Please enable JavaScript.
Coggle requires JavaScript to display documents.
เอดส์ - Coggle Diagram
เอดส์
การป้องกัน
3.ผู้ติดเชื้อห้ามบริจาคโลหิตให้ผู้อื่น เพราะในเลือดจะมีเชื้อไวรัสเป็นจำนวนมาก แต่สามารถรับโลหิตจากผู้อื่นได้
4.ควรหลีกเลี่ยงการตั้งครรภ์ เพราะในช่วงการตั้งครรภ์ร่างกายจะอ่อนแอลง โรคอาจจะกำเริบ และบุตรที่เกิดมาอาจติดเชื้อจากมารดาได้ แต่ในบางรายผู้ติดเชื้อที่ยังไม่แสดงอาการของโรคสามารถตั้งครรภ์และคลอดได้ตามปกติ
5.เมื่อผู้ติดเชื้อจำเป็นต้องเข้าโรงพยาบาล หรือผ่าตัด หรือคลอดบุตรควรแจ้งให้บุคลากรทางการแพทย์ทราบว่าตนเองติดเชื้อ เพราะบุคลากรทางการแพทย์อาจติดเชื้อจากเลือดของท่านได้ ถ้าทราบก่อนจะได้ป้องกันอย่างถูกต้อง
-
6.เมื่อผู้ติดเชื้อจะแต่งงาน ควรแจ้งให้คู่แต่งงานทราบก่อนว่า เป็นผู้ติดเชื้อ เพื่อจะได้ปฏิบัติตนในการป้องกันให้ถูกต้องต่อไป
-
7.ผู้ติดเชื้อไม่ควรบ้วนน้ำลาย ผู้ป่วยวัณโรคมีโอกาสเป็นได้มาก และสามารถแพร่กระจายทางเสมหะได้ ขากเสมหะในที่สาธารณะทั่วไป ถึงแม้จะไม่ใช่ทางแพร่เชื้อไวรัสเอชไอวี แต่ในน้ำลาย หรือเสมหะนั้นอาจมีเชื้อโรคชนิดอื่นๆ
8.หลีกเลี่ยงการสักตามผิวหนัง การเจาะส่วนต่างๆของร่างกายเพราะสถานบริการบางแห่งอาจรักษาความสะอาดของเครื่องมือไม่ดีพอ
9.บุคคลากรทางการแพทย์ ถ้าเกิดอุบัติเหตุเข็มตำต้องรีบแจ้งหน่วยที่ดูแลทางการติดเชื้อ เพื่อรับยาต้านไวรัสอย่างทันท่วงที วิธีนี้สามารถป้อง กันการติดเชื้อได้มาก
สาเหตุ
-
-
การมีเพศสัมพันธ์
ทั้งจากของเหลวในช่องคลอด น้ำอสุจิ หรืออาจเกิดบาดแผลและเลือดจากการร่วมเพศ รวมไปถึงการมีกิจกรรมทางเพศด้วยการใช้ปาก โดยความเสี่ยงที่จะได้รับเชื้อขึ้นอยู่กับปริมาณเชื้อ
การรับเลือด
คัดกรองและตรวจเลือดก่อนการรับบริจาคเพื่อให้มั่นใจว่าผู้บริจาคเลือดไม่ได้มีเชื้อไวรัสใดที่เป็นอันตรายแฝงมาพร้อมกับเลือดที่บริจาค ก่อนจะนำไปใช้กับผู้ป่วยอื่นต่อไป ซึ่งหลักการสากลนี้ทำให้ความเสี่ยงจากการติดเชื้อเอชไอวีผ่านการถ่ายเลือดลดน้อยลงอย่างมาก
เอชไอวีจะไม่ติดต่อทาง
-
-
-
-
-
ทางแก้วน้ำ, จานชาม หรือภาชนะอื่นๆ
-
-
-
-
-
-
-
พยาธิ
เมื่อร่างกายติดเชื้อเอชไอวี เชื้อเอชไอวีจะโจมตีระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ทำให้ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอ่อนแอลงจนไม่สามารถต่อสู้กับเชื้อโรคที่เข้าสู่ร่างกายได้ จนในที่สุดเชื้อไวรัสจะโจมตีร่างกายทั้งหมด
เป้าหมายของเอชไอวีคือการทำลายเซลล์ที่มีหน้าที่ต่อสู้กับเชื้อโรคและการติดเชื้อไวรัสต่างๆ เซลล์นี้มีชื่อว่า CD4 (หรือเซลล์ T-helper) เป็นเซลล์เม็ดเลือดขาวที่มีความสำคัญต่อการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย เอชไอวีทำให้ระบบภูมิคุ้มกันร่างกายของผู้ติดเชื้ออ่อนแอลงจนทำให้เกิดโรคต่างๆได้ง่าย ในขณะที่คนที่มีระบบภูมิคุ้มกันร่างกายที่แข็งแรงจะสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคเหล่านี้ได้ดีกว่า
ความช้าเร็วของการดำเนินโรคและผลกระทบที่เชื้อเอชไอวีมีต่อร่างกายขึ้นอยู่กับผู้ติดเชื้อแต่ละคน ปัจจัยหลายอย่างเช่น สุขภาพและอายุ รวมถึงความช้าเร็วในการได้รับการรักษา ล้วนเป็นปัจจัยที่มีผลต่อการดำเนินโรคทั้งสิ้น คนบางคนสามารถติดเชื้อเอชไอวีนานหลายปีโดยไม่มีอาการของโรคเอดส์
ปัจจัยที่อาจทำให้การติดเชื้อเอชไอวีพัฒนาเป็นอาการของโรคเอดส์รวดเร็วขึ้นนั้น ได้แก่ กรรมพันธุ์ การมีอายุมากขึ้น ภาวะโภชนาการไม่ดี หรือติดเชื้อร่วมกับโรคอื่น เช่น ตับอักเสบซีหรือวัณโรค
การติดเชื้อ 3ระยะ
-
ระยะโรคเอดส์ (AIDS)
เป็นระยะที่การติดเชื้อเอชไอวีได้พัฒนาเป็นโรคเอดส์
ระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรงมีปริมาณเซลล์ CD4 อยู่ระหว่าง 500 ถึง 1,600 ในขณะที่ผู้ป่วยโรคเอดส์มี CD4 ต่ำกว่า 200 เมื่อถึงจุดนี้ระบบภูมิคุ้มกันได้ถูกทำลายอย่างรุนแรงจนผู้ป่วยมีอาการติดเชื้อฉวยโอกาส (opportunistic infections) ซึ่งเกิดจากเชื้อโรคที่ไม่ก่อให้เกิดโรคในคนที่มีระบบภูมิคุ้มกันที่แข็งแรง แต่จะทำให้เกิดโรคกับผู้ที่ระบบภูมิคุ้มกันอ่อนแอ แต่ไม่ว่าผู้ติดเชื้อมีปริมาณ CD4 เท่าใดก็ตาม หากมีอาการติดเชื้อฉวยโอกาสอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่าถือว่าผุ้ติดเชื้อนั้นเป็นโรคเอดส์
-
-
การรักษา
ในปัจจุบันไม่มียาหรือวิธีการรักษาใดที่จะกำจัดเชื้อเอชไอวีให้หมดไปได้ มีเพียงแต่ยาที่จะช่วยชะลอการพัฒนาของโรค คือ ยาต้านเอชไอวี หรือยาต้านรีโทรไวรัส (Antiretrovirals: ARVs) หากผู้ป่วยได้รับยาตั้งแต่ในระยะเริ่มแรกที่ได้รับเชื้อ ยาจะออกฤทธิ์ควบคุมไม่ให้ไวรัสมีการแพร่กระจายและพัฒนาไปสู่การเจ็บป่วยในขั้นที่รุนแรงอย่างเอดส์ โดยการรับประทานยา PEP (Post-exposure Prophylaxis) ซึ่งเปรียบเสมือนเป็นยาฉุกเฉินที่ต้องรับประทานหลังได้รับเชื้อเอชไอวีเข้าสู่ร่างกาย ส่วนวิธีการใช้ยา ต้องรักษาด้วยการใช้ยาต้านร่วมกันหลายตัว (Antiretroviral Therapy: ART)
เอชไอวี(HIV) เป็นโรคจากการที่ร่างกายได้รับเชื้อไวรัสเอชไอวี ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคเอดส์ (AIDS, Acquired Immuno Deficiency Syndrome หรือ Acquired Immune Deficiency Syndrome)