Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่ 3 การเตรียมและการช่วยเหลือมารดาและทารกที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือ…
บทที่ 3 การเตรียมและการช่วยเหลือมารดาและทารกที่ได้รับการตรวจด้วยเครื่องมือพิเศษ**
Biochemical Assessment
การเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจ (Amniocentesis)
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
: :check:
การหาความผิดปกติทางโครโมโซม เช่น Down's syndrome
การค้นหาโรคที่ถ่ายทอดทางพันธุกรรม
การนำน้ำคร่ำมาวิเคราะห์ DNA หาระดับ alphafetoprotein (AFP) และ acetycholinesterase
ตรวจหาความสมบูรณ์ของปอด
ตรวจหาความสมบูรณ์ของปอด
1. จากการดูสีของน้ำคร่ำ มีเลือดปน ใสหรือขุ่น มีสีขี้เทาปนหรือไม่
2. การตรวจหาค่า L/S ratio (Lecithin/Sphingomyelin Ratio)
ค่าปกติของ L/S ratio
ใน 26 สัปดาห์แรกของการตั้งครรภ์ ค่า S>L
อายุครรภ์ 26-34 สัปดาห์ ค่า L/S = 1:1
อายุครรภ์ 34-36 สัปดาห์ ค่า L/S = 2:1
L/S ratio >2 แสดงว่าปอดทารกสมบูรณ์เต็มที่ไม่ค่อยเกิดภาวะ RDS
3. Shake test
วิธีที่ 1 ใช้หลอดทดลอง 2 หลอด แปลผล ถ้าเกิดฟองอากาศเกิดขึ้นและคงอยู่นาน 15 นาทรทั้ง 2 หลอด แสดงว่าได้ผลบวก มีโอกาสเกิด RDS น้อย
วิธ๊ที่ 2 ใช้หลอดทดลอง 5 หลอด แปลผล ถ้าฟองอากาศเกิดขึ้น 3 หลอดแรก แสดงว่า ได้ผลบวก ปอดทารกเจริญต็มที่
ช่วงเวลาในการเจาะน้ำคร่ำ
:check:
อายุครรภ์ที่เหมาะสม คือ 16-18 สัปดาห์
มีปริมาณน้ำคร่ำประมาณ 150-250 cc.
ภาวะแทรกซ้อน
:red_cross:
ถุงน้ำคร่ำรั่วหรือมีเลือดออกทางช่องคลอด
การติดเชื้อที่ถุงน้ำคร่ำ
ทารกบาดเจ็บจากการถูกเข็มเจาะ
การพยาบาล
:star:
ก่อนการเจาะน้ำค่ะส่งตรวจ
ให้คำปรักษาตามแนวทางการให้คำปรึกษาทางพันธุกรรม
ให้ผู้รับบริการตัดสินใจว่าจะรับการตรวจหรือไม่
นัดตรวจล่วงหน้า
ให้ข้อมูลเกี่ยวกับการตรวจและการแก้ปัญหา
ให้ลงนามในใบอนุญาตการยอมรับการตรวจ
เตรียมผู้รับบริการถ่ายปัสสาวะก่อนตรวจ
ทำความสะอาดหน้าท้องโดยใใช้น้ำยาฆ่าเชื้อ
ขณะเจาะน้ำคร่ำ
อยู่กับผู้รับบริการขณะแพทย์ทำหัตถการ
สังเกตอาการผิดปกติที่อาจพบได้ เช่น supine hypotension syndrome
ภายหลังการเจาะน้ำคร่ำส่งตรวจ
ให้นอนหงาย กดแผลด้วยก๊อซนานประมาณ 1 นาทีและปิดด้วยพลาสเตอร์
ดูแลให้นอนพักผ่อนประมาณ 30 นาที - 1 ชั่วโมง
ฟัง FHS ทุก 15 นาที จนครบ 1 ชั่วโมง
รับประทานยาแก้ปวดได้หากมีอาการปวดแผล
ไม่จำเป็นต้องทำความสะอาดแผล
หลีกเสี่ยงการกระทบกระเทือนที่หน้าท้อง 1-3 วัน
งดมีเพศสัมพันธ์ภายหลังการเจาะ 7 วัน
แนะนำให้หญิงตั้งครรภ์สังเกตอาการแทรกซ้อน เช่น ถุงน้ำคร่ำแตกรั่ว ปวดท้องเป็นพักๆและมีไข้
แปลผลผิดปกติ
ต้องการตั้งครรภ์ต่อไป ควรส่งเสริมการฝากครรภ์คุณภาพครบตามเกณฑ์
ต้องการสิ้นสุดการตั้งครรภ์ จะต้องผ่านกระบวนการทางกฎหมาย
การตรวจหาระดับ estriol
การตรวจหาระดับ estriol ในปัสสาวะ
estriol เป็นผลผลิตจากทารกและรก จึงเป็นดัชนีบอกถึงการมีชีวิตของทารกในครรภ์และการทำหน้าที่ของรกได้
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
: :check:
สตรีที่มีเบาหวานขณะตั้งครรภ์
สตรีที่เป็นความดันโลหิตสูง
อายุครรภ์เกินกำหนด
ประวัติทางสูติกรรมไม่ดี
:pencil2:
วิธีการตรวจ
:
เก็บปัสสาวะ 24 ชั่วโมง โดยเริ่มเมื่ออายุครรภ์ 28 สัปดาห์ และตรวจ 3 ครั้ง/สัปดาห์ จนครบกำหนด
:unlock:
การแปลผล
ใช้วิธีเปรียบเทียบกับค่าปกติตามอายุครรภ์
การตรวจหาระดับ estriol ใน plasma
:pencil2:
วิธีการตรวจ
การเก็บตัวอย่างเลือด 2 มิลลิลิตร โดยเจาะเลือดในเวลาเดียวกันทุกครั้ง
:unlock:
การแปลผล
ค่า unconjugated ใน plasma ที่สูง พบในสตรีตั้งครรภ์ที่เป็นเบาหวาน ครรภ์แฝด
ค่า unconjugated ใน plasma ที่ต่ำ พบในสตรีตั้งครรภ์ที่ทารกในครรภ์มีต่อมหมวกไตฝ่อ
การตรวจหา alpha-fetoprotien (maternal serum alpha-fetoprotien : MSAFP)
:red_flag: ตรวจเลือดมารดาเพื่อประเมินความพิการแต่กำเนิดและความผิดปกติทางโครโมโซมของทารก
ช่วงเวลาในการตรวจ
:check:
อายุครรภ์ 16-18 สัปดาห์
:unlock:
การแปลผล
ระดับ MSAFP สูงกว่าปกติพบในกรณีทารกมี open neural tube, Turner's syndrome
ระดับ MSAFP ต่ำกว่าปกติ สัมพันธ์กับ Down's syndrome
มารดาที่เคยมีบุตรผิดปกติหรือพิการแต่กำเนิดควรได้รับการตรวจ MSAFP ทุกราย
ถ้าพบระดับ MSAFP ผิดปกติ ควรตรวจซ้ำและทำ U/S เพื่อยืนยันอายุครรภ์ รวมทั้งแยกจากภาวะครรภ์แฝด หลังจากนั้นทำ amniocentesis ตรวจวิเคราะห์น้ำค่ำหาระดับ AFP ในน้ำคร่ำ
การเก็บเนื้อรกส่งตรวจ(Chorionic Villi sampling :CVS)
:red_flag: การนำเนื้อ chorion ที่ได้ไปตรวจทางโครโมโซมวิเคราะห์ DNA และตรวจดูเอนไซม์ต่างๆ
ช่วงเวลาในการตรวจ
:check:
ไตรมาสแรก ระหว่างอายุครรภ์ 8-11 สัปดาห์
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
: :check:
มารดาตั้งครรภ์ที่มีอายุมาก
การตรวจวินิจฉัยโรคธาลัสซีเมีย
การตวจดูความผิดปกติของฮีโมโกลบินในทารกก่อนคลอด
ภาวะแทรกซ้อน
:red_cross:
การแท้ง
การติดเชื้อ
ภาวะทารกพิการแต่กำเนิด Limb reduction defects
ถุงน้ำคร่ำแตก
การพยาบาล
:star:
อธิบายให้ทราบถึงวัตถุประสงค์ วิธีการทำ และการปฏิบัติตนภายหลังทำ
ไม่จำเป็นต้องให้กระเพาะปัสสาวะว่าง
ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์อยู่ในท่านอนขึ้นขาหยั่ง กรณีจะตรวจโดย transcervical route
วัดสัญญาณชีพ
จัดเตรียมอุปกรณ์ให้สะอาดปราศจากเชื้อ น้ำยาเพาะเลี้ยงเซลล์
ให้กำลังใจและอย่เป็นเพื่อนหญิงตั้งครรภ์
จัดเตรียมอุปกรณ์ใส่และช่วยแพทย์เก็บเนื้อรก
ภายหลังตรวจเสร็จ ดูแลให้หญิงตั้งครรภ์นอนพัก วัดสัญญาณชีพ
แนะนำให้งดทำงนหนักอย่างน้อย 1 วัน และงดมีเพศสัมพันธ์ภายใน 1-2 สัปดาห์
การเจาะเลือดจากสายสะดือ (Cordocentesis หรือ Fetal blood sampling : FBS)
:red_flag: การใช้เครื่องมือใส่ผ่านหน้าท้องมารดาและใช้เข็มเจาะเลือดจากสายสะดือทารกในครรภ์
ช่วงเวลาในการตรวจ
:check:
อายุครรภ์ 18 สัปดาห์ขึ้นไป
ภาวะแทรกซ้อน
:red_cross:
อาจมีลิ่มเลือดเกาะสายสะดือ
ภาวะหัวใจทารกเต้นช้า
การคลอดก่อนกำหนด
การปนเปื้อนของเลือดมารดาสู่ท่รก
ภาวะติดเชื้อ
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
: :check:
1) การวินิจฉัยโรคทารกก่อนคลอด
ตรวจความผิดปกติของเลือด
มารดาอายุมากที่มาฝากครรภ์ช้า
U/S สงสัยความผิดปปกติทางโครโมโซม
2) การประเมินทารกในครรภ์
ความผิดปกติทางโครโมโซมในทารก
ภาวะทารกบวมน้ำ
การติดเชื้อในครรภ์
ครรภ์แฝดน้ำ
การพยาบาล
:star:
การประเมินภาวะเลือดออกจากสาบสะดือจากการ U/S และ fetal monitoring 30-60 นาที ภายหลังการตรวจ
การฟังเสียงการเต้นของหัวใจทารก
การเฝ้าระวังภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น
ตรวจสอบการดิ้นของทารก
ประเมินสภาพทารกในครรภ์โดยใช้เครื่อง Electronic monitoring
Biophysical Assessment
การตรวจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Ultrasound)
ข้อบ่งชี้ในการตรวจ
:check:
วินิจฉัยอายุครรภ์ การกำหนดและยืนยันอายุครรภ์ที่แน่นอน
ติดตามการเจริญเติบโตของทารก
การตรวจวินิจฉัยความพิการแต่กำเนิดของทารก
การวินิจฉัยครรภ์แฝด
การตรวจวินิจฉัยสาเหตุการมีเลือดออกทางช่องคลอด
การวินิจฉัยเนื้องอกในอุ้งเชิงกราน
การตรวจตำแหน่งความผิดปกติและภาพของรก บอกตำแหน่งที่รกเกาะ
ใช้ศึกษาหลอดเลือดหลักของทารกเพื่อติดตามการเจริญเติบโต
ช่วงเวลาในการตรวจ
:check:
อายุครรภ์ 7-10 สัปดาห์ผิดพลาดไม่เกิน 5 วัน หากตรวจในระยะที่ 2 ของการตั้งครรภ์ (15-28 สัปดาห์) จะมีความคลาดเคลื่อนจากที่ประเมินไป 1 สัปดาห์
การพยาบาล :star:
ให้คำปรึกษา
งดน้ำงดอาหารในบางกรณี
ถ้าหญิงตั้งครรภ์อยู่ในไตรมาสที่ 1 ดูแลให้มี bladder full
เตรียมอุปกรณ์และสถานที่ตรวจ
เปิดผ้าคลุมเฉพาะหน้าท้อง อธิบายให้หญิงตั้งครรภ์ทราบถึงระยะเวลาในการตรวจจะใช้เวลา 10 - 30 นาที
ทำความสะอาดหน้าท้องหลังตรวจ
บันทึกผล
การตรวจ Biophysical profile (BPP)
:red_flag:การทำงานของร่างกายทารกบกพร่อง จะแสดงออกมาจากการตรวจต่าง ๆ โดยใช้ parameters จากการตรวจด้วย ultrasound 4 อย่างร่วมกับผลการตรวจ non-stress test รวมเป็น 5 parameters เป็นเกณฑ์ในการประเมิน
ระยะเวลาที่เหมาะสมในการทำ
:check:
อายุครรภ์ 28-30 สัปดาห์ขึ้นไป ทำ สัปดาห์ละ 1-2 ครั้ง หรือทำทุกวันขึ้นกับข้อบ่งชี้หรือความเสี่ยงในแต่ละราย
ข้อบ่งชี้ในตรวจ
:check:
ตรวจติดตามสุขภาพทารกในครรภ์ของหญิงตั้งครรภ์ที่มีความเสี่ยงสูง เช่น ความดันโลหิตสูงในขณะตั้งครรภ์ เบาหวาน ทารกโตช้าในครรภ์ เจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด หรือครรภ์เกินกำหนด
Parameters 5 อย่างที่นำมาประเมิน BPP
การแปลผลการตรวจ
คะแนน 8 – 10 คะแนน แปลผล ปกติ
คะแนน 4 – 6 คะแนน แปลผล ผิดปกติ ควรเฝ้าติดตามอาการเปลี่ยนแปลงอย่างใกล้ชิด
คะแนน 0 - 2 คะแนน แปลผล ผิดปกติ ควรยุติการตั้งครรภ์
ข้อดีของการทำ BPP
หญิงตั้งครรภ์ไม่ต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาล ค่าใช้จ่ายไม่สูงและไม่มีความเจ็บปวดขณะตรวจ การแปลผลผิดพลาดน้อย
ข้อจำกัดในการทำ BPP
ใช้ระยะเวลานานในการตรวจ
บทบาทพยาบบาล
:star:
มีความรู้ความเข้าใจวิธีการตรวจแก่หญิงตั้งครรภ์ เพื่อเป็นแนวทางในการข้อมูลแก่หญิงตั้งครรภ์
การขอความร่วมมือในการตรวจและผ่อนคลายความวิตกกังวลและความกลัวต่าง ๆ
การติดตามผลการตรวจเพื่อจะช่วยให้สามารถนำมาวางแผนการให้การพยาบาลอย่างเหมาะสม
การฉายรังสีเอ๊กซเรย์ (Radiography)
:red_flag:ใช้วินิจฉัยภาวะทารกตายในครรภ์ โดยจะพบอาการแสดง เช่น Spalding’s sign และ Deuel’s sign เป็นต้น
ข้อจำกัดในการฉายรังสัเอ๊กซเรย์
ทารกในครรภ์ต้องมีอายุ 20 สัปดาห์ขึ้นไป และถ้าทารกยังไม่ตายก็จะได้รับรังสีได้
บทบาทของพยาบาล
::star:
อธิบายให้ทราบถึงความจำเป็นและการปฏิบัติตัวระหว่างการตรวจ
-mเตรียมวางแผนการพยาบาลอย่างเหมาะสมกับหญิงตั้งครรภ์แต่ละราย เช่น ในกรณีทารกตายในครรภ์
การนับจำนวนการดิ้นของทารกในครรภ์ (Fetal movement count: FMC)
วิธีการนับลูกดิ้นและการบันทึกการเคลื่อนไหวของทารกที่นิยมใช้ ดังนี้
1) Daily Fetal Movement Record (DFMR) ของ Sadovaski, Yaffe, Wood และคณะ
2) The Cardiff “Count-to-ten chart” ของ Pearson
3) วิธีของ Liston
การตรวจสุขภาพทารกในครรภ์เครื่องมือพิเศษ โดย วิธี Electronic Fetal Monitoring
การวัดอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์ โดยใช้เครื่องรับสัญญาณ (tranducer) การเต้นของหัวใจทารกต่อนาที แล้วบันทึกลงใoกระดาษต่อเนื่อง โดยเปรียบเทียบกับการเคลื่อนไหวของทารก หรือการหดรัดตัวของมดลูก ซึ่งจะบันทึกลงในกระดาษแผ่นเดียวกัน
การตรวจ Electronic fetal heart rate monitoringในระยะก่อนคลอด แบ่งได้ 2 แบบ ดังนี้
Non Stress test (NST)
ตรวจการตอบสนองของอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์เมื่อทารกในครรภ์ดิ้นหรือเคลื่อนไหว จะตอบสนองโดยเพิ่มอัตราการเต้นของหัวใจทารกในครรภ์เรียกว่า Acceleration คือเพิ่มจาก baseline เท่ากับหรือมากกว่า 15 ครั้ง/นาที และคงอยู่นานเท่ากับหรือมากกว่า 15 วินาที
วิธีตรวจด้วย NST
ให้หญิงตั้งครรภ์นอนในท่า Semi-fowler หรือนอนตะแคง แล้วต่อเครื่อง External electronic fetal monitoring ให้หญิงตั้งครรภ์กดปุ่มเครื่องบันทึกทารกดิ้น ให้รอจนทารกเคลื่อนไหวอย่างน้อย 2 ครั้งใน 30 นาที
การแปลผล
Reactive
อัตราการเต้นของหัวใจ 110-160 ครั้ง/นาที
อัตราการเต้นของหัวใจทารกเพิ่มจาก baseline เท่ากับหรือมากกว่า 15 ครั้ง/นาที และคงอยู่นานเท่ากับหรือมากกว่า 15 วินาทีขึ้นไป
Non-reactive
การเพิ่มขึ้นของ FHR ไม่เป็นไปตามเกณฑ์หรือไม่มีการเพิ่มขึ้นของ FHR เลยในการตรวจนาน 40 นาที
Contraction stress test (CST) or Oxytocin challenge test (OCT)
การแปลผล
Negative ไม่มี late deceleration, base line variability ปกติ, อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้นหลังทารกดิ้นหรือมดลูกหดรัดตัว
Positive อัตราการเต้นของหัวใจไม่เพิ่ม เมื่อทารกดิ้นหรือมดลูกหดรัดตัว
ข้อห้ามในการทำ CST
เคยผ่าตัดคลอดชนิด Classical cesarean section
รกเกาะต่ำ
การตั้งครรภ์ที่เกรงว่าจะเกิดการเจ็บครรภ์คลอดก่อนกำหนด เช่น ครรภ์แฝด, ปากมดลูกไม่แข็งแรง, ถุงน้ำแตกก่อนกำหนด