Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ของ Harry Stack Sullivan, image, นางสาวณัฐชยา…
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล ของ Harry Stack Sullivan
ผู้เริ่มทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล คือ Harry Stack Sullivan (1892-1949) Sullivan เริ่มต้นศึกษาเรื่องจิตวิเคราะห์และพัฒนาต่อเป็น Interpersonal Theory โดยมีแนวคิดที่ต่างจาก Freud ตรงที่ Sullivan เน้นว่า พฤติกรรมของบุคคลเป็นผลมาจากการที่บุคคลมีสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในสังคม
Sullivan กล่าวว่า มนุษย์เป็นผลผลิตของการมีปฏิสัมพันธ์กับสังคม การเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความต้องการของบุคคลและบอกทิศทางของการเจริญเติบโต
Sullivan เชื่อว่า ประสบการณ์ชีวิตในวัยต้นมีอิทธิพลอย่างมากต่อสุขภาพจิตของบุคคลในวัยหลังของชีวิต ประสบการณ์ที่สำคัญก็คือ ความวิตกกังวล ซึ่งได้รับจากการเลี้ยงดูในวัยเด็กและสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ลักษณะของทฤษฎี
ทฤษฎีสัมพันธภาพระหว่างบุคคลเชื่อว่า บุคคลถูกกระตุ้นเพื่อไปสู่เป้าหมาย 2 ประการ
1.เป้าหมายเพื่อไปสู่ความพึงพอใจ (satisfactions) ซึ่งเน้นที่ความต้องการทางสรีรวิทยา เช่น ความหิว การนอนหลับพักผ่อน ความต้องการทางเพศ เป็นต้น
2.เป้าหมายเพื่อไปสู่ความมั่นคง (security) เป็นความต้องการเพื่อความคงอยู่อย่างมีความสุข ต้องการการยอมรับในสังคม ซึ่งเกิดจากการมีสัมพันธภาพระหว่างบุคคล
ความต้องการทั้ง 2 ด้านนี้ มีความสัมพันธ์กัน ถ้าบุคคลได้รับตอบสนองอย่างเพียงพอทั้ง 2 ด้าน บุคคลก็จะไม่เกิดความวิตกกังวล
แนวคิดหลัก
แนวคิดหลักของ Sullivan เน้นความวิตกกังวลและระบบตน (Anxiety and the Self-System) โดยกล่าวว่า ความวิตกกังวล เป็นความรู้สึกที่เจ็บปวดจากความรู้สึกไม่ได้รับความมั่นคงปลอดภัย และความพึงพอใจทางสรีรวิทยา ก่อให้เกิดความรู้สึกวิตกกังวล ซึ่งเกิดและแสดงออกได้ดังนี้
ประการที่ 1 ความวิตกกังวลที่เริ่มต้นมาจากสัมพันธภาพระหว่างบุคคล เกิดจากความวิตกกังวลของมารดาถ่ายทอดไปยังบุตร
ประการที่ 2 ความวิตกกังวลสามารถอธิบายและสังเกตได้ บุคคลที่อยู่ในภาวะวิตกกังวล สามารถบอกได้ว่าเขารู้สึกอย่างไรและแสดงออกทางพฤติกรรมอย่างไร
ประการที่ 3 แต่ละคนจะพยายามดิ้นรนเพื่อขจัดความวิตกกังวล เช่น ในเด็กจะพยายามเรียนรู้เพื่อหลีกเลี่ยงความวิตกกังวลที่เกิดจากการถูกลงโทษ และแสวงหาความมั่นคงโดยการยินยอมกระทำตามความปรารถนาของบิดามารดา
Sullivan อธิบายว่า บุคคลพยายามลดความวิตกกังวลและเพิ่มความมั่นคงให้กับตนเอง Sullivan พยายามเน้นถึงพฤติกรรมที่สังเกตได้ในขณะที่ Freud เน้นกลไกทางจิต (defense mechanism) ซึ่งเป็นพฤติกรรมที่เกิดจากความรู้ สึกในจิตไร้สำนึก
เชื่อว่า ระบบความเป็นตนเองถูกหล่อหลอมตั้งแต่วัยเด็กโดยบุคคลประเมินการตอบสนองของคนอื่นที่มีต่อตนในการมีสัมพันธภาพกับผู้อื่น
“ฉันดี” (Good Me)
ซึ่งเป็นผลของประสบการณ์ที่รับการยอมรับจากการอบรมเลี้ยงดูของพ่อแม่ที่ให้ความรู้สึกรักใคร่ อบอุ่น เอาใจใส่ ห่วงใย ทำให้เกิดความพึงพอใจ
“ฉันเลว” (Bad Me)
เป็นประสบการณ์ที่เกิดขึ้นจากการได้การอบรมเลี้ยงดูแบบทอดทิ้ง ไม่เอาใจใส่ ไม่ได้รับการตอบสนองความต้องการ จึงทำให้เด็กเกิดความไม่พอใจ
“ไม่ใช่ฉัน” (Not Me)
เกิดจากการอบรมเลี้ยงดูแบบขู่เข็ญหรือทำให้หวาดกลัวอย่างรุนแรงทำให้เกิดความวิตกกังวลสูง จึงแสดงพฤติกรรมออกมาในเชิงปฏิเสธว่า “ไม่ใช่ฉัน”เพราะเป็นสิ่งที่เด็กไม่ต้องการรับรู้
การพัฒนาบุคลิกภาพ
ซัลลิแวนได้แบ่งการพัฒนาบุคลิกภาพตามประสบการณ์เป็น 7 ขั้น
ขั้นทารก (Infancy) อายุแรกเกิด -18 เดือน วัยนี้จะมีความสุข กับการใช้ปากในการตอบสนองความต้องการอาหารของตนเองด้วยการดูดหรือการเคลื่อนไหวร่างกายด้วยการใช้ประสาทตาสัมผัสกับมือในการดูดนิ้วตนเอง
ขั้นวัยเด็ก (Childhood) อายุ 18 เดือน - 5 เดือน เป็นระยะที่เริ่มหัดพูด ฝึกออกเสียงได้ชัดเจน เริ่มมีเพื่อนและต้องการให้ผู้อื่นยอมรับสถานภาพของตนเอง
ขั้นวัยเยาว์ (Juvenile Era) อายุระหว่าง 5-12 ปี เป็นวัยที่เข้าโรงเรียน พัฒนาการทางร่างกายเร็วมากเริ่มรู้จักสังคม มีการร่วมมือและแข่งขัน เรียนรู้ที่จะควบคุมตนอง
ขั้นก่อนวัยรุ่น (Pre- Adolescence) อายุ 11-13 ปี เริ่มมีวุฒิภาวะทางเพศ มีการกล้าแสดงออกมากขึ้นและยังต้องการความเท่าเทียมกับผู้ใหญ่
ขั้นวัยรุ่นตอนต้น (Early Adolescence) อายุระหว่าง 13- 17 ปี เป็นวัยที่มีความพอใจในเรื่องเพศ ต้องการคบเพื่อนเดียวกันและต่างเพศ ต้องการความเป็นอิสระไม่อยากพึ่งพาใคร
ขั้นวัยรุ่นตอนปลาย (Late Adolescence) อายุ 17-19 ปี ร่างกายเจริญเต็มที่ มีความคิดสร้างสรรค์ มีความรู้และเข้าใจตนเอง เรียนรู้บทบาทในสังคมได้ดี
ขั้นวัยผู้ใหญ่ (Adulthood) อายุระหว่าง 20-30 ปี เป็นวัยที่มีพัฒนาการทุกอย่างสมบูรณ์เต็มที่สร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นสร้างหลักฐาน มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่
นางสาวณัฐชยา ฮ้อเจริญทรัพย์ เลขที่ 22 ห้อง A รหัสนักศึกษา 613601023