Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) - Coggle Diagram
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)
นักทฤษฎีที่สำคัญ
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud: 1856-1939)
โดยฟรอยด์มีความเชื่อว่า ระดับของจิตใจ ของมนุษย์มีความแตกต่างกันในแต่ละขั้น เมื่อมนุษย์เผชิญกับสิ่งต่างๆ จะแสดงพฤติกรรมต่างๆ ออกมา ซึ่งการแสดงออกที่เกิดขึ้น เป็นแรงกระตุ้นโดยตรงจากจิตใต้สำนึก ความขัดแย้ง แรงจูงใจ สามารถเข้าใจการกระทำเหล่านี้ได้โดยการวิเคราะห์จากการแสดงออกขณะที่ผู้ป่วยอยู่ในภาวะจิตสำนึก
แนวคิดของทฤษฎี
1.ระดับของจิตใจ (Level of mind)
1.1.ระดับจิตสำนึก (Conscious level)
เป็นระดับของจิตใจที่มนุษย์รู้สึกตัวและตระหนักในตนเอง มีพฤติกรรมและการแสดงออกอยู่ภายใต้การควบคุมด้วยสติปัญญา
1.2.ระดับจิตใต้สำนึก (Subconscious/Preconscious level)
เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ในระดับกึ่งรับรู้ อยู่ในระดับลึกกว่าจิตสำนึก ต้องใช้เวลาและเหตุการณ์ช่วยกระตุ้นให้เกิดการระลึกได้
1.3.ระดับจิตไร้สำนึก (Unconscious level)
เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ในส่วนลึก ไม่สามารถจะนึกได้ในระดับจิตสำนึกธรรมดา
2.โครงสร้างของจิตใจ (Structure of mind)
2.1.ID
เป็นแรงผลักดันของจิตใจที่ติดตัวทุกคนมาแต่กำเนิด เป็นแรงขับตามสัญชาตญาณ เป็นความต้องการเบื้อต้นและกระทำเพื่อสนองความต้องการตนเองเท่านั้น
2.2.Ego
เป็นส่วนของจิตใจที่ดำเนินการโดยอาศัยเหตุและผล เพื่อตอบสนองสิ่งที่ตนปรารถนา ตามหลักแห่งความเป็นจริง (Reality principle) การทำงานของจิตใจส่วนนี้อยู่ในระดับจิตสำนึก
2.3.Superego
เป็นส่วนของจิตใจที่ทำหน้าที่ เกี่ยวกับมโนธรรม
(Conscience) คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่มีอยู่ในจิตใจของบุคคล
3.สัญชาตญาณ (Instinct)
3.1. สัญชาตญาณทางเพศ (Sexual of life instinct: Libido)
ทำหน้าที่
ผลักดันให้มนุษย์แสวงหาความพอใจตามที่ตนเองต้องการ
3.2.สัญชาตญาณแห่งความก้าวร้าว (Aggressive of instinct: Mortido)
ทำหน้าที่ผลักดันให้มนุษย์แข่งขันกัน ชิงดีชิงเด่นกัน มีลักษณะพลังงานในทางทำลาย
4.กลไกการป้องกันทางจิต (Defense mechanism)
เป็นกระบวนการที่เกิดขึ้นในระดับจิตไร้สำนึก ที่บุคคลใช้ลดความวิตกกังวลเมื่อเผชิญกับปัญหาหรือขจัดความไม่สบายใจ
1.การชดเชย (Compensation)
กระทำเพื่อลบล้างจุดบกพร่องจุดอ่อน หรือปมด้อยของตน
2.การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกเป็นพฤติกรรม (Conversion)
เปลี่ยนความขัดแย้งในจิตใจเกิดเป็นอาการทางกาย
3.การปฏิเสธ (Denial)
ปฏิเสธที่จะยอมรับบางสิ่งบางอย่างซึ่งเป็น
ความจริงโดยการเพิกเฉย
4.การแทนที่ (Displacement)
เป็นการถ่ายเทอารมณ์ที่มีต่อบุคคลหนึ่งไป
ยังบุคคลอื่นหรือวัตถุสิ่งของอื่น
5.การโทษตัวเอง (Introjection)
เป็นการตำหนิ กล่าวโทษตนเอง
6.การโทษผู้อื่น (Projection)
เป็นการโยนอารมณ์ ความรู้สึกที่รับไม่ได้
ของคนเราภายในจิตไร้สำนึกไปยังอีกคนหนึ่ง
7.การแยกตัว (Isolation)
ไม่ตอบสนองต่อการกระทำที่นำความคับข้องใจมาให้จะแยกตัวออกจากสภาพการณ์นั้น
8.การถดถอย (Regression)
แสดงออกโดยการมีพฤติกรรมกลับไปสู่ในระดับพัฒนาการของจิตใจและอารมณ์ในระดับต้นๆ
9.การเก็บกด(Repression)
เก็บกดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด เพื่อให้ลืมเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สบายใจ
10.การเก็บกด (ระดับจิตสำนึก) (Suppression)
การลืมบางสิ่งบางอย่างโดยเจตนา
11.การลบล้างความรู้สึกผิด (Undoing)
การกระทำในสิ่งที่ดีเพื่อลบล้างความรู้สึกผิดที่เกิดจากการกระทำของตนเอง
12.การอ้างเหตุผล (Rationalization)
เป็นการหาเหตุผลที่สังคมยอมรับมาอธิบายพฤติกรรมต่างๆ ของตน
13.การหาทางทดแทน (Sublimation)
ปรับเปลี่ยนความรู้สึกหรือแรงผลักดันที่ไม่ดี ที่สังคมไม่ยอมรับ ไปเป็นวิธีการที่สังคมยอมรับ
14.การกระทำตรงข้ามกับความรู้สึก (Reaction formation)
บุคคลมีพฤติกรรมการแสดงออกตรงข้ามกับความคิดความรู้สึกที่แท้จริงของตน
15.การเลียนแบบ (Identification)
เป็นการรับเอาความคิด ทัศนคติ ของบุคคลส าคัญในชีวิตหรือบุคคลที่นิยมชมชอบมาเก็บและจดจำไว้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของตนเอง
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ (Psychosexual development)
ระยะปาก (Oral stage)
อายุ 0-1 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะมีความสุขอยู่กับการ
ใช้ปากในการดูดไม่ว่าจะเป็นการดูดนมมารดา การเคี้ยว หรือน าสิ่งต่างๆ เข้าปาก
หากมีการหยุดชะงักของพัฒนาการระยะปาก (Oral fixation) จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม เช่น พูดมาก ช่างนินทา
ระยะทวารหนัก (Anal stage)
อายุ 1-3 ปี เด็กเริ่มเรียนรู้ถึงแรงกดดันที่ต้องการจะขับถ่ายและเริ่มมีความสามารถที่จะควบคุมการขับถ่ายได้
หากมีการหยุดชะงักของพัฒนาการระยะทวารหนัก (Analfixation) จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม เช่น เจ้าระเบียบ ตรงต่อเวลา ขาดความยืดหยุ่น
3.ระยะพัฒนาการทางเพศ (Phallic stage)
อายุ 3-6 ปี ในช่วงนี้เด็กจะให้ความสนใจทางด้านเพศมาก โดยเด็กจะสนใจบิดามารดาเพศตรงข้าม เกิดการเลียนแบบทางเพศจากบิดาหรือมารดา
หากมีการหยุดชะงักของระยะพัฒนาการทางเพศ (Phallic fixation) อาจท าให้มีการแสดงออกทางพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสม
ระยะแฝง (Latency stage)
อายุ 6-12 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะพัฒนา
ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เป็นเพื่อนเพศเดียวกัน
หากมีการหยุดชะงักของพัฒนาการระยะนี้ จะ
เกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะทางสังคมและเกิดปมด้อย
5.) ระยะวัยเจริญพันธุ์ (Genital stage)
อายุ 12 ปีขึ้นไป เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาทางด้านเพศ ระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้นทำให้แรงขับทางเพศกลับมาสูง
หากมีการหยุดชะงัก
ของพัฒนาการระยะนี้จะเกี่ยวข้องกับการไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ลึกซึ้งที่พอใจกับผู้อื่นได้