดยทั่วไป (Universal self-care requitsits)
1.1 การคงไว้ซึ่งอากาศ น้ำ และอาหารที่เพียงพอ
1.2 การคงไว้ซึ่งการขับถ่ายและการระบายให้เป็นไปตามปกติ
1.3 การคงไว้ซึ่งความสมดุลระหว่างการมีกิจกรรมและการพักผ่อน
1.4 การคงไว้ซึ่งความสมดุลยระหว่างการอยู่คนเดียวกับการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น
1.5 การป้องกันอันตรายต่อชีวิต หน้าที และสวัสดิภาพ
1.6 การส่งเสริมการทำหน้าที่และพัฒนาการให้ถึงขีดสูงสุดภายใต้ระบบสังคมลและความสามารถของตนเอง
ความพร่องในการดูแลตนเอง (self-care deficit)
เป็นภาวะไม่สมดุลระหว่างความสามารถในการดูแลตนเองกับความต้องการการดูแลตนเองทั้งหมด ความพร่องในการดูแลตนเองจำแนกออกเป็นความพร่องในการดูแลตนเองอย่างสมบูรณ์คือไม่สามารถดูแลตนเองได้เลย และความพร่องในการดูแลตนเองบางส่วน คือภาวะที่บุคคลมีข้อจำกัดในการดูแลตนเองบางส่วน
การดูแลตนเอง (self-care)
เป็นการปฏิบัติกิจกรรมที่บุคคลริเริ่มและกระทำอย่างมีเป้าหมาย เป็นกิจกรรมที่สามารถเรียนรู้ได้จากการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลในสังคมเพื่อ ดำรงรักษาชีวิต สุขภาพ และความผาสุกในชีวิต
การดูแลตนเองอย่างมีประสิทธิภาพจะส่งเสริมให้มีโครงสร้าง
การกระทำอย่างจงใจและมีเป้าหมาย (Deliberate action) เป็น
กระบวนการกระทำด้วยความตั้งใจและเจตนาที่จะให้บรรลุผลหรือเป้าหมายตามที่ต้องการประกอบด้วย 2 ระยะ
1) ระยะการพิจารณาตัดสินซึ่งจะนำไปสู่การกระทำ เป็นระยะการพินิจพิเคราะห์เพื่อให้เข้าใจสถานการณ์ที่เกิดขึ้นกับตนเองและสถานการณ์สิ่งแวดล้อมพิจารณาผลลัพธ์ของการกระทำและตัดสินใจว่าจะกระทำหรือไม่กระทำ
2) ระยะการกระทำและผลของการกระทำ โดยเริ่มจากการตัดสินว่าจะทำอะไร วางแผนอย่างไร จากนั้นลงมือกระทำ จนสิ้นสุดการกระทำและผลการกระทำที่บรรลุเป้าหมายหรือไม่บรรลุเป้าหมาย