Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาของมารดา ในระยะหลังคลอด, นางสาวจิราภรณ์…
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาของมารดา
ในระยะหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงของระบบอวัยวะสืบพันธุ์
มดลูก (Uterus)
มดลูกที่มีการยืดขยายมากขณะตั้งครรภ์ และจะลดขนาดลงในทันที
ที่เด็กและรกคลอดแล้ว มดลูกจะมีน้ำหนักประมาณ 1,000 กรัม
กว้าง 12 เซนติเมตร ยาว 5 เซนติเมตร หนา 8 – 10 เซนติเมตร
ระดับของมดลูกจะอยู่ที่ระดับสะดือหรือต่ำกว่าเล็กน้อย แต่ภายหลัง 24 ชั่วโมงไปแล้ว
ระดับของมดลูกจะลอยสูงขึ้นมาอยู่เหนือสะดือเล็กน้อยและอาจเอียงไปทางขวา
เนื่องจากกล้ามเนื้อต่างๆ เริ่มมีความตึงตัวขึ้น มดลูกจะลดขนาดลงสู่อุ้งเชิงกรานเร็วมากประมาณวันละ 1⁄2 -1 นิ้ว โดยมดลูกจะลดทั้งน้ำหนักและขนาดเพื่อกลับคืนสู่สภาพปกติ
การลดระดับของมดลูกจำนวนของเซลล์กล้ามเนื้อมดลูกไม่มีการเปลี่ยนแปลง
แต่ขนาดของเซลล์จะลดลงประมาณ 90 เปอร์เซ็นต์ ของการคืนสู่สภาพปกติของมดลูก กล้ามเนื้อมดลูกจะกลับเข้าสู่สภาพเดิมภายใน 2–3 สัปดาห์ หลังคลอด
อาการปวดมดลูก (Afterpain)
อาการปวดมดลูกมีสาเหตุจากการหดรัดตัวและคลายตัวของกล้ามเนื้อมดลูก
ประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ เกิดในหญิงครรภ์หลัง ส่วนในครรภ์แรกปกติจะไม่มีอาการปวดมดลูก
เนื่องจากกล้ามเนื้อมดลูกยังมีความตึงตัวสูง ยกเว้นว่าจะมีการยืดขยายของมดลูกมาก
เช่น ครรภ์แฝดหรือครรภ์แฝดน้ำ เด็กตัวโต
อาการปวดมดลูกอาจรุนแรงเมื่อมารดาให้บุตรดูดนม เพราะการดูดนมจะกระตุ้น Posterior pituitary gland หลั่งฮอร์โมน Oxytocin ไปกระตุ้นมดลูกให้หดรัดตัว
ระยะเวลาที่เกิดอาการปวดมดลูกปกติจะไม่เกิน 72 ชั่วโมง
ถ้าอาการปวดมดลูกมีนานเกิน 72 ชั่วโมง หรืออาการเจ็บปวดรุนแรง
อาจเกิดจากมีเศษรกค้างหรือมีก้อนเลือดค้างอยู่
การเปลี่ยนแปลงของเยื่อบุโพรงมดลูก
และบริเวณรกเกาะ
หลังจากรกและเยื่อหุ้มเด็กคลอดแล้วจะเกิดรอยแผลที่บริเวณรกลอกตัว
มีขนาดประมาณ 8 X 9 เซนติเมตร การหายของแผลเกิดจากเยื่อบุมดลูก
(Endometrial tissue) เจริญขึ้นมาแทนที่ Decidua basalis ซึ่งยังคงอยู่ในมดลูก
หลังจากรกและเยื่อหุ้มเด็กแยกออกไปแล้วในระยะ 2 – 3 วันหลังคลอด
Decidua ที่เหลืออยู่ในโพรงมดลูกจะแบ่งตัวเป็น 2 ชั้น คือ
ชั้นผิวใน (Superficial layer) จะหลุดออกมาเป็นส่วนของน้ำคาวปลา ส่วนชั้นใน (Functional layer) ซึ่งอยู่ติดกับเนื้อมดลูก มีต่อมเยื่อบุโพรงมดลูก Connective tissue จำนวนเล็กน้อยจะงอกขึ้นมาใหม่
น้ำคาวปลา (Lochia)
Lochia rubra
น้ำคาวปลาที่ออกมาในระยะ 2 – 3 วันแรกหลังคลอด เนื่องจาก
ในระยะนี้แผลภายในโพรงมดลูกยังใหม่อยู่การซ่อมแซมยังเกิดขึ้นน้อย
สิ่งที่ขับออกมามีลักษณะสีแดงคล้ำและข้น ประกอบด้วยเลือดเป็นส่วนใหญ่ น้ำคร่ำ เศษเยื่อหุ้มเด็ก เยื่อบุมดลูก ไข ขนของเด็ก
และขี้เทาของทารกที่ค้างอยู่ในโพรงมดลูก
Lochia serosa
มีประมาณวันที่ 4 – 9 ลักษณะน้ำคาวปลาสีจะจางลงเป็นสีชมพูจนถึงสีน้ำตาลค่อนข้างเหลือง
มีมูกปนทำให้ลักษณะที่ออกมาเป็นเลือดจางๆ ยืดได้ เนื่องจากบริเวณแผลมีการเปลี่ยนแปลงมากขึ้น
มีเม็ดเลือดขาว มีน้ำเหลือง (Exudate) ที่ออกมาจากแผลซึ่งกำลังจะหาย ประกอบด้วยเลือด น้ำเหลืองจากแผลเม็ดเลือดขาว เศษเยื่อบุโพรงมดลูกที่สลายตัวแล้ว มูกจากปากมดลูก
Lochia alba
มีประมาณวันที่ 10 หลังคลอด น้ำคาวปลาจะค่อยๆ น้อยลงเป็นสีเหลืองจางๆ หรือสีขาว
ประกอบด้วยเม็ดเลือดขาว เยื่อบุโพรงมดลูกที่สลายตัวแล้ว
มูกจากปากมดลูกหรือน้ำเมือก และจุลินทรีย์เล็กๆ
การเปลี่ยนแปลงของปากมดลูก
ระยะหลังคลอดบริเวณจากปากช่องคลอดจนกระทั่งถึงมดลูกส่วนล่าง (Lower uterinesegment)
ยังคงบวมเป็นเวลาหลายวัน ส่วนของปากมดลูกที่ยื่นเข้าไปในช่องคลอดจะอ่อนนุ่ม
มีรอยช้ำ และมีรอยฉีกขาดเล็กๆ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย
ประมาณ 18 ชั่วโมงหลังคลอด ปากมดลูกจะสั้นลง แข็งขึ้น และกลับคืนสู่รูปเดิม
ประมาณ 2–3 วันหลังคลอด ปากมดลูกยังคงยืดขยายได้ง่ายอาจสอดนิ้วเข้าไปได้ 2 นิ้ว
ประมาณปลายสัปดาห์ที่ 1 จะกลับคืนเหมือนสภาพเดิมเกือบสมบูรณ์ แต่อย่างไรก็ตามปากมดลูกจะไม่คืนสู่สภาพเดิมเหมือนก่อนตั้งครรภ์
ฝีเย็บ (Perineum)
มารดาหลังคลอดจะมีอาการปวดบริเวณฝีเย็บ ฝีเย็บจะมีลักษณะบวม
และอาจมีเลือดออกใต้ผิวหนังจากการที่หลอดเลือดฝอยฉีกขาด
Labia minora และ labia majera เหี่ยวและอ่อนนุ่มมากขึ้น
หากมารดาหลังคลอดได้รับการทำความสะอาดบริเวณฝีเย็บ
และอบแผลด้วยแสง Infrared นาน 15- 20 นาที โดยตั้งไฟห่าง 1 – 2 ฟุต
ก็จะกระตุ้นให้การไหลเวียนเลือดดีขึ้นลดอาการปวดลงได้
มารดาหลังคลอดที่มีการยืดขยายของกล้ามเนื้อฝีเย็บ
แต่ช่องทางคลอดแคบเกินไป อาจทำให้เกิดการหย่อนสมรรถภาพ
ของกล้ามเนื้อบริเวณนี้ เกิดภาวะ Rectocele หรือ Cystocele ขึ้น
ส่วนมารดาที่ได้รับการตัดฝีเย็บและได้รับการเย็บซ่อมแซม
ฝีเย็บจะหายเป็นปกติภายใน 5 – 7 วัน
ผนังหน้าท้อง (Abdominal wall)
ผนังหน้าท้องจะอ่อนนุ่มและปวกเปียกในวันแรกๆ หลังคลอดกล้ามเนื้อ
หน้าท้องจะยังไม่สามารถพยุงอวัยวะภายในช่องท้องได้เต็มที่
เนื่องจากผนังหน้าท้องถูกยืดขยายเป็นเวลานานในระยะตั้งครรภ์
และ Elastic fiber ของผิวหนังอาจมีการฉีกขาดบางครั้ง
ถ้ามีการยืดขยายของกล้ามเนื้อหน้าท้องมากเกินไปจากเด็กตัวโต ครรภ์แฝดหรือแฝดน้ำ ทำให้มีการแยกของ Rectus muscle ตรงกึ่งกลางที่เรียกว่า Diastasis recti abdominis ซึ่งโดยปกติกล้ามเนื้อส่วนนี้จะถูกยืดขยายมากหลังจากเด็กเกิดแล้ว กล้ามเนื้อจะหดรัดตัวแต่ยังแยกออกจากกัน จึงต้องพยายามให้กลับสู่สภาพเดิมโดยการบริหารร่างกาย
การกลับคืนสู่สภาพเดิมของกล้ามเนื้อหน้าท้องต้องใช้
เวลาประมาณ 2 – 3 เดือน ขึ้นกับลักษณะรูปร่างของแต่ละคน จำนวนครั้งของการตั้งครรภ์ และการบริหารร่างกาย
สำหรับริ้วรอยบนผนังหน้าท้อง (Striae gravidarum)
ในระยะหลังคลอดจะไม่หายไป แต่สีจะจางลงเป็นสีเงิน
การมีประจำเดือน
มารดาที่ไม่ได้เลี้ยงทารกด้วยนมตนเองจะมีการตกไข่ครั้งแรก
เมื่อสัปดาห์ที่ 10 – 11 หลังคลอด และเริ่มมีประจำเดือน
เมื่อสัปดาห์ที่ 7 – 9 หลังคลอด
มารดาที่เลี้ยงทารกด้วยนมตนเองนาน 3 เดือน จะมีการตกไข่ครั้งแรก
เมื่อสัปดาห์ที่ 17 หลังคลอดถ้าเลี้ยงด้วยนมตนเองนาน 6 เดือน
จะมีการตกไข่เมื่อสัปดาห์ที่ 28 หลังคลอด และจะเริ่มมีประจำเดือน
เมื่อสัปดาห์ที่ 30 –36 หลังคลอด
เต้านม
หัวน้ำนม (colostrum)
จะเริ่มผลิตใน 2 – 3 วันแรกหลังคลอด มีสีเหลืองข้น ซึ่งเกิดจากสารเบตาแคโรทีน
ที่สามารถเปลี่ยนแปลงไปเป็นวิตามินเอได้ หัวน้ำนมจะมีโปรตีน วิตามินที่ละลายในไขมัน เกลือแร่ ซึ่งรวมถึงสังกะสี โซเดียมโพแทสเซียมและคลอไรด์มากกว่านมแม่ในระยะหลัง
น้ำนมระยะปรับเปลี่ยน (transitional milk)
เป็นน้ำนมที่ออกมาในช่วงระหว่างหัวน้ำนมจนเป็นน้ำนมแม่ ซึ่งระยะปรับเปลี่ยน
จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 7 – 10 หลังคลอด ไปจนถึง 2 สัปดาห์หลังคลอด
ปริมาณของอิมมูโนโกลบูลิน โปรตีน และวิตามินที่ละลายในไขมันจะลดต่ำลง
ส่วนปริมาณของน้ำตาลแลคโทส ไขมัน วิตามินที่ละลายในน้ำ และพลังงานรวมจะเพิ่มขึ้น
น้ำนมแม่ (true milk หรือ mature milk)
จะเริ่มประมาณ 2 สัปดาห์หลังคลอดไปแล้ว มีส่วนประกอบของน้ำมากถึงร้อยละ 87 โดยร่างกายจะนำไปใช้ในกระบวนการเผาผลาญต่างๆ
ซึ่งหลังจากผ่านการย่อยแล้วของเสียที่มาจากนมแม่
จะต้องขับถ่ายทางไต (renalsolute load)
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่อมไร้ท่อ
ฮอร์โมนของรก (Placental hormone)
หลังคลอดระดับฮอร์โมนจากรกในพลาสมาจะลดลง
อย่างรวดเร็วภายใน 24 ชั่วโมง จะตรวจหาระดับ
ฮอร์โมน Human Chorionic Somatomammotropin (HCS) ไม่ได้
ประมาณปลายสัปดาห์แรกหลังคลอดระดับของ
ฮอร์โมน Human Chorionic Gonadotropin (HCG)
จะลดลง ถ้าทดสอบการตั้งครรภ์จากปัสสาวะจะได้ผลลบ
ภายใน 3 ชั่วโมงหลังคลอด ระดับเอสโตรเจนในพลาสมา
จะลดลงประมาณร้อยละ 10 ของค่าในระยะตั้งครรภ์
ระดับเอสโตรเจนจะลดลงต่ำสุดตรวจไม่พบในปัสสาวะประมาณวันที่ 4 หลังคลอด
ประมาณ 19 – 20 วันหลังคลอด ในมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมตนเอง
ระดับเอสโตรเจนอาจกลับเข้าสู่ระดับปกติค่อนข้างช้า
ประมาณวันที่ 3 หลังคลอดหลัง จากสัปดาห์แรกของการคลอด
จะไม่สามารถตรวจพบโปรเจสเตอโรนในซีรัมได้ และจะเริ่มมี
การผลิตโปรเจสเตอโรนอีกครั้งเมื่อมีการตกไข่ครั้งแรกหลังคลอด
ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (Pituitary hormone)
ระยะหลังคลอดมารดาที่ไม่เลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมตนเอง
ระดับโพรแลคทินจะลดลงจนเท่ากับระดับก่อนตั้งครรภ์ภายใน 2 สัปดาห์
การให้บุตรดูดนมจะทำให้ความเข้มข้นของโพรแลคทินเพิ่มขึ้น ระดับของโพรแลคทินในซีรัมจะสูงมากน้อยแค่ไหน
ขึ้นกับจำนวนครั้งที่ให้บุตรดูดนมในแต่ละวัน
ค่าของโพรแลคทินจะอยู่ในระดับปกติประมาณเดือนที่ 6 ถ้าให้บุตร
ดูดนมเพียง 1 – 3 ครั้งต่อวัน และระดับโพรแลคทินจะยังคงสูงกว่า 1 ปี ถ้าให้นมบุตรดูดนมสม่ำเสมอมากกว่า 6 ครั้งต่อวัน
ระดับของ Follicular Stimulating Hormon (FSH)
และ LuteinizingHormone (LH) จะต่ำมาก
ในวันที่ 10 – 12 หลังคลอด
ฮอร์โมนเกี่ยวกับการเจริญเติบโต (Growth hormone)
อยู่ในระดับต่ำตั้งแต่ระยะตั้งครรภ์ตอนท้ายๆ ไปจนถึง 1 สัปดาห์หลังคลอด
ประกอบกับการลดลงอย่างรวดเร็วของฮอร์โมน Human Placental Lactogen (HPL) ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฮอร์โมนคอร์ติชอล เอนไซม์จากรก และน้ำย่อย Insulinase
การเปลี่ยนแปลงของระบบหัวใจและหลอดเลือด
ระบบเลือด
ปริมาณเลือด (Blood volume) จะลดลงทันทีจากการสูญเสียเลือดภายหลังคลอด โดยปริมาณเลือดจะลดลงจากระดับ 5 – 6 ลิตร ในระยะก่อนคลอด
จนถึงระดับ 4 ลิตรเท่าคนปกติใน 4 สัปดาห์
การไหลเวียนเลือดใน 2–3 วันแรกหลังคลอด จะเพิ่มขึ้นประมาณ 15–30 เปอร์เซ็นต์ จากการไหลกลับของเลือด
ใน 3 วันแรกหลังคลอดค่า Hematocrit อาจสูงขึ้นเล็กน้อย เนื่องจากมีการ
ลดระดับของปริมาณน้ำเหลือง (Plasma) มากกว่าจำนวนของเม็ดเลือด
และจะลดลงสู่สภาพปกติเหมือนก่อนคลอดภายใน 4 – 5 สัปดาห์หลังคลอด
เม็ดเลือดขาวอาจสูงขึ้นถึง 20,000 – 25,000 เซลล์ต่อมิลลิตร
สารที่เป็นองค์ประกอบในการแข็งตัวของเลือด
(Clotting Factor) ยังคงมีค่าสูงอยู่ และจะลดลง
สู่ระดับปกติใน 2 – 3 สัปดาห์หลังคลอด
ความดันเลือดและชีพจร
ในระยะคลอดอาจมีค่าความดันโลหิตต่ำได้จากการเสียเลือดมากกว่าปกติ จนทำให้ปริมาณเลือดน้อยเกินไป (Hypovolemia)
จากการมีการขยายตัวของหลอดเลือด
จากอิทธิพลของฮอร์โมนเอสโตรเจน
มีการลดลงของ ความดันในช่องท้อง เป็นเหตุให้เลือดไปรวมตัวบริเวณอวัยวะในช่องท้อง (Splanchnic engorgement)
จากการเสียเลือดปกติแต่ต้องใช้เวลานาน 2 – 3 ชั่วโมง เพื่อปรับปริมาณเลือดในร่างกายให้อยู่ในภาวะสมดุล
การเปลี่ยนแปลงของปริมาณเลือดมีผลให้ชีพจร
ในช่วงสัปดาห์แรกหลังคลอดต่ำกว่าค่าเฉลี่ยปกติคือ
ประมาณ 50 – 70 ครั้งต่อนาที
การที่อัตราการเต้นของชีพจรลดลงเป็นผลจากภายหลังคลอดรกแล้วเลือด
ที่เคยไปเลี้ยงรกจะไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ขณะเดียวกันหญิงระยะหลังคลอด
ก็จะถ่ายปัสสาวะมากขึ้น (Postpartum diuresis) ทำให้ปริมาณเลือด
และความดันโลหิตต่ำลง เป็นผลให้อัตราการเต้นของชีพจรค่อยๆ เพิ่มขึ้น
จนกระทั่งเข้าสู่ระดับปกติภายใน 7 – 10 วันหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงของระบบหายใจ
ขนาดของช่องท้องและช่องทรวงอกที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว
ในระยะหลังคลอด ทำให้ความจุภายในช่องท้องและกะบังลมลดลง
ปอดขยายได้ดีขึ้น การหายใจสะดวกขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ
ท่อปัสสาวะและกระเพาะปัสสาวะ
กระเพาะปัสสาวะจะบวม และมักมีอาการบวม
และช้ำรอบๆ รูเปิดของท่อปัสสาวะ
ความตึงตัวของกล้ามเนื้อกระเพาะปัสสาวะลดลง ทำให้มีความจุมากขึ้น แต่ความไวต่อแรงกดจะลดลง
การทำงานของไต (Renal function)
Glucosuria ที่เกิดขึ้นในระยะตั้งครรภ์จะหายไป
Creatinine clearance จะเป็นปกติ
ในปลายสัปดาห์แรกหลังคลอด
Blood urea nitrogen จะเพิ่มขึ้นในระยะหลังคลอด เนื่องจากมีการแตกตัวของใยกล้ามเนื้อมดลูก
อาจพบ Lactosuria ในมารดาที่เลี้ยงบุตรด้วยน้ำนมตนเอง
ในระยะตั้งครรภ์อัตราของ Renal plasma flow และ
Glumerular filtration จะเพิ่มขึ้นประมาณ 25 – 50 เปอร์เซ็นต์
และในสัปดาห์แรกหลังคลอดยังคงสูงอยู่
ภายใน 12 ชั่วโมงหลังคลอด มารดาจะเริ่มถ่ายปัสสาวะมาก
ปัสสาวะที่ออกจากร่างกายรวมกับน้ำที่สูญเสียทางเหงื่อจะทำให้น้ำหนัก
ของมารดาลดลงในระยะแรกหลังคลอดประมาณ 2 – 2.5 กิโลกรัม
หลังจากนั้นน้ำหนักจะลดลงอีกเนื่องจากมีการขับน้ำและอิเล็คโทรไลต์ที่สะสม
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินอาหาร
ในระยะ 2 – 3 วันแรก มารดามักมีความอยากอาหารและดื่มน้ำมาก
เพราะสูญเสียน้ำระหว่างคลอดและหลังคลอดระยะแรก
หลังคลอดมารดามีแนวโน้มที่จะท้องผูก
จากการที่สูญเสียแรงดันภายในช่องท้องทันที
กล้ามเนื้อหน้าท้องหย่อนตัว
มีการเคลื่อนไหวของลำไส้ช้า
ระบบกล้ามเนื้อและโครงกระดูก
กล้ามเนื้อ
ช่วง 1 – 2 วันแรก หญิงระยะหลังคลอด
มีอาการเมื่อยและปวดกล้ามเนื้อ
โดยเฉพาะบริเวณแขน ขา ไหล่ และคอ
ต้องออกแรงเบ่งขณะคลอดและหลังคลอดรก
ฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนลดต่ำลง
ทำให้ความตึงตัวของกล้ามเนื้อเริ่มลดลง
กล้ามเนื้อหน้าท้องจะนุ่มหยุ่นไม่แข็งแรง
และจะหนาขึ้นบริเวณกลางท้อง
โครงกระดูก
ในช่วงตั้งครรภ์ฮอร์โมน relaxin ทำให้บริเวณข้อต่อต่างๆ ของร่างกายมีการยืดขยาย มีการเคลื่อนไหวของข้อต่อมากเกินไป และมีการเปลี่ยนจุดศูนย์ถ่วงของร่างกายจากมดลูกที่โตขึ้น เป็นผลให้กระดูกสันหลังแอ่นและกระดูกเชิงกรานรับน้ำหนักมากขึ้น
หลังคลอด 2 – 3 วันแรก ระดับฮอร์โมน relaxin ค่อยๆ ลดลง
แต่หญิงระยะหลังคลอดยังคงเจ็บปวดบริเวณสะโพกและข้อต่อ ซึ่งจะขัดขวางการเริ่มเคลื่อนไหว (Ambulation)
และการบริหารร่างกาย
บริเวณข้อต่อจะแข็งแรงมั่นคงจนเข้าสู่สภาพปกติต้องใช้เวลาประมาณ 6 – 8 สัปดาห์หลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงของระบบผิวหนังและอุณหภูมิ
ระบบผิวหนัง
ฝ้าบริเวณใบหน้า (Chloasma gravidarum) จะหายไป แต่สีที่เข้มของลานนม เส้นกลางหน้าท้อง (Linea nigra) และรอยแตกของผิวหนังบริเวณ
ผนังหน้าท้อง (Striae gravidarum) จะไม่หายไปแต่สีอาจจางลง
อาการผิดปกติของหลอดเลือด เช่น อาการร้อนแดงที่ฝ่ามือ (Palmar erythuma) และก้อนเนื้องอกที่เหงือกจะลดลง เนื่องจากเอสโตรเจนลดลงอย่างรวดเร็วในระยะหลังคลอด
หลังคลอดร่างกายจะขับน้ำออกทางผิวหนังจำนวนมาก (Diaphoresis) มารดาหลังคลอดจึงมีเหงื่อออกมา
อุณหภูมิ
Milk Fever
เกิดจากนมคัด (Breast engorement) จะพบในวันที่ 3 – 4 หลังคลอด
อุณหภูมิจะสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส และจะหายใน 24 ชั่วโมง
หรือเมื่อลดการคัดตึงของเต้านม
Reactionary Fever
เกิดจากการขาดน้ำ เสียพลังงานในการคลอด หรือได้รับการชอกช้ำ (Trauma)
ในขณะคลอดจะมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของร่างกายสูงขึ้นเล็กน้อย
โดยประมาณ 37.8 องศาเซลเซียส แต่ไม่เกิน 38 องศาเซลเซียส
แล้วจะลดลงสู่ปกติใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด
Febile Fever
เกิดจากการติดเชื้อในระบบใดระบบหนึ่งของร่างกายมารดา เช่น
การอักเสบที่เยื่อบุโพรงมดลูก เต้านมอักเสบ การติดเชื้อระบบทางเดินปัสสาวะ
หรือในระบบอื่นๆ อุณหภูมิจะสูงกว่า 38 องศาเซลเซียส ติดต่อกัน 2 วัน
หรือมากกว่า (ไม่นับ 24 ชั่วโมงแรกหลังคลอด)
การเปลี่ยนแปลงทางด้านสรีรวิทยาและจิตสังคมของมารดาในระยะหลังคลอด
การเปลี่ยนแปลงด้านจิตสังคมของมารดา
ในระยะหลังคลอด
Taking – in phase
ระยะเริ่มเข้าสู่บทบาทการเป็นมารดา เป็นระยะ 1 – 3 วันแรกหลังคลอด
ร่างกายมีความอ่อนล้า ไม่สุขสบายจากการปวดมดลูก เจ็บปวดแผลฝีเย็บ
และคัดตึงเต้านม บางรายอาจปวดร้าวกล้ามเนื้อบริเวณสะโพกและฝีเย็บ
จนกระทั่งเดินไม่ได้ ในช่วงวันแรกช่วยเหลือตนเองได้น้อย
จึงต้องการพึ่งพาผู้อื่นทั้งด้านร่างกายและจิตใจ
บทบาทของพยาบาล
ตอบสนองความต้องการของมารดาหลังคลอดทางด้านร่างกาย
ในเรื่องการรับประทานอาหาร การพักผ่อน การรักษาความสะอาด
ของร่างกาย การขับถ่าย การทำกิจกรรมต่างๆ ลดภาวะไม่สุขสบายต่างๆ
รวมทั้งควรประคับประคองทางด้านจิตใจ
ให้การพยาบาลด้วยท่าทีที่อบอุ่น เห็นอกเห็นใจ เข้าใจความรู้สึกด้วยความจริงใจ เพื่อให้มารดาหลังคลอดมีความรู้สึกว่ามีผู้สนใจ เอาใจใส่ตนเอง เกิดความอบอุ่นใจ
เปิดโอกาสให้มารดาหลังคลอดได้ระบายความรู้สึกและรับฟังด้วยความสนใจ จะช่วยให้มารดาหลังคลอดสบายใจขึ้น
อธิบายให้สามีและญาติเข้าใจถึงความรู้สึกและการเปลี่ยนแปลง
ทางด้านอารมณ์ของมารดาหลังคลอด และสนับสนุนให้มารดาหลัง
คลอดได้พูดคุยกับสามี ญาติ รวมทั้งมารดาหลังคลอดรายอื่นๆ
เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและประสบการณ์ในการคลอด
สังเกตอาการผิดปกติทางด้านจิตใจที่อาจจะเกิดขึ้น
ให้ความสนใจทั้งคำพูดและพฤติกรรมที่แสดงออก
เพื่อประเมินสภาพจิตใจ และให้การพยาบาลช่วยเหลือแต่เนิ่นๆ
ก่อนที่อาการทางจิตจะรุนแรงมากขึ้น
Taking – hold phase
ระยะเข้าสวมบทบาทการเป็นมารดา ระยะนี้จะอยู่ในช่วง 3 – 10 วันหลังคลอด
มารดาหลังคลอดที่ได้รับการตอบสนองในช่วง Taking - in phase อย่างครบถ้วน
ก็จะเริ่มเปลี่ยนจากพฤติกรรมพึ่งพาเป็นสามารถช่วยเหลือตนเองได้มากยิ่งขึ้น
เริ่มสนใจที่จะเรียนรู้เกี่ยวกับการดูแลทารก สนใจบุคคลอื่นๆ ในครอบครัวเพิ่มขึ้น
บทบาทของพยาบาล
ต้องมีความอดทนในการสอนสาธิต แนะนำ และให้กำลังใจแก่มารดาหลังคลอด
ในการดูแลตนเองและทารกให้ถูกต้อง รวมทั้งการสอนและสาธิตให้สามีและญาติในการช่วยดูแลทารก
เพื่อให้มารดาหลังคลอดมีเวลาพักผ่อนมากขึ้น นอกจากนี้การแนะนำถึงแหล่งความรู้ต่างๆ
เช่น หนังสือ ตำรา และเอกสารต่างๆ ก็เป็นสิ่งสำคัญที่จะช่วยให้สตรีหลังคลอดและสมาชิกในครอบครัว
ได้ทบทวนความรู้ ก่อให้เกิดความมั่นใจในการปฏิบัติตัวหลังคลอดและการดูแลทารกมากขึ้น
สนับสนุนให้สามีพูดคุยให้กำลังใจ เพื่อช่วยให้มารดาหลังคลอดเกิดความมั่นใจ
และกระตือรือร้นที่จะปรับบทบาทของตนเองเข้าสู่การเป็นมารดา
และเป็นภรรยาที่ดีของทารกและสามีได้ด้วยดี
การแนะนำเรื่องการวางแผนครอบครัว เป็นสิ่งสำคัญยิ่งที่จะช่วยให้ครอบครัว
ได้จัดวางแผนดำเนินชีวิตในครอบครัว เพื่อป้องกันการเกิดปัญหา
ทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่อาจจะเกิดตามมา
Letting-go phase
ระยะที่แสดงบทบาทได้ดี เป็นช่วงต่อเนื่องจาก Taking-hold phase ระยะนี้เริ่มตั้งแต่
วันที่ 10 หลังคลอดเป็นต้นไป ซึ่งเป็นช่วงที่สตรีหลังคลอดและทารกลับมาอยู่ที่บ้าน
ผู้ติดตามดูแลให้คำแนะนำต่อเนื่องจากระยะที่อยู่โรงพยาบาล ต้องชี้แนะแนวทาง
ให้มารดาหลังคลอดและสามีได้ร่วมกันวางแผนการดำเนินชีวิตการปรับตัวเข้าสู่บทบาทใหม่ และการมีสมาชิกในครอบครัวเพิ่มขึ้น สมาชิกในครอบครัวแต่ละคนต่างก็ต้องมี
พฤติกรรมพึ่งพาอาศัยกัน (Interdependent behavior) ในระยะนี้มารดาหลังคลอด
เริ่มมีความต้องการที่จะพบหรือพูดคุยกับบุคคลภายนอก
บทบาทของพยาบาล
แนะนำให้มารดาหลังคลอด สามี และสมาชิกภายในครอบครัว
ปรับตัวและวางแผนการดำเนินชีวิต
ตามพัฒนกิจของครอบครัวได้อย่างเหมาะสม
ช่วยประสานความสัมพันธ์ของสมาชิกให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น
เห็นอกเห็นใจ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
โดยสนับสนุนให้สมาชิกในครอบครัวได้พูดคุยทำความเข้าใจกัน
การเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกัน
ภูมิคุ้มกันต่อปฏิกิริยาการไม่เข้ากันของหมู่เลือด (Blood - type incompatibilities)
ในช่วงที่เจ็บครรภ์และคลอด เป็นช่วงที่เสี่ยงต่อการส่งผ่านเลือดจากทารกไปสู่มารดา
ซึ่งจะมีความสำคัญมากในมารดาที่มี Rh- เพราะจะได้รับเซลล์จากทารกในครรภ์
ที่มี Rh+ ระบบภูมิคุ้มกันของมารดาจะสร้างแอนติบอดีเพื่อตอบสนองต่อแอนติเจน
ซึ่งถือเป็นสิ่งแปลกปลอมในร่างกาย โดยอาจทำให้เกิด
ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ครั้งต่อไป
พบว่าร้อยละ 20 ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีเลือดหมู่ O จะมีทารกที่มี
เลือดหมู่ A หมู่ B หรือหมู่ AB ซึ่งร้อยละ 5 ของทารกเหล่านี้
จะมีภาวะเลือดไม่เข้ากันจนทำให้เกิดเม็ดเลือดแดงแตกในระดับเล็กน้อย
จนถึงปานกลาง ทารกจะแสดงอาการตัวเหลืองภายใน 24 ชั่วโมงหลังคลอด และต้องได้รับการส่องไฟรักษา (Phototherapy)
นางสาวจิราภรณ์ โกสายา เลขที่ 17 ห้อง A
แหล่งที่มา : เพ็ชรัตน์ เตชาทวีวรรณ. (2558). การพยาบาลมารดาระยะหลังคลอด (ออนไลน์).
สืบค้นจาก :
http://www.elnurse.ssru.ac.th/petcharat_te/pluginfile.php/58/block_html/content/PP%2827122556%29.pdf?fbclid=IwAR3tQPGBZZcI2olmTXK61M1SfEua9yz9fgGnyk8rozHNil5uLyOADoKhyFo
(30 พฤษภาคม 2563)