Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีมนุษยนิยม (Humanistic Theories), นางสาววาสนา สมบูรณ์ เลขที่71 ห้องB …
ทฤษฎีมนุษยนิยม
(Humanistic Theories)
มองมนุษย์ว่ามีคุณค่า ความดีงาม ความสามารถ ความต้องการ แรงจูงใจภายในที่จะพัฒนาศักยภาพของตน หากบุคคลได้รับอิสรภาพและเสรีภาพ มนุษย์จะพยายามพัฒนาตนเองไปสู่ความเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม
กลุ่มปรัชญาฮิวแมนนิสติก
Carl Roger
เชื่อว่า มนุษย์ทุกคนปรารถนาเป็นคนดีและต้องการเป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์แบบ แต่มนุษย์ไม่สามารถแสดงธรรมชาติใฝ่ดีได้ เพราะ สภาพแวดล้อมไม่เอื้ออำนวย เขาจึงช่วยเหลือโดยการใช้วิธีบำบัด
ทฤษฎียึดบุคคลเป็นศูนย์กลาง
ต้องการสภาพแวดล้อม
ความจริงใจ (เปิดเผยและเปิดเผยตนเอง)
การยอมรับ (ถูกมองด้วยความเคารพในเชิงบวกอย่างไม่มีเงื่อนไข)
เอาใจใส่ (ถูกฟังและเข้าใจ)
ลักษณะคนที่ทำงานเต็มที่
1.เปิดรับประสบการณ์: ยอมรับทั้งอารมณ์บวกและลบ ความรู้สึกเชิงลบจะไม่ถูกปฏิเสธ แต่ทำงานผ่าน
2.การดำรงอยู่ของชีวิต: สัมผัสกับประสบการณ์ที่แตกต่างเมื่อเกิดขึ้นในชีวิตหลีกเลี่ยงการอคติ ความสามารถในการใช้ชีวิตและชื่นชมอย่างเต็มที่ในปัจจุบัน ไม่ต้องมองย้อนกลับไปในอดีตหรือนาคต
3.เชื่อมั่นในความรู้สึก: ความรู้สึกสัญชาตญาณ ความสนใจและความไว้ใจ การตัดสินใจของคนเป็นสิ่งที่ถูกต้องและเราควรไว้วางใจตัวเองในการเลือกที่ถูกต้อง
4.ความคิดสร้างสรรค์
5.ชีวิตที่เต็มไปด้วย: คนที่มีความสุขและพอใจกับชีวิตและ
มักจะมองหาความท้าทายและประสบการณ์ใหม่ ๆ
ผู้คนจะเติบโตและมีศักยภาพหาก
สภาพแวดล้อมของพวกเขาดีพอ
มนุษย์เป็นเอกลักษณ์และเรามีเจตนาที่จะพัฒนาในวิธีการที่แตกต่างกันตามบุคลิกภาพของเรา โรเจอร์เชื่อว่าคนจะดีและสร้างสรรค์โดยเนื้อแท้
เชื่อว่ามนุษย์มีแรงจูงใจพื้นฐานเพียงอย่างเดียวคือโน้มน้าวที่จะทำให้ตัวเองเป็นจริงคือเพื่อเติมเต็มศักยภาพและบรรลุระดับสูงสุดของ ความเป็นมนุษย์ ที่เราสามารถทำได้
มนุษย์ทุกคนมีตัวตน 3 แบบ
1.ตนที่ตนมองเห็น (Self Concept) ภาพที่ตนเห็นเองว่าตนเป็นอย่างไร มีความรู้ความสามารถ ลักษณะเพราะตนอย่างไร เช่น สวย รวย เก่ง ต่ำต้อย ขี้อายฯลฯ การมองเห็นอาจจะไม่ตรงกับข้อเท็จจริงหรือภาพที่คนอื่นเห็น
2.ตนตามที่เป็นจริง (Real Self) ตัวตนตามข้อเท็จจริง แต่บ่อยครั้งที่ตนมองไม่เห็นข้อเท็จจริง เพราะอาจเป็นสิ่งที่ทำ ให้รู้สึกเสียใจ ไม่เท่าเทียมกับบุคคลอื่น เป็นต้น
3.ตนตามอุดมคติ (Ideal Self) ตัวตนที่อยากมีอยากเป็น แต่ยังไม่มีไม่เป็นในสภาวะปัจจุบัน เช่น ชอบเก็บตัว แต่อยากเก่งเข้าสังคม เป็นต้น
กลุ่มปรัชญาเอกซิสเทนเซียลลิสท์ (Existentialist
Philosophy)
Abraham Maslow
ทฤษฎีความต้องการพื้นฐาน
มนุษย์มีพัฒนาการตามธรรมชาติ มีสมองและความคิดที่เป็นอสระและที่สำคัญมีความต้องการตามธรรมชาติอยู่แล้ว
สมมติฐานเกี่ยวกับคามต้องการของมนุษย์
1.มนุษย์ทุกคนมีความต้องการและความต้องการนี้จะมีอยู่ตลอดเวลาไม่มีสิ้นสุด
2.ความต้องการที่ได้รับการตอบสนองแล้วจะไม่เป็นแรงจูงใจสำหรับพฤษติกรรมนั้นอีกต่อไป
3.ความต้องการที่จะมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมจะต้องเป็นความต้องการที่ยังไม่ได้ตอบสนอง
4.ขั้นตอนความต้องการพื้นฐานของมนุษย์ 5 ขั้น
ขั้นที่ 1 ความต้องการทางด้านร่างกาย (Physiologicl needs) ได้แก่ปัจจัย 4 อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค
ขั้นที่ 2 ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย (Safety and security needs)
ขั้นที่ 3 ความต้องการความรักและความเป็นเจ้าของ (Belonging and love needs)
ขั้นที่ 4 ความต้องการได้รับการยกย่องนับถือ (Esteem needs)
ขั้นที่ 5 ความต้องการความสำเร็จในชีวิต (Self actualization needs)
ระดับความต้องการ
1.ความต้องการระดับต่ำหรือความพึงพอใจภายนอก ได้แก่ ความต้องการทางร่างกาย ความต้องการความมั่นคงปลอดภัย
2.ความต้องการระดับสูง ซึ่งเป็นความพึงพอใจภายใน ได้แก่ ความต้องการทางสังคม ความรัก ความต้องการการยอมรับ ความต้องการความสำเร็จในชีวิต
นางสาววาสนา สมบูรณ์ เลขที่71 ห้องB