Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีการพยาบาลของคิง King’s Theory, image, นางสาวณิชาภัทร ขัติยะ…
ทฤษฎีการพยาบาลของคิง
King’s Theory
คิงตั้งทฤษฎีความสำเร็จตามเป้าหมาย โดยเน้นความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล การรับรู้ สัมพันธภาพระหว่างบุคคล สังคม และการเจ็บป่วย
บุคคล(Person)
เป็นองค์รวมที่มีความต้องการด้านชีวะ จิต และสังคม มนุษย์ต้องมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลและสิ่งแวดล้อม
บุคคลเป็นส่วนหนึ่งของสังคม
ทุกคนมีความนึกคิด มีความรู้สึกเป็นของตนเอง
ทุกคนมีเหตุผลของตนเอง
บุคคลเป็นผู้มีการรับรู้
มีความสามารถที่จะแสดงความโต้ตอบ(React)ตามการรับรู้ของตนเอง
มีความสามารถที่จะกระทำสิ่งต่างๆ
(Action-oriented being)
มีความสามารถที่จะวางเป้าหมายในการกระทำสิ่งต่างๆ
มีความสามารถที่จะตัดสินใจและควบคุมตนเองได้
ทุกคนมีเวลาในเรื่องต่างๆที่เหมาะสมเฉพาะของตนเอง
สิ่งแวดล้อม
บุคคลมีความสามารถในการนำ พลังงานมาช่วยในการปรับตัวต่อ
การเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมภายนอกได้อย่างต่อเนื่อง
ภายใน
ภายนอก
สุขภาพ
สภาวะที่ไม่อยู่นิ่งของชีวิตมีการปรับตัวต่อภาวะเครียด ต่อสิ่งแวดล้อม ทั้งภายในและภายนอก เพื่อบรรลุเป้าหมายสูงสุด
การพยาบาล
เป็นกระบวนการปฏิบัติ การตอบสนอง การมีปฏิสัมพันธ์ และการสื่อสาร ที่พยาบาลช่วยเหลือบุคคลให้ได้รับความต้องการขั้นพื้นฐาน
กรอบแนวคิด
ระบบระหว่างบุคคล (Interpersonal systems)
บุคคล 2 คน ขึ้นไปหรือกลุ่มมีปฏิสัมพันธ์กัน พยาบาลได้รับการคาดหวังว่าจะเป็นผู้ช่วยลดปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเครียดของผู้รับบริการและครอบครัว
การสื่อสาร (communication)
ปฏิสัมพันธ์ของมนุษย์ (human interaction)
ปฏิสัมพันธ์ที่มีเป้าหมาย (transaction)
บทบาท (role)
ความเครียด (stress)
ระบบสังคม (Social systems)
เป็นขอบเขตระบบ บทบาทของสังคม พฤติกรรม และการปฏิบัติที่สร้างขึ้นเพื่อรักษาคุณค่าและกลไก สำหรับควบคุมการปฏิบัติ กฎ ระเบียบ
องค์การ (organization)
อำนาจหน้าที่ (authority)
อำนาจ (power)
สถานภาพ (status)
การตัดสินใจ (decision making)
ระบบบุคคล (Personal System)
พยาบาลและผู้รับบริการจะมีระบบส่วนตัวหรือมีแบบแผนเฉพาะเป็นของตนเองในการปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม
อัตตา (self)
การรับรู้ (perception)
เจริญเติบโตและพัฒนาการ (growth and development)
ภาพลักษณ์ (image)
เทศะ (space)
กาละ (time)
การประยุกต์ใช้ในการพยาบาล
เป้าหมายคือการช่วยให้บุคคล
มีสุขภาพดี เพื่อให้สามารถทำหน้าที่ได้บทบาทพยาบาล
การประเมินสภาพ (assessment)
มุ่งการเน้น
ปฏิสัมพันธ์ระหว่างกันในการประเมินปัญหา
การรับรู้เกี่ยวกับอัตมโนทัศน์
ภาพลักษณ์ของตน
การเจริญเติบโต และพัฒนาการ
ช่วงเวลาของเหตุการณ์ในชีวิต
การมีปฏิสัมพันธ์ของผู้ป่วยในด้านความคิด และพฤติกรรม
ความเครียด
สถานการณ์
การตัดสินใจ
การวางแผนการพยาบาล (planning)
ร่วมกันตั้งเป้าหมายและแสวงหาวิธีปฏิบัติ โดยคำนึงถึงความต้องการและศักยภาพของผู้รับบริการซึ่งเป็นแนวทางที่ทั้งสองฝ่ายยอมรับ
ป้าหมายที่ผู้ป่วยมีส่วนร่วมในการกำหนด
มีกิจกรรมที่มองเห็นชัดเจนว่าสามารถบรรลุผลได้ตามที่กำหนด
เป้าหมายเชิงบวกพัฒนาไปในทางที่ดี
เป้าหมายที่เพิ่มศักยภาพของผู้ป่วยในการเรียนรู้ ปรับตัวในสถานการณ์ต่าง ๆ อย่างเหมาะสม
การปฏิบัติการพยาบาล (implementation)
นำแนวทางที่ตกลงกันนั้นไปปฏิบัติ
การประเมินผล (evaluation)
มีการประเมินผลการปฏิบัติร่วมกันเพื่อการบรรลุความสำเร็จตามเป้าหมายที่วางร่วมกัน ทำให้ผู้รับบริการมีความเต็มใจ เห็นประโยชน์ของการปฏิบัติและพร้อมจะปฏิบัติตนเพื่อให้บรรลุเป้า
นางสาวณิชาภัทร ขัติยะ ชั้นปีที่ 2 ห้อง B เลขที่ 24 รหัสนักศึกษา 613601132