Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis) - Coggle Diagram
ผื่นภูมิแพ้ผิวหนัง (Atopic dermatitis)
อาการและอาการแสดง
ระยะทารก
มีปื้นแดงบริเวณขอบไม่แน่นอนขึ้นที่แก้ม ลักษณะตุ่มแข็งและตุ่มน้ำ อาจมีหนองและตกสเก็ด
ระยะเด็ก
ผื่นเกิดมากกว่าทารก มักเป็นบริเวณข้อพับและหลังเท้า
ระยะผู้ใหญ่
ผื่นจะแห้งและเป็นแผ่นหนา ส่วนใหญ่เกิดบริเวณหลังเท้า
สาเหตุ
พันธุกรรม
หืด
แพ้อากาศ
ปัจจัยที่กระตุ้นให้เกิดผื่นมากขึ้น
สิ่งแวดล้อม
แพ้อาหาร
สารก่อภูมิแพ้
ความหมาย
Atopic Dermatitis มักเกิดขึ้นในวัยเด็กช่วงอายุก่อน 5 ปี และอาจคงอยู่ไปเรื่อย ๆ จนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ โดยอาการหลักของ Atopic Dermatitis ที่พบได้ทั่วไป คือ คันตามผิวหนัง ซึ่งอาจก่อให้เกิดผื่นแดงตามมา โดยอาจมีผิวหนังแห้ง ลอก และเป็นขุยร่วมด้วย ผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการเรื้อรัง แบบเป็น ๆ หาย ๆ หรืออาการอาจหายไปหลายปีก่อนกลับมาเป็นอีกครั้ง ทั้งนี้ ความรุนแรงของอาการจะแตกต่างกันไปตามสาเหตุ ขนาดของบริเวณที่เกิดอาการ และการเกาบริเวณที่ติดเชื้อ
ภาวะแทรกซ้อน
อาการทางผิวหนัง
อาการคันเรื้อรังและผิวลอกเป็นสะเก็ด หรือโรคผิวหนังอักเสบเรื้อรังที่อาจส่งผลให้ผิวหนังเปลี่ยนสี แห้ง แข็ง มีลักษณะเป็นปื้น หากยิ่งเกาจะยิ่งคัน แต่หากเกาบ่อยครั้งก็อาจทำให้ผิวหนังแตกได้ เสี่ยงเกิดผิวหนังติดเชื้อจากแบคทีเรีย เชื้อรา และไวรัสมากขึ้น เช่น ไวรัสเฮอร์พีส์ ซิมเพล็กซ์ ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเริม
เป็นผื่น
อาจเป็นผื่นแพ้สัมผัส หรือผื่นผิวหนังอักเสบที่มือ โดยเฉพาะผู้ที่ทำงานสัมผัสกับสบู่ ผงซักฟอก ยาฆ่าเชื้อ และต้องมือเปียกอยู่บ่อยครั้ง
การป้องกัน
อาบน้ำ หลีกเลี่ยงสบู่ที่ระคายเคืองผิวมากๆ
สวมใส่เสื้อผ้าที่อ่อนนุ่ม ไม่ระคายเคืองผิวหนัง
ควรใช้ผ้าปูที่นอนที่ทำจากผ้าฝ้าย
หลีกเลี่ยงอาหารที่ตนเองแพ้
ใช้น้ำยาซักผ้าขาวในสัดส่วน ½ ถ้วย ต่อน้ำสะอาด 151 ลิตร ผสมกันแล้วนำไปอาบน้ำ เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของ Atopic Dermatitis
ให้เด็กแรกเกิดดื่มนมแม่ เพื่อให้ร่างกายแข็งแรง มีภูมิคุ้มกัน เพราะเด็กที่บริโภคนมแม่ตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป อาจเสี่ยงเป็นโรคนี้น้อยลง แต่หากไม่สามารถให้เด็กดื่มนมแม่ได้นานเท่าระยะเวลาดังกล่าว ควรให้เด็กบริโภคนมผงที่มีโปรตีนนมวัวทดแทน เพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเกิดโรค
การดูแลรักษา
ระยะเฉียบพลัน
ทำความสะอาดด้วยน้ำละลายด่างทับทิม เมื่อผื่นแดงดีแล้วต้องหยุดเช็ดทำความสะอาด มิฉะนั้นจะแห้งเกินไปทำให้ตึงและแตกระยะนี้ไม่ควรให้ยาทา
ใช้ยาทาครีมสเตียรอยด์ตามการรักษาของแพทย์
ถ้าเป็นรุนแรงให้ยารับประทานสเตียรอยด์ จนกว่าผื่นจะแห้ง ซึ่งมักใช้เวลาประมาณ 7 วัน แล้วลดขนาดยาลงจนหยุดยาภายใน 3 สัปดาห์
ถ้ามีอาการอักเสบติดเชื้อ ให้รับประทานยาปฏิชีวนะนาน 7-10 วัน
ถ้าคันมากให้ antihistamine ซึ่งควรพิจารณาเฉพาะรายที่จำเป็น ผื่นคันบางชนิดใช้ยาทาอย่างเดียวก็หายได้
ระยะเรื้อรัง
ถ้าเป็นบริเวณกว้าง และผื่นไม่หนามาก ให้ใช้สเตียรอยด์ชนิดเจือจาง
ถ้าผื่นหนามาก ใช้ความเข้มข้นปานกลางถึงเข้มข้นมาก
ในรายที่ผื่นทั้งหนาและแข็ง การใช้ยาทาอาจไม่ดูดซึม อาจใช้วิธีฉีดยาที่บริเวณผื่น