Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ (Psychoanalytic Theory), image, 1ขวบ, image, image,…
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์
(Psychoanalytic Theory)
ทฤษฎีจิตวิเคราะห์ ริเริ่มโดย ซิกมันด์ ฟรอยด์
นักประสาทวิทยาชาวออสเตรีย ซึ่งได้รับการยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งทฤษฎีจิตวิเคราะห์ โดยฟรอยด์มีความเชื่อว่าระดับจิตใจของมนุษย์มีความแตกต่างกันในแต่ละขั้น เมื่อมนุษย์ต้องเผชิญกับสิ่งต่างๆพฤติกรรมและประสบการณ์ในภาวะจิตสำนึกเป็นเพียงส่วนที่เล็กน้อยส่วนหนึ่งของจิตใจเท่านั้น การแสดงออกต่างๆ ที่เกิดขึ้นเป็นแรงกระตุ้นโดยตรงจากจิตใต้สำนึกความขัดแย้ง แรงจูงใจ รวมไปถึงความคับข้องใจ
ระดับของจิตใจ (Level of mind)
2) ระดับจิตใต้สำนึก (Subconscious/Preconscious level)
เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ในระดับกึ่งรับรู้ และไม่รับรู้ อยู่ในระดับลึกลงกว่าจิตสำนึก ต้องใช้เวลาและเหตุการณ์ช่วยกระตุ้นให้เกิดการระลึกได้ จิตใจในส่วนนี้จะช่วยขจัดข้อมูลที่ไม่จำเป็นออกไปจากความรู้สึกของบุคคลและเก็บไว้แต่ส่วนที่มีความหมายต่อตนเอง
3) ระดับจิตไร้สำนึก (Unconscious level)
เป็นระดับของจิตใจที่อยู่ในส่วนลึกไม่สามารถจะนึกได้ในระดับจิตสำนึกธรรมดา บุคคลมักจะเก็บประสบการณ์ที่ไม่ดีและเลวร้ายในีวิตที่ผ่านมาของตนไว้ในจิตไร้สำนึกโดยไม่รู้ตัว และจะแสดงออกในบางโอกาสซึ่งเจ้าตัวไม่ได้ควบคุมและไม่รู้สึกตัว
1) ระดับจิตสำนึก (Conscious level)
เป็นระดับของจิตใจที่มนุษย์รู้สึกตัว
และตระหนักในตนเอง มีพฤติกรรมและการแสดงออกที่ตนรับรู้ พฤติกรรมที่แสดงออกอยู่ภายใต้การควบคุมด้วยสติปัญญา ความรู้ และการพิจารณาให้เหมาะสมกับสิ่งที่ถูกต้องและสังคมยอมรับ
โครงสร้างของจิตใจ (Structure of mind)
Ego
เป็นส่วนของจิตใจที่ดำเนินการโดยอาศัยเหตุและผล เพื่อตอบสนอง
สิ่งที่ตนปรารถนา ตามหลักแห่งความเป็นจริง) การทำงานของจิตใจส่วนนี้อยู่ในระดับจิตสำนึก มีการพิจารณากลั่นกรองเพื่อตอบสนองความต้องการตามแรงขับของ Id ให้อยู่ในขอบเขตของความเหมาะสม เรียกกระบวนการคิดในลักษณะนี้ว่าเป็น “กระบวนการคิดแบบทุติยภูมิ”
Superego
เป็นส่วนของจิตใจที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับมโนธรรม(Conscience) คือ ความรู้สึกผิดชอบชั่วดีที่มีอยู่ในจิตใจของบุคคลเกินจากการอบรมสั่งสอนของบิดามารดาหรือผู้เลี้ยงดู
Id
เป็นแรงผลักดันของจิตใจที่ติดตัวทุกคนมาแต่กำเนิด เป็นแรงขับตามสัญชาตญาณ เป็นการแสวงหาความสุขโดยยึดความพึงพอใจเป็นหลักฟรอยด์เรียกกระบวนการทำงานของจิตใจส่วนนี้ว่า “กระบวนการคิดแบบปฐมภูมิ”
สัญชาตญาณ (Instinct)
สัญชาตญาณทางเพศ
(Sexual of life instinct: Libido)
ทำหน้าที่ผลักดันให้มนุษย์แสวงหาความพอใจตามที่ตนเองต้องการ ส่วนที่สำคัญที่สุด คือ แรงขับทางเพศซึ่งมีมาตั้งแต่แรกเกิด ในร่างกายมีอวัยวะต่างๆ ที่ไวต่อการสัมผัสซึ่งจะทำให้เกิดความสุข ความพึงพอใจ
สัญชาตญาณแห่งความก้าวร้าว
(Aggressive of instinct: Mortido)
ทำหน้าที่ผลักดันให้มนุษย์แข่งขันกัน ชิงดีชิงเด่นกัน เอาชนะกัน มีลักษณะพลังงานในทางทำลาย
กลไกการป้องกันทางจิต
(Defense mechanism)
การเปลี่ยนแปลงความรู้สึกเป็นพฤติกรรม (Conversion) เป็นการ
เปลี่ยนความขัดแย้งในจิตใจเกิดเป็นอาการทางกาย ตัวอย่างเช่น เดินไม่ได้เพราะขาอ่อนแรงหลังจากถูกบังคับให้แต่งงาน
การปฏิเสธ (Denial) เป็นการปฏิเสธที่จะยอมรับบางสิ่งบางอย่างซึ่งเป็นความจริงโดยการเพิกเฉย เพราะการยอมรับความจริงทำให้รู้สึกไม่สบายใจตัวอย่างเช่น ไม่ยอมรับผลการตรวจจากแพทย์ว่าเป็นมะเร็งจึงไปพบแพทย์ที่อื่นเพื่อให้ตรวจรักษาใหม่
การชดเชย (Compensation) เป็นการกระทำเพื่อลบล้างจุดบกพร่องจุดอ่อน หรือปมด้อยของตน โดยการสร้างจุดเด่นทางอื่นเช่น คนที่เรียนไม่เก่งหันไปเอาดีทางด้านดนตรี
การแทนที่ (Displacement) เป็นการถ่ายเทอารมณ์ที่มีต่อบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลอื่นหรือวัตถุสิ่งของอื่น โดยที่บุคคลหรือวัตถุสิ่งของนั้นไม่ได้เป็นตัวกระตุ้นอารมณ์แต่อย่างใด ตัวอย่างเช่น หลังจากถูกมารดาดุรู้สึกโกรธมากจึงหันไปขว้างแจกันของมารดาแตกกระจาย
การกระทำตรงข้ามกับความรู้สึก (Reaction formation) เป็นการที่
บุคคลมีพฤติกรรมการแสดงออกตรงข้ามกับความคิดความรู้สึกที่แท้จริงของตน ตัวอย่างเช่น บอกเพื่อนร่วมงานว่าหัวหน้าเป็นคนดีทั้งที่ในใจเกลียดหัวหน้ามาก
การโทษผู้อื่น (Projection) เป็นการโยนอารมณ์ ความรู้สึกที่รับไม่ได้ของคนเราภายในจิตไร้สำนึกไปยังอีกคนหนึ่งหรือเป็นการโยนความผิดให้ผู้อื่น ตัวอย่างเช่น นักเรียน
สอบตกบอกว่าครูสอนไม่ด
การหาทางทดแทน (Sublimation) เป็นการปรับเปลี่ยนความรู้สึกหรือแรงผลักดันที่ไม่ดี ที่สังคมไม่ยอมรับ ไปเป็นวิธีการที่สังคมยอมรับ ซึ่งเป็นการลดความกดดันทางจิตใจไปในทางสร้างสรรค์ ตัวอย่างเช่น คนก้าวร้าวผันตัวเองไปเป็นนักมวย
การโทษตัวเอง (Introjection) เป็นการตำหนิ กล่าวโทษตนเองตัวอย่างเช่น เพราะตนเองดูแลน้องไม่ดีจึงทำให้น้องถูกรถชน
การถดถอย (Regression) เป็นการแสดงออกโดยการมีพฤติกรรมกลับ
ไปสู่ในระดับพัฒนาการของจิตใจและอารมณ์ในระดับต้นๆ เกิดขึ้นเมื่อประสบภาวะความไม่มั่นคงทางจิตใจ ตัวอย่างเช่น เด็กที่แม่มีน้องใหม่กลับมามีพฤติกรรมปัสสาวะรดที่นอน
การแยกตัว (Isolation) เป็นการไม่ตอบสนองต่อการกระทำที่นำความคับข้องใจมาให้จะแยกตัวออกจากสภาพการณ์นั้นตัวอย่างเช่น เด็กคิดว่าพ่อแม่ไม่รักจึงขังตัวอยู่ในห้องคนเดียว
การเก็บกด(Repression) เป็นการเก็บกดอารมณ์ ความรู้สึกนึกคิด จาก
ระดับจิตสำนึกไปสู่ระดับจิตไร้สำนึก เพื่อให้ลืมเหตุการณ์ที่ทำให้ไม่สบายใจ
ตัวอย่างเช่น เคยถูกน้าชายข่มขืนในวัยเด็กแล้วจำไม่ได้ว่าทำไมตนเองจึงเกลียดน้าชาย
การอ้างเหตุผล (Rationalization) เป็นการหาเหตุผลที่สังคมยอมรับมาอธิบายพฤติกรรมต่างๆ ของตน เป็นการหาเหตุผลเข้าข้างตัวเองหรือเป็นการแก้ตัว
แบบมะนาวหวาน (Sweet lemon) เป็นการหาเหตุผลมา
สนับสนุนเมื่อตนเองต้องการสิ่งใดแล้วไม่สามารถหามาได้โดยบอกว่าสิ่งที่ตนเองประสบหรือการกระทำของตนเป็นสิ่งที่ดีที่สุดแล้ว ตัวอย่างเช่น มีบ้านหลังเล็ก บอกว่าดีเพราะดูแลทำความสะอาดง่าย
แบบองุ่นเปรี้ยว (Sour grape) เป็นการให้เหตุผลว่าสิ่งที่ตนเองต้องการแล้วไม่ได้นั้นเป็นสิ่งไม่ดี ตัวอย่างเช่น อยากเรียนแพทย์แต่สอบไม่ติดเลยบอกว่าอาชีพแพทย์ไม่ดีเรียนแล้วเครียด
การเก็บกด (ระดับจิตส านึก) (Suppression) เป็นการลืมบางสิ่ง
บางอย่างโดยเจตนา มีลักษณะคล้ายกับ Repressionแต่เป็นกระบวนการขจัดความรู้สึกดังกล่าว
ออกไปจากความคิด และเกิดขึ้นโดยผู้กระทำมีความรู้ตัวและตั้งใจ ในขณะที่ Repressionนั้น
ไม่รู้ตัว ตัวอย่างเช่น ผู้ป่วยบอกพยาบาลว่ายังไม่พร้อมที่จะพูดเรื่องการทะเลาะกับสามี
การลบล้างความรู้สึกผิด (Undoing) เป็นการกระทำในสิ่งที่ดีเพื่อลบล้างความรู้สึกผิดที่เกิดจากการกระท าของตนเอง ตัวอย่างเช่น ผิดนัดกับเพื่อนจึงพาเพื่อนไปเลี้ยงข้าว
การเลียนแบบ (Identification) เป็นการรับเอาความคิด ทัศนคติ
ค่านิยม ลักษณะประจำตัวของบุคคลสำคัญในชีวิตหรือบุคคลที่นิยมชมชอบมาเก็บและจดจำไว้จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของบุคลิกภาพของตนเอง ตัวอย่างเช่น เด็กบอกพยาบาลว่า “โตขึ้นจะเป็นพยาบาลเหมือนพี่” หรือ การเลียนแบบครู การเลียนแบบดารา
พัฒนาการทางบุคลิกภาพ (Psychosexual development)
ระยะปาก (Oral stage) อายุ 0-1 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะมีความสุขอยู่กับการ
ใช้ปากในการดูดไม่ว่าจะเป็นการดูดนมมารดา ดูดนิ้ว การกัด การเคี้ยว หรือนำสิ่งต่างๆ เข้าปากหากมารดาเลี้ยงดูโดยให้ความรักความอบอุ่นอย่างเหมาะสม เด็กก็จะไว้วางใจมารดาและโลกภายนอกต่อไปในอนาคต แต่ถ้าหากมารดาไม่ตอบสนองต่อเด็กเวลาที่เด็กต้องการ เด็กจะมีการติดอยู่ที่ขั้นพัฒนาการนี้ โดยจะเป็นคนที่พึ่งพาผู้อื่นหากมีการหยุดชะงักของพัฒนาการระยะปากจะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม
เช่น พูดมาก ช่างนินทา ก้าวร้าว กินจุบจิบ สูบบุหรี่ และกัดเล็บ เป็นต้น
ระยะทวารหนัก (Anal stage) อายุ 1-3 ปี เด็กเริ่มเรียนรู้ถึงแรงกดดันที่ต้องการจะขับถ่ายและเริ่มมีความสามารถที่จะควบคุมการขับถ่ายได้หากบิดามารดามีการฝึกการขับถ่ายของเด็กได้อย่างเหมาะสม ไม่เข้มงวดเกินไปจะทำให้เด็กโตขึ้นเป็นคนที่มีความภาคภูมิใจในตนเอง แต่ถ้าหากบิดามารดาเข้มงวดในการฝึกการขับถ่ายมากจะทำให้เด็กโตขึ้นเป็นคนเจ้าระเบียบรักความสะอาดมากเกินไป ย้ำคิดย้ำทำหากมีการหยุดชะงักของพัฒนาการระยะทวารหนัก จะเกี่ยวข้องกับพฤติกรรม เช่น เจ้าระเบียบ ตรงต่อเวลา ขาดความยืดหยุ่น วิตกกังวล
ระยะพัฒนาการทางเพศ (Phallic stage) อายุ 3-6 ปี ในช่วงนี้เด็กจะให้
ความสนใจทางด้านเพศมาก และเป็นระยะสำคัญที่เกิดปมOedipal complex ในเด็กผู้ชาย และ
Electra complex ในเด็กผู้หญิง โดยเด็กจะสนใจบิดามารดาเพศตรงข้ามเกิดการเลียนแบบทางเพศ
จากบิดาหรือมารดาหากมีการหยุดชะงักของระยะพัฒนาการทางเพศ (Phallic fixation)อาจทำให้มีการแสดงออกทางพฤติกรรมทางเพศที่ไม่เหมาะสมหรือมีความผิดปกติในการสร้างอัตลักษณ์ทางเพศ
ระยะแฝง (Latency stage) อายุ 6-12 ปี เป็นช่วงที่เด็กจะพัฒนา
ความสามารถในการสร้างความสัมพันธ์กับผู้อื่นที่เป็นเพื่อนเพศเดียวกัน ถ้าหากในระยะนี้เด็กถูกบังคับให้อยู่ในระเบียบกฎเกณฑ์จากครอบครัวหรือจากโรงเรียนที่เข้มงวดมากเกินไปจะทำให้เกิดพฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ เคร่งครัดเกินไป และไม่ยืดหยุ่นได้หากมีการหยุดชะงักของพัฒนาการระยะนี้ จะเกี่ยวข้องกับการพัฒนาทักษะทางสังคมและเกิดปมด้อย
ระยะวัยเจริญพันธุ์ (Genital stage) อายุ 12 ปีขึ้นไป เป็นระยะที่มีการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาทางด้านเพศระดับฮอร์โมนที่สูงขึ้นทำให้แรงขับทางเพศกลับมาสูงขึ้นอีก มีการพัฒนาความสัมพันธ์กับเพื่อนต่างเพศ ระยะวัยรุ่นนี้เป็นระยะที่เด็กเริ่มต้องการความเป็นอิสระต้องการเป็นตัวของตัวเอง และมีการปรับเปลี่ยนตนเองให้เป็นที่ยอมรับจากสังคม หากมีการหยุดชะงักของพัฒนาการระยะนี้จะเกี่ยวข้องกับการไม่สามารถสร้างสัมพันธภาพที่ลึกซึ้งที่พอใจกับผู้อื่นได้
การประยุกต์ใช้ในการพยาบาลสุขภาพจิตและจิตเวช
พยาบาลสามารถน าแนวคิดทฤษฎีจิตวิเคราะห์ของฟรอยด์มาใช้ในการพยาบาล โดยทำความเข้าใจเกี่ยวกับพฤติกรรมของมนุษย์ว่ามีความหมายมีเป้าประสงค์ ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระดับจิตสำนึก จิตใต้สำนึก และจิตไร้สำนึก ซึ่งจะช่วยอธิบายถึงกลไกของพฤติกรรมมนุษยความเข้าใจในเรื่องดังกล่าวจะช่วยให้พยาบาลสามารถแยกแยะสาเหตุของปัญหาทางจิตของผู้ป่วยได้การวิเคราะห์เกี่ยวกับกลไกการป้องกันทางจิตที่ไม่เหมาะสมของผู้ป่วยจิตเวชจะเป็นแนวทางในการช่วยให้ผู้ป่วยได้
ใช้กลไกการป้องกันทางจิตที่เหมาะสมต่อไป
นางสาวศศิธร ยิ้มเเย้ม เลขที่ 73 ห้อง 2B รหัสนักศึกษา 613601181