Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory) - Coggle Diagram
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory)
ระดับของจิตใจ (Level of mind)
ระดับจิตใต้สำนึก (Subconscious/Preconscious level) จิตใจที่อยู่ในระดับกึ่งรับรู้ และไม่รับรู้ อยู่ในระดับลึกลงกว่าจิตสำนึก ต้องใช้เวลาและเหตุการณ์ช่วย กระตุ้นให้เกิดการระลึกได
ระดับจิตไร้สำนึก (Unconscious level) จิตใจที่อยู่ในส่วนลึกไม่สามารถจะนึกได้ในระดับจิตสำนึกธรรมดา
ระดับจิตสำนึก (Conscious level) ่มนุษย์รู้สึกตัวและตระหนักในตนเอง มีพฤติกรรมและการแสดงออกที่ตนรับรู้
จิตของคนเป็นเหมือนก้อน น้ำแข็งที่ลอยอยู่ในน้ำ
โครงสร้างของจิตใจ (Structure of mind)
Id
เป็นแรงผลักดันของจิตใจที่ติดตัวทุกคนมาแต่กำเนิด เป็นแรงขับตาม สัญชาตญาณ เป็นการแสวงหาความสุขโดยยึดความพึงพอใจเป็นหลัก
Superego
เป็นส่วนของจิตใจที่ท าหน้าที่เกี่ยวกับมโนธรรม (Conscience) คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่มีอยู่ในจิตใจของบุคคล เกิดจากการอบรมสั่งสอนของบิดา มารดาหรือผู้เลี้ยงดู
Ego
เป็นส่วนของจิตใจที่ดำเนินการโดยอาศัยเหตุและผล เพื่อตอบสนอง สิ่งที่ตนปรารถนา ตามหลักแห่งความเป็นจริง (Reality principle)
สัญชาตญาณ (Instinct)
สัญชาตญาณทางเพศ (Sexual of life instinct: Libido)
ทำหน้าที่ผลักดันให้มนุษย์แสวงหาความพอใจตามที่ตนเองต้องการ ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ แรงขับทางเพศ ซึ่งมีมาตั้งแต่แรกเกิด
สัญชาตญาณแห่งความก้าวร้าว (Aggressive of instinct: Mortido)
ทำหน้าที่ผลักดันให้มนุษย์แข่งขันกัน ชิงดีชิงเด่นกัน เอาชนะกัน มีลักษณะพลังงานในทางทำลาย
แรงผลักดันทางด้านบุคลิกภาพมาจากพลังงาน 2 ประเภท คือ พลังงานทางร่างกาย (Physiological energy) และพลังงานทางจิต (Psychic energy) ซึ่งพลังงานทางจิตอยู่ภายใต้จิตไร้สำนึก และเป็นตัวกำหนดพฤติกรรมในคน
กลไกการป้องกันทางจิต (Defense mechanism)
การปฏิเสธ (Denial)
การแทนที่ (Displacement)
การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกเป็นพฤติกรรม (Conversion)
การโทษตัวเอง (Introjection)
การชดเชย (Compensation)
การถดถอย (Regression)
การเก็บกด (Repression)
การแยกตัว (Isolation)
การโทษผู้อื่น (Projection)
การอ้างเหตุผล (Rationalization)
การหาทางทดแทน (Sublimation)
การลบล้างความรู้สึกผิด (Undoing)
การเก็บกด (ระดับจิตสำนึก)
การกระทำตรงข้ามกับความรู้สึก (Reaction formation)
การเลียนแบบ (Identification)
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ (Psychosexual development)
1.ระยะปาก (Oral stage)
อายุ 0-1 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะมีความสุขอยู่กับการ ใช้ปากในการดูดไม่ว่าจะเป็นการดูดนมมารดา ดูดนิ้ว การกัด การเคี้ยว หรือนำสิ่งต่างๆ เข้าปาก หาก มารดาเลี้ยงดูโดยให้ความรักความอบอุ่นอย่างเหมาะสม เด็กก็จะไว้วางใจมารดาและโลกภายนอกต่อไปในอนาคต
ระยะพัฒนาการทางเพศ (Phallic stage)
อายุ 3-6 ปี ในช่วงนี้เด็กจะให้ ความสนใจทางด้านเพศมาก และเป็นระยะส าคัญที่เกิดปม Oedipal complex ในเด็กผู้ชาย และ Electra complex ในเด็กผู้หญิง โดยเด็กจะสนใจบิดามารดาเพศตรงข้าม เกิดการเลียนแบบทางเพศจากบิดาหรือมารดา
ระยะแฝง (Latency stage)
อายุ 6-12 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะพัฒนา ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เป็นเพื่อนเพศเดียวกัน
ระยะทวารหนัก (Anal stage)
อายุ 1-3 ปี เด็กเริ่มเรียนรู้ถึงแรงกดดันที่ ต้องการจะขับถ่ายและเริ่มมีความสามารถที่จะควบคุมการขับถ่ายได้ หากบิดามารดามีการฝึกการ ขับถ่ายของเด็กได้อย่างเหมาะสม ไม่เข้มงวดเกินไป จะทำให้เด็กโตขึ้นเป็นคนที่มีความภาคภูมิใจใน ตนเอง
ระยะวัยเจริญพันธุ์ (Genital stage)
อายุ 12 ปีขึ้นไป เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรรีวิทยาทางด้านเพศ ระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้นทำให้แรงขับทางเพศกลับมาสูงขึ้นอีก มีการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ ระยะวัยรุ่นนี้เป็นระยะที่เด็กเริ่มต้องการความเป็นอิสระ ต้องการเป็นตัวของตัวเอง และมีการปรับเปลี่ยนตนเองใหเ้ปน็ที่ยอมรับจากสังคม
ซิกมันด์ ฟรอยด์ (Sigmund Freud: 1856-1939) นัก ประสาทวิทยาชาวออสเตรีย ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โดยฟรอยด์มี ความเชื่อว่าระดับจิตใจของมนุษย์มีความแตกต่างกันในแต่ละขั้น เมื่อมนุษย์ต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆ พฤติกรรมและประสบการณ์ในภาวะจิตส านึกเป็นเพียงส่วนที่เล็กน้อยส่วนหนึ่งของจิตใจเท่านั้น การ แสดงออกต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นแรงกระตุ้นโดยตรงจากจิตใต้ส านึก ความขัดแย้ง แรงจูงใจ รวมไปถึง ความคับข้องใจ