Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theories), john-watson-forskning,…
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
(Behavioral Theories)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคหรือสิ่งเร้า
ของพาฟพอล(Ivan Petrovich Pavlov)
สิ่งเร้า 2 สิ่งคู่กัน คือ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขและสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไขเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ และตอบสนองต่อสิ่งที่เกิดจากการวางเงื่อนไข ซึ่งถ้าสิ่งมีชีวิตเกิดการเรียนรู้จริงแล้วจะมีการตอบสนองต่อสิ่งเร้า 2 สิ่งในลักษณะเดียวกัน แล้วไม่ว่าจะตัดสิ่งเร้าชนิดใดชนิดหนึ่งออกไป การตอบสนองก็ยังคงเป็นเช่นเดิม เพราะจะสามารถเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไขกับการตอบสนองได้นั่นเอง
ตัวอย่างเช่น
เสียงกระดิ่ง (UCS) ==== ส่ายหัวและกระดิกหาง (UCR)
ผงเนื้อบด (UCS) ==== น้ำลายไหล (UCR)
จุดประสงค์ คือ สามารถทำให้สุนัขน้ำลายไหล เมื่อได้ยินเสียงกระดิ่ง และทำไมสุนัขจึงน้ำลายไหล เมื่อได้ยินเสียงฝีเท้าของคนให้อาหาร
ทั้งนี้ก็เพราะสุนัข มีการตอบสนองเชื่อมโยง จากอาหารไปสู่เสียงฝีเท้า โดยที่อาหารเป็นสิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (UCS) และเสียงฝีเท้าเป็นสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CCS)
ทฤษฎีแบบต่อเนื่อง
ของธรอนไดค์(Thorndike)
เป็นทฤษฎีการเรียนรู้ที่เน้นความสัมพันธ์เชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้า (S) กับการตอบสนอง (R) จึงเรียกทฤษฎีนี้ว่าทฤษฎีพันธะระหว่างสิ่งเร้ากับการตอบสนองหรือทฤษฎีสัมพันธ์เชื่อมโยง
หลักการเรียนรู้
นำแมวไปขังไว้ในกรงที่สร้างขึ้นแล้วนำปลาไปวางล่อไว้นอกกรงให้ห่างพอประมาณ แล้วพบว่าแมวพยายามใช้วิธีต่างๆเพื่อจะออกจากกรง จนกระทั่งเท้าไปเยียบคานไม้ ทำให้ประตูเปิดออกหลังจากนั้นแมวใช้เวลาเปิดกรงได้เร็วขึ้น เช่นนี้จึงเป็นการตอบสนองแบบลองผิดลองถูก
กฎของธรอนไดค์
กฎแห่งความพร้อม ( Law of Readiness )
เพื่อเสริมกฎแห่งผล และได้อธิบายไว้ในรูปของการเตรียมตัว และการเตรียมพร้อม ในการที่จะตอบสนองกิจกรรมที่ตามมาหลังจากการที่มีการเตรียมตัวพร้อมแล้ว เช่น ในสถานการณ์ของแมวในกรง แมวจะทำอะไรออกมานั้น แมวจะต้องหิว แมวสามารถเอาเท้าตะปบเชือกที่ห้อยแขวนอยู่นั้น ได้ และมีประสาทสัมผัสที่จะรับรู้ว่าได้รับผลพอใจหรือไม่พฤติกรรมที่แสดงออกไปแล้ว
กฎแห่งการฝึกหัด( Law of Exercise )
เมื่อเอาแมวใส่กรงครั้งหลังแมวจะหาทางออกจากกรงได้เร็วขึ้น เมื่อทดลองนาน ๆ เข้า แมวก็สามารถออกจากกรงได้ทันทีลักษณะนี้ธอร์นไดค์อธิบายว่า ความสัมพันธ์ระหว่างสิ่งเร้ากับการ ตอบสนองได้สัมพันธ์แน่นแฟ้นขึ้น และความสัมพันธ์นี้จะแน่นแฟ้นยิ่งขึ้นเมื่อมีการฝึกหัดหรือซ้ำบ่อย ๆ และความสัมพันธ์นี้จะคลายอ่อนลงเมื่อไม่ได้ใช้และธอร์นไดค์เชื่อว่าการกระที่ไม่มีรางวัลเป็นผลตอบแทนหลังการตอบสนองนั้น ๆ สิ้นสุดลงจะต้องลงเอยด้วยความสำเร็จ
กฎแห่งผลการตอบสนอง ( Law of Effect )
การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับอาการตอบสนองนำความพอใจมาให้การเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้ากับอาการตอบสนองก็จะแน่นแฟ้นขึ้น หรืออาจจะกล่าวได้ว่า ถ้าจะให้ผู้เรียนรู้อะไรจะต้องมีรางวัลให้ ซึ่งรางวัลไม่ใช่เพียงแค่สิ่งของแต่อาจเป็นการกล่าวคำชมเชย หรือชื่นชมด้วย
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทำ
ของสกินเนอร์(Burrhus Skinner
)
แนวคิดว่าพฤติกรรมการเรียนรู้ทั้งหลายของมนุษย์เกิดจากการที่ร่างกายเป็นตัวาั่งให้แสดงการกระทำเพื่อตอบสนองต่อสิ่งเร้าหรือสถานการณ์ทั้งหลาย ไม่ใช่สิ่งเร้าหรือสถานการณ์มากระตุ้นให้ร่างกายกระทำ
หลักการ
สกินเนอร์ เห็นว่าจิตวิทยาควรจำกัดอยู่เฉพาะพฤติกรรมที่สามารถสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน และต้องสามารถวัดได้โดยพิจารณาจากความถี่ของการตอบสนองในช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง
การเสริมแรง
เสริมแรงทางบวก(Positive Reinforcement) :สิ่งเร้าใดเมื่อนำมาใช้แล้วทำให้อัตราการตอบสนองมากขึ้น เช่น คำชมเชย รางวัล อาหาร
เสริมแรงทางลบ(Negasitive Reinforcement) : สิ่งที่สร้างความทุกข์และความไม่พึงพอใจให้แก่ร่างกายออกไป เช่น นักเรียนหิวข้าวเพราะใกล้เที่ยงแต่อาจารย์บอกว่าถ้าใครตอบคำถามได้จะให้ไปพัก แต่ผู้เรียนแสดงพฤติกรรมนั้นเพื่อตอบสนองความต้องการของร่างกายที่กำลังหิวข้าว
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคที่เกิดขึ้นมนุษย์ของจอห์น บี วัตสัน (John B. Watson)
การวางเงื่อนไขแบบคลาสสิคทำให้เกิดการเรียนรู้กล่าวคือ การใช้สิ่งเร้าสองสิ่งมาคู่กันคือสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (CS) กับสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข (UCR) แล้วทำให้เกิดการตอบสนองอย่างเดียวกัน
วิธีการทดลอง
เคาะแผ่นเหล็ก ให้ดังขึ้นให้เสียงดังกล่าวเป็นสิ่งเร้าที่ไม่วางเงื่อนไข(UCS) ซึ่งจะก่อให้เกิดการตอบสนองที่ไม่ต้องวางเงื่อนไข (UCR)
การวางเงื่อนไขความกลัวก็คือ ใช้หนูขาวเป็นสิ่งเร้าที่ต้องวางเงื่อนไข (CS) มาล่อ หนูน้อยอัลเบิร์ต (Albert) อายุ 11 เดือน ชอบหนูขาวไม่แสดงความกลัว แต่ขณะที่หนูน้อยยื่นมือไปจับเสียงแผ่นเหล็กก็ดัง ขึ้น ซึ่งทำให้หนูน้อยกลัว ทำคู่กันเช่นนี้เพียงเจ็ดครั้งในระยะเวลาหนึ่งสัปดาห์ ปรากฏว่าตอนหลังหนูน้อยเห็นแต่เพียงหนูขาวก็แสดงความกลัวทันที
การวางเงื่อนไขกลับ คือ เป็นการเสนอสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขใหม่ ที่ตรงข้ามกับสิ่งเร้าเก่า เพื่อให้เกิดการตอบสนอง ที่ตรงข้ามกับการตอบสนองเดิม เช่น นำกรงกระต่ายไปวางไว้ห่างๆในขณะที่ปีเตอร์กำลังรับประทานขนมอย่างเอร็ดอร่อยในช่วงบ่าย ปีเตอร์ไม่กลัวเพราะกระต่ายอยู่ไกลและกำลังเพลิดเพลินกับการกินขนม ทำการทดลองเช่นนี้ทุกวัน แต่จะค่อยๆ เลื่อนกระต่ายเข้ามาใกล้ปีเตอร์วันละนิด เมื่อสิ้นสุดการทดลองจึงพบว่าปีเตอร์ใช้มือข้างหนึ่งเล่นกับกระต่าย ในขณะที่ใช้มืออีกข้างหนึ่งกินขนม จึงแสดงว่า ไม่เพียงแต่เข้าจะหายกลัวกระต่ายเท่านั้น แต่เขายังรู้สึกชอบเล่นกับกระต่ายอีกด้วย