Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม (Behavioral Theory), นางสาวอนัญญา พรมชัย เลขที่ 91 ห้อง…
ทฤษฎีพฤติกรรมนิยม
(Behavioral Theory)
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของพาฟลอฟ
(Pavlov’s Classical Conditioning Theory)
อีเวน พาฟลอฟ (Ivan Pavlov: 1849-1936)
นักสรีรวิทยาชาวรัสเซีย
เชื่อว่าการเรียนรู้ของสิ่งมีชีวิตเกิดจากการวางเงื่อนไข (Conditioning)
สุนัขได้ยินเสียงกระดิ่งแล้วน้ำลายไหล
เสียงกระดิ่ง คือ สิ่งเร้าที่วางเงื่อนไข (Conditioned stimulus)
ปฏิกิริยาการเกิดน้าลายไหลของสุนัข คือการตอบสนองที่ถูกวางเงื่อนไข (Conditioned response)
เรื่องราวการวางเงื่อนไขในแง่ของสิ่งเร้า (Stimulus-S)และการตอบสนอง (Response-R)
ร่างกายมีการเชื่อมโยงสิ่งเร้าบางอย่างกับการตอบสนองมาตั้งแต่แรกเกิด แล้วพัฒนาขึ้นเรื่อย ๆ
สิ่งเร้าที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned stimulus: UCS)
สิ่งเร้าที่มีอยู่ในธรรมชาติ
เมื่อนามาใช้คู่กับสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขแล้วทำให้เกิดการเรียนรู้
ตอบสนองจากการวางเงื่อนไขได้
การตอบสนองที่ไม่ได้วางเงื่อนไข (Unconditioned response: UCR)
การตอบสนองตามธรรมชาติที่ไม่ต้องมีการบังคับ
การเคาะเอ็นที่สะบ้าหัวเข่าแล้วทาให้เกิดการกระตุกขึ้นนั้น
เป็นปฏิกิริยาสะท้อนโดยธรรมชาติ (Reflex)
สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้และกฎการเรียนรู้ได้ ดังนี้
1) พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์เกิดจากการวางเงื่อนไขที่ตอบสนองต่อความต้องการทางธรรมชาติ
2) พฤติกรรมการตอบสนองของมนุษย์สามารถเกิดขึ้นได้จากสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขกับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ จะหยุดลงเมื่อไม่ได้รับการตอบสนองตามธรรมชาติ และจะกลับปรากฏขึ้นได้อีกโดยไม่ต้องใช้สิ่งเร้าตามธรรมชาติ
3) มนุษย์มีแนวโน้มที่จำาแนกลักษณะของสิ่งเร้าให้แตกต่างกันและเลือกตอบสนองได้ถูกต้อง
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบคลาสสิกของวัตสัน
(Watson’s Classical Conditioning Theory)
จอห์น บี วัตสัน (John B. Watson: 1878-1958)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
นำเอาทฤษฎีของพาฟลอฟมาเป็นหลักสำคัญในการอธิบายเรื่องการเรียนรู้
ผลงานของวัตสันได้รับความนิยมแพร่หลาย
เป็น “บิดาของจิตวิทยาพฤติกรรมนิยม”
ทำการทดลองโดยการ
ให้เด็กคนหนึ่งเล่นกับหนูขาว
ขณะที่เด็กกำลังจะจับหนูขาว ก็ทำเสียงดังจนเด็กตกใจร้องไห้
หลังจากนั้นเด็กจะกลัวและร้องไห้เมื่อเห็นหนูขาว
ต่อมาทดลองให้นำหนูขาวมาให้เด็กดู โดยมารดาจะกอดเด็กไว้
จากนั้นเด็กก็จะค่อยๆ หายกลัวหนูขาว
สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ดังนี้
1) พฤติกรรมเป็นสิ่งที่สามารถควบคุมให้เกิดขึ้นได้ โดยการควบคุมสิ่งเร้าที่วางเงื่อนไขให้สัมพันธ์กับสิ่งเร้าตามธรรมชาติ และการเรียนรู้จะคงทนถาวรหากมีการให้สิ่งเร้าที่สัมพันธ์กันนั้นควบคู่กันไปอย่างสม่ำเสมอ
2) เมื่อสามารถทาให้เกิดพฤติกรรมใด ๆ ได้ ก็สามารถลดพฤติกรรมนั้นให้หายไปได้
ทฤษฎีการวางเงื่อนไขแบบการกระทาของสกินเนอร์
(Operant Conditioning Theory)
บี.เอฟ สกินเนอร์ (B.F. Skinner: 1904-1999)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
มีความเชื่อว่าพฤติกรรมของบุคคลถูกควบคุมด้วยการให้รางวัลและการถูกทาโทษ(Operant conditioning)
การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมสามารถทำได้โดย
การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมที่เป็นแรงเสริมโดย
ใช้สิ่งเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement)
สิ่งเสริมแรงทางลบ (Negative reinforcement)
ทำให้พฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมเปลี่ยนแปลงและหมดลงไปในที่สุด
ทำการทดลองกับหนูในกล่องทดลอง
ประกอบด้วยอาหารหลอดไฟ และคันโยกที่เชื่อมต่อกับที่ใส่อาหาร
เมื่อหนูหิวจะวิ่งวนไปเรื่อย ๆ และไปเหยียบถูกคันโยก
ไฟจะสว่างพร้อมมีอาหารตกลงมา
ทำให้หนูเกิดการเรียนรู้ว่าการเหยียบคันโยกจะได้รับอาหาร
ครั้งต่อไปเมื่อหนูหิวก็จะตรงไปเหยียบคันโยกทันที
ซึ่งพฤติกรรมดังกล่าวถือว่าหนูตัวนี้เกิดการเรียนรู้แบบลงมือกระทำเอง
สรุปเป็นทฤษฎีการเรียนรู้ได้ดังนี้
1) การกระทำใด ๆ ถ้าได้รับการเสริมแรงจะมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นอีก ส่วนการกระทำที่ไม่มีการเสริมแรง แนวโน้มความถี่ของการกระทำนั้นจะลดลงและหายไปในที่สุด
2) การเสริมแรงที่แปรเปลี่ยนทำให้การตอบสนองคงทนกว่าการเสริมแรงที่ตายตัว
3) การลงโทษทำให้เรียนรู้ได้เร็วและลืมเร็ว
4) การให้แรงเสริมหรือให้รางวัลเมื่อกระทำพฤติกรรมที่ต้องการ สามารถช่วยปรับหรือปลูกฝังนิสัยที่ต้องการได้
ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงปัญญาสังคม
(Social cognitive learning theory)
อัลเบิร์ต แบนดูรา (Albert Bandura: 1925-Present)
นักจิตวิทยาชาวอเมริกัน
ผู้พัฒนาแนวคิดทฤษฎีการเรียนรู้เชิงปัญญาสังคม (Social cognitive learning theory)
โดยมีความเชื่อว่าการเรียนรู้พฤติกรรมใหม่ ๆ ของบุคคล
เกิดจากการสังเกตพฤติกรรมของผู้อื่น(Observational learning)
หรือการเรียนรู้จากตัวแบบ (Modeling)
ให้ความสำคัญกับบริบททางสังคมและมีปฏิสัมพันธ์
การเรียนรู้บทบาท และพฤติกรรมตามต้นแบบในสังคม
ทำการทดลองเพื่อศึกษาว่า
พฤติกรรมก้าวร้าวของเด็กเกิดจากการเลียนแบบพฤติกรรมของผู้ใหญ่หรือไม่
โดยแบ่งเด็กเป็นสองกลุ่ม ให้แยกไปเล่นคนละห้อง
โดยแต่ละห้องจะมีผู้ใหญ่หนึ่งคนมาเล่นกับของเล่น
ห้องแรกจะเล่นแบบรุนแรง
ห้องที่สองผู้ใหญ่จะเล่นแบบธรรมดาเงียบๆ
หลังจากนั้นให้ผู้ใหญ่ออกไปจากห้อง แล้วสังเกตพฤติกรรมของเด็ก
พบว่า เด็กในห้องที่ผู้ใหญ่แสดงความก้าวร้าวให้เห็นจะมีพฤติกรรมก้าวร้าวมากกว่าเด็กอีกห้องหนึ่ง
แบบแผนความคิดพฤติกรรม
กระบวนการให้ความสนใจ (Attention process)
ความสนใจของบุคคลที่มีต่อตัวแบบจะนำไปสู่พฤติกรรมที่จะเลือกกระทำตามตัวแบบหรือพฤติกรรมที่ต่างไปจากตัวแบบ
ความสนใจของบุคคลจะขึ้นอยู่กับประสบการณ์ในอดีตและสภาพแวดล้อม
กระบวนการจดจา (Retention process)
บุคคลจะมีการจดจำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากตัวแบบใน 2 ลักษณะ
ภาพในใจ (Imaginary)
คำพูด (Verbal)
ทำให้บุคคลจดจาพฤติกรรมของตัวแบบได้ง่ายขึ้น
กระบวนการแสดงออก (Motor reproduction process)
บุคคลสามารถแสดงออกจากการให้ความสนใจและการจดจำตัวแบบ
เมื่อบุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาแล้วได้รับการตอบสนองที่เป็นที่พึงพอใจก็จะดำเนินพฤติกรรมนั้นต่อไป
หากบุคคลแสดงพฤติกรรมออกมาแล้วแต่ไม่ได้รับการตอบสนองที่น่าพอใจก็จะไม่แสดงพฤติกรรมนั้นอีก
กระบวนการจูงใจ (Motivation process)
การเรียนรู้จากตัวแบบบุคคลมีความคาดหวังที่จะได้รับความพึงพอใจ
ความคาดหวังนี้ทำให้บุคคลเลือกที่จะกระทำตามพฤติกรรมของตัวแบบต่อไป
โดยบุคคลจะเลือกแสดงออกในพฤติกรรมที่ได้เรียนรู้จากตัวแบบแล้วได้รับผลตอบสนองเป็นที่น่าพึงพอใจเท่านั้น
ทฤษฎีการเรียนรู้เชิงปัญญาสังคมว่าเกิดจากการสังเกตพฤติกรรมของตัวแบบในสภาพแวดล้อม
ตัวแบบจากชีวิตจริง (Live model)
ตัวแบบที่เราเผชิญในชีวิตจริง
บิดา มารดา ญาติ พี่ น้อง ครู และเพื่อน
ตัวแบบสัญลักษณ์ (Symbolic model)
ตัวแบบที่เราเห็นผ่านสื่อต่าง ๆ
ภาพยนตร์ โทรทัศน์ และคอมพิวเตอร์
ตัวแบบในรูปคำสอน (Verbal description or instruction)
การพูดหรือการบอกทางวาจา
เป็นคำสอนในภาษาเขียน
การประยุกต์ใช้ในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
ใช้ในการปรับพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสมและส่งเสริมให้เกิดพฤติกรรมที่เหมาะสมได้
การปรับพฤติกรรมตามแนวคิดหลักของทฤษฎี
การเสริมแรงทางบวก (Positive reinforcement)
เป็นการให้สิ่งเร้าที่สร้างความพึงพอใจ
เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การเสริมแรงทางลบ (Negative reinforcement)
เป็นการลดสิ่งเร้าที่ไม่สร้างความพึงพอใจ
เพื่อให้เกิดพฤติกรรมที่พึงประสงค์
การใช้การเสริมแรงชนิดต่าง ๆ (รางวัล คาชมเชย)
การลงโทษ เรียกว่า พฤติกรรมบำบัด
การลงโทษทางบวก (Positive punishment)
เป็นการให้สิ่งเร้าที่ไม่สร้างความพึงพอใจ
เพื่อหยุดหรือลดพฤติกรรมบางอย่าง
การลงโทษทางลบ (Negative punishment)
เป็นการนำสิ่งเร้าที่สร้างความพึงพอใจออกไป
เพื่อหยุดหรือลดพฤติกรรมบางอย่าง
ใช้ในกลุ่มผู้ป่วยติดยา กลุ่มผู้ป่วยติดเหล้าหรือกลุ่มวัยรุ่น
เพื่อให้ผู้ป่วยเข้าใจว่าจะต้องปรับพฤติหรือปฏิบัติวิธีการใดจึงจะมีพฤติกรรมที่ถูกต้อง
รวมทั้งการเป็นแบบอย่าง (Modeling)
เป็นการที่ผู้บำบัดหาแบบอย่างพฤติกรรมที่พึงประสงค์
ให้ผู้ป่วยเรียนรู้จากการเลียนแบบพฤติกรรมดังกล่าว
เช่น การฝึกพฤติกรรมการกล้าแสดงออกอย่างเหมาะสม (Assertive behavior)
นางสาวอนัญญา พรมชัย เลขที่ 91 ห้อง B