Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
บทที่1 แนวคิดและหลักการดูแลมารดาทารกที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาสุขภาพ -…
บทที่1 แนวคิดและหลักการดูแลมารดาทารกที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาสุขภาพ
มารดาที่มีภาวะเสี่ยงและปัญหาสุขภาพ
ความผิดปกติที่มีผลต่อการตั้งครรภ์
ผลต่อทารก
ทารกตายในครรภ์
น้ำหนักผิดปกติ
ผลต่อการตั้งครรภ์
การแท้งบุตร
การคลอดก่อนกำหนด
ผลต่อการคลอดและหลังคลอด
ภาวะตกเลือดในระยะคลอดและหลังคลอด
ภาวะการติดเชื้อหลังคลอด
การตั้งครรภ์ที่มีผลต่อภาวะผิดปกติ
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินปัสสาวะ เกิดการติดเชื้อของทางเดินปัสสาวะได้ง่าย
การเปลี่ยนแปลงของโลหิต เกิดภาวะซีดเพิ่มมากขึ้น
การเปลี่ยนแปลงของระบบต่อมไร้ท่อ กระบวนการเผาผลาญผิดปกติเกิดเบาหวานขณะตั้งครรภ์
การเปลี่ยนแปลงของระบบหมุนเวียนโลหิตและหัวใจ เกิดภาวะโลหิตจาง อ่อนเพลีย ติดเชื้อได้ง่าย และอาจเกิดภาวะหัวใจวายได้
การเปลี่ยนแปลงของระบบทางเดินหายใจ หายใจตื้นและรู้สึกลำบาก
กระบวนการพยาบาลในการดูแลมารดาทารกที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาสุขภาพ
การประเมินภาวะสุขภาพ (assessment)
การเก็บรวบรวมข้อมูล
การสังเกต
การสัมภาษณ์/การซักประวัติ
การตรวจร่างกาย
การตรวจทางห้องปฏิบัติการ
การจัดระบบข้อมูล ตามแบบแผนสุขภาพพฤติกรรมของคนทั้งด้านกาย จิต สังคม
การวิเคราะห์และการแปลผล นำข้อมูลมาวิเคราะห์แยกจัดกลุ่มเป็นหมวดหมู่เพื่อสนับสนุนให้เห็นถึงปัญหาของผู้รับบริการ
การวินิจฉัยการพยาบาล (nursing diagnosis)
ปัญหาสุขภาพในปัจจุบันหรือปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต
สาเหตุของปัญหา ด้านจิตใจ ด้านสิ่งแวดล้อม และด้านร่างกาย เป็นต้น
ข้อมูลสนับสนุน ซึ่งได้แก่ อาการและอาการแสดงต่างๆ
การวางแผนการพยาบาล (planning)
การจัดลำดับข้อวินิจฉัยทางการพยาบาล
การกำหนดเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์การพยาบาล
การกำหนดกิจกรรมการพยาบาล
การกำหนดเกณฑ์การประเมินผล
การปฏิบัติการพยาบาล (implementation)
การตรวจสอบแผนการพยาบาล
การประเมินภาวะสุขภาพซ้ำ โดยเน้นจุดสำคัญที่ปัญหา อารมณ์ สังคม พัฒนาการ และจิตวิญญาณ
การทบทวนและปรับแผนการ
การระบุสิ่งอำนวยความสะดวก ได้แก่ คน องค์ความรู้ ทักษะของผู้ปฏิบัติและอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ ซึ่งจะช่วยสนับสนุนให้การปฏิบัติการพยาบาลบรรลุจุดมุ่งหมาย
การปฏิบัติการพยาบาล
ทักษะทางสติปัญญา มีความรู้
ทักษะการสร้างมนุษย์สัมพันธ์ ให้ผู้รับบริการร่วมมือปฏิบัติการพยาบาลให้ได้ผลดี
เทคนิคการพยาบาล เพื่อให้ผู้รับบริการได้รับความสะดวกสบาย ปลอดภัยจากภาวะแทรกซ้อน และเป็นการประคับประคองทางด้านจิตสังคมและจิตวิญญาณ
การบันทึกการพยาบาล
เป็นหลักฐานแสดงว่าพยาบาลได้ให้การพยาบาลหรือปฏิบัติกิจกรรมใดแก่ผู้รับบริการรูปแบบของการบันทึกการพยาบาลควรเขียนอย่างชัดเจน กระทัดรัด สามารถสื่อสารให้เข้าใขได้ง่าย
การประเมินผลการพยาบาล (evaluation)
โดยการเปรียบเทียบกับเกณฑ์การประเมินผล
บทบาทพยาบาลในการดูแลมารดาทารกที่มีภาวะเสี่ยงและมีปัญหาสุขภาพ
ผู้ประเมินปัญหาและวางแผนการพยาบาล
ซักประวัติผู้รับบริการให้ครอบคลุม
เก็บข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับผู้รับบริการเพิ่มเติม โดยร่วมมือกับทีมดูแลรักษาสุขภาพ
วางแผนเพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยโดยร่วมมือกับแพทย์
วางแผนการพยาบาลที่ต่อเนื่องสำหรับผู้รับบริการทั้งที่โรงพยาบาลและเมื่อกลับบ้าน
บันทึกผลการตรวจร่างกายและซักประวัติ
รายงานและส่งต่อผู้รับบริการตามความเหมาะสม
ตรวจร่างกายเพื่อหาความบกพร่อง
ผู้ให้การดูแล
ป้องกันผู้รับบริการและทารกในครรภ์จากอันตรายทางด้านสรีรวิทยาที่อาจเกิดขึ้น จากผลของภาวะผิดปกติของการ
ดูแลช่วยเหลือผู้รับบริการและครอบครัวให้ปรับตัวต่อภาวะกดดันต่างๆ ที่เกิดขึ้นในระหว่างตั้งครรภ์
ผู้สอน
วางแผนการสอน
ให้การสอนเป็นกลุ่มหรือเป็นรายบุคคลตามความเหมาะสม
ประเมินความต้องการเรียนรู้ของผู้รับบริการและครอบครัว
ประเมินผลการสอน
ผู้ประสานงาน
การประสานงานในทีมสุขภาพ เป็นงานที่พยาบาลต้องรับผิดชอบและปฏิบัติให้สำเร็จเพื่อบรรลุเป้าหมายของทีมสุขภาพ
ผู้เปลี่ยนแปลง
เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้รับบริการให้มีคุณภาพ และสามารถปรับตัวต่อภาวะวิกฤตได้และมีความสุข
บริหารจัดการ
ให้ผู้รับบริการได้รับการรักษาครบถ้วนตามแผน รายงานอาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ก่อนและภายหลังการรักษาพยาบาล
นิเทศและประเมินผลการปฏิบัติการพยาบาลที่ให้แก่ผู้รับบริการ
การวางแผนและร่วมมือในการให้การศึกษาอบรมแก่บุคลากร
ร่วมให้การพยาบาลแก่ผู้รับบริการ เพื่อสังเกตให้ความอบอุ่นใจ หรือเพื่อนิเทศสอนแนะนำบุคลากรให้ปฏิบัติได้ถูกต้อง
ส่งเสริมให้มีการฟื้นฟูสภาพ
ตรวจเยี่ยมเพื่อประเมินสภาพร่างกายและจิตใจ ความก้าวหน้าของการรักษาพยาบาลและสิ่งแวดล้อมต่างๆ รอบตัวผู้รับบริการ
มอบหมายงานแก่บุคลากรตามความสามารถ
ผู้ให้คำปรึกษา
เพื่อช่วยให้ผู้รับบริการใช้กระบวนการแก้ปัญหาเพื่อที่จะรับรู้และจัดการกับภาวะเครียด สามารถปรับตัวให้เกิดสัมพันธภาพที่ดีระหว่างผู้รับบริการ ครอบครัว และทีมสุขภาพ
ผู้วิจัย
ให้การพยาบาลอย่างมีระบบและเก็บรวบรวมข้อมูลต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิธีการพยาบาลใหม่ๆ ที่ทดลองปฏิบัติกับผู้รับบริการ
เขียนคำสั่งการพยาบาลเป็นหลักฐานและเก็บไว้ใช้ประโยชน์เป็นข้อมูลเพื่อการวิจัย
กระทำหรือร่วมมือในการทำวิจัยทางคลินิก
ศึกษางานวิจัยต่างๆ และนำมาใช้ประกอบในการกำหนดมาตรฐานการพยาบาลเพื่อพัฒนาคุณภาพการพยาบาล
นำผลการวิจัยมาใช้ปรับปรุงงาน