Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
วิทยาการระบาดและการควบคุมและป้องกันโรค - Coggle Diagram
วิทยาการระบาดและการควบคุมและป้องกันโรค
ลักษณะการเกิดโรคในชุมชน
Sporadic
หมายถึง ลักษณะของโรคที่เกิดขึ้นกระจัดกระจายไม่เฉพาะที่ เกิดขึ้นประปรายและมักจะเกิดทีละราย เกิดเป็นบางครั้งคราว เช่น โรคบาดทะยัก โรคพิษสุนัขบ้า โรคคอตีบ โรคไอกรน เป็นต้น
Epidemic
หมายถึง ปรากฏการณ์การเพิ่มขึ้นของโรคอย่างผิดปกติในชุมชน และไม่ได้คาดการณ์ไว้ล่วงหน้า ในสถานที่หนึ่งและในช่วงเวลาหนึ่ง เช่น อัตราป่วยด้วยไข้เลือดออกที่สูงกว่าปกติในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนสิงหาคม เรียกว่ามีการระบาด (Epidemic) เมื่ออัตราป่วยสูงกว่าค่าเฉลี่ยสองเท่าของค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานเมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีที่ผ่านมา และถ้าพบโรค เช่น ไข้ทรพิษที่ไม่เคยเกิดมานานเพียง 1 รายก็ถือว่ามีการระบาดเกิดขึ้น
Endemic disease
หมายถึง โรคเกิดประจําท้องถิ่น การเกิดโรคที่พบอยู่ได้บ่อยๆในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งหรือประชากรกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งทีมีอัตราป่วยสูง มีอัตราความชุกและอุบัติการณ์ที่สูงเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่หรือประชากรกลุ่มอื่นๆ
Pandemic
หมายถึง ลักษณะของโรคที่เกิดขึ้นในวงกว้าง เช่น เกิดทั่วประเทศระหว่างประเทศ ทวีปหรือทั่วโลก เช่น เอดส์ โรคอหิวาตกโรค และไข้หวัดใหญ่ เป็นต้น
ความหมาย
การศึกษาเกียวกับการกระจายของโรคและปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการกระจายของโรคในมนุษย์
ปัจจัยก่อโรคทางระบาดวิทยา (Epidemiologic)
Agent
โฮสท์หรือมนุษย์ (Host) เป็นการศึกษาประชากรกลุ่มเป้าหมายในด้านอายุ เพศ พันธุกรรมและเชื้อชาติปัจจัยทางสรีระวิทยา ปัจจัยทางด้านจิตใจ การที่มีภูมิคุ้มกันของโรคมาก่อน การที่เคยป่วยหรือได้รับการรักษาโรคนั้นมาก่อนและพฤติกรรมด้านสุขภาพและอนามัย
Environment
สิ่งแวดล้อม (Environment) เน้นศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมทางด้านกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางด้านชีวภาพ สิ่งแวดล้อมทางด้านสารเคมี รวมทั้งสิ่งแวดล้อมทางด้านเศรษฐกิจและสังคม
Host
สิ่งที่ทําให้เกิดโรค (Agent) จะศึกษาด้านชีวภาพ ด้านสารเคมี ด้านกายภาพด้านจิตใจและสังคม การขาดสารบางชนิด
การเฝ้าระวังทางระบาดวิทยา (Epidemiological surveillance)
การติดตามสังเกตและพินิจพิจารณาอย่างสม่ำเสมอและต่อเนื่องเพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง (Dynamic process) ของลักษณะการเกิด การกระจายของโรคภัยต่างๆ รวมทั้งองค์ประกอบที่มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงนั้นๆจากข้อมูลข่าวสารต่างๆ
บทบาทหน้าที่รับผิดชอบในการเฝ้าระวังทางการระบาดวิทยา
1.ร่วมกับทีมสุขภาพในการเฝ้าระวังทางระบาดวิทยาบันทึกและรายงานการเกิดโรคที่ต้องเฝ้าระวังแก่เครือข่ายงานเฝ้าระวังโรคและรับข้อมูลย้อนกลับมาใช้ในการดูแลสุขภาพของชุมชนที่รับผิดชอบ
3.ติดตามข้อมูลข่าวสารและนําความรู้จากรายงานการเฝ้าระวังทางวิทยาการระบาดพยาบาลและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขศึกษารายงานการเฝ้าระวังทางวิทยาการระบาดประจําสัปดาห์ ประจําเดือน ประจําปีของสํานักระบาดวิทยา กรมควบคุมโรคนําไปใช้ประโยชน์ในการวางแผนป้องกันและควบคุมโรคของชุมชนการวิจัยโรคที่เป็นปัญหาสาธารณสุข ฯลฯ
2.พยาบาลและทีมสุขภาพร่วมมือกันจัดและดําเนินการเฝ้าระวังโรคเชิงรุกเฝ้าระวังเฉพาะปัญหาสําคัญของชุมชนที่รับผิดชอบเฉพาะกลุ่มบุคคลที่่รับผิดชอบ เช่น นักเรียนในโรงเรียน คนงานในโรงงาน เจ้าหน้าที่ของสถานพยาบาล เป็นต้น
การกระจายของโรค (Distribution)
การกระจายของโรคตามบุคคล สถานที่ และเวลา (Person Place Time) เป็นการอธิบายการเกิดโรคภัยไข้เจ็บว่าโรคเกิดมากกับใคร เกิดทีใด เกิดห้วงเวลาใด
อัตราการป่วย (Morbidity Rate)
อัตราอุบัติการณ์ (Incidence Rate) เมือ x = จํานวนผู้ป่วยใหม่ของความเจ็บป่วยที่เกิดขึ้นในชุมชน (ตามเวลา สถานที่ และบุคคล) ในช่วงเวลาหนึ่ง y = จํานวนประชากรทั้งหมดของชุมชนนั้นที่เสียงต่อโรคในช่วงเวลาเดียวกัน k = ค่าคงที่ กําหนดให้มีค่าเท่ากับ 100 : 1,000 : 10,000 หรือ 100,000 ซึงเลือกใช้ตามความเหมาะสม จากสูตร X คูณ Y หาร K
อัตราป่วยตาย (Case fatality rate)