Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทารกตายในครรภ์ (Dead fetus in utero) - Coggle Diagram
ทารกตายในครรภ์ (Dead fetus in utero)
การตายของทารกก่อนคลอด โดยไม่คำนึงถึงอายุครรภ์
Early fetal death ตายก่อน 20 สัปดาห์
Intermediate fetal death ตายระหว่าง 20-28 สัปดาห์
Late fetal death ตายตั้งแต่ 28 สัปดาห์ขึ้นไป
ทารกตายคลอด (Stillbirth) หรือ Death fetus in utero (DFU) หมายถึง ทารกเมื่อคลอดแล้วไม่มี
อาการแสดงของการมีชีวิต ได้แก่ ไม่มีการหายใจ ไม่มีการเต้นของหัวใจ ไม่มีการเคลื่อนไหว
สาเหตุที่ทำให้ทารกตายในครรภ์
โรคที่เกิดเนื่องจากการตั้งครรภ์ ได้แก่ preeclampsia หรือ eclampsia รกเกาะตํ่าและรกลอกตัว
2 .โรคที่เกิดร่วมกับการตั้งครรภ์ได้แก่ เบาหวาน ภาวะโลหิตจาง
โรคติดเชื้อ ได้แก่ มาลาเรีย ไทฟอยด์ ปอดบวม หัดเยอรมัน เริม และคางทูม
ภาวะผิดปกติของทารก ได้แก่ IUGR , hydrops fetalis , ความผิดปกติแต่กำเนิด
ความผิดปกติของโครโมโซม ที่พบบ่อยได้แก่ trisomy , Down’s syndrome
อาการและอาการแสดง
1.หญิงตั้งครรภ์ให้ประวัติว่าเด็กไม่ดิ้น มีเลือดหรือมีน้ำสีน้ำตาลออกทางช่อง น้ำหนัก ตัวลดลง เต้านม
ดัดตึงน้อยลง นุ่มและเล็กลง
2.ตรวจหน้าท้อง พบระดับมดลูกตํ่ากว่าอายุครรภ์และคลำตัวทารกพบว่าไม่รู้สึกว่า ทารกดิ้นมากระทบมือ ฟัง FHSไม่ได้
การวินิจฉัย
การซักประวัติ ซักประวัติได้ว่ารู้สึกทารกไม่ดิ้น ท้องเล็กลง น้ำหนักตัวไม่ขึ้น
การตรวจร่างกาย HF < GA , ฟัง FHS ไม่ได้, คลำพบกะโหลกศีรษะนิ่มกว่าปกต
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ โดย
Spalding’s sign แสดงว่ามีการเกยกันของกระดูกกะโหลกศีรษะเนื่องจากเนื้อสมองบางส่วนเหลวเละไป (liquefaction) สมองมีขนาดเล็กลง พบหลังทารกตาย 1 สัปดาห์
Deuel sign คือ มีการตั้งของของเหลวระหว่างชั้นไขมันของหนังศีรษะและ กะโหลกศีรษะ เป็นช่องว่างรอบ ๆ กระดูกกะโหลกศีรษะ เกิดขึ้นก่อนกระดูกกะโหลกจะซ้อนกัน
กระดูกสันหลังโค้งงอมากกว่าปกติหรือหักงอเป็นมุม เนื่องจากกล้ามเนื้อ พังผืดและเอ็นคลายตัว เกิดการเน่าเปื่อย ทำให้กระดูกสันหลังไม่สามารถคลำสภาพปกติไค้
แนวทางการรักษา
รอให้เจ็บครรภ์และคลอดเอง
การทำให้ครรภ์สิ้นสุดลง สามารถทำได้หลายวิธี กล่าวคือ
2.1 ให้oxytocin โดยให้syntocinon เข้มข้น เช่น 20 หน่วยใน 5 % in N/2 1000 ml. IV
drip
2.2 ฉีดนํ้ายาเข้มข้นเข้าถุงนํ้าครํ่าทางหน้าท้อง (amnioinfusion) นํ้ายาที่ใช้เป็น hypertonic
solution
ในรายที่มีภาวะเลือดไม่แข็งตัว การใช้heparin จะได้ผลดี แต่ต้องระวังและต้องรักษาร่วมกับแพทย์ผู้ชำนาญการรักษาโรคเลือด
การพยาบาล
ประเมินความเศร้าโศกของหญิงตั้งครรภ์และครอบครัวโดยซักถามความรู้สึก
1.1 ระยะปฏิเสธ (denial of death of fetus)
1.2 ระยะโกรธ (anger)
1.3 ระยะต่อรอง (bargaining)
1.4 ระยะซึมเศร้า (depression)
1.5 ระยะยอมรับ (acceptance)
2.ประเมินประสบการณ์ การแก้ปัญหา หรือการเผชิญปัญหาเมื่อเกิดการสูญเสีย
ประเมินระบบสนับสนุน ความเชื่อ ประเพณีวัฒนธรรม การปฏิบัติเกี่ยวกับ DFIU
ข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
มารดามีโอกาสได้รับอันตรายจากภาวะเลือดไม่แข็งตัวเนื่องจากทารกตายในครรภ
วัตถุประสงค์การพยาบาล : เพื่อป้องไม่ให้เกิดภาวะเลือดไม่แข็งตัว
เกณฑ์การประเมินผล
Clotting time อยู่ในช่วง 8 - 12 นาที
การตั้งครรภ์สิ้นสุดภายใน 4 สัปดาห์ หลังทารกตายในครรภ์
เสียเลือดในการคลอดไม่เกิน 500 ซีซ
กิจกรรมการพยาบาล
ประเมินการตรวจ Clotting time ตามแผนการรักษาของแพทย์เพื่อประเมินภาวะเลือดไม่
แข็งตัว
ดูแลมารดาให้ได้รับยากระตุ้นการหดรัดตัวของมดลูก เพื่อให้การตั้งครรภ์สิ้นสุดลง
ประเมินการสูญเสียเลือด ถ้าออกมากผิดปกติรีบรายงานแพทย์
นางสาวนลิตา ลือโสภา รหัสนักศึกษา 602701041