Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) - Coggle Diagram
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)
เป็นทฤษฎีของ ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud : 1856-1939) นักประสาทวิทยาชาวออสเตรีย
ฟรอยด์มีความเชื่อว่าระดับจิตใจของมนุษย์มีความแตกต่างกันในแต่ละขั้น
การแสดงออกต่างๆที่เกิดขึ้นเป็นแรงกระตุ้นโดยตรงจากจิตสำนึก ความขัดแย้ง แรงจูงใจรวมไปถึงความขับข้องใจ
ระดับของจิตใจ (Lever of mind)
ฟรอยด์เปรียบเทียบจิตของคนเป็นเหมือนก้อนน้ำแข็งที่ลอยอยู่ในน้ำ แบ่งออกเป็น 3 ระดับ
ระดับจิตสำนึก (Conscious level)
เป็นระดับของจิตใจที่มนุษย์รู้สึกตัวและตระหนักในตนเอง
พฤติกรรมที่แสดงออกอยู่ภายใต้การควบคุมด้วยสติปัญญา ความรู้ และการพิจารณาให้เหมาะสมกับสิ่งที่ถูกต้อง
ระดับจิตใต้สำนึก (Subconscious /Preconscious lever)
เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ระดับกึ่งรับรู้ และไม่รับรู้อยู่ในระดับลึกลงกว่าจิตสำนึก ต้องใช้เวลาและเหตุการณ์ช่วยกระตุ้นให้เกิดการระลึกได้
จิตใจส่วนนี้ดำเนินการอยู่ตลอดเวลาในชีวิต
ระดับจิตไร้สำนึก (Unconscious level)
เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ในส่วนลึกไม่สามารถจะนึกได้ในระดับจิตสำนึกธรรมดา
จะแสดงออกในบางโอกาสซึ่งเจ้าตัวไม่ได้ควบคุมและไม่รู้ตัว
โครงสร้างของจิตใจ (Structure of mind)
Id เป็นแรงผลักดันของจิตใจที่ติดตัวทุกคนมาแต่กำเนิดเป็นแรงขับตามสัญชาตญาณ เป็นการแสวงหาความสุขโดยยึดความพึงพอใจเป็นหลัก
Ego เป็นส่วนของจิตใจที่ดำเนินการโดยอาศัยเหตุและผล เพื่อตอบสนองสิ่งที่ตนปรารถนา ตามหลักแห่งความเป็นจริง
Superego เป็นส่วนของจิตใจที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับมโนธรรม (Conscience) คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่มีอยู่ในจิตใจของบุคคล เกิดจากการอบรมสั่งสอนของบิดา มารดาหรือผู้เลี้ยงดู
สัญชาตญาณ (Instinct)
แรงผลักดันทางด้านบุคลิกภาพมาจากพลังงาน 2 ประเภท
พลังงานทางร่างกาย (Physiological energy)
พลังงานทางจิต (Psychic energy)
ตัวเชื่อมระหว่างพลังงานทางกายและพลังงานทางจิต ได้แก่ สัญชาตญาณ แบ่งเป็น 2 ประเภท
สัญชาตญาณทางเพศ (Sexual of life instinct : Libido)
ทำหน้าที่ผลักดันให้มนุษย์แสวงหาความพอใจตามที่ตนเองต้องการส่วนที่สำคัญที่สุด คือ แรงขับทางเพศ ซึ่งมีมาตั้งแต่แรกเกิด
สัญชาตญาณแห่งความก้าวร้าว (Aggressive of instinct : Morrison)
ทำหน้าที่ผลักดันให้มนุษย์แข่งขันกัน ชิงดีชิงเด่นกันเอาชนะกัน มีลักษณะพลังงานในทางทำลาย
กลไกการป้องกันทางจิต (Defense mechanism)
เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในระดับจิตไร้สำนึก ที่บุคคลใช้เพื่อลดความวิตกกังวลเมื่อเผชิญปัญหาหรือขจัดความไม่สบายใจ
มีสาเหตุมาจากความกลัว ความวิตกกังวล ความคับข้องใจ หรือความขัดแย้งที่ตนแก้ไขไม่ได้
กลไกทางจิตที่พบบ่อย
การชดเชย (Compensation)
เป็นการกระทำเพื่อลบล้างจุดบกพร่องจุดอ่อน หรือปมด้อยของตน โดยการสร้างจุดเด่นทางอื่น
การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกเป็นพฤติกรรม (Conversion) เป็นการเปลี่ยนแปลงความขัดแย้งในจิตใจเกิดเป็นอาการทางกาย
การปฏิเสธ (Denial) เป็นการปฏิเสธที่จะยอมรับบางสิ่งบางอย่างซึ่งเป็นความจริงโดยการเพิกเฉย เพราะยอมรับความจริงทำให้รู้สึกไม่สบายใจ
การแทนที่ (Displacements) เป็นการถ่ายเทอารมณ์ที่มีต่อบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นหรือวัตถุสิ่งของอื่น
การโทษตัวเอง (Introjection) เป็นการตำหนิ กล่าวโทษตนเอง
การโทษผู้อื่น (Projection) เป็นการโยนอารมณ์ ความรู้สึกที่รับไม่ได้ของคนเราภายใจจิตไร้สำนึกไปยังอีกคนหนึ่ง
การแยกตัว ( Isolation) เป็นการไม่ตอบสนองต่อการกระทำที่นำความคับข้องใจมาให้ จะแยกตัวออกจากสภาพการณ์นั้น
การถดถอย (Regression) เป็นการแสดงออกโดยการมีพฤติกรรมกลับไปสู่ในระดับพัฒนาการของจิตใจและอารมณ์ในระดับต้นๆ
การเก็บกด (Repression) เป็นการเก็บกดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิดจากระดับจิตสำนึกไปสู่ระดับจิตไร้สำนึก เพื่อให้ลืมเหตุการณ์ทีทำให้ไม่สบายใจ
การลบล้างความผิด (Undoing) เป็นการกระทำในสิ่งที่ดีเพื่อลบล้างความรู้สึกผิดที่เกิดจากการกระทำของตนเอง
การอ้างเหตุผล (Rationalization) เป็นการหาเหตุผลที่สังคมยอมรับมาอธิบายพฤติกรรมต่างๆของตนเป็นการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเอง
แบบองุ่นเปรี้ยว (Sour grape) เป็นการให้เหตุผลว่าสิ่งที่ตนเองต้องการแล้วไม่ได้นั้นเป็นสิ่งไม่ดี
แบบมะนาวหวาน (Sweet lemon) เป็นการหาเหตุผลมาสนับสนุนเมื่อตนเองต้องการสิ่งใดแล้วไม่สามารถหามาได้
การหาทางทดแทน (Sublimation) เป็นการปรับเปลี่ยนความรู้สึกหรือแรงผลักดันที่ไม่ดี ที่สังคมไม่ยอมรับ ไปเป็นวิธีการที่สังคมยอมรับ ซึ่งเป็นการลดความกดดันทางจิตใจไปในทางสร้างสรรค์
การกระทำตรงข้ามกับความรู้สึก (Reaction formation) เป็นการที่บุคคลมีพฤติกรรมการแสดงออกตรงข้ามกับความคิดความรู้สึกที่แท้จริงของตน
การเลียนแบบ (Identification) เป็นการรับเอาความคิด ทัศนคติ ค่านิยม ลีกษณะประจำตัวของบุคคลสำคัญในชีวิตหรือบุคคลที่นิยมชมชอบมาเก็บและจดจำไว้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของตน
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ (Psychosexual development)
แบ่งพัฒนาการทางบุคคลภาพออกเป็น 5 ระยะ
ระยะปาก (Oral stage)
อายุ 0-1 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะมีความสุขอยู่กับการใช้ปากในการดูดไม่ว่าจะเป็นการดูดนมมารดา ดูดนิ้ว การกัด การเคี้ยว หรือนำสิ่งต่างๆเข้าปาก
มารดาเลี้ยงดูโดยให้ความรักความอบอุ่นอย่างเหมาะสม เด็กก็จะวางใจมารดาและโลกภายนอกต่อไปในอนาคต
ระยะทวารหนัก (Anal stage)
อายุ 1-3 ปี เด็กเริ่มเรียนรู้ถึงแรงกดดันที่ต้องการจะขับถ่ายและเริ่มมีความสามารถที่จะควบคุมการขับถ่าย
หากบิดา มารดามีการฝึกการขับถ่ายของเด็กไอ้อย่างเหมาะสม ไม่เข้มงวดเกินไป จะทำให้เด็กโตขึ้นเป็นคนที่มีความภาคภูมิใจในตนเอง
ทำให้เด็กโตขึ้นเป็นคนเจ้าระเบียบรักความสะอาดมากเกินไป ย้ำคิดย้ำทำ
ระยะพัฒนาการทางเพศ(Phallic stage )
อายุ 3-6 ปี ในช่วงนี้เด็กจะให้ความสนใจทางเพศมาก และเป็นระยะสำคัญที่เกิดปม Oedipal complex ในเด็กผู้ชายและ Electra complex ในเด็กผู้หญิง
เด็กจะสนใจบิดามารดาเพศตรงข้าม เกิดการเลียนแบบทางเพศจากบิดา มารดา
มีพฤติกรรมต่อต้านสังคม
ระยะแฝง (Latency stage)
อายุ 6-12 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะพัศนาความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เป็นเพื่อเพศเดียวกัน
หากในระยะนี้เด็กถูกบังคับให้อยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์จากครอบครัวหรือโรงเรียนที่เข้มงวดมากเกินไป
ทำให้เกิดพฤย้ำคิดย้ำทำ เคร่งครัดเกินไป และไม่ยืดหยุ่น
ระยะวัยเจริญพันธุ์ (Genital stage)
อายุ 12 ปีขึ้นไป เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาทางด้านเพศ ระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้นทำให้แรงขับทางเพศกลับมาสูงขึ้นอีก
มีการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ เป็นระยะที่เด็กต้องการความเป็นอิสระเป็นของตัวเอง
ปรับเปลี่ยนตนเองให้เป็นที่ยอมรับจากสังคม